แถลงข่าวเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ เดือนมีนาคม 2549 และไตรมาสแรก ปี 2549
เดือนมีนาคม 2549 เศรษฐกิจภาคเหนือโดยรวมขยายตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อน โดยด้านอุปสงค์ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง แต่การลงทุนหมวดเครื่องจักรและส่วนประกอบยังขยายตัวตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและนำเข้าชะลอลงจากเดือนก่อนแต่ก็อยู่ในเกณฑ์ขยายตัว ด้านอุปทานรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านราคา ผลผลิตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกขยายตัว ส่วนภาคบริการชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวขึ้นเล็กน้อย เงินฝากและเงินให้สินเชื่อขยายตัว
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 เศรษฐกิจภาคเหนือยังขยายตัว โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวจากไตรมาสก่อนแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว แต่การลงทุนด้านการผลิตยังขยายตัวตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ส่วนมูลค่าการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ทางด้านอุปทานรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ ผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อุตสาหกรรมขยายตัวโดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ภาคบริการซึ่งปรับตัวดีขึ้นเมื่อช่วงต้นปีได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองทำให้ในเดือนมีนาคมมีการยกเลิกหรือเลื่อนการเข้าพักแรมของกลุ่มประชุมสัมมนาภาครัฐรวมทั้งนักท่องเที่ยวแถบเอเชีย ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยในปลายไตรมาสแต่เฉลี่ยทั้งไตรมาสทรงตัวจากไตรมาสก่อน เงินฝากและเงินให้สินเชื่อขยายตัว
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร เดือนมีนาคม 2549 รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.5 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากด้านราคาเป็นสำคัญ ผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 โดยข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เนื่องจากปริมาณน้ำเอื้ออำนวยประกอบกับเกษตรกรมั่นใจในด้านตลาดและราคาจูงใจให้เพิ่มการผลิต มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ตามความต้องการใช้ทั้งภายในและต่างประเทศ ขณะที่อ้อยโรงงานและกระเทียมลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ด้านราคาเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.8 ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง อ้อยโรงงาน กระเทียมแห้งใหญ่คละ และหอมแดงแห้งใหญ่ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ร้อยละ 19.8 ร้อยละ 18.7 และร้อยละ 97.3 ตามลำดับ
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เร่งตัวจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของด้านราคาที่สูงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1 โดยราคาอ้อยโรงงานสูงขึ้นร้อยละ 19.8 จากราคาอ้อยขั้นต้นที่สูงขึ้นตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีและข้าวเปลือกเจ้านาปรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 และร้อยละ 6.0 ตามลำดับ จากมาตรการรับจำนำข้าวของภาครัฐ ราคากระเทียมสูงขึ้นร้อยละ 6.2 เนื่องจากผลผลิตลดลงจากนโยบายของรัฐให้ลดพื้นที่เพาะปลูก และหอมแดงมีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.0 ตามความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศ ด้านผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2 ตามข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง หอมแดง และข้าวนาปีที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ร้อยละ 8.4 ร้อยละ 0.5 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ ขณะที่อ้อยโรงงานลดลงเนื่องจากกระทบแล้งในช่วงเพาะปลูกและเกษตรกรส่วนหนึ่งหันไปปลูกพืชอื่นที่คาดว่าผลตอบแทนดีกว่า
2. ภาคอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2549 การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัว โดยการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 เป็น176.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 การผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 318.5 พันเมตริกตัน ตามอ้อยโรงงานที่เข้าหีบในเดือนนี้ 2.7 ล้านตัน สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนที่เป็นช่วงปลายฤดูกาลหีบอ้อยและมีอ้อยเข้าหีบเพียง 0.9 ล้านตัน อย่างไรก็ดีโดยรวมผลผลิตน้ำตาลของปีการผลิต 48/49 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 ยังคงลดลงร้อยละ 1.4 ส่วนผลผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.3 ตามการลดลงของการลงทุนก่อสร้างของทั้งภาครัฐและเอกชน
สำหรับไตรมาสแรก ปี 2549 การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัว จากการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพื่อส่งออกโดยมูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.3 เป็น 460.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ไตรมาสก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ อุปกรณ์ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ที่อุปสงค์ในตลาดต่างประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.6 เป็น 1,315.0 พันเมตริกตัน เนื่องจากโรงงานเปิดหีบอ้อยในฤดูการผลิตปี 2548/49 ล่าช้ากว่าปีก่อน ซึ่งเปิดหีบในช่วงต้นเดือนธันวาคม ทำให้มีปริมาณอ้อยเข้าหีบในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน แต่ผลผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.7 โดยลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ตามการลดลงของการก่อสร้างภาครัฐและเอกชน
3. ภาคบริการ เดือนมีนาคม 2549 ภาคบริการชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน เป็นผลจากนักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางเนื่องจากค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับปัจจัยด้านสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มประชุมสัมมนาภาครัฐยกเลิกหรือเลื่อนการจัดสัมมนารวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศส่วนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวเอเชียยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทางมาไทย จึงส่งผลให้กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญได้แก่ ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารชะลอลงร้อยละ 16.3 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานชะลอลงร้อยละ 1.2 และอัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงจากร้อยละ 69.4 เดือนก่อนเหลือร้อยละ 52.1 ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 994 บาท/คืน
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 ภาคบริการ ขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นปี แต่ในเดือนมีนาคมได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มประชุมสัมมนาภาครัฐยกเลิกหรือเลื่อนการจัดสัมมนารวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศส่วนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวเอเชียยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทางมาไทย เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยเป็นร้อยละ 64.3 ต่ำกว่าร้อยละ 65.4 ไตรมาสก่อน ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 มาอยู่ที่ราคาเฉลี่ย 1,015.8 บาท/คืน ทางด้านจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนมีนาคม 2549 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 แต่ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 ระยะเดียวกันปีก่อน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์ลดลงร้อยละ 0.7 ตามการลดลงของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นสำคัญ และปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 3.3 เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มอิ่มตัวประกอบกับรถจักรยานยนต์อยู่ระหว่างเปลี่ยนรูปแบบทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อลง
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอลงจากไตรมาสก่อนแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยสะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.9 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และปริมาณจดทะเบียนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ขณะที่ปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 3.5 อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอลง ประกอบกับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
5. การลงทุนภาคเอกชน เดือนมีนาคม 2549 การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวในอัตราชะลอลง โดยการลงทุนเพื่อการผลิตยังขยายตัวตามการนำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.6 เป็น 11.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนเงินลงทุนจากโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน (BOI) ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.9 เหลือ 411.0 ล้านบาท ขณะที่การลงทุนเพื่อการก่อสร้างลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 12.7 พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 15.2 ตามการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์และโรงแรมหอพักเป็นสำคัญ เนื่องจากมีการลงทุนก่อสร้างไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยการลงทุนเพื่อการผลิต ขยายตัวตามการนำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 เป็น 23.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อขยายกำลังการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ ขณะที่เงินลงทุนจากโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน (BOI) ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 56.2 เป็น 1,667.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหมวดเกษตรกรรมและผลผลิตการเกษตร หมวดบริการและสาธารณูปโภค และหมวดอุตสาหกรรมเบา การลงทุนด้านการก่อสร้างปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง ส่งผลให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุน สำหรับเครื่องชี้สำคัญได้แก่ ปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 15.6 พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 21.8 เนื่องจากมีการลงทุนก่อสร้างไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า
6. การค้าต่างประเทศ เดือนมีนาคม 2549 การส่งออกขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 เป็น 251.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 เป็น176.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 62.0 เป็น 22.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าชุดสายไฟฟ้าที่ย้ายจุดกระทำพิธีศุลกากรมากระทำที่ด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ การส่งออกผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนลดลงร้อยละ 15.4 เหลือ 52.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยลดลงทั้งการส่งออกไปพม่า ลาว และจีนตอนใต้ โดยการส่งออกไปพม่าลดลงร้อยละ 10.0 เหลือ 40.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการอ่อนตัวของค่าเงินจัตทำให้กำลังซื้อของตลาดพม่าลดลง และการส่งออกไปลาวและจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 7.3 และร้อยละ 38.3 ตามลำดับ
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือขยายตัวในอัตราชะลอลงเช่นกันโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เป็น 161.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.9 เป็น144.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เป็น 8.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการย้ายจุดกระทำพิธีการนำเข้าของสินค้าประเภทเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ การนำเข้าผ่านชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เป็น 8.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าจากพม่า และลาว เป็นสำคัญ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 และร้อยละ 45.8 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าสินค้าจากจีนตอนใต้ ลดลงร้อยละ 8.5 เหลือ 1.1 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ดุลการค้า ในเดือนมีนาคม 2549 เกินดุล 90.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 82.7 ล้านดอลลาร์ สรอ.
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.7 เป็น 663.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนและไตรมาสก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 เป็น 460.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ อุปกรณ์ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ประเภท Hard disk drive การส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.4 เป็น 49.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนและไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และ 23.8 ตามลำดับ ตามการส่งออกสายไฟและเคบิลที่ย้ายด่านกระทำพิธีการส่งออกมาที่ด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยี่ยม การส่งออกผ่านด่านชายแดน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 เหลือ 153.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกไปพม่าลดลงร้อยละ 4.0 เหลือ 120.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากค่าเงินจัตอ่อนตัวลงตั้งแต่ต้นปี 2549 เป็นต้นมา การส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 9.7 เหลือ 24.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเส้นทางไปขนส่งทางทะเลเข้าจีนโดยตรงและขนส่งผ่านพม่าและลาวก่อนนำเข้าจีนตอนใต้ ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เป็น 9.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การนำเข้า ไตรมาสแรกปี 2549 การนำเข้าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.2 เป็น 415.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ลดลงจากไตรมาสก่อน โดยการนำเข้าสินค้าของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 เป็น 375.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เป็น 18.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากในเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม จากการย้ายจุดกระทำพิธีการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า ลวดและเคเบิล การนำเข้าผ่านด่านชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เป็น 22.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าทั้งจากพม่า ลาว และจีนตอนใต้ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ร้อยละ 44.5 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ
ดุลการค้า ในไตรมาสแรกปี 2549 เกินดุล 248.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 239.0 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา เดือนมีนาคม 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 ตามการเร่งตัวของหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ตามการปรับตัวสูงขึ้นของราคาผักและผลไม้เป็นสำคัญ ส่วนหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มชะลอตัวจากเดือนก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนแต่เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 ตามการเร่งตัวของหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาผักและผลไม้เป็นสำคัญ และหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2549 กำลังแรงงานรวมในภาคเหนือมีจำนวน 6.57 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.43 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 97.9 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 โดยแรงงานในภาคเกษตรมีจำนวน 2.76 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อนที่ประสบภัยแล้ง ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรมีทั้งสิ้น 3.66 ล้านคน ลดลงร้อยละ 1.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งลดลงมากในสาขาการขายส่ง/ปลีกฯ และการว่างงานมีอัตราร้อยละ 1.5 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 ส่วนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ของเดือนมีนาคม 2549 มีจำนวน 0.58 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 และร้อยละ 4.9 ตามลำดับ
9. การเงิน เดือนกุมภาพันธ์ 2549 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือมียอดคงค้างเงินฝากทั้งสิ้น 319,171 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 5.4 เงินฝากขยายตัวต่อเนื่องจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เดือนก่อน (หากไม่รวมธนาคารพาณิชย์ใหม่ ได้แก่ ทิสโก้ ธนชาต เกียรตินาคิน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3) ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ และกำแพงเพชร ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 251,801 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.2 แต่ชะลอลงจากเดือนก่อน (หากไม่รวมธนาคารพาณิชย์ใหม่ได้แก่ ทิสโก้ ธนชาต เกียรตินาคิน ขยายตัวร้อยละ 6.9) สินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดนครสวรรค์และพิษณุโลก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
เดือนมีนาคม 2549 เศรษฐกิจภาคเหนือโดยรวมขยายตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อน โดยด้านอุปสงค์ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง แต่การลงทุนหมวดเครื่องจักรและส่วนประกอบยังขยายตัวตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและนำเข้าชะลอลงจากเดือนก่อนแต่ก็อยู่ในเกณฑ์ขยายตัว ด้านอุปทานรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านราคา ผลผลิตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกขยายตัว ส่วนภาคบริการชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวขึ้นเล็กน้อย เงินฝากและเงินให้สินเชื่อขยายตัว
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 เศรษฐกิจภาคเหนือยังขยายตัว โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวจากไตรมาสก่อนแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว แต่การลงทุนด้านการผลิตยังขยายตัวตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ส่วนมูลค่าการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ทางด้านอุปทานรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ ผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อุตสาหกรรมขยายตัวโดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ภาคบริการซึ่งปรับตัวดีขึ้นเมื่อช่วงต้นปีได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองทำให้ในเดือนมีนาคมมีการยกเลิกหรือเลื่อนการเข้าพักแรมของกลุ่มประชุมสัมมนาภาครัฐรวมทั้งนักท่องเที่ยวแถบเอเชีย ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยในปลายไตรมาสแต่เฉลี่ยทั้งไตรมาสทรงตัวจากไตรมาสก่อน เงินฝากและเงินให้สินเชื่อขยายตัว
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร เดือนมีนาคม 2549 รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.5 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากด้านราคาเป็นสำคัญ ผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 โดยข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เนื่องจากปริมาณน้ำเอื้ออำนวยประกอบกับเกษตรกรมั่นใจในด้านตลาดและราคาจูงใจให้เพิ่มการผลิต มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ตามความต้องการใช้ทั้งภายในและต่างประเทศ ขณะที่อ้อยโรงงานและกระเทียมลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ด้านราคาเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.8 ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง อ้อยโรงงาน กระเทียมแห้งใหญ่คละ และหอมแดงแห้งใหญ่ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ร้อยละ 19.8 ร้อยละ 18.7 และร้อยละ 97.3 ตามลำดับ
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เร่งตัวจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของด้านราคาที่สูงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1 โดยราคาอ้อยโรงงานสูงขึ้นร้อยละ 19.8 จากราคาอ้อยขั้นต้นที่สูงขึ้นตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีและข้าวเปลือกเจ้านาปรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 และร้อยละ 6.0 ตามลำดับ จากมาตรการรับจำนำข้าวของภาครัฐ ราคากระเทียมสูงขึ้นร้อยละ 6.2 เนื่องจากผลผลิตลดลงจากนโยบายของรัฐให้ลดพื้นที่เพาะปลูก และหอมแดงมีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.0 ตามความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศ ด้านผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2 ตามข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง หอมแดง และข้าวนาปีที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ร้อยละ 8.4 ร้อยละ 0.5 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ ขณะที่อ้อยโรงงานลดลงเนื่องจากกระทบแล้งในช่วงเพาะปลูกและเกษตรกรส่วนหนึ่งหันไปปลูกพืชอื่นที่คาดว่าผลตอบแทนดีกว่า
2. ภาคอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2549 การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัว โดยการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 เป็น176.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 การผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 318.5 พันเมตริกตัน ตามอ้อยโรงงานที่เข้าหีบในเดือนนี้ 2.7 ล้านตัน สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนที่เป็นช่วงปลายฤดูกาลหีบอ้อยและมีอ้อยเข้าหีบเพียง 0.9 ล้านตัน อย่างไรก็ดีโดยรวมผลผลิตน้ำตาลของปีการผลิต 48/49 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 ยังคงลดลงร้อยละ 1.4 ส่วนผลผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.3 ตามการลดลงของการลงทุนก่อสร้างของทั้งภาครัฐและเอกชน
สำหรับไตรมาสแรก ปี 2549 การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัว จากการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพื่อส่งออกโดยมูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.3 เป็น 460.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ไตรมาสก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ อุปกรณ์ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ที่อุปสงค์ในตลาดต่างประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.6 เป็น 1,315.0 พันเมตริกตัน เนื่องจากโรงงานเปิดหีบอ้อยในฤดูการผลิตปี 2548/49 ล่าช้ากว่าปีก่อน ซึ่งเปิดหีบในช่วงต้นเดือนธันวาคม ทำให้มีปริมาณอ้อยเข้าหีบในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน แต่ผลผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.7 โดยลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ตามการลดลงของการก่อสร้างภาครัฐและเอกชน
3. ภาคบริการ เดือนมีนาคม 2549 ภาคบริการชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน เป็นผลจากนักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางเนื่องจากค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับปัจจัยด้านสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มประชุมสัมมนาภาครัฐยกเลิกหรือเลื่อนการจัดสัมมนารวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศส่วนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวเอเชียยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทางมาไทย จึงส่งผลให้กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญได้แก่ ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารชะลอลงร้อยละ 16.3 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานชะลอลงร้อยละ 1.2 และอัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงจากร้อยละ 69.4 เดือนก่อนเหลือร้อยละ 52.1 ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 994 บาท/คืน
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 ภาคบริการ ขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นปี แต่ในเดือนมีนาคมได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มประชุมสัมมนาภาครัฐยกเลิกหรือเลื่อนการจัดสัมมนารวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศส่วนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวเอเชียยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทางมาไทย เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยเป็นร้อยละ 64.3 ต่ำกว่าร้อยละ 65.4 ไตรมาสก่อน ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 มาอยู่ที่ราคาเฉลี่ย 1,015.8 บาท/คืน ทางด้านจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนมีนาคม 2549 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 แต่ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 ระยะเดียวกันปีก่อน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์ลดลงร้อยละ 0.7 ตามการลดลงของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นสำคัญ และปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 3.3 เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มอิ่มตัวประกอบกับรถจักรยานยนต์อยู่ระหว่างเปลี่ยนรูปแบบทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อลง
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอลงจากไตรมาสก่อนแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยสะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.9 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และปริมาณจดทะเบียนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ขณะที่ปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 3.5 อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอลง ประกอบกับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
5. การลงทุนภาคเอกชน เดือนมีนาคม 2549 การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวในอัตราชะลอลง โดยการลงทุนเพื่อการผลิตยังขยายตัวตามการนำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.6 เป็น 11.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนเงินลงทุนจากโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน (BOI) ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.9 เหลือ 411.0 ล้านบาท ขณะที่การลงทุนเพื่อการก่อสร้างลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 12.7 พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 15.2 ตามการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์และโรงแรมหอพักเป็นสำคัญ เนื่องจากมีการลงทุนก่อสร้างไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยการลงทุนเพื่อการผลิต ขยายตัวตามการนำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 เป็น 23.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อขยายกำลังการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ ขณะที่เงินลงทุนจากโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน (BOI) ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 56.2 เป็น 1,667.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหมวดเกษตรกรรมและผลผลิตการเกษตร หมวดบริการและสาธารณูปโภค และหมวดอุตสาหกรรมเบา การลงทุนด้านการก่อสร้างปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง ส่งผลให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุน สำหรับเครื่องชี้สำคัญได้แก่ ปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 15.6 พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 21.8 เนื่องจากมีการลงทุนก่อสร้างไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า
6. การค้าต่างประเทศ เดือนมีนาคม 2549 การส่งออกขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 เป็น 251.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 เป็น176.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 62.0 เป็น 22.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าชุดสายไฟฟ้าที่ย้ายจุดกระทำพิธีศุลกากรมากระทำที่ด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ การส่งออกผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนลดลงร้อยละ 15.4 เหลือ 52.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยลดลงทั้งการส่งออกไปพม่า ลาว และจีนตอนใต้ โดยการส่งออกไปพม่าลดลงร้อยละ 10.0 เหลือ 40.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการอ่อนตัวของค่าเงินจัตทำให้กำลังซื้อของตลาดพม่าลดลง และการส่งออกไปลาวและจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 7.3 และร้อยละ 38.3 ตามลำดับ
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือขยายตัวในอัตราชะลอลงเช่นกันโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เป็น 161.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.9 เป็น144.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เป็น 8.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการย้ายจุดกระทำพิธีการนำเข้าของสินค้าประเภทเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ การนำเข้าผ่านชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เป็น 8.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าจากพม่า และลาว เป็นสำคัญ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 และร้อยละ 45.8 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าสินค้าจากจีนตอนใต้ ลดลงร้อยละ 8.5 เหลือ 1.1 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ดุลการค้า ในเดือนมีนาคม 2549 เกินดุล 90.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 82.7 ล้านดอลลาร์ สรอ.
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.7 เป็น 663.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนและไตรมาสก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 เป็น 460.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ อุปกรณ์ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ประเภท Hard disk drive การส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.4 เป็น 49.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนและไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และ 23.8 ตามลำดับ ตามการส่งออกสายไฟและเคบิลที่ย้ายด่านกระทำพิธีการส่งออกมาที่ด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยี่ยม การส่งออกผ่านด่านชายแดน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 เหลือ 153.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกไปพม่าลดลงร้อยละ 4.0 เหลือ 120.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากค่าเงินจัตอ่อนตัวลงตั้งแต่ต้นปี 2549 เป็นต้นมา การส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 9.7 เหลือ 24.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเส้นทางไปขนส่งทางทะเลเข้าจีนโดยตรงและขนส่งผ่านพม่าและลาวก่อนนำเข้าจีนตอนใต้ ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เป็น 9.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การนำเข้า ไตรมาสแรกปี 2549 การนำเข้าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.2 เป็น 415.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ลดลงจากไตรมาสก่อน โดยการนำเข้าสินค้าของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 เป็น 375.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เป็น 18.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากในเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม จากการย้ายจุดกระทำพิธีการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า ลวดและเคเบิล การนำเข้าผ่านด่านชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เป็น 22.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าทั้งจากพม่า ลาว และจีนตอนใต้ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ร้อยละ 44.5 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ
ดุลการค้า ในไตรมาสแรกปี 2549 เกินดุล 248.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 239.0 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา เดือนมีนาคม 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 ตามการเร่งตัวของหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ตามการปรับตัวสูงขึ้นของราคาผักและผลไม้เป็นสำคัญ ส่วนหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มชะลอตัวจากเดือนก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนแต่เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7
สำหรับไตรมาสแรกปี 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 ตามการเร่งตัวของหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาผักและผลไม้เป็นสำคัญ และหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2549 กำลังแรงงานรวมในภาคเหนือมีจำนวน 6.57 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.43 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 97.9 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 โดยแรงงานในภาคเกษตรมีจำนวน 2.76 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อนที่ประสบภัยแล้ง ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรมีทั้งสิ้น 3.66 ล้านคน ลดลงร้อยละ 1.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งลดลงมากในสาขาการขายส่ง/ปลีกฯ และการว่างงานมีอัตราร้อยละ 1.5 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 ส่วนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ของเดือนมีนาคม 2549 มีจำนวน 0.58 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 และร้อยละ 4.9 ตามลำดับ
9. การเงิน เดือนกุมภาพันธ์ 2549 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือมียอดคงค้างเงินฝากทั้งสิ้น 319,171 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 5.4 เงินฝากขยายตัวต่อเนื่องจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เดือนก่อน (หากไม่รวมธนาคารพาณิชย์ใหม่ ได้แก่ ทิสโก้ ธนชาต เกียรตินาคิน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3) ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ และกำแพงเพชร ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 251,801 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.2 แต่ชะลอลงจากเดือนก่อน (หากไม่รวมธนาคารพาณิชย์ใหม่ได้แก่ ทิสโก้ ธนชาต เกียรตินาคิน ขยายตัวร้อยละ 6.9) สินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดนครสวรรค์และพิษณุโลก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--