ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. อนุมัติให้ ธ.ทหารไทยออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหนี้เดิม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ
ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้เสนอให้ ก.คลังพิจารณาเรื่องการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ในลักษณะของตรา
สารหนี้กึ่งทุนของ ธ.ทหารไทย เพื่อนำไปไถ่ถอนตราสารหนี้กึ่งทุนของธนาคารที่ติดมาจากการควบรวมกิจการกับ ธ.
ดีบีเอส ไทยทนุ และ ไอเอฟซีที จำนวน 5.5 พันล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนในกลางปีนี้ หลังจากผ่านขั้นตอน
การพิจารณาอนุมัติจาก ธปท. แล้ว ซึ่งจะทำให้ ธ.ทหารไทยลดภาระดอกเบี้ยลงหลายร้อยล้านบาท ทั้งนี้ แหล่ง
ข่าวกล่าวว่า ธปท. เสนอขอให้ ก.คลังเห็นชอบอนุมัติ เพราะผลิตภัณฑ์ทางการเงินดังกล่าวไม่ผิดหลักเกณฑ์ของ ธ.
เพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) เป็นรูปแบบ Hybrid Upper Tier 1 Bond ซึ่งมีลักษณะเป็นตรา
สารหนี้กึ่งทุนเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน วงเงิน 5.5 พันล้านบาท เป็นตราสารที่ไม่มีอายุไถ่ถอนและไม่มี
การจ่ายเงินปันผลที่สะสมมาจากปีที่บริษัทไม่มีกำไร ซึ่งในต่างประเทศเคยมีกรณีเช่นนี้ มีการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีอายุ
ยาวมาก ๆ และไม่มีการสะสมเงินปันผลได้นับรวมเป็นกองทุนขั้นที่ 1 จากปกติที่หุ้นกู้ด้อยสิทธิจะนับเป็นกองทุนขั้นที่ 2 (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. หนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 48 มีจำนวน 24,200 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยถึงผลสำรวจหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นไตร
มาส 3 ปี 48 ว่ามีหนี้ต่างประเทศคงค้างทั้งสิ้น 24,200 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 900 ล้านดอลลาร์ สรอ.
จากสิ้นไตรมาส 2 ปี 48 เนื่องจากช่วงไตรมาสที่ 3 มีการกู้เงินสุทธิมากขึ้น ทั้งจากธุรกรรมที่เป็นเงินตราต่าง
ประเทศและเงินบาท รวมถึงการกู้เงินจากต่างประเทศแต่ไม่นำเงินเข้าประเทศ และโอนไปชำระค่าสินค้าหรือลง
ทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารเคยลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 43
เพิ่งเริ่มปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันในไตรมาส 2 และ 3 ปี 48 โดยหนี้ที่เป็นเงินกู้เงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นทั้งในส่วน
ของหนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น ขณะที่หนี้สกุลเงินบาทพบว่าหนี้ระยะยาวมียอดคงค้างเพิ่มขึ้น แต่หนี้ระยะสั้นกลับมี
ยอดคงค้างลดลงจากไตรมาสก่อน สำหรับหนี้ต่างประทศในไตรมาส 3 ปี 48 เป็นหนี้เงินกู้เงินตราต่างประเทศ
ร้อยละ 61.6 ของยอดคงค้างทั้งหมด รองลงมาเป็นหนี้เงินกู้และตราสารหนี้สกุลเงินบาทร้อยละ 30.4 ที่เหลือเป็น
ตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศร้อยละ 8 โดยหนี้ต่างประเทศเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. มากที่สุด รองลงมา
เป็นสกุลเงินบาท เงินเยน และยูโร ซึ่งส่วนใหญ่คิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่เฉลี่ยร้อยละ 4.63 ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ย
ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 47 อยู่ในทิศทางเดียวกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินที่สำคัญของโลก (เดลินิวส์)
3. ธ.พาณิชย์อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ไม่เกินไตรมาส 2 ของปีนี้ นายประสาร ไตรรัตน์
วรกุล กก.ผจก. ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า ในช่วงต้นปีหรือไม่เกินไตรมาส 2 ของปีนี้ ธนาคารบางแห่งอาจจะปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ส่วนการแข่งขันของ ธ.พาณิชย์นั้นจะเน้นด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้นรวม
ถึงดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์มากขึ้น เพราะส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์มีกว้าง
ขึ้น ทำให้ไม่กระทบต่อต้นทุนของธนาคาร ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายเชื่อว่ากลางปีนี้จะถึงจุดสูงสุดตามทิศทางอัตรา
ดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ. หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะเริ่มทรงตัวหรือปรับลดลง (โลกวันนี้, กรุงเทพ
ธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. เจพีมอร์แกนคาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวร้อยละ 4.7 นายวรภัค ธันยาวงษ์ กก.ผจก.กลุ่ม
ธนาคาร เจพีมอร์แกน ประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกในปี 49 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 3-4 ขณะที่
เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.7 โดยมีโครงการลงทุนเมกะโปรเจกต์เป็นตัวหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
ส่วนการลงทุนของภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากกำลังการผลิตของภาคเอกชนมีสูงถึงร้อยละ 80 จำเป็นต้องเพิ่ม
การลงทุนใหม่ นอกจากนี้ ภาคการส่งออกยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโต ซึ่งหากการส่งออกขยาย
ตัวร้อยละ 17 จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยโตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ด้านแนวโน้มดอกเบี้ยในปี 49 ในช่วงครึ่งปีแรก
ภาวะดอกเบี้ยทั่วโลกยังมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมองว่าดอกเบี้ยอาร์/พี ระยะ 14 วัน จะอยู่ที่ 4.25 ในช่วงไตรมาส
3 ของปี หลังจากนั้น จะทยอยปรับลดลงตามทิศทางดอกเบี้ยของ สรอ. ในขณะที่เงินบาทจะแตะระดับ 40 บาท
ต่อดอลลาร์ สรอ. สำหรับภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยยังมีแนวโน้มที่ดี โดยคาดว่าปลายปี 49 ดัชนีจะอยู่ที่
ระดับ 780 จุด และอัตราการเติบโตของผลตอบแทนการลงทุนจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ธ.ค.48 ชะลอลงที่ร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี
รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 4 ม.ค.49 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจ
ยุโรปในเดือน ธ.ค. 48 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี สอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้และลดลง
จากร้อยละ 2.3 ในเดือน พ.ย.48 หลังจากที่เคยทะยานขึ้นสูงสุดที่ระดับร้อยละ 2.6 ในเดือน ก.ย.48 ทั้งนี้ หัว
หน้านักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ภาวะเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปเริ่มชะลอตัวทีละน้อย และจะลดลงอยู่ในระดับ
ร้อยละ 2.0 ตามเป้าหมายที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ภายใน 2-3 เดือนข้างหน้านี้ เนื่องจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับ
สูงเริ่มชะลอตัวลง ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางคนโต้แย้งว่า ภาวะเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปอาจลดลงอยู่ใน
ระดับต่ำตามเป้าหมายเงินเฟ้อของสหภาพยุโรปในช่วงครึ่งหลังของปี 49 ทั้งนี้ได้มีการคาดการณ์ว่า ธ.กลางยุโรป
อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้ โดยปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ต่อครั้งในช่วงเดือน มี.ค.และ มิ.
ย.49 อย่างไรก็ตาม การที่ ธ.กลางสหภาพยุโรปปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ
2.25 เมื่อ 1 ธ.ค.48 (ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี) นั้น ได้รับการคัดค้านจากนักการเมือง
สหภาพแรงงาน นักธุรกิจและนายธนาคารเนื่องจากกลุ่มดังกล่าวเห็นว่าแม้จะมีภาวะเสี่ยงจากเงินเฟ้อแต่ก็มีสัญญาณ
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยข้อมูลล่าสุดพบว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศเยอรมนี (ซึ่ง
เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่สุดในเขตเศรษฐกิจยุโรป) ในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 17
เดือน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่จำนวนผู้ว่างงานลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 (รอยเตอร์)
2. โครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ขออนุมัติลงทุนในเกาหลีใต้ในปี 48 ลดลงร้อยละ
9.6 จากปีก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 4 ม.ค.48 โครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ขออนุมัติลงทุนใน
เกาหลีใต้ในปี 48 มีมูลค่ารวม 11.56 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงร้อยละ 9.6 จากปีก่อน เทียบกับปี 47 ที่มี
มูลค่ารวม 12.79 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากปี 46 โดยคาดว่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่าง
ประเทศในปีนี้จะมูลค่าประมาณ 11 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนดึงดูดเงินลงทุนโดย
ตรงจากต่างประเทศเป็นมูลค่าถึง 53.13 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 48 ทั้งนี้เป็นผล
จากราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นผลจากแนวโน้มในอนาคตที่ไม่แน่นอนของค่า
เงินวอนของเกาหลีใต้แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นก็ตาม เกาหลีใต้ประกาศที่จะเป็นศูนย์กลางทางการเงินใน
ภูมิภาคโดยพยายามชักชวนบริษัทต่างประเทศให้มาร่วมลงทุนซึ่งจะทำให้ได้ทั้งเงินลงทุนและเทคโนโลยีจากต่าง
ประเทศมาช่วยพัฒนาภาคบริการทางการเงินของตนที่ได้รับปกป้องมานานและยังอ่อนแออยู่ให้ดีขึ้น โดยเงินลงทุนก้อน
ใหญ่จากต่างประเทศในปี 48 ก็อยู่ในภาคบริการทางการเงินจาก ธ.แสตนดาร์ดชาร์เตอร์ดของอังกฤษที่ลงทุน 2
พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในหุ้นของ Korea First Bank และ GE Capital ที่ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท Hyundai
Card ซึ่งเป็นบริษัทบัตรเครดิตของบริษัทผลิตรถยนต์ Hyundai เป็นมูลค่า 470 ล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4
รายงานจากโซลเมื่อ 5 ม.ค.48 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภค (The
Consumer expectation index) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและภาวะการใช้จ่าย
ส่วนบุคคลของผู้บริโภคในช่วงเวลา 6 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ระดับ 100.4 ในเดือน ธ.
ค.48 จากระดับ 98.5 ในเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่เดือน เม.ย.48 ซึ่งเพิ่มขึ้น
สูงสุดที่ระดับ 101.3 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การที่ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้
รับแรงสนับสนุนจากดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และสะท้อนถึงการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพของการใช้จ่าย
ภายในประเทศ นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและมาตรฐานการ
ครองชีพเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนก่อนหน้า ก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ระดับ 85.3 จากระดับ 84.9 ใน
เดือนก่อนหน้า ส่วนดัชนีย่อยซึ่งชี้วัดการวางแผนการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ
106.6 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.45 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 106.8 อนึ่ง การฟื้นตัวของการใช้จ่ายส่วนบุคคล ซึ่งมีสัดส่วน
เป็นครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์ในประเทศของเกาหลีใต้ ก่อให้เกิดความคาดหวังเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี
49 โดยทั้ง ธ.กลางเกาหลีใต้และ ก.คลัง ต่างคาดหมายว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี
49 สูงกว่าที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.9 (รอยเตอร์)
4. ยอดส่งออกของมาเลเซียในเดือน พ.ย.48 ขยายตัวร้อยละ 11.9 จากปีก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้
รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 4 ม.ค.48 ยอดส่งออกของมาเลเซียในเดือน พ.ย.48 ขยายตัว ร้อยละ 11.9
จากปีก่อนต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ที่ร้อยละ 19.3 ต่อปี โดยรัฐบาลให้ความเห็นว่ามาจากจำนวนวันทำงานที่น้อย
กว่าปีก่อนเนื่องจากมีวันหยุด ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางคนให้ความเห็นว่านอกจากเป็นผลจากวันหยุดแล้วยังมี
สาเหตุมาจากแนวโน้มการส่งออกที่ชะลอตัวลงทั่วภูมิภาคเอเชียไม่เฉพาะมาเลเซีย และคาดว่ายอดส่งออกในปี 49
จะชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เศรษฐกิจมาเลเซียพึ่งพาการส่งออกถึงเกือบร้อยละ 100 ของผลผลิตมวลรวมใน
ประเทศ โดยยอดส่งออกครึ่งหนึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตหรือประกอบโดยบริษัทเช่นอินเท
ลและเดลล์ ในขณะที่ยอดนำเข้าซึ่งส่วนใหญ่เพื่อนำไปใช้ในการผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ในเดือน พ.
ย.48 จากปีก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 12.5 และยอดเกินดุลการค้ามีจำนวน 8.7 พันล้านริงกิตหรือประมาณ
2.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 9.1 พันล้านริงกิต (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ม.ค. 49 4 ม.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.893 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7594/41.0411 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.15 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 743.20/ 51.48 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,100/10,200 10,150/10,250 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.18 55.74 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 24 ธ.ค. 48 26.04*/23.49* 26.04*/23.49* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. อนุมัติให้ ธ.ทหารไทยออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหนี้เดิม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ
ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้เสนอให้ ก.คลังพิจารณาเรื่องการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ในลักษณะของตรา
สารหนี้กึ่งทุนของ ธ.ทหารไทย เพื่อนำไปไถ่ถอนตราสารหนี้กึ่งทุนของธนาคารที่ติดมาจากการควบรวมกิจการกับ ธ.
ดีบีเอส ไทยทนุ และ ไอเอฟซีที จำนวน 5.5 พันล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนในกลางปีนี้ หลังจากผ่านขั้นตอน
การพิจารณาอนุมัติจาก ธปท. แล้ว ซึ่งจะทำให้ ธ.ทหารไทยลดภาระดอกเบี้ยลงหลายร้อยล้านบาท ทั้งนี้ แหล่ง
ข่าวกล่าวว่า ธปท. เสนอขอให้ ก.คลังเห็นชอบอนุมัติ เพราะผลิตภัณฑ์ทางการเงินดังกล่าวไม่ผิดหลักเกณฑ์ของ ธ.
เพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) เป็นรูปแบบ Hybrid Upper Tier 1 Bond ซึ่งมีลักษณะเป็นตรา
สารหนี้กึ่งทุนเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน วงเงิน 5.5 พันล้านบาท เป็นตราสารที่ไม่มีอายุไถ่ถอนและไม่มี
การจ่ายเงินปันผลที่สะสมมาจากปีที่บริษัทไม่มีกำไร ซึ่งในต่างประเทศเคยมีกรณีเช่นนี้ มีการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีอายุ
ยาวมาก ๆ และไม่มีการสะสมเงินปันผลได้นับรวมเป็นกองทุนขั้นที่ 1 จากปกติที่หุ้นกู้ด้อยสิทธิจะนับเป็นกองทุนขั้นที่ 2 (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. หนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 48 มีจำนวน 24,200 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยถึงผลสำรวจหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นไตร
มาส 3 ปี 48 ว่ามีหนี้ต่างประเทศคงค้างทั้งสิ้น 24,200 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 900 ล้านดอลลาร์ สรอ.
จากสิ้นไตรมาส 2 ปี 48 เนื่องจากช่วงไตรมาสที่ 3 มีการกู้เงินสุทธิมากขึ้น ทั้งจากธุรกรรมที่เป็นเงินตราต่าง
ประเทศและเงินบาท รวมถึงการกู้เงินจากต่างประเทศแต่ไม่นำเงินเข้าประเทศ และโอนไปชำระค่าสินค้าหรือลง
ทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารเคยลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 43
เพิ่งเริ่มปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันในไตรมาส 2 และ 3 ปี 48 โดยหนี้ที่เป็นเงินกู้เงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นทั้งในส่วน
ของหนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น ขณะที่หนี้สกุลเงินบาทพบว่าหนี้ระยะยาวมียอดคงค้างเพิ่มขึ้น แต่หนี้ระยะสั้นกลับมี
ยอดคงค้างลดลงจากไตรมาสก่อน สำหรับหนี้ต่างประทศในไตรมาส 3 ปี 48 เป็นหนี้เงินกู้เงินตราต่างประเทศ
ร้อยละ 61.6 ของยอดคงค้างทั้งหมด รองลงมาเป็นหนี้เงินกู้และตราสารหนี้สกุลเงินบาทร้อยละ 30.4 ที่เหลือเป็น
ตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศร้อยละ 8 โดยหนี้ต่างประเทศเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. มากที่สุด รองลงมา
เป็นสกุลเงินบาท เงินเยน และยูโร ซึ่งส่วนใหญ่คิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่เฉลี่ยร้อยละ 4.63 ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ย
ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 47 อยู่ในทิศทางเดียวกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินที่สำคัญของโลก (เดลินิวส์)
3. ธ.พาณิชย์อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ไม่เกินไตรมาส 2 ของปีนี้ นายประสาร ไตรรัตน์
วรกุล กก.ผจก. ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า ในช่วงต้นปีหรือไม่เกินไตรมาส 2 ของปีนี้ ธนาคารบางแห่งอาจจะปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ส่วนการแข่งขันของ ธ.พาณิชย์นั้นจะเน้นด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้นรวม
ถึงดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์มากขึ้น เพราะส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์มีกว้าง
ขึ้น ทำให้ไม่กระทบต่อต้นทุนของธนาคาร ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายเชื่อว่ากลางปีนี้จะถึงจุดสูงสุดตามทิศทางอัตรา
ดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ. หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะเริ่มทรงตัวหรือปรับลดลง (โลกวันนี้, กรุงเทพ
ธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. เจพีมอร์แกนคาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวร้อยละ 4.7 นายวรภัค ธันยาวงษ์ กก.ผจก.กลุ่ม
ธนาคาร เจพีมอร์แกน ประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกในปี 49 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 3-4 ขณะที่
เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.7 โดยมีโครงการลงทุนเมกะโปรเจกต์เป็นตัวหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
ส่วนการลงทุนของภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากกำลังการผลิตของภาคเอกชนมีสูงถึงร้อยละ 80 จำเป็นต้องเพิ่ม
การลงทุนใหม่ นอกจากนี้ ภาคการส่งออกยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโต ซึ่งหากการส่งออกขยาย
ตัวร้อยละ 17 จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยโตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ด้านแนวโน้มดอกเบี้ยในปี 49 ในช่วงครึ่งปีแรก
ภาวะดอกเบี้ยทั่วโลกยังมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมองว่าดอกเบี้ยอาร์/พี ระยะ 14 วัน จะอยู่ที่ 4.25 ในช่วงไตรมาส
3 ของปี หลังจากนั้น จะทยอยปรับลดลงตามทิศทางดอกเบี้ยของ สรอ. ในขณะที่เงินบาทจะแตะระดับ 40 บาท
ต่อดอลลาร์ สรอ. สำหรับภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยยังมีแนวโน้มที่ดี โดยคาดว่าปลายปี 49 ดัชนีจะอยู่ที่
ระดับ 780 จุด และอัตราการเติบโตของผลตอบแทนการลงทุนจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ธ.ค.48 ชะลอลงที่ร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี
รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 4 ม.ค.49 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจ
ยุโรปในเดือน ธ.ค. 48 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี สอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้และลดลง
จากร้อยละ 2.3 ในเดือน พ.ย.48 หลังจากที่เคยทะยานขึ้นสูงสุดที่ระดับร้อยละ 2.6 ในเดือน ก.ย.48 ทั้งนี้ หัว
หน้านักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ภาวะเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปเริ่มชะลอตัวทีละน้อย และจะลดลงอยู่ในระดับ
ร้อยละ 2.0 ตามเป้าหมายที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ภายใน 2-3 เดือนข้างหน้านี้ เนื่องจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับ
สูงเริ่มชะลอตัวลง ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางคนโต้แย้งว่า ภาวะเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปอาจลดลงอยู่ใน
ระดับต่ำตามเป้าหมายเงินเฟ้อของสหภาพยุโรปในช่วงครึ่งหลังของปี 49 ทั้งนี้ได้มีการคาดการณ์ว่า ธ.กลางยุโรป
อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้ โดยปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ต่อครั้งในช่วงเดือน มี.ค.และ มิ.
ย.49 อย่างไรก็ตาม การที่ ธ.กลางสหภาพยุโรปปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ
2.25 เมื่อ 1 ธ.ค.48 (ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี) นั้น ได้รับการคัดค้านจากนักการเมือง
สหภาพแรงงาน นักธุรกิจและนายธนาคารเนื่องจากกลุ่มดังกล่าวเห็นว่าแม้จะมีภาวะเสี่ยงจากเงินเฟ้อแต่ก็มีสัญญาณ
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยข้อมูลล่าสุดพบว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศเยอรมนี (ซึ่ง
เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่สุดในเขตเศรษฐกิจยุโรป) ในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 17
เดือน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่จำนวนผู้ว่างงานลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 (รอยเตอร์)
2. โครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ขออนุมัติลงทุนในเกาหลีใต้ในปี 48 ลดลงร้อยละ
9.6 จากปีก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 4 ม.ค.48 โครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ขออนุมัติลงทุนใน
เกาหลีใต้ในปี 48 มีมูลค่ารวม 11.56 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงร้อยละ 9.6 จากปีก่อน เทียบกับปี 47 ที่มี
มูลค่ารวม 12.79 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากปี 46 โดยคาดว่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่าง
ประเทศในปีนี้จะมูลค่าประมาณ 11 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนดึงดูดเงินลงทุนโดย
ตรงจากต่างประเทศเป็นมูลค่าถึง 53.13 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 48 ทั้งนี้เป็นผล
จากราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นผลจากแนวโน้มในอนาคตที่ไม่แน่นอนของค่า
เงินวอนของเกาหลีใต้แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นก็ตาม เกาหลีใต้ประกาศที่จะเป็นศูนย์กลางทางการเงินใน
ภูมิภาคโดยพยายามชักชวนบริษัทต่างประเทศให้มาร่วมลงทุนซึ่งจะทำให้ได้ทั้งเงินลงทุนและเทคโนโลยีจากต่าง
ประเทศมาช่วยพัฒนาภาคบริการทางการเงินของตนที่ได้รับปกป้องมานานและยังอ่อนแออยู่ให้ดีขึ้น โดยเงินลงทุนก้อน
ใหญ่จากต่างประเทศในปี 48 ก็อยู่ในภาคบริการทางการเงินจาก ธ.แสตนดาร์ดชาร์เตอร์ดของอังกฤษที่ลงทุน 2
พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในหุ้นของ Korea First Bank และ GE Capital ที่ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท Hyundai
Card ซึ่งเป็นบริษัทบัตรเครดิตของบริษัทผลิตรถยนต์ Hyundai เป็นมูลค่า 470 ล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4
รายงานจากโซลเมื่อ 5 ม.ค.48 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภค (The
Consumer expectation index) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและภาวะการใช้จ่าย
ส่วนบุคคลของผู้บริโภคในช่วงเวลา 6 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ระดับ 100.4 ในเดือน ธ.
ค.48 จากระดับ 98.5 ในเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่เดือน เม.ย.48 ซึ่งเพิ่มขึ้น
สูงสุดที่ระดับ 101.3 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การที่ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้
รับแรงสนับสนุนจากดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และสะท้อนถึงการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพของการใช้จ่าย
ภายในประเทศ นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและมาตรฐานการ
ครองชีพเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนก่อนหน้า ก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ระดับ 85.3 จากระดับ 84.9 ใน
เดือนก่อนหน้า ส่วนดัชนีย่อยซึ่งชี้วัดการวางแผนการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ
106.6 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.45 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 106.8 อนึ่ง การฟื้นตัวของการใช้จ่ายส่วนบุคคล ซึ่งมีสัดส่วน
เป็นครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์ในประเทศของเกาหลีใต้ ก่อให้เกิดความคาดหวังเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี
49 โดยทั้ง ธ.กลางเกาหลีใต้และ ก.คลัง ต่างคาดหมายว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี
49 สูงกว่าที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.9 (รอยเตอร์)
4. ยอดส่งออกของมาเลเซียในเดือน พ.ย.48 ขยายตัวร้อยละ 11.9 จากปีก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้
รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 4 ม.ค.48 ยอดส่งออกของมาเลเซียในเดือน พ.ย.48 ขยายตัว ร้อยละ 11.9
จากปีก่อนต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ที่ร้อยละ 19.3 ต่อปี โดยรัฐบาลให้ความเห็นว่ามาจากจำนวนวันทำงานที่น้อย
กว่าปีก่อนเนื่องจากมีวันหยุด ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางคนให้ความเห็นว่านอกจากเป็นผลจากวันหยุดแล้วยังมี
สาเหตุมาจากแนวโน้มการส่งออกที่ชะลอตัวลงทั่วภูมิภาคเอเชียไม่เฉพาะมาเลเซีย และคาดว่ายอดส่งออกในปี 49
จะชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เศรษฐกิจมาเลเซียพึ่งพาการส่งออกถึงเกือบร้อยละ 100 ของผลผลิตมวลรวมใน
ประเทศ โดยยอดส่งออกครึ่งหนึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตหรือประกอบโดยบริษัทเช่นอินเท
ลและเดลล์ ในขณะที่ยอดนำเข้าซึ่งส่วนใหญ่เพื่อนำไปใช้ในการผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ในเดือน พ.
ย.48 จากปีก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 12.5 และยอดเกินดุลการค้ามีจำนวน 8.7 พันล้านริงกิตหรือประมาณ
2.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 9.1 พันล้านริงกิต (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ม.ค. 49 4 ม.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.893 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7594/41.0411 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.15 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 743.20/ 51.48 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,100/10,200 10,150/10,250 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.18 55.74 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 24 ธ.ค. 48 26.04*/23.49* 26.04*/23.49* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--