ฉบับที่ 14/2549
เดือนกันยายน 2549 ภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย ด้านอุปทานการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกขยายตัวดี รายได้เกษตรกรขยายตัวตามราคาจำหน่ายผลผลิตพืชหลักที่สูงขึ้น แต่ภาคบริการปรับตัวลดลงตามฤดูกาล ด้านอุปสงค์ การส่งออกและการนำเข้าเร่งตัวจากเดือนก่อน ทางด้านการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน การลงทุนลดลง อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อน
สำหรับในช่วง 9 เดือนของปี 2549 เศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยการผลิตของอุตสาหกรรมส่งออกขยายตัวในเกณฑ์ดีโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นตามราคาจำหน่ายพืชหลักที่สูงขึ้น ส่วนการท่องเที่ยวขยายตัวในอัตราที่ลดลง ด้านการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวจากราคาสินค้าอุปโภคที่สูงขึ้นและราคาน้ำมันที่เพิ่ม ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลง การส่งออกชะลอลงแต่การนำเข้าเร่งตัว ทางด้านเงินฝากและสินเชื่อขยายตัว
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจมีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรขยายตัวอีกครั้งหลังจากลดลงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.5 จากด้านราคาเป็นสำคัญ โดยราคาพืชหลักสูงขึ้นร้อยละ 13.7 ตามราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวเปลือกเหนียวนาปีเมล็ดยาวที่สูงขึ้นร้อยละ 7.4 และร้อยละ 42.7 ตามลำดับ ราคาหอมแดงสูงขึ้นร้อยละ 26.9 จากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตพืชสำคัญลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 3.8 เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น เช่น มันสำปะหลัง ส่วนผลผลิตลำไยลดลงร้อยละ 37.6 เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจประกอบกับได้รับความเสียหายจากฤดูฝนที่มาเร็วกว่าปกติ
ช่วง 9 เดือนปี 2549 รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.7 โดยเป็นผลจากด้านราคาเป็นสำคัญ โดยราคาพืชสำคัญเร่งตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 ตามราคาอ้อยโรงงาน ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ข้าวเปลือกเจ้านาปี ข้าวเปลือกเหนียวนาปี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่สูงขึ้นร้อยละ 19.8 ร้อยละ 0.6 ร้อยละ 11.4 ร้อยละ 21.3 และร้อยละ 5.5 ตามลำดับ ตามการสูงขึ้นของราคาในตลาดโลก ขณะที่ราคาลำไยและกระเทียมแห้งใหญ่คละสูงขึ้นร้อยละ 28.8 และร้อยละ 40.9 เนื่องจากผลผลิตลดลง และราคาหอมแดงสูงขึ้นร้อยละ 52.1 ตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น ด้านผลผลิตพืชหลักลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ตามการลดลงของผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลำไย ลิ้นจี่ กระเทียม หอมหัวใหญ่ และถั่วเหลือง ที่ลดลงร้อยละ 3.8 ร้อยละ 37.6 ร้อยละ 7.1 ร้อยละ 23.0 ร้อยละ 33.8 และร้อยละ 1.2 ตามลำดับ
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัว โดยอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.6 เป็น 173.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เดือนก่อน จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ผลึกพีเอโซอิเล็กทริกที่ประกอบแล้วและเครื่องประดับ ขณะที่ผลผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 ด้านภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 35.9 เป็น 155.1 ล้านบาท
ช่วง 9 เดือน ปี 2549 การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูน ขยายตัวร้อยละ 15.9 เป็น 1,459.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ระยะเดียวกันปีก่อน การผลิตขยายตัวดีนับแต่ต้นปีเป็นต้นมา จากการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าตามความต้องการสินค้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น สินค้าที่มีการผลิตเร่งตัวขึ้นได้แก่ Glass Magnetic Disk และส่วนประกอบหม้อแปลงไฟฟ้า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 ร้อยละ 26.7 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างลดลง
ร้อยละ 5.5 ตามการลงทุนภาคก่อสร้างที่ซบเซา ด้านภาษีมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมเร่งตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนโดยขยายตัวร้อยละ 28.2 เป็น 1,839.0 ล้านบาท
3. ภาคบริการ ลดลงตามฤดูกาล ประกอบกับนักท่องเที่ยวต่างประเทศบางส่วนยกเลิกการเดินทางจากความกังวลในสถานการณ์ทางการเมืองของไทย โดยเครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.0 อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงร้อยละ 0.3 เหลืออัตราร้อยละ 40.6 ส่วนจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.3
ช่วง 9 เดือน ปี 2549 ภาวะการท่องเที่ยวขยายตัวดีในช่วงไตรมาสแรกของปี แต่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงไตรมาสที่สอง และยังได้รับผลกระทบจากความกังวลในสถานการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของนักท่องเที่ยวต่างชาติบางส่วนและภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือปลายไตรมาสที่สาม ส่งผลให้ภาคบริการโดยรวมใน 9 เดือน ปี 2549 ขยายตัวในอัตราลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 และราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ส่วนอัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงจากการใช้จ่ายที่ลดลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากเดือนกันยายนปีนี้มีฝนตกมากทำให้ภาวะการค้าอ่อนตัวลง เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่สำคัญ ได้แก่ ยอดจดทะเบียนรถยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 14.4 เดือนก่อน ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 10.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.2 เดือนก่อน ทางด้านยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 เดือนก่อน โดยนอกเหนือจากการชำระภาษีลดลงของธุรกิจค้าส่งค้าปลีกแล้ว ยังเป็นผลจากกรมสรรพากรได้ขยายเวลาในการยื่นชำระภาษีของผู้ประกอบการในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัด
ช่วง 9 เดือน ปี 2549 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราลดลง แต่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย โดยยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 ระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคที่สำคัญอื่นได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 2.9 และร้อยละ 1.3 ตามลำดับ
5. การลงทุนภาคเอกชน ภาวะการลงทุนภาคเอกชนลดลง พิจารณาจากพื้นที่รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลที่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.7 เดือนก่อน อย่างไรก็ดี พื้นที่รับอนุญาตประเภทที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.7 ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนแต่มีอัตราชะลอลงโดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.7 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 เดือนก่อน ด้านค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.9 ลดลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เดือนก่อน ส่วนการลงทุนในกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 55.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.7 เดือนก่อน
ช่วง 9 เดือนปี 2549 ภาวะการลงทุนภาคเอกชนในภาคเหนือลดลง เนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนหลายประการรวมทั้งราคาน้ำมัน ส่งผลให้การลงทุนของภาคเอกชนชะลอตัวออกไป อย่างไรก็ดี ความสนใจลงทุนด้านก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เริ่มกลับมาบ้างในช่วงต้นไตรมาส 3 สำหรับเครื่องชี้สำคัญได้แก่ ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.5 พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 12.8 โดยลดลงมากในการก่อสร้างประเภทอาคารพาณิชย์ บริการและขนส่ง ทางด้านค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงร้อยละ 8.3 ส่วนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 44 โครงการ เงินลงทุน 4,759.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.9 โดยเพิ่มขึ้นมากในหมวดบริการและสาธารณูปโภคประเภทโครงการที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นโครงการลงทุนใหม่ และหมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นการขยายการลงทุนโครงการเดิม
6. การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 เป็น 227.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 เป็น 173.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตามความต้องการของตลาดโลก ส่วนการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 46.4 เหลือ 9.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากการย้ายการทำพิธีการส่งออกสินค้าสำคัญประเภทใบยาสูบและพืชผักถนอมอาหาร ไปทำพิธีการที่ส่วนกลาง รวมทั้งการลดลงของมูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมประเภทผลิตภัณฑ์จากไม้ เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ ด้านการส่งออกผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เป็น 44.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกไปพม่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เป็น 31.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พืชผล สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 แต่การส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 10.6
การนำเข้า เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.7 เป็น 154.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 เป็น 135.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เป็น 10.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าทัณฑ์บนประเภทพลาสติก รวมทั้งส่วนประกอบเครื่องจักรกลที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ทางด้านการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.4 เป็น 9.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนตามการนำเข้าจากพม่าและจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.9 และร้อยละ 15.5 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.9
ดุลการค้า เกินดุล 73.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 76.0 และ 85.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
ช่วง 9 เดือน ปี 2549 การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 เป็น 1,990.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 เป็น 1,459.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 14.5 เหลือ 133.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการย้ายการทำพิธีการส่งออกไปที่ส่วนกลางของใบยาสูบและพืชผักถนอมอาหาร การส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนลดลงร้อยละ 3.4 เหลือ 398.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกไปพม่าที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี โดยลดลงร้อยละ 5.6 เหลือ 297.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากด่านศุลกากรพม่าเข้มงวดในการนำสินค้าเข้า รวมทั้งค่าเงินจัตที่อ่อนตัวลง ส่วนการส่งออกไปลาวและจีนตอนใต้เพิ่มขึ้น
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3 เป็น 1,282.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นทุกด่าน โดยด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เป็น 1,161.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 50.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าวัตถุดิบประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และวัตถุดิบของอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วนด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 เป็น 71.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งจากพม่า ลาวและจีนตอนใต้
ดุลการค้า ในช่วง 9 เดือน ปี 2549 เกินดุล 707.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 714.5 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ลดลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เดือนก่อน โดยราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.7 ตามการชะลอลงของราคาในหมวดพลังงาน เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เดือนก่อน
ช่วง 9 เดือนปี 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเฉลี่ย 9 เดือนปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ส่วนหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 อย่างไรก็ดี ดัชนีราคาผู้บริโภคชะลอลงมากในไตรมาส 3 โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 เป็นผลจากฐานการคำนวนที่สูงจากการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลในช่วงปลายไตรมาส 2 ปี 2548 รวมทั้งการปรับตัวลดลงของราคาในหมวดพลังงานเป็นสำคัญ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเฉลี่ย 9 เดือนปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ระยะเดียวกันปีก่อน
8. การจ้างงาน จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เดือนสิงหาคม 2549 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.78 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.69 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.7 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยในภาคเกษตรมีแรงงาน 3.36 ล้านคน ลดลงร้อยละ 5.0 ขณะที่นอกภาคเกษตรมีแรงงานจำนวน 3.37 ล้านคน เพิ่มขึ้นระยะเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 6.2 โดยเพิ่มมากในสาขาการผลิต การขายส่ง/ปลีก และการศึกษา อัตราการว่างงานคิดเป็นร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม ด้านผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่อยู่ในสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น ในเดือนกันยายน 2549 มีจำนวน 0.59 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.1 และร้อยละ 3.6 ตามลำดับ
9. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2549 มีทั้งสิ้น 330,052 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 เทียบกับอัตราเพิ่มร้อยละ 8.7 เดือนก่อน เงินฝากที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากรายได้จากการขายที่ดินและการเร่งระดมเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์เปิดใหม่ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 261,583 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2 เทียบกับอัตราเพิ่มร้อยละ 11.5 เดือนก่อน สินเชื่อเพิ่มขึ้นมากในบริเวณภาคเหนือตอนล่างที่จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลกและกำแพงเพชร โดยเป็นสินเชื่อกลุ่มธุรกิจโรงสีข้าวและสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการเช่าซื้อรถยนต์เป็นสำคัญ ส่วนภาคเหนือตอนบนเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ตามความต้องการใช้สินเชื่อในธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรส่งออก สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 79.26 สูงกว่าร้อยละ 77.06 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ประกาศมา ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2549/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
เดือนกันยายน 2549 ภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย ด้านอุปทานการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกขยายตัวดี รายได้เกษตรกรขยายตัวตามราคาจำหน่ายผลผลิตพืชหลักที่สูงขึ้น แต่ภาคบริการปรับตัวลดลงตามฤดูกาล ด้านอุปสงค์ การส่งออกและการนำเข้าเร่งตัวจากเดือนก่อน ทางด้านการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน การลงทุนลดลง อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อน
สำหรับในช่วง 9 เดือนของปี 2549 เศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยการผลิตของอุตสาหกรรมส่งออกขยายตัวในเกณฑ์ดีโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นตามราคาจำหน่ายพืชหลักที่สูงขึ้น ส่วนการท่องเที่ยวขยายตัวในอัตราที่ลดลง ด้านการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวจากราคาสินค้าอุปโภคที่สูงขึ้นและราคาน้ำมันที่เพิ่ม ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลง การส่งออกชะลอลงแต่การนำเข้าเร่งตัว ทางด้านเงินฝากและสินเชื่อขยายตัว
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจมีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรขยายตัวอีกครั้งหลังจากลดลงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.5 จากด้านราคาเป็นสำคัญ โดยราคาพืชหลักสูงขึ้นร้อยละ 13.7 ตามราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวเปลือกเหนียวนาปีเมล็ดยาวที่สูงขึ้นร้อยละ 7.4 และร้อยละ 42.7 ตามลำดับ ราคาหอมแดงสูงขึ้นร้อยละ 26.9 จากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตพืชสำคัญลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 3.8 เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น เช่น มันสำปะหลัง ส่วนผลผลิตลำไยลดลงร้อยละ 37.6 เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจประกอบกับได้รับความเสียหายจากฤดูฝนที่มาเร็วกว่าปกติ
ช่วง 9 เดือนปี 2549 รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.7 โดยเป็นผลจากด้านราคาเป็นสำคัญ โดยราคาพืชสำคัญเร่งตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 ตามราคาอ้อยโรงงาน ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ข้าวเปลือกเจ้านาปี ข้าวเปลือกเหนียวนาปี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่สูงขึ้นร้อยละ 19.8 ร้อยละ 0.6 ร้อยละ 11.4 ร้อยละ 21.3 และร้อยละ 5.5 ตามลำดับ ตามการสูงขึ้นของราคาในตลาดโลก ขณะที่ราคาลำไยและกระเทียมแห้งใหญ่คละสูงขึ้นร้อยละ 28.8 และร้อยละ 40.9 เนื่องจากผลผลิตลดลง และราคาหอมแดงสูงขึ้นร้อยละ 52.1 ตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น ด้านผลผลิตพืชหลักลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ตามการลดลงของผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลำไย ลิ้นจี่ กระเทียม หอมหัวใหญ่ และถั่วเหลือง ที่ลดลงร้อยละ 3.8 ร้อยละ 37.6 ร้อยละ 7.1 ร้อยละ 23.0 ร้อยละ 33.8 และร้อยละ 1.2 ตามลำดับ
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัว โดยอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.6 เป็น 173.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เดือนก่อน จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ผลึกพีเอโซอิเล็กทริกที่ประกอบแล้วและเครื่องประดับ ขณะที่ผลผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 ด้านภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 35.9 เป็น 155.1 ล้านบาท
ช่วง 9 เดือน ปี 2549 การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูน ขยายตัวร้อยละ 15.9 เป็น 1,459.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ระยะเดียวกันปีก่อน การผลิตขยายตัวดีนับแต่ต้นปีเป็นต้นมา จากการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าตามความต้องการสินค้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น สินค้าที่มีการผลิตเร่งตัวขึ้นได้แก่ Glass Magnetic Disk และส่วนประกอบหม้อแปลงไฟฟ้า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 ร้อยละ 26.7 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างลดลง
ร้อยละ 5.5 ตามการลงทุนภาคก่อสร้างที่ซบเซา ด้านภาษีมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมเร่งตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนโดยขยายตัวร้อยละ 28.2 เป็น 1,839.0 ล้านบาท
3. ภาคบริการ ลดลงตามฤดูกาล ประกอบกับนักท่องเที่ยวต่างประเทศบางส่วนยกเลิกการเดินทางจากความกังวลในสถานการณ์ทางการเมืองของไทย โดยเครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.0 อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงร้อยละ 0.3 เหลืออัตราร้อยละ 40.6 ส่วนจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.3
ช่วง 9 เดือน ปี 2549 ภาวะการท่องเที่ยวขยายตัวดีในช่วงไตรมาสแรกของปี แต่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงไตรมาสที่สอง และยังได้รับผลกระทบจากความกังวลในสถานการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของนักท่องเที่ยวต่างชาติบางส่วนและภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือปลายไตรมาสที่สาม ส่งผลให้ภาคบริการโดยรวมใน 9 เดือน ปี 2549 ขยายตัวในอัตราลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 และราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ส่วนอัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงจากการใช้จ่ายที่ลดลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากเดือนกันยายนปีนี้มีฝนตกมากทำให้ภาวะการค้าอ่อนตัวลง เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่สำคัญ ได้แก่ ยอดจดทะเบียนรถยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 14.4 เดือนก่อน ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 10.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.2 เดือนก่อน ทางด้านยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 เดือนก่อน โดยนอกเหนือจากการชำระภาษีลดลงของธุรกิจค้าส่งค้าปลีกแล้ว ยังเป็นผลจากกรมสรรพากรได้ขยายเวลาในการยื่นชำระภาษีของผู้ประกอบการในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัด
ช่วง 9 เดือน ปี 2549 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราลดลง แต่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย โดยยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 ระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคที่สำคัญอื่นได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 2.9 และร้อยละ 1.3 ตามลำดับ
5. การลงทุนภาคเอกชน ภาวะการลงทุนภาคเอกชนลดลง พิจารณาจากพื้นที่รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลที่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.7 เดือนก่อน อย่างไรก็ดี พื้นที่รับอนุญาตประเภทที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.7 ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนแต่มีอัตราชะลอลงโดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.7 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 เดือนก่อน ด้านค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.9 ลดลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เดือนก่อน ส่วนการลงทุนในกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 55.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.7 เดือนก่อน
ช่วง 9 เดือนปี 2549 ภาวะการลงทุนภาคเอกชนในภาคเหนือลดลง เนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนหลายประการรวมทั้งราคาน้ำมัน ส่งผลให้การลงทุนของภาคเอกชนชะลอตัวออกไป อย่างไรก็ดี ความสนใจลงทุนด้านก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เริ่มกลับมาบ้างในช่วงต้นไตรมาส 3 สำหรับเครื่องชี้สำคัญได้แก่ ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.5 พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 12.8 โดยลดลงมากในการก่อสร้างประเภทอาคารพาณิชย์ บริการและขนส่ง ทางด้านค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงร้อยละ 8.3 ส่วนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 44 โครงการ เงินลงทุน 4,759.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.9 โดยเพิ่มขึ้นมากในหมวดบริการและสาธารณูปโภคประเภทโครงการที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นโครงการลงทุนใหม่ และหมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นการขยายการลงทุนโครงการเดิม
6. การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 เป็น 227.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 เป็น 173.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตามความต้องการของตลาดโลก ส่วนการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 46.4 เหลือ 9.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากการย้ายการทำพิธีการส่งออกสินค้าสำคัญประเภทใบยาสูบและพืชผักถนอมอาหาร ไปทำพิธีการที่ส่วนกลาง รวมทั้งการลดลงของมูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมประเภทผลิตภัณฑ์จากไม้ เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ ด้านการส่งออกผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เป็น 44.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกไปพม่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เป็น 31.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พืชผล สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 แต่การส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 10.6
การนำเข้า เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.7 เป็น 154.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 เป็น 135.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เป็น 10.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าทัณฑ์บนประเภทพลาสติก รวมทั้งส่วนประกอบเครื่องจักรกลที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ทางด้านการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.4 เป็น 9.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนตามการนำเข้าจากพม่าและจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.9 และร้อยละ 15.5 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.9
ดุลการค้า เกินดุล 73.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 76.0 และ 85.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
ช่วง 9 เดือน ปี 2549 การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 เป็น 1,990.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 เป็น 1,459.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 14.5 เหลือ 133.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการย้ายการทำพิธีการส่งออกไปที่ส่วนกลางของใบยาสูบและพืชผักถนอมอาหาร การส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนลดลงร้อยละ 3.4 เหลือ 398.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกไปพม่าที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี โดยลดลงร้อยละ 5.6 เหลือ 297.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากด่านศุลกากรพม่าเข้มงวดในการนำสินค้าเข้า รวมทั้งค่าเงินจัตที่อ่อนตัวลง ส่วนการส่งออกไปลาวและจีนตอนใต้เพิ่มขึ้น
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3 เป็น 1,282.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นทุกด่าน โดยด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เป็น 1,161.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 50.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าวัตถุดิบประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และวัตถุดิบของอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วนด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 เป็น 71.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งจากพม่า ลาวและจีนตอนใต้
ดุลการค้า ในช่วง 9 เดือน ปี 2549 เกินดุล 707.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 714.5 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ลดลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เดือนก่อน โดยราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.7 ตามการชะลอลงของราคาในหมวดพลังงาน เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เดือนก่อน
ช่วง 9 เดือนปี 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเฉลี่ย 9 เดือนปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ส่วนหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 อย่างไรก็ดี ดัชนีราคาผู้บริโภคชะลอลงมากในไตรมาส 3 โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 เป็นผลจากฐานการคำนวนที่สูงจากการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลในช่วงปลายไตรมาส 2 ปี 2548 รวมทั้งการปรับตัวลดลงของราคาในหมวดพลังงานเป็นสำคัญ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเฉลี่ย 9 เดือนปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ระยะเดียวกันปีก่อน
8. การจ้างงาน จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เดือนสิงหาคม 2549 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.78 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.69 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.7 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยในภาคเกษตรมีแรงงาน 3.36 ล้านคน ลดลงร้อยละ 5.0 ขณะที่นอกภาคเกษตรมีแรงงานจำนวน 3.37 ล้านคน เพิ่มขึ้นระยะเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 6.2 โดยเพิ่มมากในสาขาการผลิต การขายส่ง/ปลีก และการศึกษา อัตราการว่างงานคิดเป็นร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม ด้านผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่อยู่ในสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น ในเดือนกันยายน 2549 มีจำนวน 0.59 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.1 และร้อยละ 3.6 ตามลำดับ
9. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2549 มีทั้งสิ้น 330,052 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 เทียบกับอัตราเพิ่มร้อยละ 8.7 เดือนก่อน เงินฝากที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากรายได้จากการขายที่ดินและการเร่งระดมเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์เปิดใหม่ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 261,583 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2 เทียบกับอัตราเพิ่มร้อยละ 11.5 เดือนก่อน สินเชื่อเพิ่มขึ้นมากในบริเวณภาคเหนือตอนล่างที่จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลกและกำแพงเพชร โดยเป็นสินเชื่อกลุ่มธุรกิจโรงสีข้าวและสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการเช่าซื้อรถยนต์เป็นสำคัญ ส่วนภาคเหนือตอนบนเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ตามความต้องการใช้สินเชื่อในธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรส่งออก สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 79.26 สูงกว่าร้อยละ 77.06 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ประกาศมา ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2549/ธนาคารแห่งประเทศไทย--