ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เตือน ธ.พาณิชย์ไม่ให้ควบตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารและประธานกรรมการบริหาร
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการของ
ธ.พาณิชย์ว่า ต้องการให้ ธ.พาณิชย์ปฏิบัติตามระเบียบที่เขียนไว้ เพราะปัจจุบันหลายธนาคารมีตำแหน่งประธาน
กรรมการธนาคารและประธานกรรมการบริหารเป็นบุคคลคนเดียวกัน ทำให้ไม่มีการถ่วงดุลอำนาจการบริหาร และ
ที่ผ่านมาได้ตักเตือนธนาคารหลายแห่งให้ปฏิบัติตามระเบียบที่เขียนไว้ ซึ่งผู้ว่าการ ธปท. ได้ย้ำมาตลอดว่าตำแหน่งดัง
กล่าวจะต้องไม่เป็นบุคคลคลเดียวกันและ ธ.พาณิชย์ส่วนใหญ่ปฏิบัติตาม ปัจจุบัน ธ.พาณิชย์ที่มีผู้บริหารควบตำแหน่ง
ดังกล่าวคือ ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.นครหลวงไทย (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
2. อัตราดอกเบี้ยช่วงขาขึ้นไม่กระทบต่อการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของ ธ.พาณิชย์
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น
และปรับตัวอย่างต่อเนื่องไม่มีผลกระทบต่อการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของ ธ.พาณิชย์ ซึ่งจากการติดตามดูพบว่า
สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากการตัดสินใจซื้อบ้านผู้บริโภคจะมองถึงอนาคตในระยะยาวมากกว่า
อัตราดอกเบี้ยจึงไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะชี้ขาด จึงไม่จำเป็นต้องออกกฎเกณฑ์เพิ่มเพื่อกำหนดสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อแก่
ลูกค้ารายย่อยที่กู้ซื้อบ้าน ธปท. จะกำกับเฉพาะการปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้ารายใหญ่เช่นเดิม เพื่อไม่ให้เกิดภาวะการ
เก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธ.พาณิชย์ยังไม่ปรับลดเป้าการปล่อยสินเชื่อในปีนี้ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ ประธานกรรมการ
บริหาร ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า สถานการณ์ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลาที่ต้องทบทวนอัตราการเติบโตของสินเชื่อในปีนี้ แม้
ธนาคารจะลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเหลือร้อยละ 4.0-4.5 แต่ยอมรับว่าสถานการณ์การเมืองอาจส่งผล
ให้การบริโภคชะลอตัวลงบ้าง ส่วนที่เป็นห่วงคือภาวะเศรษฐกิจโลก เพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวด้วยการ
ส่งออก ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกจึงสำคัญกว่าปัจจัยการเมืองในประเทศ ด้าน นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธาน
กรรมการบริหาร ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยยังไปได้ดีจากเศรษฐกิจโลกที่ขับเคลื่อนต่อไปได้ ทั้ง
จากการขยายตัวของเศรษฐกิจในจีนและญี่ปุ่นที่เริ่มฟื้นตัวทำให้ไทยได้ประโยชน์ ซึ่งธนาคารยังคงเป้าหมายสินเชื่อ
ตามเดิม แต่ก็มีการติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด ส่วน นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กก.ผจก. ธ.กสิกรไทย กล่าวว่า
ธนาคารจะพิจารณาทบทวนเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อในช่วงกลางปีนี้ หากสถานการณ์การเมืองยืดเยื้อไปจนถึงเดือน
เม.ย.-พ.ค. โดยยังไม่มีความแน่นอนว่าใครจะเป็นผู้บริหารประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายสินเชื่อ
(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. คาดว่าในการประชุมนโยบายการเงินของสรอ. จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ
0.25 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 49 เจ้าหน้าที่ ธ. กลาง สรอ. เปิดเผยว่า ในการประชุม
นโยบายการเงินเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้นนโยบายของ สรอ. เมื่อวานนี้ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นาย Ben Bernanke
เป็นประธาน ธ. กลาง สรอ. คนใหม่แทนนาย Alan Greenspan ที่อยู่ในตำแหน่งประธาน ธ. กลาง สรอ.
นานกว่า 18 ปี คาดว่าจะมีการพิจาณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกประมาณร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ซึ่งจะเป็นการปรับเพิ่มเป็นครั้งที่ 15 และมีความเป็นไปได้ที่อัตราดอกเบี้ย
นโยบายของสรอ. จะสูงถึงร้อยละ 5.0 ในกลางปีนี้ (รอยเตอร์)
2. กองทุนประกันสังคมของจีนจะลงทุนในตลาดหุ้นในประเทศมากขึ้น รายงานจากเชียงไฮ้ เมื่อ
วันที่ 28 มี.ค. 49 โฆษกรัฐบาลจีนเปิดเผยว่า กองทุนประกันสังคมของจีนซึ่งมีเงินกองทุน 25 พัน ล. ดอลลาร์
สรอ. มีเป้าหมายที่จะลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเพื่อกระตุ้นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ตกต่ำมา
เป็นเวลา 4 ปีแล้ว ทั้งนี้กองทุนประกันสังคมมีแผนที่จะปรับกลยุทธการลงทุนระยะปานกลาง และระยะยาวโดย
เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นในประเทศถึงร้อยละ 20 — 30 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ลงทุนในหุ้นเพียง
ร้อยละ 14 โดยกองทุนประกันสังคมมีแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในหุ้นในประเทศ เพิ่มขึ้น 3 - 5 พัน ล. หยวน
ขณะที่ลงทุน 500 — 800 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ในตลาดหุ้นต่างประเทศ ซึ่งในปี 49 กองทุนประกันสังคมจะมี
เงินลงทุนในตลาดหุ้นในประเทศประมาณ 41 พัน ล. หยวน (5.11 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 จากเดือนก่อน
สูงสุดในรอบกว่า 2 ปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 27 มี.ค.49 ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือน
ก.พ.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 จากเดือนก่อน สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ต่อเดือน และเพิ่มขึ้นใน
อัตราสูงสุดต่อเดือนนับตั้งแต่เดือน ม.ค.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 ต่อเดือน ทั้งนี้เป็นผลจากผลผลิตอุตสาหกรรม
ยาซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 16 ของผลผลิตโรงงานทั้งหมดของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นในเดือน ก.พ.49 ถึงร้อยละ
312.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน หลังจากลดลงร้อยละ 34.9 ต่อปีในเดือน ม.ค.49 จากการปิดโรงงานเพื่อทำความ
สะอาดและเปลี่ยนไปผลิตยาชนิดใหม่ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตยาในเดือน ธ.ค.48 และ ม.ค.49 หดตัวเมื่อเทียบ
กับปีก่อน ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของยอดส่งออกไม่รวมน้ำมันและมากกว่า 1
ใน 3 ของผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 ต่อปีในเดือน ก.พ.49 และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 ต่อปีในเดือน ม.ค.49 โดยขยายตัวต่อเนื่องในอัตราเลขสองหลักต่อปีมาตั้งแต่เดือน
ต.ค.48 จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของโทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอลและคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้หากเทียบต่อปีแล้ว
ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2 ต่อปี สูงสุดเมื่อเทียบต่อปีนับตั้งแต่ปี
26 และสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 ต่อปี เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสสุดท้ายปี 48 ขยายตัวใน
อัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของสินค้าเทคโนโลยีในตลาดโลก ส่งผลให้รัฐบาลสิงคโปร์
ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้อีกร้อยละ 1.0 เป็นระหว่างร้อยละ 4 ถึง 6 ต่อปี
รอยเตอร์)
4. คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวร้อยละ 5 ในปี 50 รายงานจากโซลเมื่อ
28 มี.ค.49
ก.งบประมาณเกาหลีใต้ เปิดเผยประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปี
50 โดยคาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 5 ทั้งนี้ เศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้ขยายตัวชะลอลงที่
ร้อยละ 4.0 ในปี 48 จากร้อยละ 4.6 ในปี 47 เนื่องจากความต้องการภายในประเทศไม่สามารถฟื้นตัวขึ้น
ชดเชยกับภาวะการส่งออกที่ชะลอลงอย่างมากได้ อย่างไรก็ตาม ในปี 49 นี้ มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการ
ภายในประเทศและการส่งออกจะฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจนและมีเสถียรภาพ และส่งผลให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัว
ในอัตราที่เพิ่มขึ้นได้ในปี 50 นอกจากนี้ ก.งบประมาณได้คาดการณ์ว่า การใช้จ่ายภาครัฐในปี 50 จะขยายตัวสูง
กว่ารายได้ เนื่องจากรัฐบาลมีการจัดสรร งปม.รายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น สำหรับปี 49 จากตัวเลข
งปม. ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา การใช้จ่ายยังคงสูงกว่ารายได้ โดยรัฐบาลกำหนดเป้าหมายการขยายตัว
ของรายได้ที่ร้อยละ 6.5 ขณะที่เป้าหมายรายจ่ายขยายตัวร้อยละ 7.1 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 มี.ค. 49 27 มี.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.931 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.7428/39.0297 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.59844 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 733.33/ 10.59 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,300/10,400 10,200/10,300 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.32 58.66 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 18 มี.ค. 49 27.14*/25.49** 27.14*/25.49** 19.69/14.59 ปตท.
**ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 มี.ค. 49
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. เตือน ธ.พาณิชย์ไม่ให้ควบตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารและประธานกรรมการบริหาร
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการของ
ธ.พาณิชย์ว่า ต้องการให้ ธ.พาณิชย์ปฏิบัติตามระเบียบที่เขียนไว้ เพราะปัจจุบันหลายธนาคารมีตำแหน่งประธาน
กรรมการธนาคารและประธานกรรมการบริหารเป็นบุคคลคนเดียวกัน ทำให้ไม่มีการถ่วงดุลอำนาจการบริหาร และ
ที่ผ่านมาได้ตักเตือนธนาคารหลายแห่งให้ปฏิบัติตามระเบียบที่เขียนไว้ ซึ่งผู้ว่าการ ธปท. ได้ย้ำมาตลอดว่าตำแหน่งดัง
กล่าวจะต้องไม่เป็นบุคคลคลเดียวกันและ ธ.พาณิชย์ส่วนใหญ่ปฏิบัติตาม ปัจจุบัน ธ.พาณิชย์ที่มีผู้บริหารควบตำแหน่ง
ดังกล่าวคือ ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.นครหลวงไทย (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
2. อัตราดอกเบี้ยช่วงขาขึ้นไม่กระทบต่อการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของ ธ.พาณิชย์
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น
และปรับตัวอย่างต่อเนื่องไม่มีผลกระทบต่อการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของ ธ.พาณิชย์ ซึ่งจากการติดตามดูพบว่า
สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากการตัดสินใจซื้อบ้านผู้บริโภคจะมองถึงอนาคตในระยะยาวมากกว่า
อัตราดอกเบี้ยจึงไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะชี้ขาด จึงไม่จำเป็นต้องออกกฎเกณฑ์เพิ่มเพื่อกำหนดสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อแก่
ลูกค้ารายย่อยที่กู้ซื้อบ้าน ธปท. จะกำกับเฉพาะการปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้ารายใหญ่เช่นเดิม เพื่อไม่ให้เกิดภาวะการ
เก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธ.พาณิชย์ยังไม่ปรับลดเป้าการปล่อยสินเชื่อในปีนี้ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ ประธานกรรมการ
บริหาร ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า สถานการณ์ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลาที่ต้องทบทวนอัตราการเติบโตของสินเชื่อในปีนี้ แม้
ธนาคารจะลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเหลือร้อยละ 4.0-4.5 แต่ยอมรับว่าสถานการณ์การเมืองอาจส่งผล
ให้การบริโภคชะลอตัวลงบ้าง ส่วนที่เป็นห่วงคือภาวะเศรษฐกิจโลก เพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวด้วยการ
ส่งออก ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกจึงสำคัญกว่าปัจจัยการเมืองในประเทศ ด้าน นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธาน
กรรมการบริหาร ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยยังไปได้ดีจากเศรษฐกิจโลกที่ขับเคลื่อนต่อไปได้ ทั้ง
จากการขยายตัวของเศรษฐกิจในจีนและญี่ปุ่นที่เริ่มฟื้นตัวทำให้ไทยได้ประโยชน์ ซึ่งธนาคารยังคงเป้าหมายสินเชื่อ
ตามเดิม แต่ก็มีการติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด ส่วน นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กก.ผจก. ธ.กสิกรไทย กล่าวว่า
ธนาคารจะพิจารณาทบทวนเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อในช่วงกลางปีนี้ หากสถานการณ์การเมืองยืดเยื้อไปจนถึงเดือน
เม.ย.-พ.ค. โดยยังไม่มีความแน่นอนว่าใครจะเป็นผู้บริหารประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายสินเชื่อ
(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. คาดว่าในการประชุมนโยบายการเงินของสรอ. จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ
0.25 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 49 เจ้าหน้าที่ ธ. กลาง สรอ. เปิดเผยว่า ในการประชุม
นโยบายการเงินเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้นนโยบายของ สรอ. เมื่อวานนี้ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นาย Ben Bernanke
เป็นประธาน ธ. กลาง สรอ. คนใหม่แทนนาย Alan Greenspan ที่อยู่ในตำแหน่งประธาน ธ. กลาง สรอ.
นานกว่า 18 ปี คาดว่าจะมีการพิจาณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกประมาณร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ซึ่งจะเป็นการปรับเพิ่มเป็นครั้งที่ 15 และมีความเป็นไปได้ที่อัตราดอกเบี้ย
นโยบายของสรอ. จะสูงถึงร้อยละ 5.0 ในกลางปีนี้ (รอยเตอร์)
2. กองทุนประกันสังคมของจีนจะลงทุนในตลาดหุ้นในประเทศมากขึ้น รายงานจากเชียงไฮ้ เมื่อ
วันที่ 28 มี.ค. 49 โฆษกรัฐบาลจีนเปิดเผยว่า กองทุนประกันสังคมของจีนซึ่งมีเงินกองทุน 25 พัน ล. ดอลลาร์
สรอ. มีเป้าหมายที่จะลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเพื่อกระตุ้นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ตกต่ำมา
เป็นเวลา 4 ปีแล้ว ทั้งนี้กองทุนประกันสังคมมีแผนที่จะปรับกลยุทธการลงทุนระยะปานกลาง และระยะยาวโดย
เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นในประเทศถึงร้อยละ 20 — 30 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ลงทุนในหุ้นเพียง
ร้อยละ 14 โดยกองทุนประกันสังคมมีแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในหุ้นในประเทศ เพิ่มขึ้น 3 - 5 พัน ล. หยวน
ขณะที่ลงทุน 500 — 800 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ในตลาดหุ้นต่างประเทศ ซึ่งในปี 49 กองทุนประกันสังคมจะมี
เงินลงทุนในตลาดหุ้นในประเทศประมาณ 41 พัน ล. หยวน (5.11 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 จากเดือนก่อน
สูงสุดในรอบกว่า 2 ปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 27 มี.ค.49 ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือน
ก.พ.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 จากเดือนก่อน สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ต่อเดือน และเพิ่มขึ้นใน
อัตราสูงสุดต่อเดือนนับตั้งแต่เดือน ม.ค.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 ต่อเดือน ทั้งนี้เป็นผลจากผลผลิตอุตสาหกรรม
ยาซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 16 ของผลผลิตโรงงานทั้งหมดของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นในเดือน ก.พ.49 ถึงร้อยละ
312.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน หลังจากลดลงร้อยละ 34.9 ต่อปีในเดือน ม.ค.49 จากการปิดโรงงานเพื่อทำความ
สะอาดและเปลี่ยนไปผลิตยาชนิดใหม่ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตยาในเดือน ธ.ค.48 และ ม.ค.49 หดตัวเมื่อเทียบ
กับปีก่อน ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของยอดส่งออกไม่รวมน้ำมันและมากกว่า 1
ใน 3 ของผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 ต่อปีในเดือน ก.พ.49 และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 ต่อปีในเดือน ม.ค.49 โดยขยายตัวต่อเนื่องในอัตราเลขสองหลักต่อปีมาตั้งแต่เดือน
ต.ค.48 จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของโทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอลและคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้หากเทียบต่อปีแล้ว
ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2 ต่อปี สูงสุดเมื่อเทียบต่อปีนับตั้งแต่ปี
26 และสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 ต่อปี เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสสุดท้ายปี 48 ขยายตัวใน
อัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของสินค้าเทคโนโลยีในตลาดโลก ส่งผลให้รัฐบาลสิงคโปร์
ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้อีกร้อยละ 1.0 เป็นระหว่างร้อยละ 4 ถึง 6 ต่อปี
รอยเตอร์)
4. คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวร้อยละ 5 ในปี 50 รายงานจากโซลเมื่อ
28 มี.ค.49
ก.งบประมาณเกาหลีใต้ เปิดเผยประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปี
50 โดยคาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 5 ทั้งนี้ เศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้ขยายตัวชะลอลงที่
ร้อยละ 4.0 ในปี 48 จากร้อยละ 4.6 ในปี 47 เนื่องจากความต้องการภายในประเทศไม่สามารถฟื้นตัวขึ้น
ชดเชยกับภาวะการส่งออกที่ชะลอลงอย่างมากได้ อย่างไรก็ตาม ในปี 49 นี้ มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการ
ภายในประเทศและการส่งออกจะฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจนและมีเสถียรภาพ และส่งผลให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัว
ในอัตราที่เพิ่มขึ้นได้ในปี 50 นอกจากนี้ ก.งบประมาณได้คาดการณ์ว่า การใช้จ่ายภาครัฐในปี 50 จะขยายตัวสูง
กว่ารายได้ เนื่องจากรัฐบาลมีการจัดสรร งปม.รายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น สำหรับปี 49 จากตัวเลข
งปม. ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา การใช้จ่ายยังคงสูงกว่ารายได้ โดยรัฐบาลกำหนดเป้าหมายการขยายตัว
ของรายได้ที่ร้อยละ 6.5 ขณะที่เป้าหมายรายจ่ายขยายตัวร้อยละ 7.1 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 มี.ค. 49 27 มี.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.931 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.7428/39.0297 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.59844 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 733.33/ 10.59 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,300/10,400 10,200/10,300 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.32 58.66 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 18 มี.ค. 49 27.14*/25.49** 27.14*/25.49** 19.69/14.59 ปตท.
**ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 มี.ค. 49
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--