กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับองค์การว่าด้วยความมั่นคงและร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe - OSCE) จัดการประชุมร่วม ภายใต้ชื่อว่า 2006 OSCE-Thailand Conference on “Challenges to Global Security: From Poverty to Pandemic” ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2549 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายจากภัยคุกคามในหลายมิติที่เพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ในครั้งนี้เห็นว่า ความยากจนและการขาดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นต้นเหตุสำคัญของภัยคุกคามความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ เช่น การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด และอาชญากรรมข้ามชาติ นอกจากนี้ ในปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนก โรคเอดส์ หรือ โรคซาร์ส นับเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตของผู้คนทั่วโลกและส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมอาหารและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ รวมทั้งประเทศไทย ฉะนั้นประเทศต่างๆ จึงควรร่วมกันหาทางรับมือและจัดการกับปัญหาดังกล่าว ซึ่งการประชุมในครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่ภูมิภาคต่างๆไม่ว่าจะเป็นยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ จะได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น เพื่อจะสามารถเข้าใจสาเหตุของปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น และร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม
การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งในประเทศและต่างประเทศประมาณ 100 คน โดยมีนาย Dimitrij Rupel รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสโลวีเนียเข้าร่วมในฐานะประธานผู้ประสานงานประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือฝ่ายเอเชีย และนาย Marc Perrin de Brichambaut เลขาธิการ OSCE
OSCE เป็นองค์กรด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2518 (ค.ศ. 1975) ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 55 ประเทศ คือ ประเทศในยุโรป เอเชียกลาง สหรัฐอเมริกา และแคนาดา นอกจากนี้ยังมีประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือฝ่ายเอเชีย 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อัฟกานิสถาน มองโกเลีย และมีประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือฝ่ายเมดิเตอร์เรเนียน 6 ประเทศ ได้แก่ อัลจีเรีย อียิปต์ อิสราเอล จอร์แดน โมรอคโก และตูนีเซีย ทั้งนี้ ประเทศหุ้นส่วนฯ ฝ่ายเอเชียมีธรรมเนียมปฏิบัติในการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ร่วมกับ OSCE เป็นประจำทุกปี โดยในปี 2549 เป็นวาระของไทยอีกครั้ง หลังจากที่ไทยเคยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกเมื่อปี 2545 ในด้านการดำเนินงาน OSCE มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและเพิ่มพูนความมั่นคงในภูมิภาคโดยเน้นหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและการทหาร ด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และด้านความมั่นคงในมิติของมนุษย์ นอกจากนี้ OSCE ยังเป็นเวทีหารือหาข้อยุติ และระงับข้อพิพาท/ข้อขัดแย้งต่างๆ ในยุโรป และควบคุมดูแลความมั่นคงโดยรวมของภูมิภาคเพื่อมิให้เกิดวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรง โดย OSCE จะประสานงานอย่างใกล้ชิดกับนาโต้ สหภาพยุโรป และสหภาพยุโรปตะวันตก ในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ เช่น การรักษาสันติภาพในบอสเนียฯ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งในประเทศและต่างประเทศประมาณ 100 คน โดยมีนาย Dimitrij Rupel รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสโลวีเนียเข้าร่วมในฐานะประธานผู้ประสานงานประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือฝ่ายเอเชีย และนาย Marc Perrin de Brichambaut เลขาธิการ OSCE
OSCE เป็นองค์กรด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2518 (ค.ศ. 1975) ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 55 ประเทศ คือ ประเทศในยุโรป เอเชียกลาง สหรัฐอเมริกา และแคนาดา นอกจากนี้ยังมีประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือฝ่ายเอเชีย 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อัฟกานิสถาน มองโกเลีย และมีประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือฝ่ายเมดิเตอร์เรเนียน 6 ประเทศ ได้แก่ อัลจีเรีย อียิปต์ อิสราเอล จอร์แดน โมรอคโก และตูนีเซีย ทั้งนี้ ประเทศหุ้นส่วนฯ ฝ่ายเอเชียมีธรรมเนียมปฏิบัติในการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ร่วมกับ OSCE เป็นประจำทุกปี โดยในปี 2549 เป็นวาระของไทยอีกครั้ง หลังจากที่ไทยเคยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกเมื่อปี 2545 ในด้านการดำเนินงาน OSCE มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและเพิ่มพูนความมั่นคงในภูมิภาคโดยเน้นหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและการทหาร ด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และด้านความมั่นคงในมิติของมนุษย์ นอกจากนี้ OSCE ยังเป็นเวทีหารือหาข้อยุติ และระงับข้อพิพาท/ข้อขัดแย้งต่างๆ ในยุโรป และควบคุมดูแลความมั่นคงโดยรวมของภูมิภาคเพื่อมิให้เกิดวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรง โดย OSCE จะประสานงานอย่างใกล้ชิดกับนาโต้ สหภาพยุโรป และสหภาพยุโรปตะวันตก ในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ เช่น การรักษาสันติภาพในบอสเนียฯ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-