1. ประเด็นเศรษฐกิจต่างประเทศ(25ธันวาคม2547-26มกราคม2548)
ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ G-3ยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และขยายตัวใกล้แนวโน้มระยะยาว โดยความเสี่ยงด้านลบจากราคาน้ำมันเริ่มลดลงจากช่วงก่อนหน้านี้ อนึ่ง คาดว่าในระยะต่อไปเศรษฐกิจโลกจะยังคงขยายตัวแต่อาจชะลอลงบ้าง โดยปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนให้ความสำคัญได้แก่ ทิศทางการปรับตัวของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและนโยบายการคลังของสหรัฐฯ รวมทั้งความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
สหรัฐอเมริกา
เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง ทั้งนี้FOMC Minutes ของการประชุมเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ระบุว่าแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ขยายตัวดีมีแรงผลักดันมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยราคาบ้านและราคาหลักทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวขึ้นจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคในปี 2548 ในขณะที่การลงทุนภาคธุรกิจคาดว่าจะชะลอลงเล็กน้อยจากการที่สิทธิลดหย่อนทางภาษีหมดอายุลงในปี 2547 อย่างไรก็ตาม การลงทุนน่าจะกลับมาขยายตัวดีในระยะต่อไปตามการขยายตัวของการบริโภค ประกอบกับความจำเป็นที่ต้องการ upgrade เครื่องใช้สำนักงานและ software
ทั้งนี้ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดสนับสนุนทิศทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวดี โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่จัดทำโดย Conference Board ในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ 103.4 สูงที่สุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวดี สะท้อนจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payroll) ในเดือนธันวาคมที่เพิ่มขึ้น 157,000 ราย เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ขณะที่การจ้างงานในภาคบริการยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
แม้ว่าเศรษฐกิจขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แต่แรงกดดันต่อเงินเฟ้อยังมีไม่มากนัก โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.3 (yoy) ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.5 เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลงขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2(yoy)
แม้ว่าตลาดจะเริ่มกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันเงินเฟ้อในอนาคตซึ่งมีปัจจัยมาจากการชะลอตัวของผลิตภาพการผลิต (productivity) และต้นทุนแรงงานที่เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นขณะที่ profit margin ของบริษัทเริ่มชะลอลง แต่คณะกรรมการนโยบายการเงินยังไม่กังวลถึงแรงกดดันเงินเฟ้อในอนาคตมากนัก โดยนาย Alan Greenspan ประธาน Fed เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นยังไม่เป็นที่น่ากังวล เพราะแม้ว่าผลิตภาพการผลิต (productivity) จะชะลอลง แต่เป็นการชะลอลงหลังจากาที่เพิ่มขึ้นมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4 นับว่ายังไม่สูงเกินไป สำหรับ profit margin ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงเป็นเพราะบริษัทมีความมั่นใจมากขึ้นหลังจากที่มีกำไรสูงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การแข่งขันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดรุนแรงขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้บริษัทยังไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ ดังนั้นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯจึงเป็นการปรับเพื่อให้ไปสู่ระดับดุลยภาพ ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าอยู่ที่ระดับใด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายการเงินบางท่านระบุว่าอัตราดอกเบี้ย neutral rate น่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-4.5
กลุ่มประเทศยูโร
เศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนในช่วงที่ผ่านมาฟื้นตัวต่อเนื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการอุปโภคบริโภคภายในประเทศยังคงค่อนข้างทรงตัว ขณะที่ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบบ้างจากค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งกลับเห็นว่าการแข็งค่าขึ้นของเงินยูโรส่งผลดีต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ และเห็นว่าค่าเงินไม่ได้แข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงทศวรรษ 1990
อนึ่งดัชนีชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญยังส่งสัญญาณถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงโดยEconomic Sentiment ล่าสุดชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ 100.9 มาอยู่ที่ 100.3 ในเดือนธันวาคม อันเป็นผลจากความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่ลดลงและค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ดัชนี Business Climate Indicator ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ทำให้เชื่อว่าแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนจะเป็นไปอย่างช้าๆต่อไป
ด้านนโยบายการเงิน จากการประชุมครั้งล่าสุดของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2548 ECB มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Refinancing rate) ที่ร้อยละ 2.0ต่อปีเช่นเดิม โดยให้เหตุผลว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระยะสั้นจากราคาน้ำมันเริ่มปรับลดลง รวมทั้งเห็นว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังคงสอดคลัองกับเป้าหมายเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลาง ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อ HICP ล่าสุดของกลุ่มยูโรโซนในเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.4 (yoy) จากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่และราคาอาหารที่สูงกว่าที่คาดไว้เดิมเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.9(yoy) อย่างไรก็ดี กรรมการ ECB เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลงในปีนี้
ญี่ปุ่น
ธนาคารกลางญี่ปุ่น ได้แสดงความเห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจอาจจะต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ ในรายงานประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและคาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2547 โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจจะอ่อนตัวลงในช่วงต้นปี 2548 หลังจากเครื่องชี้เศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณที่อ่อนแอตั้งแต่ช่วงปลายปี 2547 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวของผลิตภาคอุตสาหกรรมและสินค้าคงคลัง (inventory correction) ในภาคที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลกระทบมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตามล่าสุดผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 1.7 (mom) จากที่หดตัวในเดือนกันยายนและตุลาคม
ทั้งนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นเห็นว่าการปรับตัวของสินค้าคงคลังจะสิ้นสุดในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2548 และคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ภาคการส่งออกขยายตัวได้แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ
นอกจากนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นคาดว่า อัตราเงินเฟ้ออาจจะต่ำกว่าที่เคยคาดไว้เดิมที่ร้อยละ 0.1 ในปีงบประมาณ 2548 เล็กน้อย เนื่องจากมีการปรับลดค่าบริการสาธารณูปโภค (ค่าโทรศัพท์ ค่าไฟฟ้า) ซึ่งจะต้องดูผลกระทบอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนพฤศจิกายนยังคงติดลบร้อยละ 0.2(yoy)
ในช่วงเดือนมกราคม 2548เงินเยนได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 101.70 เยน/ดอลลาร์ สรอ. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 ซึ่งเป็นระดับที่แข็งที่สุดในรอบ 5 ปีเทียบกับดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าอาจจะมีแรงกดดันให้ประเทศในเอเชียปล่อยค่าเงินให้แข็งค่าขึ้นในการประชุม G7 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นและOECD ได้ออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินเยนว่าจะเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น
เอเชีย
เศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่อาจจะชะลอลงเล็กน้อยในช่วงปลายปี เนื่องจากภาคการส่งออกเริ่มแผ่วลงตามอุปสงค์ในตลาดโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนเศรษฐกิจเริ่มเห็นผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 5.4(yoy) ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชะลอการผลิตลงตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่เริ่มชะลอตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 8.1 เทียบกับร้อยละ 1.1 ในปี 2546
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนยังขยายตัวในอัตราสูง แม้ในช่วงปีที่ผ่านมาทางการจีนจะออกมาตรการต่างๆเพื่อชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งรวมไปถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบเกือบทศวรรษโดย GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 9.5(yoy) และทั้งปี 2547 เศรษฐกิจขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.5 เร่งขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.3 โดยการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรทั้งปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 25.8(yoy) ชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 26.7ขณะที่การบริโภคในปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 13.3(yoy) เร่งตัวขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 อนึ่ง ปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 4 ขยายตัวสูงกว่าที่คาดมาจากการส่งออกที่ยังขยายตัวดี
แม้ว่าการส่งออกของหลายประเทศจะยังขยายตัวในระดับสูง แต่ก็ชะลอลงอย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มอุปสงค์ของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ชะลอตัว ตลอดจนฐานการคำนวณในช่วงเดียวกันปีก่อนที่ค่อนข้างสูง โดยการส่งออกในเดือนธันวาคมของประเทศเอเชียส่วนใหญ่ โดยเฉพาะประเทศที่มีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าส่งออกหลัก ชะลอตัวจากเดือนพฤศจิกายน เช่น การส่งออกของเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 19.5(yoy) ชะลอตัวจากร้อยละ 26.8 การส่งออกของสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 20.6 ชะลอตัวจากร้อยละ 25.6 และการส่งออกของไต้หวันขยายตัวร้อยละ 6.2 ชะลอตัวจากร้อยละ 12.5 อนึ่ง การส่งออกของจีนแม้จะชะลอตัวลงแต่นับว่ามีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย โดยในเดือนธันวาคมขยายตัวร้อยละ32.7ชะลอลงจากร้อยละ 45.9 ในเดือนพฤศจิกายน ส่วนหนึ่งมาจากฐานการส่งออกในเดือนธันวาคมปี 2546 ที่ค่อนข้างสูงจากการที่ผู้ส่งออกเร่งส่งออกก่อนที่จีนจะปรับลดอัตราการคืนภาษีส่งออก (VAT rebate) เมื่อต้นปี 2547 สำหรับการส่งออกของฮ่องกงก็มีแนวโน้มขยายตัวดีจากการส่งออกไปยังจีนที่ขยายตัวในระดับสูง อย่างไรก็ตาม การส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอลง
ในเดือนธันวาคม แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อของประเทศในภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงตามการปรับลดลงของราคาสินค้าในหมวดอาหาร เนื่องจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้านเกษตรดีขึ้นและปัญหาจากภัยธรรมชาติเริ่มหมดไป กอปรกับแรงกดดันจากราคาสินค้านำเข้าลดลงในหลายประเทศจากการที่ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยอัตราเงินเฟ้อของจีนอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.8 อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ลดลงจากร้อยละ 3.3 และอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ลดลงจากร้อยละ 1.8 อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.4 จากร้อยละ 6.2 เนื่องจากราคาอาหารกลับมาปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนที่ได้ปรับลดลงไปมาก และอัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 7.9 จากร้อยละ 7.6 ในเดือนก่อนเนื่องจากราคาน้ำมันในประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้น
ค่าเงิน ในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในเดือนมกราคมตามการแข็งค่าของเงินเยนและทิศทางการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. จากความกังวลของนักลงทุนต่อปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ประกอบกับมีการไหลเข้าของเงินลงทุนมายังตลาดหลักทรัพย์ของภูมิภาคเอเชียในช่วงที่ผ่านมานอกจากนั้น ตลาดยังคงคาดการณ์ว่าจีนจะปรับค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ต้นปี2548 แรงกดดันต่อการปรับค่าเงินหยวนของจีนเริ่มลดลง โดยจากผลสำรวจของ Reuters เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2547 นักวิเคราะห์สำนักต่างๆมีความเห็นว่าจีนจะยังไม่ปรับช่วงความเคลื่อนไหว (band) ของค่าเงินหยวนให้ความยืดหยุ่นมากขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจและระบบการเงินของจีนในขณะนี้ยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะรองรับความผันผวนของระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบใหม่ ทั้งนี้ค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์ได้กลับมาแข็งค่าขึ้นภายหลังจากที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ภาครัฐสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของฟิลิปปินส์ลงเพียง 1 อันดับจาก BB เป็น BB- เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2548 เนื่องจากมีความกังวลในเรื่องปัญหาหนี้ภาครัฐ ซึ่งนับว่าดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะปรับลดลง 2 อันดับ
อย่างไรก็ดี ทางการบางประเทศเห็นว่าเศรษฐกิจของตนไม่สามารถรองรับการแข็งค่าของสกุลเงินของตนเองได้มากและรวดเร็วอย่างที่เป็นอยู่ จึงอาจมีแนวโน้มเข้าแทรกแซงค่าเงินของตนเอง เพื่อลดผลกระทบที่จะมีต่อภาคการส่งออก
เหตุการณ์คลื่นสึนามิถล่มชายฝั่งทะเลหลายประเทศในเอเชีย ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา และไทย ในช่วงสิ้นปี 2547 คาดว่าจะส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวไม่มากนักเนื่องจากพื้นที่บริเวณได้รับผลกระทบไม่ได้เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ (ยกเว้นไทย ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบในภาคการท่องเที่ยว) ตลอดจนหลายประเทศได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและได้รับการผ่อนผันการชำระหนี้ต่างประเทศจากกลุ่มประเทศเจ้าหนี้ Paris Club อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์บางรายยังมีความกังวลว่าความสูญเสียดังกล่าวอาจนำไปสู่ภาระด้านการคลังในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูที่อาจจะเพิ่มขึ้นในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ซึ่งแต่เดิมตั้งเป้าการขาดดุลงบประมาณในปี 2548 ไว้ที่ร้อยละ 0.8 ของ GDP
มาตรการทางเศรษฐกิจและการเงินที่สำคัญของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่
ไต้หวัน:เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2547 ธนาคารกลางไต้หวันได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน rediscount rate ร้อยละ 0.125 จากร้อยละ 1.625 เป็นร้อยละ 1.75 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 2 ในปี 2547เพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อและลดความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของไต้หวันและสหรัฐฯ โดยธนาคารกลางไต้หวันคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2548 จะสูงกว่าร้อยละ 2 และได้ปรับเพิ่มเป้าหมายการขยายตัวของปริมาณเงิน M2สำหรับปี 2548 เป็นร้อยละ 3.5-7.5 จากเดิมร้อยละ 2.5-6.5
จีน: เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548ธนาคารกลางจีนได้จัดประชุมประจำปี 2548 และวางแนวทางการดำเนินงานสำหรับปี 2548 โดยเน้น 2 เรื่องหลักๆคือ(1)ปรับปรุงการดูแลระบบการเงิน โดยเฉพาะโครงสร้างการปล่อยสินเชื่อ ให้มีความเข้มแข็งขึ้นเพื่อรองรับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ และป้องกันไม่ให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้นมากเกินไป และ(2)ดำเนินการปฏิรูปเพื่อให้เกิดการพัฒนาในภาคการเงินและขจัดอุปสรรคต่อพัฒนาการทางการเงิน ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนได้กำหนดเป้าหมายการขยายตัวของปริมาณเงิน M1 และ M2 สำหรับปี 2548 ไว้ที่ร้อยละ 15 ซึ่งนับว่าผ่อนคลายลงหากเทียบกับการขยายตัวของปริมาณเงินในเดือนธันวาคม 2547 ที่ร้อยละ 14.6 และยังกำหนดปริมาณสินเชื่อสกุลเงินหยวนของสถาบันการเงินทุกแห่งรวมกันเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านล้านหยวน สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2547ที่เพิ่มขึ้น 2.2 ล้านล้านหยวน นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนจะค่อยๆดำเนินการปฏิรูปกลไกอัตราแลกเปลี่ยนรวมทั้งรักษาค่าเงินหยวนให้อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ G-3ยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และขยายตัวใกล้แนวโน้มระยะยาว โดยความเสี่ยงด้านลบจากราคาน้ำมันเริ่มลดลงจากช่วงก่อนหน้านี้ อนึ่ง คาดว่าในระยะต่อไปเศรษฐกิจโลกจะยังคงขยายตัวแต่อาจชะลอลงบ้าง โดยปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนให้ความสำคัญได้แก่ ทิศทางการปรับตัวของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและนโยบายการคลังของสหรัฐฯ รวมทั้งความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
สหรัฐอเมริกา
เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง ทั้งนี้FOMC Minutes ของการประชุมเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ระบุว่าแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ขยายตัวดีมีแรงผลักดันมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยราคาบ้านและราคาหลักทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวขึ้นจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคในปี 2548 ในขณะที่การลงทุนภาคธุรกิจคาดว่าจะชะลอลงเล็กน้อยจากการที่สิทธิลดหย่อนทางภาษีหมดอายุลงในปี 2547 อย่างไรก็ตาม การลงทุนน่าจะกลับมาขยายตัวดีในระยะต่อไปตามการขยายตัวของการบริโภค ประกอบกับความจำเป็นที่ต้องการ upgrade เครื่องใช้สำนักงานและ software
ทั้งนี้ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดสนับสนุนทิศทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวดี โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่จัดทำโดย Conference Board ในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ 103.4 สูงที่สุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวดี สะท้อนจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payroll) ในเดือนธันวาคมที่เพิ่มขึ้น 157,000 ราย เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ขณะที่การจ้างงานในภาคบริการยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
แม้ว่าเศรษฐกิจขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แต่แรงกดดันต่อเงินเฟ้อยังมีไม่มากนัก โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.3 (yoy) ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.5 เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลงขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2(yoy)
แม้ว่าตลาดจะเริ่มกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันเงินเฟ้อในอนาคตซึ่งมีปัจจัยมาจากการชะลอตัวของผลิตภาพการผลิต (productivity) และต้นทุนแรงงานที่เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นขณะที่ profit margin ของบริษัทเริ่มชะลอลง แต่คณะกรรมการนโยบายการเงินยังไม่กังวลถึงแรงกดดันเงินเฟ้อในอนาคตมากนัก โดยนาย Alan Greenspan ประธาน Fed เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นยังไม่เป็นที่น่ากังวล เพราะแม้ว่าผลิตภาพการผลิต (productivity) จะชะลอลง แต่เป็นการชะลอลงหลังจากาที่เพิ่มขึ้นมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4 นับว่ายังไม่สูงเกินไป สำหรับ profit margin ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงเป็นเพราะบริษัทมีความมั่นใจมากขึ้นหลังจากที่มีกำไรสูงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การแข่งขันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดรุนแรงขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้บริษัทยังไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ ดังนั้นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯจึงเป็นการปรับเพื่อให้ไปสู่ระดับดุลยภาพ ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าอยู่ที่ระดับใด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายการเงินบางท่านระบุว่าอัตราดอกเบี้ย neutral rate น่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-4.5
กลุ่มประเทศยูโร
เศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนในช่วงที่ผ่านมาฟื้นตัวต่อเนื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการอุปโภคบริโภคภายในประเทศยังคงค่อนข้างทรงตัว ขณะที่ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบบ้างจากค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งกลับเห็นว่าการแข็งค่าขึ้นของเงินยูโรส่งผลดีต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ และเห็นว่าค่าเงินไม่ได้แข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงทศวรรษ 1990
อนึ่งดัชนีชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญยังส่งสัญญาณถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงโดยEconomic Sentiment ล่าสุดชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ 100.9 มาอยู่ที่ 100.3 ในเดือนธันวาคม อันเป็นผลจากความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่ลดลงและค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ดัชนี Business Climate Indicator ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ทำให้เชื่อว่าแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนจะเป็นไปอย่างช้าๆต่อไป
ด้านนโยบายการเงิน จากการประชุมครั้งล่าสุดของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2548 ECB มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Refinancing rate) ที่ร้อยละ 2.0ต่อปีเช่นเดิม โดยให้เหตุผลว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระยะสั้นจากราคาน้ำมันเริ่มปรับลดลง รวมทั้งเห็นว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังคงสอดคลัองกับเป้าหมายเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลาง ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อ HICP ล่าสุดของกลุ่มยูโรโซนในเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.4 (yoy) จากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่และราคาอาหารที่สูงกว่าที่คาดไว้เดิมเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.9(yoy) อย่างไรก็ดี กรรมการ ECB เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลงในปีนี้
ญี่ปุ่น
ธนาคารกลางญี่ปุ่น ได้แสดงความเห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจอาจจะต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ ในรายงานประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและคาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2547 โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจจะอ่อนตัวลงในช่วงต้นปี 2548 หลังจากเครื่องชี้เศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณที่อ่อนแอตั้งแต่ช่วงปลายปี 2547 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวของผลิตภาคอุตสาหกรรมและสินค้าคงคลัง (inventory correction) ในภาคที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลกระทบมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตามล่าสุดผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 1.7 (mom) จากที่หดตัวในเดือนกันยายนและตุลาคม
ทั้งนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นเห็นว่าการปรับตัวของสินค้าคงคลังจะสิ้นสุดในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2548 และคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ภาคการส่งออกขยายตัวได้แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ
นอกจากนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นคาดว่า อัตราเงินเฟ้ออาจจะต่ำกว่าที่เคยคาดไว้เดิมที่ร้อยละ 0.1 ในปีงบประมาณ 2548 เล็กน้อย เนื่องจากมีการปรับลดค่าบริการสาธารณูปโภค (ค่าโทรศัพท์ ค่าไฟฟ้า) ซึ่งจะต้องดูผลกระทบอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนพฤศจิกายนยังคงติดลบร้อยละ 0.2(yoy)
ในช่วงเดือนมกราคม 2548เงินเยนได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 101.70 เยน/ดอลลาร์ สรอ. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 ซึ่งเป็นระดับที่แข็งที่สุดในรอบ 5 ปีเทียบกับดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าอาจจะมีแรงกดดันให้ประเทศในเอเชียปล่อยค่าเงินให้แข็งค่าขึ้นในการประชุม G7 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นและOECD ได้ออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินเยนว่าจะเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น
เอเชีย
เศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่อาจจะชะลอลงเล็กน้อยในช่วงปลายปี เนื่องจากภาคการส่งออกเริ่มแผ่วลงตามอุปสงค์ในตลาดโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนเศรษฐกิจเริ่มเห็นผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 5.4(yoy) ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชะลอการผลิตลงตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่เริ่มชะลอตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 8.1 เทียบกับร้อยละ 1.1 ในปี 2546
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนยังขยายตัวในอัตราสูง แม้ในช่วงปีที่ผ่านมาทางการจีนจะออกมาตรการต่างๆเพื่อชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งรวมไปถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบเกือบทศวรรษโดย GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 9.5(yoy) และทั้งปี 2547 เศรษฐกิจขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.5 เร่งขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.3 โดยการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรทั้งปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 25.8(yoy) ชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 26.7ขณะที่การบริโภคในปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 13.3(yoy) เร่งตัวขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 อนึ่ง ปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 4 ขยายตัวสูงกว่าที่คาดมาจากการส่งออกที่ยังขยายตัวดี
แม้ว่าการส่งออกของหลายประเทศจะยังขยายตัวในระดับสูง แต่ก็ชะลอลงอย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มอุปสงค์ของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ชะลอตัว ตลอดจนฐานการคำนวณในช่วงเดียวกันปีก่อนที่ค่อนข้างสูง โดยการส่งออกในเดือนธันวาคมของประเทศเอเชียส่วนใหญ่ โดยเฉพาะประเทศที่มีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าส่งออกหลัก ชะลอตัวจากเดือนพฤศจิกายน เช่น การส่งออกของเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 19.5(yoy) ชะลอตัวจากร้อยละ 26.8 การส่งออกของสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 20.6 ชะลอตัวจากร้อยละ 25.6 และการส่งออกของไต้หวันขยายตัวร้อยละ 6.2 ชะลอตัวจากร้อยละ 12.5 อนึ่ง การส่งออกของจีนแม้จะชะลอตัวลงแต่นับว่ามีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย โดยในเดือนธันวาคมขยายตัวร้อยละ32.7ชะลอลงจากร้อยละ 45.9 ในเดือนพฤศจิกายน ส่วนหนึ่งมาจากฐานการส่งออกในเดือนธันวาคมปี 2546 ที่ค่อนข้างสูงจากการที่ผู้ส่งออกเร่งส่งออกก่อนที่จีนจะปรับลดอัตราการคืนภาษีส่งออก (VAT rebate) เมื่อต้นปี 2547 สำหรับการส่งออกของฮ่องกงก็มีแนวโน้มขยายตัวดีจากการส่งออกไปยังจีนที่ขยายตัวในระดับสูง อย่างไรก็ตาม การส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอลง
ในเดือนธันวาคม แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อของประเทศในภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงตามการปรับลดลงของราคาสินค้าในหมวดอาหาร เนื่องจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้านเกษตรดีขึ้นและปัญหาจากภัยธรรมชาติเริ่มหมดไป กอปรกับแรงกดดันจากราคาสินค้านำเข้าลดลงในหลายประเทศจากการที่ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยอัตราเงินเฟ้อของจีนอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.8 อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ลดลงจากร้อยละ 3.3 และอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ลดลงจากร้อยละ 1.8 อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.4 จากร้อยละ 6.2 เนื่องจากราคาอาหารกลับมาปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนที่ได้ปรับลดลงไปมาก และอัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 7.9 จากร้อยละ 7.6 ในเดือนก่อนเนื่องจากราคาน้ำมันในประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้น
ค่าเงิน ในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในเดือนมกราคมตามการแข็งค่าของเงินเยนและทิศทางการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. จากความกังวลของนักลงทุนต่อปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ประกอบกับมีการไหลเข้าของเงินลงทุนมายังตลาดหลักทรัพย์ของภูมิภาคเอเชียในช่วงที่ผ่านมานอกจากนั้น ตลาดยังคงคาดการณ์ว่าจีนจะปรับค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ต้นปี2548 แรงกดดันต่อการปรับค่าเงินหยวนของจีนเริ่มลดลง โดยจากผลสำรวจของ Reuters เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2547 นักวิเคราะห์สำนักต่างๆมีความเห็นว่าจีนจะยังไม่ปรับช่วงความเคลื่อนไหว (band) ของค่าเงินหยวนให้ความยืดหยุ่นมากขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจและระบบการเงินของจีนในขณะนี้ยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะรองรับความผันผวนของระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบใหม่ ทั้งนี้ค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์ได้กลับมาแข็งค่าขึ้นภายหลังจากที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ภาครัฐสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของฟิลิปปินส์ลงเพียง 1 อันดับจาก BB เป็น BB- เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2548 เนื่องจากมีความกังวลในเรื่องปัญหาหนี้ภาครัฐ ซึ่งนับว่าดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะปรับลดลง 2 อันดับ
อย่างไรก็ดี ทางการบางประเทศเห็นว่าเศรษฐกิจของตนไม่สามารถรองรับการแข็งค่าของสกุลเงินของตนเองได้มากและรวดเร็วอย่างที่เป็นอยู่ จึงอาจมีแนวโน้มเข้าแทรกแซงค่าเงินของตนเอง เพื่อลดผลกระทบที่จะมีต่อภาคการส่งออก
เหตุการณ์คลื่นสึนามิถล่มชายฝั่งทะเลหลายประเทศในเอเชีย ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา และไทย ในช่วงสิ้นปี 2547 คาดว่าจะส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวไม่มากนักเนื่องจากพื้นที่บริเวณได้รับผลกระทบไม่ได้เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ (ยกเว้นไทย ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบในภาคการท่องเที่ยว) ตลอดจนหลายประเทศได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและได้รับการผ่อนผันการชำระหนี้ต่างประเทศจากกลุ่มประเทศเจ้าหนี้ Paris Club อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์บางรายยังมีความกังวลว่าความสูญเสียดังกล่าวอาจนำไปสู่ภาระด้านการคลังในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูที่อาจจะเพิ่มขึ้นในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ซึ่งแต่เดิมตั้งเป้าการขาดดุลงบประมาณในปี 2548 ไว้ที่ร้อยละ 0.8 ของ GDP
มาตรการทางเศรษฐกิจและการเงินที่สำคัญของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่
ไต้หวัน:เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2547 ธนาคารกลางไต้หวันได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน rediscount rate ร้อยละ 0.125 จากร้อยละ 1.625 เป็นร้อยละ 1.75 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 2 ในปี 2547เพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อและลดความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของไต้หวันและสหรัฐฯ โดยธนาคารกลางไต้หวันคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2548 จะสูงกว่าร้อยละ 2 และได้ปรับเพิ่มเป้าหมายการขยายตัวของปริมาณเงิน M2สำหรับปี 2548 เป็นร้อยละ 3.5-7.5 จากเดิมร้อยละ 2.5-6.5
จีน: เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548ธนาคารกลางจีนได้จัดประชุมประจำปี 2548 และวางแนวทางการดำเนินงานสำหรับปี 2548 โดยเน้น 2 เรื่องหลักๆคือ(1)ปรับปรุงการดูแลระบบการเงิน โดยเฉพาะโครงสร้างการปล่อยสินเชื่อ ให้มีความเข้มแข็งขึ้นเพื่อรองรับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ และป้องกันไม่ให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้นมากเกินไป และ(2)ดำเนินการปฏิรูปเพื่อให้เกิดการพัฒนาในภาคการเงินและขจัดอุปสรรคต่อพัฒนาการทางการเงิน ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนได้กำหนดเป้าหมายการขยายตัวของปริมาณเงิน M1 และ M2 สำหรับปี 2548 ไว้ที่ร้อยละ 15 ซึ่งนับว่าผ่อนคลายลงหากเทียบกับการขยายตัวของปริมาณเงินในเดือนธันวาคม 2547 ที่ร้อยละ 14.6 และยังกำหนดปริมาณสินเชื่อสกุลเงินหยวนของสถาบันการเงินทุกแห่งรวมกันเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านล้านหยวน สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2547ที่เพิ่มขึ้น 2.2 ล้านล้านหยวน นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนจะค่อยๆดำเนินการปฏิรูปกลไกอัตราแลกเปลี่ยนรวมทั้งรักษาค่าเงินหยวนให้อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--