วันนี้(18 กรกฎาคม 2549) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวถึงการที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา (รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย) ออกมากล่าวว่า หาก กกต. ลาออก อาจทำให้การเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคม เกิดขึ้นไม่ได้เพราะ ที่ผ่านมา กกต.ชุดที่แล้วได้พ้นวาระ และใช้เวลาสรรหากกต.ใหม่ ถึง 140 - 150 วัน ซึ่งกว่าจะได้ กกต.ใหม่ ปัญหาจะอยู่ที่ว่าเมื่อใดจะได้ กกต.ชุดใหม่นั้น พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ เห็นว่า หาก กกต.ชุดนี้ลาออกจะใช้เวลานานในการสรรหา กกต.ใหม่ไม่นาน
นายองอาจเห็นว่า เหตุผลที่ไม่น่าจะใช้เวลานานเพราะว่าศาลฎีกาซึ่งเป็นผู้ที่จะพิจารณา กกต.ในเบื้องต้นที่จะส่งไปให้สมาชิกวุฒิสภาพิจารณาต่อ ทราบดีอยู่แล้วว่า ประเทศชาติเกิดวิกฤตเพราะฉะนั้นจึงมีความเชื่อมั่นว่ากระบวนการในการสรรหา กกต.ทั้งจากศาลฎีกาจนกระทั่งไปถึงวุฒิสภาจะใช้เวลาไม่ถึง 140 — 150 วัน อย่างที่แกนนำรัฐบาลกล่าว ครั้งที่แล้วที่ใช้เวลานานแต่ก็ไม่เป็นการใช้เวลานานเกินไปกว่ากรอบของเวลาที่กำหนดคือรู้ล่วงหน้าว่าจะมีการครบวาระก็ได้มีการเตรียมการสรรหาไว้พอครบวาระ ชุดใหม่ก็เข้ามาแทนเพราะฉะนั้นการสรรหาชุดนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
“ไม่มีใครเคยบอกให้รัฐบาลไปใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะรัฐบาลให้ไปไล่ กกต.แต่แค่อยากให้รัฐบาลแสดงจุดยืนเพื่อที่จะได้เป็นจุดยืนที่เห็นพ้องต้องกันทั้งประเทศไทยว่า กกต.นั้นไม่สมควรที่อยู่ต่อไปแล้วขณะนี้อาจจะเรียกได้ว่าเหลืออยู่เพียงรัฐบาลที่ไม่ได้แสดงจุดยืนตรงนี้ชัดเจนจนกระทั่ง ทำให้เกิดข้อครหานินทาว่า รัฐบาลมีอะไรกับ กกต.หรือไม่จึงไม่กล้าที่จะแสดงจุดยืนออกมาที่ชัดเจนว่า กกต.ควรที่จะยุติบทบาทของตัวเอง” โฆษกปชป. กล่าว
นอกจากนี้การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรียกร้องให้ทุกฝ่ายออกมาสมานฉันท์นั้น นายองอาจเห็นว่าปัญหาขณะนี้ไม่ได้อยู่ตรงที่พรรคการเมืองต่างๆ รัฐบาลจะต้องหาทางทำอย่างไรให้ได้รับการยอมรับจากกลุ่มองค์กรต่างๆ บุคคลต่างที่นายกฯ เรียกว่าฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลมากกว่า ส่วนพรรคประชาธิปัตย์จะเรียกคำว่าสมานฉันท์หรืออะไรก็ตาม หนทางใดวิธีการใด ที่จะมีส่วนช่วยทำให้ปัญหาของชาติบ้านเมืองคลี่คลาย พรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่ขัดข้อง แต่วันนี้วิกฤตที่เกิดขึ้น พรรคการเมืองไม่จำเป็นต้องมาเจราจาตกลงหรือสมานฉันท์อะไรอีก
“มันอยู่ตรงที่ว่าขณะนี้ถ้า กกต.ออกไปและจัดให้มีการเลือกตั้ง ทุกพรรคการเมืองก็พร้อมที่จะลงสู่สนามการเลือกตั้งอยู่แล้ว แต่ปัญหาติดอยู่ที่ผู้นำรัฐบาลกับองค์กรต่างๆ ซึ่งรัฐบาลเรียกว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ซึ่งค่อนข้างเป็นปัญหา ดังนั้นจึงต้องการฝากไปถึงรัฐบาลว่าความพยายามที่จะสมานฉันท์ต้องมองปัญหาให้ทะลุปรุโปร่งและให้ชัดเจนว่าปัญหาอยู่ตรงไหนและควรจะเลือกใช้วิธีการในการคลี่คลายปัญหา คลี่คลายวิกฤติของประเทศอย่างไรด้วย”โฆษก ปชป.กล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ก.ค. 2549--จบ--
นายองอาจเห็นว่า เหตุผลที่ไม่น่าจะใช้เวลานานเพราะว่าศาลฎีกาซึ่งเป็นผู้ที่จะพิจารณา กกต.ในเบื้องต้นที่จะส่งไปให้สมาชิกวุฒิสภาพิจารณาต่อ ทราบดีอยู่แล้วว่า ประเทศชาติเกิดวิกฤตเพราะฉะนั้นจึงมีความเชื่อมั่นว่ากระบวนการในการสรรหา กกต.ทั้งจากศาลฎีกาจนกระทั่งไปถึงวุฒิสภาจะใช้เวลาไม่ถึง 140 — 150 วัน อย่างที่แกนนำรัฐบาลกล่าว ครั้งที่แล้วที่ใช้เวลานานแต่ก็ไม่เป็นการใช้เวลานานเกินไปกว่ากรอบของเวลาที่กำหนดคือรู้ล่วงหน้าว่าจะมีการครบวาระก็ได้มีการเตรียมการสรรหาไว้พอครบวาระ ชุดใหม่ก็เข้ามาแทนเพราะฉะนั้นการสรรหาชุดนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
“ไม่มีใครเคยบอกให้รัฐบาลไปใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะรัฐบาลให้ไปไล่ กกต.แต่แค่อยากให้รัฐบาลแสดงจุดยืนเพื่อที่จะได้เป็นจุดยืนที่เห็นพ้องต้องกันทั้งประเทศไทยว่า กกต.นั้นไม่สมควรที่อยู่ต่อไปแล้วขณะนี้อาจจะเรียกได้ว่าเหลืออยู่เพียงรัฐบาลที่ไม่ได้แสดงจุดยืนตรงนี้ชัดเจนจนกระทั่ง ทำให้เกิดข้อครหานินทาว่า รัฐบาลมีอะไรกับ กกต.หรือไม่จึงไม่กล้าที่จะแสดงจุดยืนออกมาที่ชัดเจนว่า กกต.ควรที่จะยุติบทบาทของตัวเอง” โฆษกปชป. กล่าว
นอกจากนี้การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรียกร้องให้ทุกฝ่ายออกมาสมานฉันท์นั้น นายองอาจเห็นว่าปัญหาขณะนี้ไม่ได้อยู่ตรงที่พรรคการเมืองต่างๆ รัฐบาลจะต้องหาทางทำอย่างไรให้ได้รับการยอมรับจากกลุ่มองค์กรต่างๆ บุคคลต่างที่นายกฯ เรียกว่าฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลมากกว่า ส่วนพรรคประชาธิปัตย์จะเรียกคำว่าสมานฉันท์หรืออะไรก็ตาม หนทางใดวิธีการใด ที่จะมีส่วนช่วยทำให้ปัญหาของชาติบ้านเมืองคลี่คลาย พรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่ขัดข้อง แต่วันนี้วิกฤตที่เกิดขึ้น พรรคการเมืองไม่จำเป็นต้องมาเจราจาตกลงหรือสมานฉันท์อะไรอีก
“มันอยู่ตรงที่ว่าขณะนี้ถ้า กกต.ออกไปและจัดให้มีการเลือกตั้ง ทุกพรรคการเมืองก็พร้อมที่จะลงสู่สนามการเลือกตั้งอยู่แล้ว แต่ปัญหาติดอยู่ที่ผู้นำรัฐบาลกับองค์กรต่างๆ ซึ่งรัฐบาลเรียกว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ซึ่งค่อนข้างเป็นปัญหา ดังนั้นจึงต้องการฝากไปถึงรัฐบาลว่าความพยายามที่จะสมานฉันท์ต้องมองปัญหาให้ทะลุปรุโปร่งและให้ชัดเจนว่าปัญหาอยู่ตรงไหนและควรจะเลือกใช้วิธีการในการคลี่คลายปัญหา คลี่คลายวิกฤติของประเทศอย่างไรด้วย”โฆษก ปชป.กล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ก.ค. 2549--จบ--