สศอ.เผยการผลิตสินค้าอุตฯไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่ 2 ขยายตัวดี ฮาร์ดดิสไดรฟ์-ไอซี หนุนดัชนีการผลิตเพิ่มร้อยละ 11.06 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คาดทั้งปียังไปต่อ ตลาดส่งออกสดใส
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้สรุปภาพรวมของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาส 2 ปี 2549 รวมถึงคาดการณ์แนวโน้ม พบว่าภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮาร์ดดิสไดรฟ์ (HDD) และ IC ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าค่อนข้างทรงตัว ปรับเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.88 ซึ่งสินค้าที่ลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดเล็ก โดยเครื่องปรับอากาศยังคงทรงตัวในการผลิตเพื่อส่งออกตลาดสำคัญต่างๆ เช่น ในตลาดยุโรปจากคำสั่งซื้อที่ชะลอตัว เนื่องจากในปีนี้มีการบังคับใช้กฎระเบียบ RoHS ทำให้ต้องรีบระบายสินค้าเก่าออกขายก่อนจึงมีคำสั่งซื้อใหม่เข้ามา อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.13
สำหรับภาวะการส่งออกขยายตัวได้ดี โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 380,342 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 19 ในขณะที่สินค้าไฟฟ้าหลายตัวมีมูลค่าการส่งออกลดลง เช่น เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวฟ หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็ก เป็นต้น
ดร.อรรชกา กล่าวว่า อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย เมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นพบว่าภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงทรงตัวเช่นกันโดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน (House Hold Electrical Machinery) ซึ่งรายงานโดยกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Economic, Trade and Industry) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1 จากเครื่องปรับอากาศ กล้องวีดีโอ และกล้องถ่ายรูปดิจิตอล เป็นต้น
เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย วงจรรวมหรือสารกึ่งตัวนำที่ใช้กับทรานซิสเตอร์ (Semiconductor) ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยสมาคมสารกึ่งตัวนำ ( Semiconductor Industry Association : SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่าจำหน่ายประมาณ 59 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากสินค้าในกลุ่มของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และ โทรศัพท์มือถือ ส่วนมูลค่าการจำหน่าย 6 เดือนแรกปี 2549 มีมูลค่าถึง 118 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากช่วงเดียวกันของปี 2548 แม้ว่าจะต้องประสบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันแพงขึ้นและภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในหลายๆ ภูมิภาคก็ตาม
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวถึงแนวโน้มภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ว่า มีโอกาสจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เนื่องจากจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตในส่วนของการส่งออกโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามการเจริญเติบโตของสินค้าเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังคงได้รับผลกระทบจากกฎระเบียบของอียู ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออก โดยผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวในการรับมือกับกฎระเบียบดังกล่าว นอกจากนี้ ปัจจัยราคาน้ำมันที่ยังคงผันผวนและอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของการบริโภคสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของโลกให้ลดลงได้
สำหรับมาตรการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการของไทย สศอ. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชนเองได้วางแนวทางตั้งรับ รวมทั้งมาตรการขับเคลื่อนในเชิงรุกไว้แล้วโดยเฉพาะ สศอ.ได้ดำเนินการจัดทำโครงการศูนย์ข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมรายสาขา (Intelligence Unit) และได้มีส่งสัญญาณไปยังผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมั่นใจได้ว่าภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้สรุปภาพรวมของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาส 2 ปี 2549 รวมถึงคาดการณ์แนวโน้ม พบว่าภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮาร์ดดิสไดรฟ์ (HDD) และ IC ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าค่อนข้างทรงตัว ปรับเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.88 ซึ่งสินค้าที่ลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดเล็ก โดยเครื่องปรับอากาศยังคงทรงตัวในการผลิตเพื่อส่งออกตลาดสำคัญต่างๆ เช่น ในตลาดยุโรปจากคำสั่งซื้อที่ชะลอตัว เนื่องจากในปีนี้มีการบังคับใช้กฎระเบียบ RoHS ทำให้ต้องรีบระบายสินค้าเก่าออกขายก่อนจึงมีคำสั่งซื้อใหม่เข้ามา อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.13
สำหรับภาวะการส่งออกขยายตัวได้ดี โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 380,342 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 19 ในขณะที่สินค้าไฟฟ้าหลายตัวมีมูลค่าการส่งออกลดลง เช่น เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวฟ หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็ก เป็นต้น
ดร.อรรชกา กล่าวว่า อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย เมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นพบว่าภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงทรงตัวเช่นกันโดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน (House Hold Electrical Machinery) ซึ่งรายงานโดยกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Economic, Trade and Industry) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1 จากเครื่องปรับอากาศ กล้องวีดีโอ และกล้องถ่ายรูปดิจิตอล เป็นต้น
เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย วงจรรวมหรือสารกึ่งตัวนำที่ใช้กับทรานซิสเตอร์ (Semiconductor) ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยสมาคมสารกึ่งตัวนำ ( Semiconductor Industry Association : SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่าจำหน่ายประมาณ 59 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากสินค้าในกลุ่มของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และ โทรศัพท์มือถือ ส่วนมูลค่าการจำหน่าย 6 เดือนแรกปี 2549 มีมูลค่าถึง 118 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากช่วงเดียวกันของปี 2548 แม้ว่าจะต้องประสบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันแพงขึ้นและภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในหลายๆ ภูมิภาคก็ตาม
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวถึงแนวโน้มภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ว่า มีโอกาสจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เนื่องจากจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตในส่วนของการส่งออกโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามการเจริญเติบโตของสินค้าเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังคงได้รับผลกระทบจากกฎระเบียบของอียู ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออก โดยผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวในการรับมือกับกฎระเบียบดังกล่าว นอกจากนี้ ปัจจัยราคาน้ำมันที่ยังคงผันผวนและอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของการบริโภคสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของโลกให้ลดลงได้
สำหรับมาตรการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการของไทย สศอ. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชนเองได้วางแนวทางตั้งรับ รวมทั้งมาตรการขับเคลื่อนในเชิงรุกไว้แล้วโดยเฉพาะ สศอ.ได้ดำเนินการจัดทำโครงการศูนย์ข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมรายสาขา (Intelligence Unit) และได้มีส่งสัญญาณไปยังผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมั่นใจได้ว่าภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-