นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังอาเซม (ASEM Finance Deputies’ Meeting) ระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคม 2549 ณ กรุง เวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย ดังนี้
1. การประชุมฯมีนายโทมัส ไวเซอร์ (Thomas Wieser) อธิบดีด้านนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของออสเตรีย เป็นประธานร่วมด้วยเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางจากสมาชิก 38 ประเทศจากเอเชียและยุโรปและกรรมาธิการยุโรปด้านการคลัง รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
2. สาระสำคัญของการประชุม มีดังนี้
2.1 ประเด็นนโยบายและปัญหาเศรษฐกิจโลก (Global Economic Issues and Policy)
ผู้แทนจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศได้รายงานถึงภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโลกอยู่ที่ระดับ 3.2% ในปี 2548 ลดลงจาก 3.8% ในปี 2547 โดยคาดว่าการเจริญเติบโตในปี 2549 ยังคงมีการเจริญเติบโตสูงและต่อเนื่องไปถึงปี 2550 อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ ความไม่สมดุลของภาวะเศรษฐกิจโลกในด้านตลาดการเงิน อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การระบาดของไข้หวัดนกและราคาน้ำมันสูงขึ้น
ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกเห็นควรให้มีนโยบายด้านพลังงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนนำทรัพยากรทรัพยากรพลังงานอื่นๆ มาใช้ทดแทน ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดภาวะวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน และยังเป็นการรองรับความต้องการใช้น้ำมันในระยะยาวได้
ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีการหารือประเด็นปัญหาความโปร่งใสของสถาบัน Bretton Woods (BWIs) โดยเห็นควรให้มีการปฏิรูปกฎหมาย และการปรับปรุงดำเนินงานของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ โดยมีการหารือถึงกฎเกณฑ์การกำหนดสำหรับการออกเสียง (Voting System) ของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวย โดยนายนริศ ชัยสูตรในฐานะหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสฯ ประเทศไทยได้กล่าวกล่าวสนับสนุนรายงานของประเทศญี่ปุ่นที่เรียกร้องให้มีการทบทวนเกี่ยวกับเรื่องนี้และให้มีข้อเสนอในการปรับปรุงระบบ Quota ในการประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ที่ประเทศสิงคโปร์ในเดือนกันยายนศกนี้
2.2 ประเด็นเรื่องการปรับปรุงการจัดแบ่งแรงงานของโลก (Adjustment to the Division of Labour)
การจัดแบ่งแรงงาน หรือ Division of Labour หมายถึงการที่คน หรือหน่วยทางสังคมไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านแรงงานด้วยตัวของตัวเองได้ทั้งหมด จำเป็นจะต้องพึ่งพาผู้อื่น จึงนำไปสู่การแบ่งหน้าที่กันทำในสังคม ซึ่งมาปัจจัยที่ทำให้มีการจัดแบ่งแรงงานของโลกแบบใหม่มาจากการเปิดเสรีมากขึ้นจนนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่เป็นสากล ทั้งในรูปแบบการแบ่งปันผลการผลิต การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตทั่วโลก และการรวมตัวของเศรษฐกิจระดับนานาชาติ (International Economic Integration)
ซึ่งมีข้อดีคือ ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การผลิตที่มีคุณภาพทางการค้า และอย่างไรก็ตาม ก็อาจส่งผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาวต่อความเสี่ยงทางเศรษฐกิจได้ จากปัญหาที่ประเทศกำลังพัฒนาเผชิญ คือ ความสามารถในการแข่งขันในตลาดการค้าโลกจะลดน้อยลง เนื่องมาจากการขาดเทคโนโลยีในระดับสูงและการผลิตใหม่ๆ ทำให้เกิดช่องว่างของความมั่งคั่งของประชากรมากยิ่งขึ้น (income gap distribution)
2.3 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินของอาเซม
ที่ประชุมได้พิจารณาความคืบหน้า ของการดำเนินตามมาตรการริเริ่มเทียนจิน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่
(1) กองทุนอาเซม (ATF) ประเทศสมาชิกมีความยินดีในผลของการดำเนินงาน กองทุนอาเซมระยะที่ 2 (ATF2) ทั้งนี้ เนื่องจากผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
(2) การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรของภูมิภาคเอเชียและยุโรป โดยสหราชอาณาจักร และประเทศจีนได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการจัดการหนี้สาธารณะของอาเซมครั้งที่ 4 เมื่อเดือนธันวาคม 2548 โดยได้เน้นเรื่องการจัดหนี้สาธารณะ ปัญหาความโปร่งใสในการจัดการหนี้สาธารณะตลอดจนเรื่องความสมดุลทางบัญชีของภาครัฐกับกลยุทธ์การจัดการหนี้ และในวันที่ 25-26 มีนาคม 2549 ประเทศจีนจะร่วมกับประชาคมยุโรปและออสเตรีย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEM International Financial Reporting (IFRs) ณ กรุงเซียงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน
(3) การทบทวนรายงานของคณะทำงานอาเซมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (ASEM Taskforce on Closer Economic Partnership) ซึ่ง ณ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการคาดว่าจะมีความคืบหน้ารายงานในระดับรัฐมนตรีต่อไป
(4) การจัดตั้งเวทีเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินภายใต้กรอบอาเซม (ASEM Contingency Dialogue Mechanism) ประเทศสมาชิกได้ให้ความเห็นชอบใน Terms of Reference (TOR) เกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้งกลไกความร่วมมือที่จะปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือถึงข้อเสนอมาตรการริเริ่มใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินของอาเซม โดยหลายประเทศได้แสดงความสนใจ เสนอมาตรการริเริ่มใหม่ๆ เพื่อการพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเข้ามาร่วมลงทุนในตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets) ให้มากขึ้น
4. มาตรการต่อต้านการฟอกเงินในประเทศอาเซม
ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยคณะทำงานเกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงิน มีผลการดำเนินงานที่คืบหน้าอย่างต่อเนื่องในด้านการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญให้กับประเทศต่างๆ ในการนี้ที่ประชุมได้เรียกร้องให้สหภาพพม่าพิจารณาดำเนินการและปฏิบัติตามมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงินระหว่างประเทศ ซึ่งผู้แทนพม่าได้รับที่จะนำไปพิจารราต่อไป
ในส่วนของประเทศไทยได้สนับสนุนและการปฏิบัติตามหลักสากลตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการต่อต้านการฟอกเงินอย่างเข้มงวด
นายนริศ ชัยสูตร ได้กล่าวสรุปว่าการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซมครั้งที่ 7 มีกำหนดจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 เมษายน 2549 ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย ซึ่งคาดว่ามีประเด็นหารือใกล้เคียงกับที่หารือในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสฯ สำหรับการจัดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 8 ในปี 2550 สาธารณรัฐเกาหลี ได้เสนอที่จะเป็นเจ้าภาพต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 20/2549 15 มีนาคม 49--
1. การประชุมฯมีนายโทมัส ไวเซอร์ (Thomas Wieser) อธิบดีด้านนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของออสเตรีย เป็นประธานร่วมด้วยเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางจากสมาชิก 38 ประเทศจากเอเชียและยุโรปและกรรมาธิการยุโรปด้านการคลัง รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
2. สาระสำคัญของการประชุม มีดังนี้
2.1 ประเด็นนโยบายและปัญหาเศรษฐกิจโลก (Global Economic Issues and Policy)
ผู้แทนจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศได้รายงานถึงภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโลกอยู่ที่ระดับ 3.2% ในปี 2548 ลดลงจาก 3.8% ในปี 2547 โดยคาดว่าการเจริญเติบโตในปี 2549 ยังคงมีการเจริญเติบโตสูงและต่อเนื่องไปถึงปี 2550 อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ ความไม่สมดุลของภาวะเศรษฐกิจโลกในด้านตลาดการเงิน อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การระบาดของไข้หวัดนกและราคาน้ำมันสูงขึ้น
ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกเห็นควรให้มีนโยบายด้านพลังงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนนำทรัพยากรทรัพยากรพลังงานอื่นๆ มาใช้ทดแทน ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดภาวะวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน และยังเป็นการรองรับความต้องการใช้น้ำมันในระยะยาวได้
ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีการหารือประเด็นปัญหาความโปร่งใสของสถาบัน Bretton Woods (BWIs) โดยเห็นควรให้มีการปฏิรูปกฎหมาย และการปรับปรุงดำเนินงานของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ โดยมีการหารือถึงกฎเกณฑ์การกำหนดสำหรับการออกเสียง (Voting System) ของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวย โดยนายนริศ ชัยสูตรในฐานะหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสฯ ประเทศไทยได้กล่าวกล่าวสนับสนุนรายงานของประเทศญี่ปุ่นที่เรียกร้องให้มีการทบทวนเกี่ยวกับเรื่องนี้และให้มีข้อเสนอในการปรับปรุงระบบ Quota ในการประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ที่ประเทศสิงคโปร์ในเดือนกันยายนศกนี้
2.2 ประเด็นเรื่องการปรับปรุงการจัดแบ่งแรงงานของโลก (Adjustment to the Division of Labour)
การจัดแบ่งแรงงาน หรือ Division of Labour หมายถึงการที่คน หรือหน่วยทางสังคมไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านแรงงานด้วยตัวของตัวเองได้ทั้งหมด จำเป็นจะต้องพึ่งพาผู้อื่น จึงนำไปสู่การแบ่งหน้าที่กันทำในสังคม ซึ่งมาปัจจัยที่ทำให้มีการจัดแบ่งแรงงานของโลกแบบใหม่มาจากการเปิดเสรีมากขึ้นจนนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่เป็นสากล ทั้งในรูปแบบการแบ่งปันผลการผลิต การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตทั่วโลก และการรวมตัวของเศรษฐกิจระดับนานาชาติ (International Economic Integration)
ซึ่งมีข้อดีคือ ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การผลิตที่มีคุณภาพทางการค้า และอย่างไรก็ตาม ก็อาจส่งผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาวต่อความเสี่ยงทางเศรษฐกิจได้ จากปัญหาที่ประเทศกำลังพัฒนาเผชิญ คือ ความสามารถในการแข่งขันในตลาดการค้าโลกจะลดน้อยลง เนื่องมาจากการขาดเทคโนโลยีในระดับสูงและการผลิตใหม่ๆ ทำให้เกิดช่องว่างของความมั่งคั่งของประชากรมากยิ่งขึ้น (income gap distribution)
2.3 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินของอาเซม
ที่ประชุมได้พิจารณาความคืบหน้า ของการดำเนินตามมาตรการริเริ่มเทียนจิน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่
(1) กองทุนอาเซม (ATF) ประเทศสมาชิกมีความยินดีในผลของการดำเนินงาน กองทุนอาเซมระยะที่ 2 (ATF2) ทั้งนี้ เนื่องจากผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
(2) การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรของภูมิภาคเอเชียและยุโรป โดยสหราชอาณาจักร และประเทศจีนได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการจัดการหนี้สาธารณะของอาเซมครั้งที่ 4 เมื่อเดือนธันวาคม 2548 โดยได้เน้นเรื่องการจัดหนี้สาธารณะ ปัญหาความโปร่งใสในการจัดการหนี้สาธารณะตลอดจนเรื่องความสมดุลทางบัญชีของภาครัฐกับกลยุทธ์การจัดการหนี้ และในวันที่ 25-26 มีนาคม 2549 ประเทศจีนจะร่วมกับประชาคมยุโรปและออสเตรีย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEM International Financial Reporting (IFRs) ณ กรุงเซียงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน
(3) การทบทวนรายงานของคณะทำงานอาเซมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (ASEM Taskforce on Closer Economic Partnership) ซึ่ง ณ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการคาดว่าจะมีความคืบหน้ารายงานในระดับรัฐมนตรีต่อไป
(4) การจัดตั้งเวทีเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินภายใต้กรอบอาเซม (ASEM Contingency Dialogue Mechanism) ประเทศสมาชิกได้ให้ความเห็นชอบใน Terms of Reference (TOR) เกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้งกลไกความร่วมมือที่จะปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือถึงข้อเสนอมาตรการริเริ่มใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินของอาเซม โดยหลายประเทศได้แสดงความสนใจ เสนอมาตรการริเริ่มใหม่ๆ เพื่อการพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเข้ามาร่วมลงทุนในตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets) ให้มากขึ้น
4. มาตรการต่อต้านการฟอกเงินในประเทศอาเซม
ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยคณะทำงานเกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงิน มีผลการดำเนินงานที่คืบหน้าอย่างต่อเนื่องในด้านการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญให้กับประเทศต่างๆ ในการนี้ที่ประชุมได้เรียกร้องให้สหภาพพม่าพิจารณาดำเนินการและปฏิบัติตามมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงินระหว่างประเทศ ซึ่งผู้แทนพม่าได้รับที่จะนำไปพิจารราต่อไป
ในส่วนของประเทศไทยได้สนับสนุนและการปฏิบัติตามหลักสากลตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการต่อต้านการฟอกเงินอย่างเข้มงวด
นายนริศ ชัยสูตร ได้กล่าวสรุปว่าการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซมครั้งที่ 7 มีกำหนดจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 เมษายน 2549 ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย ซึ่งคาดว่ามีประเด็นหารือใกล้เคียงกับที่หารือในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสฯ สำหรับการจัดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 8 ในปี 2550 สาธารณรัฐเกาหลี ได้เสนอที่จะเป็นเจ้าภาพต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 20/2549 15 มีนาคม 49--