ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา 15 — 17 ส.ค.49 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางตรวจเยี่ยมในหลายโรงเรียน ทั้งสายสามัญ และสายอาชีพ (อาชีวะ) เพื่อเก็บข้อมูล — รับฟังปัญหา สำหรับปรับใช้ใน ‘วาระประชาชนด้านการศึกษา’ ระบุ สัปดาห์หน้า เตรียมเยี่ยมศูนย์เด็กเล็ก ตามวาระประชาชนด้านการศึกษา
หมายเหตุ : ส่วนหนึ่งจากการสัมภาษณ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในรายการ ‘ข่าวยามเช้า’ คลื่นวิทยุ 101.0 เมกกะเฮิรท์ เกี่ยวกับการเดินสายหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา เพื่อนำมาปรับใช้ในนโยบาย ‘วาระประชาชนด้านการศึกษา’
เมื่อวานนี้ (17 ส.ค.49) เดินทางไปฟังการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา เพื่อนำมาปรับใช้เพื่อต่อเป็นนโยบายการศึกษาของพรรคประชาธิปัตย์อย่างไรบ้าง
ตลอดทั้งสัปดาห์ใน 3 - 4 วันที่ผ่านมา เราได้เดินหน้าในเรื่องของวาระประชาชน โดยเฉพาะสัปดาห์นี้คือเรื่องการศึกษา ซึ่งเราถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุดเพราะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศ เรื่องการศึกษาปัญหาหลักที่พรรคมองและวางนโยบายไว้ ซึ่งจะตรงกับงานวิจัยที่มีการทำออกมาโดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทยที่เพิ่งมีการสัมมนาไป จุดแรกคือ จะเตรียมคนของเราให้พร้อมต้องเริ่มจากเด็กๆ มีผลการวิจัยที่บ่งชัดเลยว่าความไม่พร้อมในเรื่องของเด็กเล็ก ในหลายจุด ทำให้มีผลต่อเนื่องถึงไอคิว และถ้าจะมาหวังว่าในช่วงของการเข้าเรียนในระดับประถม — มัธยม หรือแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยจะมาแก้ตรงนี้ ผลวิจัย ก็บ่งบอกค่อนข้างชัดว่ามันไม่ได้ มันหายไป เพราะฉะนั้นจุดนี้ก็เป็นเรื่องที่จะต้องมีการดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องของเด็กเล็ก
‘อภิสิทธิ์’ ระบุ สัปดาห์หน้าเตรียมเก็บข้อมูลด้านสาธารณสุข
ในสัปดาห์หน้า ซึ่งเรื่องนี้คาบเกี่ยวกับเรื่องสาธารณสุข เราก็จะไปเยี่ยมศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งจะเป็นต้นแบบในเรื่องของการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กใกล้บ้าน และที่ทำงานหรือชุมชน เพื่อที่จะให้เด็กเล็กของเราได้รับการดูแลในเรื่องการสนับสนุนเรื่องนม เรื่องอาหารเสริม นั้นจุดที่ 1 จุดที่ 2 ปัญหาของการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ เรื่องของโอกาสและคุณภาพ เรื่องโอกาส สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่คือว่า กฎหมายบอกว่าเรียนฟรี 12 ปี และเราก็ยืนยันมาตลอดว่า ที่ผ่านมาไม่ได้เรียนฟรี เราก็ไปเยี่ยมโรงเรียน และมีการได้สำรวจค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็พบว่ามันมีค่าใช้จ่ายที่โรงเรียนเก็บจากผู้ปกครองอยู่เยอะ จะตั้งแต่ 2-300 บาท ถึงเป็นพันต่อเทอม ซึ่งก็มีเรื่องประกันอุบัติเหตุบ้าง กิจกรรมเสริมด้านนั้นด้านนี้ แม้กระทั่งปรับปรุงภูมิทัศน์ หรือว่าเรื่องของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับตำราเอกสารต่างๆ เราก็บอกว่า นี่เป็นอุปสรรคในเรื่องของความเท่าเทียมกันในเรื่องของโอกาส และเราเห็นว่า เพื่อปฏิบัติให้ได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และเราเชื่อว่าทำได้ เราไปเยี่ยมโรงเรียนมัธญมประชานิเวศน์ของ กทม. เราก็เห็นว่าโรงเรียนมีความตั้งใจดีในการที่จะเสริมความพร้อมต่างๆ แต่ก็ยังมีปัญหาอุปสรรคในเรื่องงบประมาณที่ได้รับ และมีปัญหาว่าต้องมีภาระกับผู้ปกครอง เด็กๆก็บ่นเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมขึ้นมา นี่คือเรื่องสำคัญที่เราได้พูด คือปัญหาการเรียนฟรี ในเรื่องของคุณภาพ
พบข้อมูลน่าตกใจจาก สมศ. หมื่นกว่าโรงเรียนในไทยคุณภาพต่ำ
เมื่อวาน (17 ส.ค.49)ไปที่สำนักงานประเมินคุณภาพมาตรฐาน พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ริเริ่มในการผลักดันให้เกิดขึ้น ตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ น่าตกใจมากคือสมศ. ได้เข้าไปประเมินโรงเรียนทุกโรงเรียนครบแล้ว ช่วง 6 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีโรงเรียนประมาณ 2 ใน 3 ซึ่งยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสามารถของนักเรียน ความเพียงพอของครู หรือเรื่องทักษะในด้านวิชาการของผู้บริหาร เป็นตัวเลขที่น่าตกใจ ในจำนวนที่ไม่ถึงมาตรฐาน ทางผู้อำนวยการบอกว่ามีประมาณ 10,000 โรงเรียนที่อยู่ที่ในขั้นที่เรียกว่าวิกฤต เพราะนั้นสิ่งที่เรามองเห็นคือว่า จำเป็นที่จะต้องกลับไปแก้ไขปัญหานี้โดยเร่งด่วน ส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องของงบประมาณที่จะต้องมีการจัดสรรเพิ่มเติมเข้าไป อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของระบบบริหารจัดการที่มีปัญหาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ลงไปจนถึงในเรื่องของขาดแคลนในเรื่องของบุคลากร ซึ่งอาจจะแก้ไม่ได้ถ้าเกิดจะให้กระทรวงหรือส่วนกลางเข้าไปแก้ไข จะต้องดึงให้ท้องถิ่น จะต้องดึงให้กระทรวง หรือส่วนกลางเข้าไปแก้ไข จะต้องดึงให้ท้องถิ่น จะต้องดึงให้ฝ่ายต่ายๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จะต้องมีการจัดการโดยเร่งด่วน
แนะแก้ปัญหาค่านิยม ‘การศึกษาสายอาชีพ’ เร่งออกกฎหมายเฉพาะ
ส่วนสุดท้ายคือ ถัดจากขั้นพื้นฐานขึ้นมา ปัญหาหลักคือ เรายังผลิตคนไม่ตรงกับความต้องการของสังคมหรือเศรษฐกิจ และจุดหนึ่งที่พรรคประชาธิปัตย์มองเห็นชัดเจนและยืนยันคือว่า เรายังส่งเสริมการศึกษาสายอาชีพน้อยเกินไป ผมก็ไปเยี่ยมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งได้พยายามที่จะแก้ปัญหานี้ โดยหาการทำหลักสูตรที่มีความพอดีระหว่างทฤษฎีกับปฏิบัติ แต่ก็มีปัญหาและยังบ่นว่าแรงจูงใจค่าตอบแทน แม้กระทั่งค่านิยมในสังคม มักจะอำนวยให้สามารถที่จะผลักดันตรงนี้ได้มากเท่าที่ควร พรรคจึงบอกว่า อาชีวะศึกษา 1.ต้องเร่งออกกฎหมายเฉพาะ 2. ต้องดึงให้ธุรกิจเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม มาช่วยกำหนดทิศทางให้สอดคล้องกับความต้องการ และ 3. รัฐต้องปรับในเรื่องของสัญญาณแรงจูงใจต่าง โดยเฉพาะที่คิดว่าทำได้เลย คือกรณีที่ ก.พ.ต้องทบทวนในเรื่องของเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้ที่จบการศึกษาสายอาชีพ เพื่อส่งสัญญาณให้ชัดว่าเราต้องการให้คนเข้ามาศึกษาสายอาชีพเพิ่มขึ้น ทั้งหมดก็เป็นจุดหลักของนโยบายการศึกษา หรือวาระประชาชนด้านการศึกษาที่เราเข้าไปติดตามเพิ่มเติม และได้ข้อมูลข้อคิดดีๆ
นักเรียนบ่นอุบ เรื่องจริยธรรม ผู้ใหญ่ต้องทำตัวอย่างให้ดูก่อน
ผมทิ้งท้ายเรื่องนี้คือ เรื่องคุณธรรมจริยธรรมเอง เมื่อคุยกับเด็กนักเรียน คุยกับนักศึกษา เขาก็บอกอย่างชัดเจนว่า อยากจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ต้องแก้ที่ภาพกว้างของสังคม บทบาทของสื่อสารมวลชน ทำให้เขาเห็นจริงๆว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เขาบอกเลยว่า เขาอยู่ในสังคม เขามีความรู้สึกว่าคนดีเสียเปรียบและคนชั่วก็ไม่มีใครเข้าไปจัดการอะไร อยากบอกว่าอันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องแก้ไข และเขายังพูดอีกด้วยว่าบทบาทของครู ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ คำสอนไม่สำคัญเท่ากับการเป็นตัวอย่างที่ดี อันนี้ผมคิ้ดว่าเป็นหัวใจหลักของการปกิรูป หรือการผลักดันวาระประชาชนรื่องของการศึกษา
นอกเหนือจากเรื่องคุณภาพของการศึกษา จริยธรรมแล้ว ตอนนี้ปัญหาหลักดูจะเป็นเรื่องยาเสพติดในโรงเรียน คุณอภิสิทธิ์จะแก้ไขควบคู่กันไปหรือไม่
ผมคิดว่ามันมาจากต้นทางในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม ตัวเลขที่เราเห็นก็ตกใจมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาคือการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ทั้งในฐานะที่เป็นผู้กระทำความผิด ทั้งในฐานะผู้ที่เป็นเหยื่อ รวมไปถึงเรื่องยาเสพติดด้วย ทีนี้ตรงนี้ก็มีจุดหนึ่งคือว่ามีองค์กรเอกชนทำงาน ได้รับการสนับสนุน อย่าง สสส. ที่มาศึกษาวิเคราะห์ในเรื่องของ เด็ก และเยาวชน ว่าดูโทรทัศน์มากแค่ไหน เล่นอินเตอร์เนตมากแค่ไหน เล่นกีฬามากแค่ไหน ใช้เวลาอย่างมีคุณธรรมมากน้อยแค่ไหน มีผลสำรวจออกมาแล้วเป็นรายจังหวัดด้วย ข้อมูลเหล่านี้เหมือนกับข้อมูลของ สมศ. รัฐบาลต้องเอามาใช้ประโยชน์และกำหนดเป้าหมายไปเลยว่า ในแต่ละพื้นที่สามารถที่จะแก้จุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็งอย่างไร ถ้าเราตั้งโจทย์ให้กับหน่วยงานต่างๆ เหมือนกับรัฐบาลนี้ตั้งโจทย์เรื่อง GDP เป็นหลัก ไปไหนก็บอกว่าจะให้ผู้ว่า CEO หรือใคร ตั้งเป้าว่า เพิ่มรายได้ ผมว่าก็ต้องไปตั้งเป้าในลักษณะนี้บ้างว่า จังหวัดไหนส่งเสริมให้เด็กเล่นกีฬามากขึ้น จังหวัดไหนลดในเรื่องของคดียาเสพติด ความรุนแรงได้ เราจะส่งเสริม เราจะให้รางวัล อันนี้เป็นอีกแนวทางหนึ่งซึ่งผมคิดว่าจะทำให้วาระประชาชนมันครบถ้วนในเรื่องของสังคม เศรษฐกิจที่ยืนอยู่บนความสมดุล และทำให้เราสามารถแก้วิกฤตต่างๆของประเทศได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ส.ค. 2549--จบ--
หมายเหตุ : ส่วนหนึ่งจากการสัมภาษณ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในรายการ ‘ข่าวยามเช้า’ คลื่นวิทยุ 101.0 เมกกะเฮิรท์ เกี่ยวกับการเดินสายหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา เพื่อนำมาปรับใช้ในนโยบาย ‘วาระประชาชนด้านการศึกษา’
เมื่อวานนี้ (17 ส.ค.49) เดินทางไปฟังการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา เพื่อนำมาปรับใช้เพื่อต่อเป็นนโยบายการศึกษาของพรรคประชาธิปัตย์อย่างไรบ้าง
ตลอดทั้งสัปดาห์ใน 3 - 4 วันที่ผ่านมา เราได้เดินหน้าในเรื่องของวาระประชาชน โดยเฉพาะสัปดาห์นี้คือเรื่องการศึกษา ซึ่งเราถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุดเพราะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศ เรื่องการศึกษาปัญหาหลักที่พรรคมองและวางนโยบายไว้ ซึ่งจะตรงกับงานวิจัยที่มีการทำออกมาโดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทยที่เพิ่งมีการสัมมนาไป จุดแรกคือ จะเตรียมคนของเราให้พร้อมต้องเริ่มจากเด็กๆ มีผลการวิจัยที่บ่งชัดเลยว่าความไม่พร้อมในเรื่องของเด็กเล็ก ในหลายจุด ทำให้มีผลต่อเนื่องถึงไอคิว และถ้าจะมาหวังว่าในช่วงของการเข้าเรียนในระดับประถม — มัธยม หรือแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยจะมาแก้ตรงนี้ ผลวิจัย ก็บ่งบอกค่อนข้างชัดว่ามันไม่ได้ มันหายไป เพราะฉะนั้นจุดนี้ก็เป็นเรื่องที่จะต้องมีการดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องของเด็กเล็ก
‘อภิสิทธิ์’ ระบุ สัปดาห์หน้าเตรียมเก็บข้อมูลด้านสาธารณสุข
ในสัปดาห์หน้า ซึ่งเรื่องนี้คาบเกี่ยวกับเรื่องสาธารณสุข เราก็จะไปเยี่ยมศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งจะเป็นต้นแบบในเรื่องของการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กใกล้บ้าน และที่ทำงานหรือชุมชน เพื่อที่จะให้เด็กเล็กของเราได้รับการดูแลในเรื่องการสนับสนุนเรื่องนม เรื่องอาหารเสริม นั้นจุดที่ 1 จุดที่ 2 ปัญหาของการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ เรื่องของโอกาสและคุณภาพ เรื่องโอกาส สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่คือว่า กฎหมายบอกว่าเรียนฟรี 12 ปี และเราก็ยืนยันมาตลอดว่า ที่ผ่านมาไม่ได้เรียนฟรี เราก็ไปเยี่ยมโรงเรียน และมีการได้สำรวจค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็พบว่ามันมีค่าใช้จ่ายที่โรงเรียนเก็บจากผู้ปกครองอยู่เยอะ จะตั้งแต่ 2-300 บาท ถึงเป็นพันต่อเทอม ซึ่งก็มีเรื่องประกันอุบัติเหตุบ้าง กิจกรรมเสริมด้านนั้นด้านนี้ แม้กระทั่งปรับปรุงภูมิทัศน์ หรือว่าเรื่องของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับตำราเอกสารต่างๆ เราก็บอกว่า นี่เป็นอุปสรรคในเรื่องของความเท่าเทียมกันในเรื่องของโอกาส และเราเห็นว่า เพื่อปฏิบัติให้ได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และเราเชื่อว่าทำได้ เราไปเยี่ยมโรงเรียนมัธญมประชานิเวศน์ของ กทม. เราก็เห็นว่าโรงเรียนมีความตั้งใจดีในการที่จะเสริมความพร้อมต่างๆ แต่ก็ยังมีปัญหาอุปสรรคในเรื่องงบประมาณที่ได้รับ และมีปัญหาว่าต้องมีภาระกับผู้ปกครอง เด็กๆก็บ่นเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมขึ้นมา นี่คือเรื่องสำคัญที่เราได้พูด คือปัญหาการเรียนฟรี ในเรื่องของคุณภาพ
พบข้อมูลน่าตกใจจาก สมศ. หมื่นกว่าโรงเรียนในไทยคุณภาพต่ำ
เมื่อวาน (17 ส.ค.49)ไปที่สำนักงานประเมินคุณภาพมาตรฐาน พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ริเริ่มในการผลักดันให้เกิดขึ้น ตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ น่าตกใจมากคือสมศ. ได้เข้าไปประเมินโรงเรียนทุกโรงเรียนครบแล้ว ช่วง 6 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีโรงเรียนประมาณ 2 ใน 3 ซึ่งยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสามารถของนักเรียน ความเพียงพอของครู หรือเรื่องทักษะในด้านวิชาการของผู้บริหาร เป็นตัวเลขที่น่าตกใจ ในจำนวนที่ไม่ถึงมาตรฐาน ทางผู้อำนวยการบอกว่ามีประมาณ 10,000 โรงเรียนที่อยู่ที่ในขั้นที่เรียกว่าวิกฤต เพราะนั้นสิ่งที่เรามองเห็นคือว่า จำเป็นที่จะต้องกลับไปแก้ไขปัญหานี้โดยเร่งด่วน ส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องของงบประมาณที่จะต้องมีการจัดสรรเพิ่มเติมเข้าไป อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของระบบบริหารจัดการที่มีปัญหาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ลงไปจนถึงในเรื่องของขาดแคลนในเรื่องของบุคลากร ซึ่งอาจจะแก้ไม่ได้ถ้าเกิดจะให้กระทรวงหรือส่วนกลางเข้าไปแก้ไข จะต้องดึงให้ท้องถิ่น จะต้องดึงให้กระทรวง หรือส่วนกลางเข้าไปแก้ไข จะต้องดึงให้ท้องถิ่น จะต้องดึงให้ฝ่ายต่ายๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จะต้องมีการจัดการโดยเร่งด่วน
แนะแก้ปัญหาค่านิยม ‘การศึกษาสายอาชีพ’ เร่งออกกฎหมายเฉพาะ
ส่วนสุดท้ายคือ ถัดจากขั้นพื้นฐานขึ้นมา ปัญหาหลักคือ เรายังผลิตคนไม่ตรงกับความต้องการของสังคมหรือเศรษฐกิจ และจุดหนึ่งที่พรรคประชาธิปัตย์มองเห็นชัดเจนและยืนยันคือว่า เรายังส่งเสริมการศึกษาสายอาชีพน้อยเกินไป ผมก็ไปเยี่ยมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งได้พยายามที่จะแก้ปัญหานี้ โดยหาการทำหลักสูตรที่มีความพอดีระหว่างทฤษฎีกับปฏิบัติ แต่ก็มีปัญหาและยังบ่นว่าแรงจูงใจค่าตอบแทน แม้กระทั่งค่านิยมในสังคม มักจะอำนวยให้สามารถที่จะผลักดันตรงนี้ได้มากเท่าที่ควร พรรคจึงบอกว่า อาชีวะศึกษา 1.ต้องเร่งออกกฎหมายเฉพาะ 2. ต้องดึงให้ธุรกิจเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม มาช่วยกำหนดทิศทางให้สอดคล้องกับความต้องการ และ 3. รัฐต้องปรับในเรื่องของสัญญาณแรงจูงใจต่าง โดยเฉพาะที่คิดว่าทำได้เลย คือกรณีที่ ก.พ.ต้องทบทวนในเรื่องของเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้ที่จบการศึกษาสายอาชีพ เพื่อส่งสัญญาณให้ชัดว่าเราต้องการให้คนเข้ามาศึกษาสายอาชีพเพิ่มขึ้น ทั้งหมดก็เป็นจุดหลักของนโยบายการศึกษา หรือวาระประชาชนด้านการศึกษาที่เราเข้าไปติดตามเพิ่มเติม และได้ข้อมูลข้อคิดดีๆ
นักเรียนบ่นอุบ เรื่องจริยธรรม ผู้ใหญ่ต้องทำตัวอย่างให้ดูก่อน
ผมทิ้งท้ายเรื่องนี้คือ เรื่องคุณธรรมจริยธรรมเอง เมื่อคุยกับเด็กนักเรียน คุยกับนักศึกษา เขาก็บอกอย่างชัดเจนว่า อยากจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ต้องแก้ที่ภาพกว้างของสังคม บทบาทของสื่อสารมวลชน ทำให้เขาเห็นจริงๆว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เขาบอกเลยว่า เขาอยู่ในสังคม เขามีความรู้สึกว่าคนดีเสียเปรียบและคนชั่วก็ไม่มีใครเข้าไปจัดการอะไร อยากบอกว่าอันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องแก้ไข และเขายังพูดอีกด้วยว่าบทบาทของครู ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ คำสอนไม่สำคัญเท่ากับการเป็นตัวอย่างที่ดี อันนี้ผมคิ้ดว่าเป็นหัวใจหลักของการปกิรูป หรือการผลักดันวาระประชาชนรื่องของการศึกษา
นอกเหนือจากเรื่องคุณภาพของการศึกษา จริยธรรมแล้ว ตอนนี้ปัญหาหลักดูจะเป็นเรื่องยาเสพติดในโรงเรียน คุณอภิสิทธิ์จะแก้ไขควบคู่กันไปหรือไม่
ผมคิดว่ามันมาจากต้นทางในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม ตัวเลขที่เราเห็นก็ตกใจมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาคือการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ทั้งในฐานะที่เป็นผู้กระทำความผิด ทั้งในฐานะผู้ที่เป็นเหยื่อ รวมไปถึงเรื่องยาเสพติดด้วย ทีนี้ตรงนี้ก็มีจุดหนึ่งคือว่ามีองค์กรเอกชนทำงาน ได้รับการสนับสนุน อย่าง สสส. ที่มาศึกษาวิเคราะห์ในเรื่องของ เด็ก และเยาวชน ว่าดูโทรทัศน์มากแค่ไหน เล่นอินเตอร์เนตมากแค่ไหน เล่นกีฬามากแค่ไหน ใช้เวลาอย่างมีคุณธรรมมากน้อยแค่ไหน มีผลสำรวจออกมาแล้วเป็นรายจังหวัดด้วย ข้อมูลเหล่านี้เหมือนกับข้อมูลของ สมศ. รัฐบาลต้องเอามาใช้ประโยชน์และกำหนดเป้าหมายไปเลยว่า ในแต่ละพื้นที่สามารถที่จะแก้จุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็งอย่างไร ถ้าเราตั้งโจทย์ให้กับหน่วยงานต่างๆ เหมือนกับรัฐบาลนี้ตั้งโจทย์เรื่อง GDP เป็นหลัก ไปไหนก็บอกว่าจะให้ผู้ว่า CEO หรือใคร ตั้งเป้าว่า เพิ่มรายได้ ผมว่าก็ต้องไปตั้งเป้าในลักษณะนี้บ้างว่า จังหวัดไหนส่งเสริมให้เด็กเล่นกีฬามากขึ้น จังหวัดไหนลดในเรื่องของคดียาเสพติด ความรุนแรงได้ เราจะส่งเสริม เราจะให้รางวัล อันนี้เป็นอีกแนวทางหนึ่งซึ่งผมคิดว่าจะทำให้วาระประชาชนมันครบถ้วนในเรื่องของสังคม เศรษฐกิจที่ยืนอยู่บนความสมดุล และทำให้เราสามารถแก้วิกฤตต่างๆของประเทศได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ส.ค. 2549--จบ--