วันนี้ (15 ก.พ.) ได้มีการประชุมสรรหาคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.ช.จากตัวแทนพรรคการเมือง ในสัดส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ให้เลือกกันเองให้เหลือ 1 คน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 297 โดยมีตัวแทนพรรคการเมือง 3 พรรค ซึ่งประกอบด้วยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทย และนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสตร์ ส.ส.พิจิตร พรรคมหาชน ร่วมหารือ ซึ่งได้คัดเหลือเพียง 1 คือ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
นายสาทิตย์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ในส่วนตัวแทนพรรคการเมืองที่ไม่มีรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งซึ่งมีทั้งหมด 3 พรรค ได้คัดเลือกตนในฐานะตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ไปเป็นตัวแทนคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งก็เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ ส่วนพรรคไทยรักไทยอยู่ในส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกในสังกัดที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีก็ต้องไปสรรหากันเอง
สำหรับขั้นตอนหลังจากนั้น นายสาทิตย์ กล่าวว่า เมื่อได้คณะกรรมการสรรหาฯจากทุกฝ่ายแล้วก็จะส่งรายชื่อคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.ช.ทั้งหมด จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประธานคณะกรรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตัวแทนผู้ตรวจแผ่นดินรัฐสภา 1 คน ตัวแทนอธิการบดีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเลือกกันเองให้เหลือ 6 คน ตัวแทนพรรคการเมือง 2 คน ให้กับวุฒิสภา ในวันที่ 17 ก.พ.นี้ หลังจากนั้นก็จะมีการนัดประชุมนัดแรกในวันที่ 20 ก.พ.49 ต่อไป
และเมื่อเวลา 12.30 น.ที่พรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน)ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์กับคณะทำงานติดตามการขายหุ้นชิน คอร์ป ของตระกูลชินวัตร-ดามาพงศ์ โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.กทม. เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ได้ร่วมประชุมถึงเรื่องการยกร่างญัตติขอเปิดอภิปราย เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาการยกร่างจากพฤติกรรมตลอด 5 ปีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งมีประเด็นอย่างน้อย 5 ประเด็น คือ
1.การใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน การแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระและสื่อมวลชน และการใช้อำนาจรัฐเพื่อประโยชน์ของตนเอง
2.เรื่องทุจริต โดยเฉพาะทุจริตเชิงนโยบาย
3.การเลี่ยงกฎหมายและจงใจผิดกฎหมาย
4.การไม่ปกป้องทรัพย์สินและผลประโยชน์ของประเทศชาติ และ
5.การบริหารประเทศที่ผิดพลาด ล้มเหลว
โดยจะนำประเด็นเหล่านี้เสนอต่อที่ประชุมวิปฝ่ายค้านในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ว่าจะมีประเด็นใดเห็นตรงกันบ้าง ทั้งนี้ หากมีประเด็นใดในญัตติเข้าข่าย 3 เงื่อนไขคือ
1.ร่ำรวยผิดปกติ
2.ทุจริตต่อหน้าที่ และ
3.จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ก็ต้องยื่นถอดถอนด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.พ. 2549--จบ--
นายสาทิตย์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ในส่วนตัวแทนพรรคการเมืองที่ไม่มีรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งซึ่งมีทั้งหมด 3 พรรค ได้คัดเลือกตนในฐานะตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ไปเป็นตัวแทนคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งก็เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ ส่วนพรรคไทยรักไทยอยู่ในส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกในสังกัดที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีก็ต้องไปสรรหากันเอง
สำหรับขั้นตอนหลังจากนั้น นายสาทิตย์ กล่าวว่า เมื่อได้คณะกรรมการสรรหาฯจากทุกฝ่ายแล้วก็จะส่งรายชื่อคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.ช.ทั้งหมด จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประธานคณะกรรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตัวแทนผู้ตรวจแผ่นดินรัฐสภา 1 คน ตัวแทนอธิการบดีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเลือกกันเองให้เหลือ 6 คน ตัวแทนพรรคการเมือง 2 คน ให้กับวุฒิสภา ในวันที่ 17 ก.พ.นี้ หลังจากนั้นก็จะมีการนัดประชุมนัดแรกในวันที่ 20 ก.พ.49 ต่อไป
และเมื่อเวลา 12.30 น.ที่พรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน)ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์กับคณะทำงานติดตามการขายหุ้นชิน คอร์ป ของตระกูลชินวัตร-ดามาพงศ์ โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.กทม. เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ได้ร่วมประชุมถึงเรื่องการยกร่างญัตติขอเปิดอภิปราย เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาการยกร่างจากพฤติกรรมตลอด 5 ปีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งมีประเด็นอย่างน้อย 5 ประเด็น คือ
1.การใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน การแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระและสื่อมวลชน และการใช้อำนาจรัฐเพื่อประโยชน์ของตนเอง
2.เรื่องทุจริต โดยเฉพาะทุจริตเชิงนโยบาย
3.การเลี่ยงกฎหมายและจงใจผิดกฎหมาย
4.การไม่ปกป้องทรัพย์สินและผลประโยชน์ของประเทศชาติ และ
5.การบริหารประเทศที่ผิดพลาด ล้มเหลว
โดยจะนำประเด็นเหล่านี้เสนอต่อที่ประชุมวิปฝ่ายค้านในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ว่าจะมีประเด็นใดเห็นตรงกันบ้าง ทั้งนี้ หากมีประเด็นใดในญัตติเข้าข่าย 3 เงื่อนไขคือ
1.ร่ำรวยผิดปกติ
2.ทุจริตต่อหน้าที่ และ
3.จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ก็ต้องยื่นถอดถอนด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.พ. 2549--จบ--