นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังคาดว่าจะจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2549 ได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่วางไว้ ในขณะที่ทิศทางกรอบวงเงินงบประมาณ 3 ปีเริ่มชัดเจนแล้ว
นายสมชัยฯ กล่าวว่า เมื่อวานนี้ ( 25 กรกฎาคม 2549) นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ประชุมร่วมกับปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้แทนกรมบัญชีกลาง เพื่อพิจารณาการคาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2549 และกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2550-2552 โดยผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. การคาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2549 กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — กันยายน 2549) จะเก็บได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 1.36 ล้านล้านบาท โดยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ตุลาคม 2548 — มิถุนายน 2549) การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลยังเกินเป้าหมายอยู่ 7,738 ล้านบาท ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาการจัดเก็บรายได้ภาษีของกรมสรรพสามิตจะเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 27,260 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากการสูญเสียรายได้ภาษีสรรพสามิตจากการลดภาษีน้ำมันดีเซล 1 บาท เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายต่อประชาชน และการจัดเก็บรายได้ภาษีของกรมศุลกากรต่ำกว่าเป้าหมาย 16,463 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากการปรับโครงสร้างอากร ขาเข้าในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ รวมทั้งการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้ และผลกระทบจากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่าง ๆ
ในช่วง 3 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2549 ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดว่าการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณ 2549 จะได้เกินเป้าหรือต่ำกว่าเป้านั้น ได้แก่ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากผลประกอบการของธุรกิจครึ่งปีแรกของปี 2549 ซึ่งจะจัดเก็บในเดือนสิงหาคม 2549 นี้ อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังคาดว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลทั้งปีใกล้เคียงกับประมาณการที่ตั้งไว้ (1.36 ล้านล้านบาท)
2. การพิจารณาวงเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2550-2552 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและปลัดกระทรวงการคลังมีข้อสังเกตในเรื่องทิศทางของเศรษฐกิจในระยะ 2-3 ปีข้างหน้าศักยภาพด้านการจัดเก็บรายได้ ความจำเป็นและความพร้อมในการใช้จ่ายของรัฐบาล และความเป็นไปได้ในการเบิกจ่ายของส่วนราชการและหน่วยงานอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2550 ซึ่งในเบื้องต้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรับทราบแนวทางการกำหนดวงเงินงบประมาณที่นำเสนอโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังดำเนินการทบทวนตัวเลขตามข้อสังเกตจากที่ประชุมและหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่จาก 3 หน่วยงานเศรษฐกิจ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ รวมทั้งให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ประชุมร่วมกับหน่วยงานจัดเก็บภาษี 3 กรม ได้แก่ กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต อีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับวงเงินรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2550-2552 และให้นำผลที่ได้เสนอต่อที่ประชุมร่วม 4 หน่วยงานเศรษฐกิจ (กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 70/2549 26 กรกฎาคม 49--
นายสมชัยฯ กล่าวว่า เมื่อวานนี้ ( 25 กรกฎาคม 2549) นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ประชุมร่วมกับปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้แทนกรมบัญชีกลาง เพื่อพิจารณาการคาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2549 และกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2550-2552 โดยผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. การคาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2549 กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — กันยายน 2549) จะเก็บได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 1.36 ล้านล้านบาท โดยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ตุลาคม 2548 — มิถุนายน 2549) การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลยังเกินเป้าหมายอยู่ 7,738 ล้านบาท ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาการจัดเก็บรายได้ภาษีของกรมสรรพสามิตจะเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 27,260 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากการสูญเสียรายได้ภาษีสรรพสามิตจากการลดภาษีน้ำมันดีเซล 1 บาท เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายต่อประชาชน และการจัดเก็บรายได้ภาษีของกรมศุลกากรต่ำกว่าเป้าหมาย 16,463 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากการปรับโครงสร้างอากร ขาเข้าในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ รวมทั้งการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้ และผลกระทบจากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่าง ๆ
ในช่วง 3 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2549 ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดว่าการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณ 2549 จะได้เกินเป้าหรือต่ำกว่าเป้านั้น ได้แก่ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากผลประกอบการของธุรกิจครึ่งปีแรกของปี 2549 ซึ่งจะจัดเก็บในเดือนสิงหาคม 2549 นี้ อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังคาดว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลทั้งปีใกล้เคียงกับประมาณการที่ตั้งไว้ (1.36 ล้านล้านบาท)
2. การพิจารณาวงเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2550-2552 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและปลัดกระทรวงการคลังมีข้อสังเกตในเรื่องทิศทางของเศรษฐกิจในระยะ 2-3 ปีข้างหน้าศักยภาพด้านการจัดเก็บรายได้ ความจำเป็นและความพร้อมในการใช้จ่ายของรัฐบาล และความเป็นไปได้ในการเบิกจ่ายของส่วนราชการและหน่วยงานอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2550 ซึ่งในเบื้องต้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรับทราบแนวทางการกำหนดวงเงินงบประมาณที่นำเสนอโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังดำเนินการทบทวนตัวเลขตามข้อสังเกตจากที่ประชุมและหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่จาก 3 หน่วยงานเศรษฐกิจ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ รวมทั้งให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ประชุมร่วมกับหน่วยงานจัดเก็บภาษี 3 กรม ได้แก่ กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต อีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับวงเงินรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2550-2552 และให้นำผลที่ได้เสนอต่อที่ประชุมร่วม 4 หน่วยงานเศรษฐกิจ (กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 70/2549 26 กรกฎาคม 49--