ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ปฏิเสธข่าวควบรวมกิจการ ธ.นครหลวงไทย กับ ธ.ไทยธนาคาร นางธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการเจรจาควบรวมกิจการระหว่าง
ธ.นครหลวงไทย และ ธ.ไทยธนาคารอย่างที่เป็นข่าว และ ธปท. ไม่มีนโยบายนำ ธ.พาณิชย์ที่กองทุนฟื้นฟูฯ
ถือหุ้นอยู่ควบรวมกิจการกันเอง เนื่องจากไม่มีนโยบายลงทุนระยะยาวและไม่มีแนวคิดเป็นเจ้าของ ธ.พาณิชย์
หากมีการยื่นเงื่อนไขขอซื้อหุ้นของ ธ.พาณิชย์ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่และเห็นว่าราคาดีก็พร้อมจะขายตลอดเวลา
ทั้งนี้ การควบรวมสถาบันการเงินเป็นเรื่องของธุรกิจที่จะร่วมมือกันเพื่อความอยู่รอด เท่าที่ทราบขณะนี้มีการ
เจรจากันอยู่บ้าง ส่วนบางรายเลิกเจรจาไปแล้ว ต่อไปการควบรวมคงไม่เน้นเพิ่มขนาดอย่างเดียว แต่ธุรกิจ
ธนาคารขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าของตัวที่ชัดเจนมากกว่า ปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นอยู่ใน ธ.พาณิชย์ 5 แห่ง คือ
ธ.กรุงไทย ธ.นครหลวงไทย ธ.ไทยธนาคาร ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน และ ธ.ยูโอบีรัตนสิน ซึ่งล่าสุดกองทุน
ฟื้นฟูฯ ตัดสินใจขายหุ้นให้แก่ ธ.ยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ 208 ล้านหุ้น หรือร้อยละ 16.22 ในราคา 2,950 ล้านบาท
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. กำลังพิจารณากำหนดฐานเงินเดือนสินเชื่อส่วนบุคคล นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค
ผอส. สายความเสี่ยงและวิเคราะห์ ธปท. เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการพิจารณากำหนดฐานเงินเดือนของผู้มีสิทธิ
กู้ยืมเงินสินเชื่อรายย่อยหรือสินเชื่อส่วนบุคคลว่า จะคำนึงถึงความจำเป็นของการใช้เงินของผู้ขอสินเชื่อเป็นหลัก ซึ่ง
แตกต่างจากมาตรการควบคุมสินเชื่อบัตรเครดิตที่จะเน้นการจับจ่ายมากกว่า ส่วนดอกเบี้ยยังบอกไม่ได้ว่าจะใช้อัตรา
เท่าไร ต้องรอ ก.คลังตัดสินใจ แต่จากการเก็บข้อมูลเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยสูงสุดและต่ำสุดอยู่ที่ร้อยละ 23 และ
วงเงินให้กู้ของตลาดเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2.5 เท่าของเงินเดือน สำหรับค่าธรรมเนียมที่กำหนดให้ผู้ประกอบการเก็บ
ได้มีทั้งกำหนดเป็นกรอบอัตราเรียกเก็บสูงสุดได้ และเปิดให้เก็บตามความเป็นจริงด้วย ซึ่งเชื่อว่ารายได้ค่า
ธรรมเนียมนี้จะไปชดเชยรายได้จากอัตราดอกเบี้ยได้ ดังนั้น หากนำเกณฑ์ดังกล่าวมาบังคับใช้จะไม่มีผลกระทบต่อ
รายย่อย เพราะมีสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธ.ออมสิน ธกส. ธ.พาณิชย์ที่กำลังจะเกิดใหม่ และ ธ.หมู่บ้าน รอง
รับมาตรการดังกล่าว (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธปท. ขอให้ นอนแบงก์ ส่งข้อมูลบัตรเครดิตเป็นรายเดือนจากเดิมรายไตรมาส รายงานข่าว
จาก ธปท. แจ้งว่า ธปท. ได้มีหนังสือเวียนไปยังผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์)
เพื่อแจ้งให้ทราบว่าผู้ประกอบการบัตรเครดิตที่มีการตั้งสำนักงานสาขาจะต้องแจ้งให้ ธปท. ทราบล่วงก่อนเปิดทำ
การไม่น้อยกว่า 15 วัน สำหรับสาขาที่เปิดทำการก่อนวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา จะต้องเร่งทำหนังสือแจ้งมายัง
ธปท. ภายในวันที่ 9 เม.ย.นี้ นอกจากนี้ ในการจัดส่งชุดข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการบัตรเครดิตตามแบบฟอร์ม
ของ ธปท. ซึ่งประกอบด้วยการเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ธปท. เปลี่ยน
แปลงให้ผู้ประกอบการนำส่งชุดข้อมูลดังกล่าวเป็นรายเดือนจากเดิมที่นำส่งเป็นรายไตรมาส และต้องส่งภายใน 21 วัน
นับจากสิ้นเดือนนั้น ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวออกมาเพื่อช่วยรักษาผลประโยชน์ของประชาชน และเป็นการระมัด
ระวังป้องกันปัญหาจากบัตรเครดิตที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อให้หลักเกณฑ์มีความเหมาะสมมากขึ้น (มติชน)
4. คาดว่ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตวีซ่าใน 5 ปีข้างหน้าจะสูงถึง 3 แสนล้านบาท นายสมบูรณ์
ครบธีรนนท์ ผู้จัดการวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า คาดว่ายอดใช้
จ่ายผ่านบัตรเครดิตวีซ่าจะอยู่ที่ประมาณ 3 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 ของยอดใช้จ่ายของประชาชนทั้งหมด
และจะทำให้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตวีซ่าเติบโตขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลัก โดย ณ สิ้นปี 47 ยอดใช้จ่ายผ่านบัตร
เครดิตวีซ่าอยู่ที่ 257,850 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับปี 46 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวม
ในปีนี้จะปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ก็เชื่อว่ายอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง
ไม่ว่า ธปท. จะออกมาตรการต่อหรือไม่ต่ออายุบัตรเครดิตก็ตาม แต่ประชาชนก็ยังใช้จ่ายเหมือนเดิม ส่วนในด้าน
ของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ ธ.พาณิชย์อาจได้รับผลกระทบบ้าง หาก ธปท. ไม่ให้ลูกค้าที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000
บาทต่อเดือนต่ออายุบัตร (เดลินิวส์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มี.ค.48 ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์
ก่อนหน้า รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 15 มี.ค.48 The ABC News/Washington Post เปิดเผยว่า
Consumer Comfort Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มี.ค.48
อยู่ที่ระดับ -8 ลดลงเล็กน้อยจากระดับ -7 ในสัปดาห์ก่อนหน้า แม้ว่าระดับราคาน้ำมันจะยังคงสูงอยู่ก็ตาม ซึ่งจาก
การสำรวจพบว่า จากจำนวนผู้บริโภคที่ถูกสำรวจ 1,000 คน ร้อยละ 40 มองว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศชะลอ
ตัวลง ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 23 ที่เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ถือว่ามีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดือน
ก่อนหน้า ซึ่งมีผู้บริโภคเพียงร้อยละ 17 ที่มองว่าภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนของผู้ที่เห็นว่าภาวะ
เศรษฐกิจชะลอตัวลงเป็นร้อยละ 40 เท่ากัน นอกจากนี้ 2 ใน 3 ของส่วนประกอบหลักของดัชนีโดยรวมก็ลดลงเล็ก
น้อยในสัปดาห์เดียวกัน โดยสัดส่วนผู้บริโภคที่มีมุมมองในด้านบวกต่อแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจมีอยู่ร้อยละ 39 ลดลง
จากร้อยละ 40 ขณะที่ผู้บริโภคที่มีมุมมองต่อแนวโน้มฐานะทางการเงินส่วนตัวในด้านดีมีอยู่ร้อยละ 59 ลดลงจาก
ร้อยละ 60 ในสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ มีเพียงดัชนีชี้วัดการใช้จ่ายซึ่งสะท้อนมุมมองของผู้บริโภคว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่
น่าจะมีการใช้จ่ายมากขึ้นเท่านั้น ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 40 (รอยเตอร์)
2. ยอดการขายปลีกของ สรอ.ในเดือน ก.พ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ขณะที่เงินทุนไหลเข้าก็เพิ่มขึ้น
มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15 มี.ค.48 ก.พาณิชย์ สรอ.เปิดเผยว่า ยอดการขายปลีก
ของ สรอ.ในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ประมาณการไว้เล็กน้อยว่าจะเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 0.6 นอกจากนี้ ยังมีการทบทวนตัวเลขยอดขายปลีกในเดือน ม.ค.48 เป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่รายงาน
ก่อนหน้านี้ว่าลดลงร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ ตัวเลขยอดการขายปลีกที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์
ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในไตรมาสแรกปี 48 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 3.5-4.0 เทียบต่อปี ชะลอตัวลงเล็กน้อย
จากไตรมาส 4 ปี 47 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2 อันสนับสนุนให้คาดหวังว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาสแรกนี้
จะสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนว่า ธ.กลาง สรอ.อาจมีการปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนถัดไป ซึ่งจะทำให้เป็นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกันเป็นครั้งที่ 6 นับ
ตั้งแต่เดือน มิ.ย.47 เป็นต้นมา ขณะเดียวกัน ยังมีรายงานอีกด้านหนึ่งจาก ก.คลัง สรอ.ว่า เงินทุนไหลเข้าสุทธิ
ในเดือน ม.ค.48 เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่จำนวน 91.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงเป็น
อันดับ 2 ตั้งแต่เก็บตัวเลขมา และสูงเพียงพอที่จะช่วยเสริมการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ เนื่องจากนักลง
ทุนจากต่างประเทศยังเชื่อมั่นว่า สรอ.ยังคงเป็นประเทศที่น่าลงทุนในขณะนี้ (รอยเตอร์)
3. สินค้าคงคลังของธุรกิจสรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือนม.ค. รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่
15 มี.ค. 48 ก.พาณิชย์สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือนม.ค. สินค้าคงคลังของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต
สรอ. รวมสินค้าคงคลังของผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ที่ระดับ 1.291 ล้านล้านดอลลาร์สรอ.
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) สอดคล้องกับผลสำรวจนักวิเคราะห์และเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ซึ่งการ
เพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องเป็นสัญญานว่าความเชื่อมั่นของนักธุรกิจมีมากขึ้นในด้านความต้องการสินค้าใน
อนาคตและไม่คาดคิดว่ายอดขายในอนาคตจะลดลงมากถึงขนาดทำให้เกิดสินค้าคงคลังมากเกินไปด้วย ทั้งนี้ในเดือน
ม.ค. สัดส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายซึ่งใช้เป็นมาตรวัดจำนวนเดือนที่สินค้าคงคลังจะหมดลงหากมียอดการขายอยู่ใน
ระดับปัจจุบัน อยู่ที่ระดับ 1.30 เดือน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้าและเป็นระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ด้วย
เช่นกัน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีในเดือน มี.ค.48 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ
6 เดือน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 15 มี.ค.48 ZEW ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยชั้นนำของเยอรมนีรายงานผลสำรวจ
ความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบันจำนวน 300 คนซึ่งร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเยอรมนีและที่เหลือกระจา
ยอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป อังกฤษและ สรอ.ในระหว่างวันที่ 28 ก.พ.48 ถึงวันที่ 14 มี.ค.48 ปราก
ฎว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนจากผลสำรวจดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 36.3 จากระดับ 35.9 ใน
เดือน ก.พ.48 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะลดลงไปอยู่ที่ระดับ 34.0 โดยดัชนีดังกล่าวมีค่าเฉลี่ยระยะ
ยาวอยู่ที่ 34.5 โดยเป็นผลจากความคาดหวังในทางบวกจากตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้า, ยอดส่งออกและผลผลิต
อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมีมากกว่าความกังวลจากการแข็งค่าของเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. และราคา
น้ำมันที่สูงขึ้น โดยเงินยูโรมีค่าเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.36 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโรเมื่อปลาย
เดือน ธ.ค.47 และราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 18 นับตั้งแต่การสำรวจครั้งที่แล้ว นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดของ
ราคาน้ำมันในระหว่างการสำรวจ 2 ครั้งโดย ZEW สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกและของเยอรมนีเองยังสามารถ
ขยายตัวต่อไปได้แม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นเหนือระดับ 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลก็ตาม ผลสำรวจของ ZEW
เป็นตัวชี้แนวโน้มของดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจโดยสถาบันวิจัย Ifo ซึ่งถูกมองว่ามีความสำคัญมากกว่าในการ
เป็นตัวชี้แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศและมีกำหนดจะประกาศผลสำรวจอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 มี.ค.48
เวลา 9.00 น. ตามเวลากรีนนิช (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 มี.ค. 48 15 มี.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.399 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.1772/38.4634 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.25 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 696.84/14.07 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,000/8,100 8,000/8,100 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 46.33 46.17 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.09*/15.19** 22.09*/15.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 11 มี.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ปฏิเสธข่าวควบรวมกิจการ ธ.นครหลวงไทย กับ ธ.ไทยธนาคาร นางธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการเจรจาควบรวมกิจการระหว่าง
ธ.นครหลวงไทย และ ธ.ไทยธนาคารอย่างที่เป็นข่าว และ ธปท. ไม่มีนโยบายนำ ธ.พาณิชย์ที่กองทุนฟื้นฟูฯ
ถือหุ้นอยู่ควบรวมกิจการกันเอง เนื่องจากไม่มีนโยบายลงทุนระยะยาวและไม่มีแนวคิดเป็นเจ้าของ ธ.พาณิชย์
หากมีการยื่นเงื่อนไขขอซื้อหุ้นของ ธ.พาณิชย์ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่และเห็นว่าราคาดีก็พร้อมจะขายตลอดเวลา
ทั้งนี้ การควบรวมสถาบันการเงินเป็นเรื่องของธุรกิจที่จะร่วมมือกันเพื่อความอยู่รอด เท่าที่ทราบขณะนี้มีการ
เจรจากันอยู่บ้าง ส่วนบางรายเลิกเจรจาไปแล้ว ต่อไปการควบรวมคงไม่เน้นเพิ่มขนาดอย่างเดียว แต่ธุรกิจ
ธนาคารขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าของตัวที่ชัดเจนมากกว่า ปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นอยู่ใน ธ.พาณิชย์ 5 แห่ง คือ
ธ.กรุงไทย ธ.นครหลวงไทย ธ.ไทยธนาคาร ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน และ ธ.ยูโอบีรัตนสิน ซึ่งล่าสุดกองทุน
ฟื้นฟูฯ ตัดสินใจขายหุ้นให้แก่ ธ.ยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ 208 ล้านหุ้น หรือร้อยละ 16.22 ในราคา 2,950 ล้านบาท
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. กำลังพิจารณากำหนดฐานเงินเดือนสินเชื่อส่วนบุคคล นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค
ผอส. สายความเสี่ยงและวิเคราะห์ ธปท. เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการพิจารณากำหนดฐานเงินเดือนของผู้มีสิทธิ
กู้ยืมเงินสินเชื่อรายย่อยหรือสินเชื่อส่วนบุคคลว่า จะคำนึงถึงความจำเป็นของการใช้เงินของผู้ขอสินเชื่อเป็นหลัก ซึ่ง
แตกต่างจากมาตรการควบคุมสินเชื่อบัตรเครดิตที่จะเน้นการจับจ่ายมากกว่า ส่วนดอกเบี้ยยังบอกไม่ได้ว่าจะใช้อัตรา
เท่าไร ต้องรอ ก.คลังตัดสินใจ แต่จากการเก็บข้อมูลเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยสูงสุดและต่ำสุดอยู่ที่ร้อยละ 23 และ
วงเงินให้กู้ของตลาดเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2.5 เท่าของเงินเดือน สำหรับค่าธรรมเนียมที่กำหนดให้ผู้ประกอบการเก็บ
ได้มีทั้งกำหนดเป็นกรอบอัตราเรียกเก็บสูงสุดได้ และเปิดให้เก็บตามความเป็นจริงด้วย ซึ่งเชื่อว่ารายได้ค่า
ธรรมเนียมนี้จะไปชดเชยรายได้จากอัตราดอกเบี้ยได้ ดังนั้น หากนำเกณฑ์ดังกล่าวมาบังคับใช้จะไม่มีผลกระทบต่อ
รายย่อย เพราะมีสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธ.ออมสิน ธกส. ธ.พาณิชย์ที่กำลังจะเกิดใหม่ และ ธ.หมู่บ้าน รอง
รับมาตรการดังกล่าว (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธปท. ขอให้ นอนแบงก์ ส่งข้อมูลบัตรเครดิตเป็นรายเดือนจากเดิมรายไตรมาส รายงานข่าว
จาก ธปท. แจ้งว่า ธปท. ได้มีหนังสือเวียนไปยังผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์)
เพื่อแจ้งให้ทราบว่าผู้ประกอบการบัตรเครดิตที่มีการตั้งสำนักงานสาขาจะต้องแจ้งให้ ธปท. ทราบล่วงก่อนเปิดทำ
การไม่น้อยกว่า 15 วัน สำหรับสาขาที่เปิดทำการก่อนวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา จะต้องเร่งทำหนังสือแจ้งมายัง
ธปท. ภายในวันที่ 9 เม.ย.นี้ นอกจากนี้ ในการจัดส่งชุดข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการบัตรเครดิตตามแบบฟอร์ม
ของ ธปท. ซึ่งประกอบด้วยการเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ธปท. เปลี่ยน
แปลงให้ผู้ประกอบการนำส่งชุดข้อมูลดังกล่าวเป็นรายเดือนจากเดิมที่นำส่งเป็นรายไตรมาส และต้องส่งภายใน 21 วัน
นับจากสิ้นเดือนนั้น ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวออกมาเพื่อช่วยรักษาผลประโยชน์ของประชาชน และเป็นการระมัด
ระวังป้องกันปัญหาจากบัตรเครดิตที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อให้หลักเกณฑ์มีความเหมาะสมมากขึ้น (มติชน)
4. คาดว่ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตวีซ่าใน 5 ปีข้างหน้าจะสูงถึง 3 แสนล้านบาท นายสมบูรณ์
ครบธีรนนท์ ผู้จัดการวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า คาดว่ายอดใช้
จ่ายผ่านบัตรเครดิตวีซ่าจะอยู่ที่ประมาณ 3 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 ของยอดใช้จ่ายของประชาชนทั้งหมด
และจะทำให้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตวีซ่าเติบโตขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลัก โดย ณ สิ้นปี 47 ยอดใช้จ่ายผ่านบัตร
เครดิตวีซ่าอยู่ที่ 257,850 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับปี 46 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวม
ในปีนี้จะปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ก็เชื่อว่ายอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง
ไม่ว่า ธปท. จะออกมาตรการต่อหรือไม่ต่ออายุบัตรเครดิตก็ตาม แต่ประชาชนก็ยังใช้จ่ายเหมือนเดิม ส่วนในด้าน
ของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ ธ.พาณิชย์อาจได้รับผลกระทบบ้าง หาก ธปท. ไม่ให้ลูกค้าที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000
บาทต่อเดือนต่ออายุบัตร (เดลินิวส์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มี.ค.48 ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์
ก่อนหน้า รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 15 มี.ค.48 The ABC News/Washington Post เปิดเผยว่า
Consumer Comfort Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มี.ค.48
อยู่ที่ระดับ -8 ลดลงเล็กน้อยจากระดับ -7 ในสัปดาห์ก่อนหน้า แม้ว่าระดับราคาน้ำมันจะยังคงสูงอยู่ก็ตาม ซึ่งจาก
การสำรวจพบว่า จากจำนวนผู้บริโภคที่ถูกสำรวจ 1,000 คน ร้อยละ 40 มองว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศชะลอ
ตัวลง ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 23 ที่เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ถือว่ามีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดือน
ก่อนหน้า ซึ่งมีผู้บริโภคเพียงร้อยละ 17 ที่มองว่าภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนของผู้ที่เห็นว่าภาวะ
เศรษฐกิจชะลอตัวลงเป็นร้อยละ 40 เท่ากัน นอกจากนี้ 2 ใน 3 ของส่วนประกอบหลักของดัชนีโดยรวมก็ลดลงเล็ก
น้อยในสัปดาห์เดียวกัน โดยสัดส่วนผู้บริโภคที่มีมุมมองในด้านบวกต่อแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจมีอยู่ร้อยละ 39 ลดลง
จากร้อยละ 40 ขณะที่ผู้บริโภคที่มีมุมมองต่อแนวโน้มฐานะทางการเงินส่วนตัวในด้านดีมีอยู่ร้อยละ 59 ลดลงจาก
ร้อยละ 60 ในสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ มีเพียงดัชนีชี้วัดการใช้จ่ายซึ่งสะท้อนมุมมองของผู้บริโภคว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่
น่าจะมีการใช้จ่ายมากขึ้นเท่านั้น ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 40 (รอยเตอร์)
2. ยอดการขายปลีกของ สรอ.ในเดือน ก.พ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ขณะที่เงินทุนไหลเข้าก็เพิ่มขึ้น
มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15 มี.ค.48 ก.พาณิชย์ สรอ.เปิดเผยว่า ยอดการขายปลีก
ของ สรอ.ในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ประมาณการไว้เล็กน้อยว่าจะเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 0.6 นอกจากนี้ ยังมีการทบทวนตัวเลขยอดขายปลีกในเดือน ม.ค.48 เป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่รายงาน
ก่อนหน้านี้ว่าลดลงร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ ตัวเลขยอดการขายปลีกที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์
ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในไตรมาสแรกปี 48 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 3.5-4.0 เทียบต่อปี ชะลอตัวลงเล็กน้อย
จากไตรมาส 4 ปี 47 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2 อันสนับสนุนให้คาดหวังว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาสแรกนี้
จะสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนว่า ธ.กลาง สรอ.อาจมีการปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนถัดไป ซึ่งจะทำให้เป็นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกันเป็นครั้งที่ 6 นับ
ตั้งแต่เดือน มิ.ย.47 เป็นต้นมา ขณะเดียวกัน ยังมีรายงานอีกด้านหนึ่งจาก ก.คลัง สรอ.ว่า เงินทุนไหลเข้าสุทธิ
ในเดือน ม.ค.48 เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่จำนวน 91.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงเป็น
อันดับ 2 ตั้งแต่เก็บตัวเลขมา และสูงเพียงพอที่จะช่วยเสริมการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ เนื่องจากนักลง
ทุนจากต่างประเทศยังเชื่อมั่นว่า สรอ.ยังคงเป็นประเทศที่น่าลงทุนในขณะนี้ (รอยเตอร์)
3. สินค้าคงคลังของธุรกิจสรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือนม.ค. รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่
15 มี.ค. 48 ก.พาณิชย์สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือนม.ค. สินค้าคงคลังของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต
สรอ. รวมสินค้าคงคลังของผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ที่ระดับ 1.291 ล้านล้านดอลลาร์สรอ.
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) สอดคล้องกับผลสำรวจนักวิเคราะห์และเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ซึ่งการ
เพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องเป็นสัญญานว่าความเชื่อมั่นของนักธุรกิจมีมากขึ้นในด้านความต้องการสินค้าใน
อนาคตและไม่คาดคิดว่ายอดขายในอนาคตจะลดลงมากถึงขนาดทำให้เกิดสินค้าคงคลังมากเกินไปด้วย ทั้งนี้ในเดือน
ม.ค. สัดส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายซึ่งใช้เป็นมาตรวัดจำนวนเดือนที่สินค้าคงคลังจะหมดลงหากมียอดการขายอยู่ใน
ระดับปัจจุบัน อยู่ที่ระดับ 1.30 เดือน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้าและเป็นระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ด้วย
เช่นกัน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีในเดือน มี.ค.48 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ
6 เดือน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 15 มี.ค.48 ZEW ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยชั้นนำของเยอรมนีรายงานผลสำรวจ
ความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบันจำนวน 300 คนซึ่งร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเยอรมนีและที่เหลือกระจา
ยอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป อังกฤษและ สรอ.ในระหว่างวันที่ 28 ก.พ.48 ถึงวันที่ 14 มี.ค.48 ปราก
ฎว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนจากผลสำรวจดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 36.3 จากระดับ 35.9 ใน
เดือน ก.พ.48 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะลดลงไปอยู่ที่ระดับ 34.0 โดยดัชนีดังกล่าวมีค่าเฉลี่ยระยะ
ยาวอยู่ที่ 34.5 โดยเป็นผลจากความคาดหวังในทางบวกจากตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้า, ยอดส่งออกและผลผลิต
อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมีมากกว่าความกังวลจากการแข็งค่าของเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. และราคา
น้ำมันที่สูงขึ้น โดยเงินยูโรมีค่าเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.36 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโรเมื่อปลาย
เดือน ธ.ค.47 และราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 18 นับตั้งแต่การสำรวจครั้งที่แล้ว นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดของ
ราคาน้ำมันในระหว่างการสำรวจ 2 ครั้งโดย ZEW สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกและของเยอรมนีเองยังสามารถ
ขยายตัวต่อไปได้แม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นเหนือระดับ 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลก็ตาม ผลสำรวจของ ZEW
เป็นตัวชี้แนวโน้มของดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจโดยสถาบันวิจัย Ifo ซึ่งถูกมองว่ามีความสำคัญมากกว่าในการ
เป็นตัวชี้แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศและมีกำหนดจะประกาศผลสำรวจอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 มี.ค.48
เวลา 9.00 น. ตามเวลากรีนนิช (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 มี.ค. 48 15 มี.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.399 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.1772/38.4634 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.25 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 696.84/14.07 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,000/8,100 8,000/8,100 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 46.33 46.17 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.09*/15.19** 22.09*/15.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 11 มี.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--