บทสรุปผู้บริหาร
ภาวะเศรษฐกิจการคลังโดยรวมในเดือนมีนาคม 2549 และไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ยังคงมีแนวโน้มของการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะด้านอุปสงค์ภายนอกประเทศที่สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยมูลค่าการส่งออกยังคงขยายตัวในระดับสูง มูลค่าการนำเข้ามีการชะลอตัวลง ซึ่งสอดคล้องกับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมีนาคม เศรษฐกิจภาคการคลังจะเห็นได้ว่าภาษีฐานรายได้ยังคงขยายตัวได้ดี ในขณะที่ภาษีฐานการบริโภคขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อน สำหรับด้านอุปทาน ภาคการเกษตรยังสามารถขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้มีการคาดว่ารายได้เกษตรกรจะเพิ่มขึ้นด้วย ด้านอุปสงค์ในประเทศพบว่า การบริโภคมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศพบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ดีมาก ในขณะที่การนำเข้าสินค้ากลับมาขยายตัวในระดับต่ำ ส่งผลทำให้ดุลการค้าสามารถกลับมาเกินดุลได้ในเดือนมีนาคม 2549 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับมั่นคงโดยทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และอัตราเงินเฟ้อทรงตัวจากภาวะราคาน้ำมันสูง
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมีนาคม 2549 ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการคลังล่าสุดพบว่า ภาษีฐานรายได้สามารถขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 15.2 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ที่ขยายตัวร้อยละ 11.8 ต่อปี สะท้อนถึงภาวะการจ้างงานและรายได้ของภาคธุรกิจที่ยังขยายตัวได้ดี ในขณะที่ภาษีฐานการบริโภคขยายตัวที่ร้อยละ 10.9 ต่อปี ใกล้เคียงกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ขยายตัวร้อยละ 11.7 ต่อปี
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานในภาคเกษตร ภาคบริการและการผลิตเพื่อการส่งออกยังขยายตัวได้ดี โดยในภาคเกษตร ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือนมีนาคมยังขยายตัวสูงที่ร้อยละ 16.9 ต่อปีในเดือนมีนาคม ในขณะที่คาดว่าผลผลิตภาคเกษตรขยายตัวดีขึ้น ทำให้คาดว่ารายได้เกษตรกรจะยังคงขยายตัวในระดับสูง
เช่นเดียวกับการจ้างงานภาคการเกษตรในเดือนมีนาคมที่เร่งตัวขึ้นร้อยละ 6.7 ต่อปี เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมพบว่าอัตราการจ้างงานในเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 6.0 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้ภาคบริการเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติโดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศผ่านด่านท่าอากาศยานกรุงเทพในเดือนมีนาคม มีจำนวน 8.3 แสนคน ขยายตัวร้อยละ 20.79 ต่อปี
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ในด้านการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่การลงทุนภาคเอกชนในเดือนมีนาคมมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง ดังจะเห็นได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายในประเทศขยายตัวร้อยละ 17.2 ต่อปีในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.6 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 17.5 ต่อปี ในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.4 ต่อปีในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากความกังวลทางการเมืองและภาวะราคาน้ำมันสูง สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณชะลอตัว โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวในเดือนมีนาคม ร้อยละ 7.3 ต่อปี จากที่ขยายตัวร้อยละ 21.7 ในเดือนก่อนหน้า (เดือนกุมภาพันธ์มีธุรกรรมพิเศษของการนำเข้าเครื่องบิน 2 ลำ โดยหากไม่รวมธุรกรรมดังกล่าวทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อปี) นอกจากนี้ ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ต่อปี ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 ต่อปี
เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจด้านการค้าต่างประเทศในเดือนมีนาคมโดยเฉพาะด้านการส่งออกขยายตัวดีมากและเร่งตัวขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังคงได้รับการสนับสนุนจากอุปสงค์ภายนอกประเทศ ในขณะที่การนำเข้าสินค้าขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 11.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา โดยขยายตัวร้อยละ 15.9 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 10.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 324.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนมีนาคม
เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี ในด้านเสถียรภาพทางการคลัง หนี้สาธารณะในเดือนกุมภาพันธ์มีจำนวนทั้งสิ้น 3,241.4 พันล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 41.7 ของ GDP โดยลดลงจากเดือนมกราคม 1.9 พันล้านบาท อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1.8 ในเดือนมีนาคม ลดลงจากร้อยละ 2.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมีนาคม ยังทรงตัวที่ร้อยละ 5.7 ต่อปี เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับแข็งแกร่งโดยทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 55.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจาก 54.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ เดือนกุมภาพันธ์
สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 เศรษฐกิจไทยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ยังขยายตัวได้ดี โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากอุปสงค์ภายนอกที่ขยายตัวดีมาก โดยยอดการส่งออกและการนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2549 มีมูลค่า 29.6 และ 29.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ และขาดดุลการค้า 404.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2548 ที่ไทยขาดดุล 2,876.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้การขาดดุลการค้าในช่วงไตรมาสแรกลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 86.0 นอกจากนี้ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของไทยเติบโตได้ดีกว่าที่คาด โดย GDP ไตรมาสแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีนโตกว่าร้อยละ 10 และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะโตร้อยละ 4.9 ในปี 2549 ทำให้เชื่อได้ว่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย อย่างไรก็ตาม การบริโภคและการลงทุนภายในประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง
ในด้านเสถียรภาพของไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ถือว่าเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพดีมาก ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นทำให้การขาดดุลการค้าที่ลดลง ในขณะที่ดุลบริการเกินดุลเพิ่มขึ้นมากจากรายได้จากการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สำหรับทุนสำรองระหว่างประเทศปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ โดยประเทศไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศเท่ากับ 5.1 เดือนของมูลค่าการนำเข้าและ 3.3 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ในด้านเสถียรภาพการคลังมีฐานะมั่นคงดีขึ้น โดยหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ลดลงมาอยู่ที่ ร้อยละ 41.7 ของ GDP โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 3,241.4 พันล้านบาท
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 5/2549 27 เมษายน 2549--
ภาวะเศรษฐกิจการคลังโดยรวมในเดือนมีนาคม 2549 และไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ยังคงมีแนวโน้มของการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะด้านอุปสงค์ภายนอกประเทศที่สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยมูลค่าการส่งออกยังคงขยายตัวในระดับสูง มูลค่าการนำเข้ามีการชะลอตัวลง ซึ่งสอดคล้องกับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมีนาคม เศรษฐกิจภาคการคลังจะเห็นได้ว่าภาษีฐานรายได้ยังคงขยายตัวได้ดี ในขณะที่ภาษีฐานการบริโภคขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อน สำหรับด้านอุปทาน ภาคการเกษตรยังสามารถขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้มีการคาดว่ารายได้เกษตรกรจะเพิ่มขึ้นด้วย ด้านอุปสงค์ในประเทศพบว่า การบริโภคมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศพบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ดีมาก ในขณะที่การนำเข้าสินค้ากลับมาขยายตัวในระดับต่ำ ส่งผลทำให้ดุลการค้าสามารถกลับมาเกินดุลได้ในเดือนมีนาคม 2549 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับมั่นคงโดยทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และอัตราเงินเฟ้อทรงตัวจากภาวะราคาน้ำมันสูง
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมีนาคม 2549 ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการคลังล่าสุดพบว่า ภาษีฐานรายได้สามารถขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 15.2 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ที่ขยายตัวร้อยละ 11.8 ต่อปี สะท้อนถึงภาวะการจ้างงานและรายได้ของภาคธุรกิจที่ยังขยายตัวได้ดี ในขณะที่ภาษีฐานการบริโภคขยายตัวที่ร้อยละ 10.9 ต่อปี ใกล้เคียงกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ขยายตัวร้อยละ 11.7 ต่อปี
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานในภาคเกษตร ภาคบริการและการผลิตเพื่อการส่งออกยังขยายตัวได้ดี โดยในภาคเกษตร ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือนมีนาคมยังขยายตัวสูงที่ร้อยละ 16.9 ต่อปีในเดือนมีนาคม ในขณะที่คาดว่าผลผลิตภาคเกษตรขยายตัวดีขึ้น ทำให้คาดว่ารายได้เกษตรกรจะยังคงขยายตัวในระดับสูง
เช่นเดียวกับการจ้างงานภาคการเกษตรในเดือนมีนาคมที่เร่งตัวขึ้นร้อยละ 6.7 ต่อปี เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมพบว่าอัตราการจ้างงานในเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 6.0 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้ภาคบริการเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติโดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศผ่านด่านท่าอากาศยานกรุงเทพในเดือนมีนาคม มีจำนวน 8.3 แสนคน ขยายตัวร้อยละ 20.79 ต่อปี
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ในด้านการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่การลงทุนภาคเอกชนในเดือนมีนาคมมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง ดังจะเห็นได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายในประเทศขยายตัวร้อยละ 17.2 ต่อปีในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.6 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 17.5 ต่อปี ในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.4 ต่อปีในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากความกังวลทางการเมืองและภาวะราคาน้ำมันสูง สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณชะลอตัว โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวในเดือนมีนาคม ร้อยละ 7.3 ต่อปี จากที่ขยายตัวร้อยละ 21.7 ในเดือนก่อนหน้า (เดือนกุมภาพันธ์มีธุรกรรมพิเศษของการนำเข้าเครื่องบิน 2 ลำ โดยหากไม่รวมธุรกรรมดังกล่าวทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อปี) นอกจากนี้ ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ต่อปี ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 ต่อปี
เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจด้านการค้าต่างประเทศในเดือนมีนาคมโดยเฉพาะด้านการส่งออกขยายตัวดีมากและเร่งตัวขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังคงได้รับการสนับสนุนจากอุปสงค์ภายนอกประเทศ ในขณะที่การนำเข้าสินค้าขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 11.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา โดยขยายตัวร้อยละ 15.9 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 10.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 324.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนมีนาคม
เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี ในด้านเสถียรภาพทางการคลัง หนี้สาธารณะในเดือนกุมภาพันธ์มีจำนวนทั้งสิ้น 3,241.4 พันล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 41.7 ของ GDP โดยลดลงจากเดือนมกราคม 1.9 พันล้านบาท อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1.8 ในเดือนมีนาคม ลดลงจากร้อยละ 2.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมีนาคม ยังทรงตัวที่ร้อยละ 5.7 ต่อปี เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับแข็งแกร่งโดยทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 55.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจาก 54.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ เดือนกุมภาพันธ์
สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 เศรษฐกิจไทยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ยังขยายตัวได้ดี โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากอุปสงค์ภายนอกที่ขยายตัวดีมาก โดยยอดการส่งออกและการนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2549 มีมูลค่า 29.6 และ 29.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ และขาดดุลการค้า 404.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2548 ที่ไทยขาดดุล 2,876.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้การขาดดุลการค้าในช่วงไตรมาสแรกลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 86.0 นอกจากนี้ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของไทยเติบโตได้ดีกว่าที่คาด โดย GDP ไตรมาสแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีนโตกว่าร้อยละ 10 และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะโตร้อยละ 4.9 ในปี 2549 ทำให้เชื่อได้ว่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย อย่างไรก็ตาม การบริโภคและการลงทุนภายในประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง
ในด้านเสถียรภาพของไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ถือว่าเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพดีมาก ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นทำให้การขาดดุลการค้าที่ลดลง ในขณะที่ดุลบริการเกินดุลเพิ่มขึ้นมากจากรายได้จากการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สำหรับทุนสำรองระหว่างประเทศปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ โดยประเทศไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศเท่ากับ 5.1 เดือนของมูลค่าการนำเข้าและ 3.3 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ในด้านเสถียรภาพการคลังมีฐานะมั่นคงดีขึ้น โดยหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ลดลงมาอยู่ที่ ร้อยละ 41.7 ของ GDP โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 3,241.4 พันล้านบาท
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 5/2549 27 เมษายน 2549--