รายงานพิเศษ/โอท๊อปไทย หลากหลาย มีพัฒนาการ
"ที่คิดจะทำผ้าปาเต๊ะเองเพราะชุมชนภาคใต้ส่วนใหญ่นิยมนุ่งผ้าโสร่ง หากคิดแต่จะรับของมาเลย์ขายต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายไปไม่น้อย สู้ลงทุนทำเองในหมู่บ้าน ความรู้เราก็มี วัตถุดิบเราก็มี แรงงานก็พร้อม แค่นี้ก็เพียงพอที่จะเริ่มต้นแล้วค่ะ"
ผู้อ่านที่ติดตามผลงานเรื่องราวธุรกิจจากนิตยสารเส้นทางเศรษฐีมาตลาด จะเห็นว่าธุรกิจแต่ละประเภทผุดขึ้นอยู่ในกรุงเทพฯ เสียส่วนใหญ่ คราวนี้ลองเปลี่ยนบรรยากาศเดินทางมาใต้สุดดูบ้าง เรื่องราวของผู้ประกอบการรายนี้ล้วนน่าชื่นชม เพราะสามารถผลักดันตัวเอง ให้สินค้าของตนติดอยู่หนึ่งในสินค้าโอท็อปได้ แม้จะอยู่ในห้วงวิกฤติแห่งความหวาดกลัวของคนในพื้นที่ก็ตาม
มาไกลขนาดนี้แล้ว จะนำเสนอธุรกิจอะไรดีล่ะ...? ที่จะสื่อถึงความเป็นคนใต้ได้มากที่สุด จริงๆ แล้วก็พบแล้วละครับ แต่ไม่รู้จะเอาร้านไหนเป็นตัวชูโรงในคอลัมน์นี้ดี เพราะไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็มีให้เห็นเยอะแยะไปหมด ธุรกิจที่ว่านี้คือร้านจำหน่ายผ้าพื้นเมืองที่ชาวใต้ส่วนใหญ่นิยมสวมใส่กันเรียกว่า "โสร่ง และผ้าปาเต๊ะ"
เป็นไงครับ แค่ได้ยินชื่อก็รู้สึกสัมผัสถึงวิถีชีวิตของชาวใต้เล็กๆ แล้วใช่มั้ยครับ ถ้าติดตามเรื่องราวของผ้าปาเต๊ะ และโสร่งจะยิ่งเข้าถึงมากกว่านี้อีก เอ้า!!! เริ่มกันเลยดีกว่า
จากคนนำเข้า
หันมาทำขายเอง
การเดินทางครั้งนี้ ผู้เขียนได้มาหยุดที่ ตำบลฆอเลาะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ลึกเข้ามาถึงหมู่บ้านบางขุด พื้นที่ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย ที่หมู่บ้านแห่งนี้มีการรวมกลุ่มชาวบ้านเพื่อทำกิจกรรมประจำซ้ำๆ นั่นคือการผลิตผ้าโสร่ง และผ้าปาเต๊ะ วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ พวกผู้ชายจะทำงานด้านการเกษตร ส่วนแม่บ้านจะรวมกลุ่มกันทำผ้าปาเต๊ะทุกวัน ไม่มีกฎตายตัว ใครทำก็ทำ ใครไม่ว่างก็หยุดไป
โชคดีที่ผู้เขียนได้มารู้จักกับ คุณมารีนี อาเจอนาน หรือ คุณนี เป็นหนึ่งในกลุ่มชาวบ้านบางขุด มีบทบาทเป็นผู้นำกลุ่ม หรือผู้ริเริ่มนำผ้าปาเต๊ะเข้ามามีความสำคัญของคนในหมู่บ้าน จนสามารถได้รับการเลือกให้เป็นหนึ่งในสินค้าโอท็อประดับ 4 ดาว ในชื่อ "ผ้าปาเต๊ะซาฮาร่า"
เริ่มเล่าเรื่อง คุณนีได้เท้าความหลังก่อนจะผลิตผ้าปาเต๊ะมาจำหน่ายในประเทศว่า "แต่ก่อนทางพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ จะค้าขายสินค้าประเภทผ้านวม โดยเราจะรับมาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพื้นที่ติดกัน จนระยะหลังเริ่มมีผ้าปาเต๊ะ ที่มีต้นกำเนิดมาจากมาเลเซีย และได้รับความนิยมมากทะลักมาถึงภาคใต้ เราก็รับผ้าปาเต๊ะมาขายในเมืองไทย พอได้ทำการค้าที่ประเทศมาเลเซียบ่อยเข้า ก็ได้ไปรู้จักกับชาวมาเลเซียคนหนึ่งมีหน้าที่ทำผ้าปาเต๊ะอยู่ที่มาเลเซีย จนได้มีโอกาสไปเรียนรู้ขั้นตอนการทำผ้าปาเต๊ะมา ตั้งแต่การทำลายผ้า การเขียนสี จนถึงขั้นตอนการย้อมสีผ้า"
ที่คุณนีพัฒนาจากรับมา ขายไป เป็นผู้ผลิตพร้อมจำหน่ายเอง ซึ่งเริ่มจากที่คุณนีได้มารู้จักกับลุงคนหนึ่งมีเชื้อสายไทย เป็นลูกจ้างทำผ้าปาเต๊ะที่ประเทศมาเลเซียมานานแล้วชื่อ "แวอาแซ" คุณลุงคนนี้ต้องการหาโอกาสกลับมายังภูมิลำเนาที่เมืองไทยอยู่แล้ว และด้วยความสามารถในการทำผ้าปาเต๊ะ คุณนีจึงชักชวนให้กลับมาด้วยกัน และมาอยู่ที่หมู่บ้านบางขุดเพื่อเป็นเสาหลักในการเผยแพร่วิชาการทำผ้าปาเต๊ะให้คนในหมู่บ้านได้มีอาชีพเสริม
คุณนี เล่าว่า "ที่คิดจะทำเองเพราะชุมชนภาคใต้ส่วนใหญ่นิยมนุ่งผ้าโสร่ง หากเราคิดแต่รับผ้าปาเต๊ะที่มาเลย์มาขายในเมืองไทย รายได้ก็มีบ้าง แต่ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายไปไม่น้อย สู้เราลงทุนทำเองในหมู่บ้าน ความรู้ วัตถุดิบ แรงงานก็พร้อม แค่นี้เพียงพอที่จะเริ่มต้นแล้วค่ะ"
การรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านบางขุดมีประมาณ 10 คน แต่ละคนจะได้ผ่านการฝึกฝนทำผ้าปาเต๊ะ จนเชี่ยวชาญ สามารถแบ่งหน้าที่เป็นสัดส่วน ทำออกจำหน่ายจนเวลาล่วงมา 6 ปีเต็ม ผ้าปาเต๊ะซาฮาร่าจึงได้มีโอกาสเข้าประกวดสินค้าโอท็อป จนได้เป็นสินค้าโอท็อประดับ 4 ดาวในที่สุด หลังจากนั้น ธุรกิจผ้าปาเต๊ะเริ่มลงตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
เมื่อกิจการผ้าปาเต๊ะซาฮาร่ามีชื่อเสียง ขนาดประเทศมาเลเซียที่เป็นต้นกำเนิดของผ้าปาเต๊ะ ยังรับไปขาย ตลอดจนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่างก็รู้จักเป็นอย่างดี แต่จะขยายตลาดในบริเวณใกล้เคียงคงไม่พอ จำเป็นต้องเข้าเมืองเสียทีคราวนี้ ก็ให้นับย้อนหลังไปประมาณ 2 ปี คุณนีเริ่มนำผ้าปาเต๊ะออกจำหน่ายในกรุงเทพฯ นับว่าการขยายตลาดครั้งนี้ เป็นการลองตลาดนอกพื้นที่ครั้งแรกของคุณนีเลยครับ
"ทุกวันนี้เราส่งผ้าปาเต๊ะจำหน่ายที่ตลาดโบ๊เบ๊ ประมาณ 3-4 ร้าน นับว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับธุรกิจเสื้อผ้ารายอื่น อาจเป็นเพราะว่าผู้บริโภคคนกรุงเทพฯ ไม่นิยมเสื้อปาเต๊ะก็ได้ อีกอย่างเท่าที่ได้ศึกษาการตลาดคนกรุงเทพฯ มีสไตล์ไม่เหมือนกับคนใต้ คนใต้จะชอบลายอะไรที่ฉูดฉาด สีเลอะๆ ยิ่งดีใหญ่ แต่คนกรุงเทพฯ ชอบลายที่เรียบง่าย สีสันไม่หวือหวา ซึ่งเราเองก็พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้หลากหลาย" สาวใต้ กล่าวอย่างนั้น
ซอกแซกเรื่องเทคนิค
จุดเด่นที่สร้างความต่าง
ตอนนี้เท่ากับผ้าปาเต๊ะซาฮาร่า ของกลุ่มแม่บ้านบางขุด มีแหล่งกระจายสินค้าหลักๆ อยู่ 3 แห่งด้วยกัน ประกอบด้วย ตลาดโบ๊เบ๊ ในกรุงเทพฯ กลุ่มผู้ประกอบการเสื้อปาเต๊ะในประเทศมาเลเซีย และในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียง
รูปแบบของผ้าปาเต๊ะซาฮาร่า จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ แบบชั้นเดียว แบบ 2 ชั้น และแบบ 3 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นจะต่างกันที่สีและลวดลาย เช่น ถ้าเป็นผ้าชั้นเดียว สมมุติให้เป็นสีดำ ผ้าผืนนั้นก็จะมีแต่สีดำ และสีขาว หรือจะเป็นสีน้ำเงิน ผ้าผืนนั้นก็จะมีแต่สีน้ำเงิน และสีขาวเท่านั้น แต่หากเป็นแบบ 2 ชั้น จะมีการเล่นลวดลายมากขึ้น และถ้า 3 ชั้น ทั้งลายและสีสันจะมีเพิ่มขึ้นอีกตามลำดับ
การส่งผ้าปาเต๊ะแต่ละแห่งจะคิดอัตราราคาเหมือนกันหมด เริ่มต้นที่ มูลค่า 2,000 บาท ต่อ 1 กุดี (1 กุดี จะมี 20 ผืนโสร่ง) เป็นผ้าปาเต๊ะแบบชั้นเดียว แบบ 2 ชั้น ราคาส่งอยู่ที่ 2,200 บาท ต่อ 1 กุดี และแบบ 3 ชั้น ราคาอยู่ที่ 2,400 บาท ต่อ 1 กุดี ตามลำดับ แต่ปัจจุบัน คุณนี บอกว่า ค่าครองชีพเริ่มสูงขึ้น วัตถุดิบแต่ละชนิดราคาจะขยับตัวขึ้นมา ในอนาคตอาจจะต้องมีการปรับราคาต่อกุดี ขึ้นมาบ้างเล็กน้อย
หากถามว่าอะไรเป็นปัจจัยความมั่นใจในการขยายตลาด แค่ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้แต่ละเขตก็ว่ายากแล้วนะ นี่ยังเปลี่ยนรูปแบบขยายมาถึงกรุงเทพฯ จะว่ากล้าหาญหรือบ้าบิ่น อันนี้ผมว่าต้องอยู่ที่เทคนิคการทำผ้าปาเต๊ะ เพราะถ้าไม่เจ๋งจริงผ้าปาเต๊ะซาฮาร่าคงไม่ผงาดไปในประเทศมาเลเซียที่เรียกว่าเป็นต้นกำเนิดของผ้าปาเต๊ะได้แน่
มาดูกันว่าผ้าปาเต๊ะซาฮาร่านั้นมีของ หรือซ่อนเทคนิคอะไรเอาไว้ จากการสนทนากับคุณนี เธอหัวเราะร่า และบอกว่าไม่มีของแต่อย่างใดทั้งนั้น แต่ที่ผ้าปาเต๊ะของเธอต่างจากรายอื่น เพราะมีเทคนิคในการทำผ้าปาเต๊ะให้สามารถสวมใส่ได้ 2 ด้าน ซักอีกกี่ครั้งสีก็ไม่ตก และลายไม่ซ้ำใคร
"ผ้าที่เราเอามาทำผ้าปาเต๊ะ และโสร่ง เป็นผ้าเนื้อดีที่เรียกว่า ผ้าลักกี้ เนื้อผ้าจะลื่นๆ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายผ้าดิบในประเทศไทย ไม่ต้องไปถึงมาเลเซีย"
จุดเด่นอีกอย่างที่กล่าวไว้ว่า ลายไม่ซ้ำแบบใคร ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะที่กลุ่มแม่บ้านบางขุดจะทำบล็อคออกมาอย่างสม่ำเสมอ การทำบล็อคแต่ละครั้งจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง เพราะว่าบล็อคๆ หนึ่งสามารถทำลายได้ประมาณ 3,000 ลาย
เริ่มต้นการใช้เงินทุนในการซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ทำผ้าปาเต๊ะบวกเงินหมุนเวียนคุณนีว่าอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท "อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ประกอบด้วย บล็อค ผ้า เทียน สี และแม่พิมพ์ตกราคาประมาณ 5,000 บาท เราใช้ 5-6 อัน ทำไปได้ประมาณ 2-3 เดือน ก็เปลี่ยน แต่เราจะนำกลับมาใช้อีก โดยจะดัดแปลงเป็นลายอื่นต่อไป ไม่ได้ทิ้งเลย"
เทคนิคการทำเสื้อ คุณนี กล่าวแบบหลักสูตรเร่งรัดว่า "แรกๆ ให้ออกแบบลายที่ต้องการในกระดาษก่อน เมื่อพอใจกับลายนั้น ให้นำผ้าขาวมาขึงไว้ แล้วลอกลายไปบนผ้า ต่อไปให้หยดเทียนตามลายเส้นบนผ้าขาวที่วาดไว้ แล้วแต้มสีตามต้องการ จากนั้นให้นำผ้าผืนนั้นไปต้มเพื่อย้อมสี และนำไปต้มอีกครั้งเพื่อเอาเทียนออก สิ้นสุดวิธีก็คือนำผ้ามาตากให้แห้ง"
จากขั้นตอนการทำที่กล่าวมา ผู้อ่านหลายท่านอาจสงสัยว่า แล้วเทคนิคอะไรที่ทำให้สีไม่ตก เทคนิคนี้อยู่ที่การต้ม โดยจะผสมน้ำยาชนิดพิเศษเข้าไปขณะต้มผ้าจะทำให้สีติดเนื้อผ้าได้ดีเยี่ยม แต่น้ำยาที่ว่าคืออะไรนั้น ผู้เขียนลองซอกแซกถามหลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่มีสัญญาณตอบรับกลับมาเลย เสียใจด้วยครับท่านผู้อ่าน
รู้เขา...รู้เรา
รบ 100 ชนะ 100
ด้านการตลาด แม้เป็นสินค้าโอท็อปที่อยู่ห่างไกลสุดขนาดนราธิวาส ก็ยังได้ลงโฆษณาจากสื่อท้องถิ่นเป็นประจำ และเพื่อขยายฐานลูกค้า งานแสดงสินค้านั้นต้องไม่พลาด คุณนี เล่าแบบขำๆ ให้ฟังว่า "เราจะออกงานแสดงสินค้าทุกงาน ทั้งแบบเสียเงิน หรือไม่เสียเงินก็ตาม บางจุดเราแทบจะขาดทุน แต่เราก็ยอมไป เพราะเราถือว่าไปแสดงสินค้าให้ผู้บริโภคได้เห็น เผื่อสักวันจะจดจำผ้าปาเต๊ะซาฮาร่าไว้ในดวงใจบ้าง"
มีแหล่งจำหน่ายผ้าปาเต๊ะขนาดนี้ ที่จังหวัดนราธิวาส ประเทศมาเลเซียที่เป็นต้นกำเนิดของผ้าปาเต๊ะ ต้องมียอดขายดีแน่ๆ เลย
"ไม่ใช่ค่ะ..." คุณนี แย้งขึ้นทันที "กลับกันค่ะ ที่ขายดีที่สุดจะเป็นที่หาดใหญ่ ส่วนที่มาเลย์ก็มีคู่แข่งเยอะ ที่รับของเราไปขายนั้นเพียงไม่กี่รายเท่านั้น นอกจากนั้น มาเลเซียยังรับผ้าปาเต๊ะจากประเทศอินโดนีเซียมาด้วย ทำให้โอกาสด้านการตลาดค่อนข้างกว้าง"
แต่ละเดือนกลุ่มแม่บ้านบางขุดจะมีรายได้จากการจำหน่ายผ้าปาเต๊ะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 60,000 บาท บางเดือนก็ได้น้อยกว่า บางเดือนก็จะได้มากถึงเกือบหลักแสนก็มี รายได้ที่ได้มาจะถูกแบ่งจ่ายเป็นค่าแรงของแต่ละคน ในแต่ละวันที่ทำ ใครทำวันไหนก็ได้วันนั้น วันไหนใครไม่มาช่วยก็ไม่ได้ค่าแรง และจะเก็บไว้ส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งไว้เป็นสวัสดิการของสมาชิก ยามเมื่อสมาชิกคนไหนเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา เงินก้อนนี้จะช่วยเป็นค่ารักษาพยาบาลได้
การตลาดส่วนใหญ่ถ้าเป็นในพื้นที่ภาคใต้ คุณนี บอกว่า ไม่มีปัญหาเนื่องจากรู้พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นอย่างดีว่าพื้นที่ไหนจะนิยมแต่งกายในลักษณะใด เพียงนำไปเสนอขายตามร้านถ้าตกลงกันได้ภารกิจก็เสร็จสิ้น แต่ในกรุงเทพฯ คุณนีจะต้องเผชิญกับผู้ประกอบการรายอื่นที่นำผ้าปาเต๊ะจากพม่ามาจำหน่ายเหมือนกัน
"เราจะมีอุปสรรคตรงที่ราคาผ้าปาเต๊ะของเราจะสูงกว่าของพม่า แต่คุณภาพของเราจะดีกว่า ผืนหนึ่งของเขาราคาจะตกอยู่ที่ 60-80 บาท ของเราประมาณ 100-110 บาท ต่อผืน ผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นของถูกก็เลือกไว้ก่อน บางคนที่มาตามงานแสดงสินค้า มักถามว่าทำไมที่อื่นขายตัวละ 80 บาทเอง แต่เราก็อธิบายให้เข้าใจว่าผ้าของเรามีเทคนิคการลงสีที่ต่างกัน สามารถใส่ได้ทั้ง 2 ด้าน และเมื่อซักแล้วสีจะไม่ตก หากซื้อไปแล้วไม่เป็นอย่างที่กล่าว เรายังอยู่ที่บู๊ธอีกหลายวัน ให้มาเปลี่ยนได้เลย" คุณนี เธอว่าอย่างนั้นนะครับ
สุดท้าย มากล่าวถึงแผนการตลาดในอนาคตกันบ้าง แน่นอนเรื่องการพัฒนารูปแบบลายผ้าให้ตอบสนองกลุ่มผู้บริโภค คุณนีให้คำมั่นว่าจะทำให้ได้ และถ้ามีโอกาส คุณนีจะนำสินค้าของกลุ่มมาเสนอขายตามตลาดนัดจตุจักร เพราะแหล่งรับแค่ร้านขายเสื้อในตลาดโบ๊เบ๊ 3 ร้าน อาจน้อยไป แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องรอการแปรรูปสินค้าก่อน เนื่องจากสินค้าที่ตลาดนัดจตุจักรจะมีรูปแบบที่หลากหลายกว่า
"แม้จะอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่กำลังประสบปัญหาความรุนแรง จนทำให้ยอดขายของเราหล่นลงไปไม่น้อย แต่ถ้าเราไม่พยายามที่จะผลักดันชีวิตของเราเอง เราก็จะจมอยู่แค่นี้ ไม่สามารถขยับไปไหนได้ รู้ทั้งรู้ว่าการขยายฐานธุรกิจไปที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีความต้องการที่ต่างไปจากคนใต้ แต่หนทางไม่ได้มีแค่ 1 ทาง เราสามารถปรับรูปแบบสินค้าของเราให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ค่ะ" ผู้ผลิต และจำหน่ายผ้าปาเต๊ะซาฮาร่า กล่าวปิดท้าย
ผู้อ่านท่านใดที่สนใจจะเป็นตัวแทนจำหน่ายผ้าปาเต๊ะซาฮาร่า สามารถเดินทางมาดูงานได้ที่ 181/1 หมู่ 1 หมู่บ้านบางขุด ตำบลฆอเลาะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณมารีนี อาเจอนาน (คุณนี) ที่เบอร์โทร. (06) 294-0824 และ (09) 296-9635
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทธุรกิจ ผ้าปาเต๊ะซาฮาร่า
ลักษณะกิจการ มีหุ้นส่วน 10 คน
ชื่อผู้ประกอบการ คุณมารีนี อาเจอนาน (คุณนี)
จุดเด่นสินค้า สวมใส่ได้ 2 ด้าน ซักแล้วสีไม่ตก ลายไม่ซ้ำแบบใคร
เงินลงทุน ประมาณ 100,000 บาท
ลักษณะการขาย ออกงานแสดงสินค้า ขายปลีก และขายส่ง
ทำเลที่ตั้ง 181/1 หมู่ 1 หมู่บ้านบางขุด ตำบลฆอเลาะ
อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
โทรศัพท์ติดต่อ (06) 294-0824 และ (09) 296-9635
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
"ที่คิดจะทำผ้าปาเต๊ะเองเพราะชุมชนภาคใต้ส่วนใหญ่นิยมนุ่งผ้าโสร่ง หากคิดแต่จะรับของมาเลย์ขายต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายไปไม่น้อย สู้ลงทุนทำเองในหมู่บ้าน ความรู้เราก็มี วัตถุดิบเราก็มี แรงงานก็พร้อม แค่นี้ก็เพียงพอที่จะเริ่มต้นแล้วค่ะ"
ผู้อ่านที่ติดตามผลงานเรื่องราวธุรกิจจากนิตยสารเส้นทางเศรษฐีมาตลาด จะเห็นว่าธุรกิจแต่ละประเภทผุดขึ้นอยู่ในกรุงเทพฯ เสียส่วนใหญ่ คราวนี้ลองเปลี่ยนบรรยากาศเดินทางมาใต้สุดดูบ้าง เรื่องราวของผู้ประกอบการรายนี้ล้วนน่าชื่นชม เพราะสามารถผลักดันตัวเอง ให้สินค้าของตนติดอยู่หนึ่งในสินค้าโอท็อปได้ แม้จะอยู่ในห้วงวิกฤติแห่งความหวาดกลัวของคนในพื้นที่ก็ตาม
มาไกลขนาดนี้แล้ว จะนำเสนอธุรกิจอะไรดีล่ะ...? ที่จะสื่อถึงความเป็นคนใต้ได้มากที่สุด จริงๆ แล้วก็พบแล้วละครับ แต่ไม่รู้จะเอาร้านไหนเป็นตัวชูโรงในคอลัมน์นี้ดี เพราะไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็มีให้เห็นเยอะแยะไปหมด ธุรกิจที่ว่านี้คือร้านจำหน่ายผ้าพื้นเมืองที่ชาวใต้ส่วนใหญ่นิยมสวมใส่กันเรียกว่า "โสร่ง และผ้าปาเต๊ะ"
เป็นไงครับ แค่ได้ยินชื่อก็รู้สึกสัมผัสถึงวิถีชีวิตของชาวใต้เล็กๆ แล้วใช่มั้ยครับ ถ้าติดตามเรื่องราวของผ้าปาเต๊ะ และโสร่งจะยิ่งเข้าถึงมากกว่านี้อีก เอ้า!!! เริ่มกันเลยดีกว่า
จากคนนำเข้า
หันมาทำขายเอง
การเดินทางครั้งนี้ ผู้เขียนได้มาหยุดที่ ตำบลฆอเลาะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ลึกเข้ามาถึงหมู่บ้านบางขุด พื้นที่ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย ที่หมู่บ้านแห่งนี้มีการรวมกลุ่มชาวบ้านเพื่อทำกิจกรรมประจำซ้ำๆ นั่นคือการผลิตผ้าโสร่ง และผ้าปาเต๊ะ วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ พวกผู้ชายจะทำงานด้านการเกษตร ส่วนแม่บ้านจะรวมกลุ่มกันทำผ้าปาเต๊ะทุกวัน ไม่มีกฎตายตัว ใครทำก็ทำ ใครไม่ว่างก็หยุดไป
โชคดีที่ผู้เขียนได้มารู้จักกับ คุณมารีนี อาเจอนาน หรือ คุณนี เป็นหนึ่งในกลุ่มชาวบ้านบางขุด มีบทบาทเป็นผู้นำกลุ่ม หรือผู้ริเริ่มนำผ้าปาเต๊ะเข้ามามีความสำคัญของคนในหมู่บ้าน จนสามารถได้รับการเลือกให้เป็นหนึ่งในสินค้าโอท็อประดับ 4 ดาว ในชื่อ "ผ้าปาเต๊ะซาฮาร่า"
เริ่มเล่าเรื่อง คุณนีได้เท้าความหลังก่อนจะผลิตผ้าปาเต๊ะมาจำหน่ายในประเทศว่า "แต่ก่อนทางพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ จะค้าขายสินค้าประเภทผ้านวม โดยเราจะรับมาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพื้นที่ติดกัน จนระยะหลังเริ่มมีผ้าปาเต๊ะ ที่มีต้นกำเนิดมาจากมาเลเซีย และได้รับความนิยมมากทะลักมาถึงภาคใต้ เราก็รับผ้าปาเต๊ะมาขายในเมืองไทย พอได้ทำการค้าที่ประเทศมาเลเซียบ่อยเข้า ก็ได้ไปรู้จักกับชาวมาเลเซียคนหนึ่งมีหน้าที่ทำผ้าปาเต๊ะอยู่ที่มาเลเซีย จนได้มีโอกาสไปเรียนรู้ขั้นตอนการทำผ้าปาเต๊ะมา ตั้งแต่การทำลายผ้า การเขียนสี จนถึงขั้นตอนการย้อมสีผ้า"
ที่คุณนีพัฒนาจากรับมา ขายไป เป็นผู้ผลิตพร้อมจำหน่ายเอง ซึ่งเริ่มจากที่คุณนีได้มารู้จักกับลุงคนหนึ่งมีเชื้อสายไทย เป็นลูกจ้างทำผ้าปาเต๊ะที่ประเทศมาเลเซียมานานแล้วชื่อ "แวอาแซ" คุณลุงคนนี้ต้องการหาโอกาสกลับมายังภูมิลำเนาที่เมืองไทยอยู่แล้ว และด้วยความสามารถในการทำผ้าปาเต๊ะ คุณนีจึงชักชวนให้กลับมาด้วยกัน และมาอยู่ที่หมู่บ้านบางขุดเพื่อเป็นเสาหลักในการเผยแพร่วิชาการทำผ้าปาเต๊ะให้คนในหมู่บ้านได้มีอาชีพเสริม
คุณนี เล่าว่า "ที่คิดจะทำเองเพราะชุมชนภาคใต้ส่วนใหญ่นิยมนุ่งผ้าโสร่ง หากเราคิดแต่รับผ้าปาเต๊ะที่มาเลย์มาขายในเมืองไทย รายได้ก็มีบ้าง แต่ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายไปไม่น้อย สู้เราลงทุนทำเองในหมู่บ้าน ความรู้ วัตถุดิบ แรงงานก็พร้อม แค่นี้เพียงพอที่จะเริ่มต้นแล้วค่ะ"
การรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านบางขุดมีประมาณ 10 คน แต่ละคนจะได้ผ่านการฝึกฝนทำผ้าปาเต๊ะ จนเชี่ยวชาญ สามารถแบ่งหน้าที่เป็นสัดส่วน ทำออกจำหน่ายจนเวลาล่วงมา 6 ปีเต็ม ผ้าปาเต๊ะซาฮาร่าจึงได้มีโอกาสเข้าประกวดสินค้าโอท็อป จนได้เป็นสินค้าโอท็อประดับ 4 ดาวในที่สุด หลังจากนั้น ธุรกิจผ้าปาเต๊ะเริ่มลงตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
เมื่อกิจการผ้าปาเต๊ะซาฮาร่ามีชื่อเสียง ขนาดประเทศมาเลเซียที่เป็นต้นกำเนิดของผ้าปาเต๊ะ ยังรับไปขาย ตลอดจนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่างก็รู้จักเป็นอย่างดี แต่จะขยายตลาดในบริเวณใกล้เคียงคงไม่พอ จำเป็นต้องเข้าเมืองเสียทีคราวนี้ ก็ให้นับย้อนหลังไปประมาณ 2 ปี คุณนีเริ่มนำผ้าปาเต๊ะออกจำหน่ายในกรุงเทพฯ นับว่าการขยายตลาดครั้งนี้ เป็นการลองตลาดนอกพื้นที่ครั้งแรกของคุณนีเลยครับ
"ทุกวันนี้เราส่งผ้าปาเต๊ะจำหน่ายที่ตลาดโบ๊เบ๊ ประมาณ 3-4 ร้าน นับว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับธุรกิจเสื้อผ้ารายอื่น อาจเป็นเพราะว่าผู้บริโภคคนกรุงเทพฯ ไม่นิยมเสื้อปาเต๊ะก็ได้ อีกอย่างเท่าที่ได้ศึกษาการตลาดคนกรุงเทพฯ มีสไตล์ไม่เหมือนกับคนใต้ คนใต้จะชอบลายอะไรที่ฉูดฉาด สีเลอะๆ ยิ่งดีใหญ่ แต่คนกรุงเทพฯ ชอบลายที่เรียบง่าย สีสันไม่หวือหวา ซึ่งเราเองก็พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้หลากหลาย" สาวใต้ กล่าวอย่างนั้น
ซอกแซกเรื่องเทคนิค
จุดเด่นที่สร้างความต่าง
ตอนนี้เท่ากับผ้าปาเต๊ะซาฮาร่า ของกลุ่มแม่บ้านบางขุด มีแหล่งกระจายสินค้าหลักๆ อยู่ 3 แห่งด้วยกัน ประกอบด้วย ตลาดโบ๊เบ๊ ในกรุงเทพฯ กลุ่มผู้ประกอบการเสื้อปาเต๊ะในประเทศมาเลเซีย และในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียง
รูปแบบของผ้าปาเต๊ะซาฮาร่า จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ แบบชั้นเดียว แบบ 2 ชั้น และแบบ 3 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นจะต่างกันที่สีและลวดลาย เช่น ถ้าเป็นผ้าชั้นเดียว สมมุติให้เป็นสีดำ ผ้าผืนนั้นก็จะมีแต่สีดำ และสีขาว หรือจะเป็นสีน้ำเงิน ผ้าผืนนั้นก็จะมีแต่สีน้ำเงิน และสีขาวเท่านั้น แต่หากเป็นแบบ 2 ชั้น จะมีการเล่นลวดลายมากขึ้น และถ้า 3 ชั้น ทั้งลายและสีสันจะมีเพิ่มขึ้นอีกตามลำดับ
การส่งผ้าปาเต๊ะแต่ละแห่งจะคิดอัตราราคาเหมือนกันหมด เริ่มต้นที่ มูลค่า 2,000 บาท ต่อ 1 กุดี (1 กุดี จะมี 20 ผืนโสร่ง) เป็นผ้าปาเต๊ะแบบชั้นเดียว แบบ 2 ชั้น ราคาส่งอยู่ที่ 2,200 บาท ต่อ 1 กุดี และแบบ 3 ชั้น ราคาอยู่ที่ 2,400 บาท ต่อ 1 กุดี ตามลำดับ แต่ปัจจุบัน คุณนี บอกว่า ค่าครองชีพเริ่มสูงขึ้น วัตถุดิบแต่ละชนิดราคาจะขยับตัวขึ้นมา ในอนาคตอาจจะต้องมีการปรับราคาต่อกุดี ขึ้นมาบ้างเล็กน้อย
หากถามว่าอะไรเป็นปัจจัยความมั่นใจในการขยายตลาด แค่ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้แต่ละเขตก็ว่ายากแล้วนะ นี่ยังเปลี่ยนรูปแบบขยายมาถึงกรุงเทพฯ จะว่ากล้าหาญหรือบ้าบิ่น อันนี้ผมว่าต้องอยู่ที่เทคนิคการทำผ้าปาเต๊ะ เพราะถ้าไม่เจ๋งจริงผ้าปาเต๊ะซาฮาร่าคงไม่ผงาดไปในประเทศมาเลเซียที่เรียกว่าเป็นต้นกำเนิดของผ้าปาเต๊ะได้แน่
มาดูกันว่าผ้าปาเต๊ะซาฮาร่านั้นมีของ หรือซ่อนเทคนิคอะไรเอาไว้ จากการสนทนากับคุณนี เธอหัวเราะร่า และบอกว่าไม่มีของแต่อย่างใดทั้งนั้น แต่ที่ผ้าปาเต๊ะของเธอต่างจากรายอื่น เพราะมีเทคนิคในการทำผ้าปาเต๊ะให้สามารถสวมใส่ได้ 2 ด้าน ซักอีกกี่ครั้งสีก็ไม่ตก และลายไม่ซ้ำใคร
"ผ้าที่เราเอามาทำผ้าปาเต๊ะ และโสร่ง เป็นผ้าเนื้อดีที่เรียกว่า ผ้าลักกี้ เนื้อผ้าจะลื่นๆ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายผ้าดิบในประเทศไทย ไม่ต้องไปถึงมาเลเซีย"
จุดเด่นอีกอย่างที่กล่าวไว้ว่า ลายไม่ซ้ำแบบใคร ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะที่กลุ่มแม่บ้านบางขุดจะทำบล็อคออกมาอย่างสม่ำเสมอ การทำบล็อคแต่ละครั้งจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง เพราะว่าบล็อคๆ หนึ่งสามารถทำลายได้ประมาณ 3,000 ลาย
เริ่มต้นการใช้เงินทุนในการซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ทำผ้าปาเต๊ะบวกเงินหมุนเวียนคุณนีว่าอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท "อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ประกอบด้วย บล็อค ผ้า เทียน สี และแม่พิมพ์ตกราคาประมาณ 5,000 บาท เราใช้ 5-6 อัน ทำไปได้ประมาณ 2-3 เดือน ก็เปลี่ยน แต่เราจะนำกลับมาใช้อีก โดยจะดัดแปลงเป็นลายอื่นต่อไป ไม่ได้ทิ้งเลย"
เทคนิคการทำเสื้อ คุณนี กล่าวแบบหลักสูตรเร่งรัดว่า "แรกๆ ให้ออกแบบลายที่ต้องการในกระดาษก่อน เมื่อพอใจกับลายนั้น ให้นำผ้าขาวมาขึงไว้ แล้วลอกลายไปบนผ้า ต่อไปให้หยดเทียนตามลายเส้นบนผ้าขาวที่วาดไว้ แล้วแต้มสีตามต้องการ จากนั้นให้นำผ้าผืนนั้นไปต้มเพื่อย้อมสี และนำไปต้มอีกครั้งเพื่อเอาเทียนออก สิ้นสุดวิธีก็คือนำผ้ามาตากให้แห้ง"
จากขั้นตอนการทำที่กล่าวมา ผู้อ่านหลายท่านอาจสงสัยว่า แล้วเทคนิคอะไรที่ทำให้สีไม่ตก เทคนิคนี้อยู่ที่การต้ม โดยจะผสมน้ำยาชนิดพิเศษเข้าไปขณะต้มผ้าจะทำให้สีติดเนื้อผ้าได้ดีเยี่ยม แต่น้ำยาที่ว่าคืออะไรนั้น ผู้เขียนลองซอกแซกถามหลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่มีสัญญาณตอบรับกลับมาเลย เสียใจด้วยครับท่านผู้อ่าน
รู้เขา...รู้เรา
รบ 100 ชนะ 100
ด้านการตลาด แม้เป็นสินค้าโอท็อปที่อยู่ห่างไกลสุดขนาดนราธิวาส ก็ยังได้ลงโฆษณาจากสื่อท้องถิ่นเป็นประจำ และเพื่อขยายฐานลูกค้า งานแสดงสินค้านั้นต้องไม่พลาด คุณนี เล่าแบบขำๆ ให้ฟังว่า "เราจะออกงานแสดงสินค้าทุกงาน ทั้งแบบเสียเงิน หรือไม่เสียเงินก็ตาม บางจุดเราแทบจะขาดทุน แต่เราก็ยอมไป เพราะเราถือว่าไปแสดงสินค้าให้ผู้บริโภคได้เห็น เผื่อสักวันจะจดจำผ้าปาเต๊ะซาฮาร่าไว้ในดวงใจบ้าง"
มีแหล่งจำหน่ายผ้าปาเต๊ะขนาดนี้ ที่จังหวัดนราธิวาส ประเทศมาเลเซียที่เป็นต้นกำเนิดของผ้าปาเต๊ะ ต้องมียอดขายดีแน่ๆ เลย
"ไม่ใช่ค่ะ..." คุณนี แย้งขึ้นทันที "กลับกันค่ะ ที่ขายดีที่สุดจะเป็นที่หาดใหญ่ ส่วนที่มาเลย์ก็มีคู่แข่งเยอะ ที่รับของเราไปขายนั้นเพียงไม่กี่รายเท่านั้น นอกจากนั้น มาเลเซียยังรับผ้าปาเต๊ะจากประเทศอินโดนีเซียมาด้วย ทำให้โอกาสด้านการตลาดค่อนข้างกว้าง"
แต่ละเดือนกลุ่มแม่บ้านบางขุดจะมีรายได้จากการจำหน่ายผ้าปาเต๊ะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 60,000 บาท บางเดือนก็ได้น้อยกว่า บางเดือนก็จะได้มากถึงเกือบหลักแสนก็มี รายได้ที่ได้มาจะถูกแบ่งจ่ายเป็นค่าแรงของแต่ละคน ในแต่ละวันที่ทำ ใครทำวันไหนก็ได้วันนั้น วันไหนใครไม่มาช่วยก็ไม่ได้ค่าแรง และจะเก็บไว้ส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งไว้เป็นสวัสดิการของสมาชิก ยามเมื่อสมาชิกคนไหนเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา เงินก้อนนี้จะช่วยเป็นค่ารักษาพยาบาลได้
การตลาดส่วนใหญ่ถ้าเป็นในพื้นที่ภาคใต้ คุณนี บอกว่า ไม่มีปัญหาเนื่องจากรู้พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นอย่างดีว่าพื้นที่ไหนจะนิยมแต่งกายในลักษณะใด เพียงนำไปเสนอขายตามร้านถ้าตกลงกันได้ภารกิจก็เสร็จสิ้น แต่ในกรุงเทพฯ คุณนีจะต้องเผชิญกับผู้ประกอบการรายอื่นที่นำผ้าปาเต๊ะจากพม่ามาจำหน่ายเหมือนกัน
"เราจะมีอุปสรรคตรงที่ราคาผ้าปาเต๊ะของเราจะสูงกว่าของพม่า แต่คุณภาพของเราจะดีกว่า ผืนหนึ่งของเขาราคาจะตกอยู่ที่ 60-80 บาท ของเราประมาณ 100-110 บาท ต่อผืน ผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นของถูกก็เลือกไว้ก่อน บางคนที่มาตามงานแสดงสินค้า มักถามว่าทำไมที่อื่นขายตัวละ 80 บาทเอง แต่เราก็อธิบายให้เข้าใจว่าผ้าของเรามีเทคนิคการลงสีที่ต่างกัน สามารถใส่ได้ทั้ง 2 ด้าน และเมื่อซักแล้วสีจะไม่ตก หากซื้อไปแล้วไม่เป็นอย่างที่กล่าว เรายังอยู่ที่บู๊ธอีกหลายวัน ให้มาเปลี่ยนได้เลย" คุณนี เธอว่าอย่างนั้นนะครับ
สุดท้าย มากล่าวถึงแผนการตลาดในอนาคตกันบ้าง แน่นอนเรื่องการพัฒนารูปแบบลายผ้าให้ตอบสนองกลุ่มผู้บริโภค คุณนีให้คำมั่นว่าจะทำให้ได้ และถ้ามีโอกาส คุณนีจะนำสินค้าของกลุ่มมาเสนอขายตามตลาดนัดจตุจักร เพราะแหล่งรับแค่ร้านขายเสื้อในตลาดโบ๊เบ๊ 3 ร้าน อาจน้อยไป แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องรอการแปรรูปสินค้าก่อน เนื่องจากสินค้าที่ตลาดนัดจตุจักรจะมีรูปแบบที่หลากหลายกว่า
"แม้จะอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่กำลังประสบปัญหาความรุนแรง จนทำให้ยอดขายของเราหล่นลงไปไม่น้อย แต่ถ้าเราไม่พยายามที่จะผลักดันชีวิตของเราเอง เราก็จะจมอยู่แค่นี้ ไม่สามารถขยับไปไหนได้ รู้ทั้งรู้ว่าการขยายฐานธุรกิจไปที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีความต้องการที่ต่างไปจากคนใต้ แต่หนทางไม่ได้มีแค่ 1 ทาง เราสามารถปรับรูปแบบสินค้าของเราให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ค่ะ" ผู้ผลิต และจำหน่ายผ้าปาเต๊ะซาฮาร่า กล่าวปิดท้าย
ผู้อ่านท่านใดที่สนใจจะเป็นตัวแทนจำหน่ายผ้าปาเต๊ะซาฮาร่า สามารถเดินทางมาดูงานได้ที่ 181/1 หมู่ 1 หมู่บ้านบางขุด ตำบลฆอเลาะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณมารีนี อาเจอนาน (คุณนี) ที่เบอร์โทร. (06) 294-0824 และ (09) 296-9635
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทธุรกิจ ผ้าปาเต๊ะซาฮาร่า
ลักษณะกิจการ มีหุ้นส่วน 10 คน
ชื่อผู้ประกอบการ คุณมารีนี อาเจอนาน (คุณนี)
จุดเด่นสินค้า สวมใส่ได้ 2 ด้าน ซักแล้วสีไม่ตก ลายไม่ซ้ำแบบใคร
เงินลงทุน ประมาณ 100,000 บาท
ลักษณะการขาย ออกงานแสดงสินค้า ขายปลีก และขายส่ง
ทำเลที่ตั้ง 181/1 หมู่ 1 หมู่บ้านบางขุด ตำบลฆอเลาะ
อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
โทรศัพท์ติดต่อ (06) 294-0824 และ (09) 296-9635
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-