วันที่ 11 ธ.ค. 49 นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าเมื่อปี 2546 ตนได้เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณ โดยในปีนั้นเกิดปัญหาในการพิจารณางบประมาณของกรมทางหลวง ซึ่งเกิดจากปัญหาการบูรณะผิวถนนแบบ Pavement in Place Recycling โดยใช้รถ Recycling ราคาคันละ 50 ล้านบาท นำเข้าจากประเทศทางยุโรป ตอนที่มีการพิจารณางบประมาณเมื่อปี 2546 มีข้อครหากันว่าการใช้วิธี Recycling เกิดการล็อคสเปคกล่าวคือผู้รับเหมาทั่ว ๆ ไปไม่สามารถรับเหมาบูรณะงานผิวจราจรได้ เนื่องจากไม่มีรถ Recycling ในขณะที่ประเทศไทยมีรถนี้ประมาณ 10 กว่าคันของ 10 กว่าบริษัท และบริษัทที่จะประมูลงานลักษณะนี้ได้จะต้องมีรถแบบนี้ โดยมีการแบ่งโซนให้แต่ละภาคให้กับบริษัทที่จะได้รับงาน ทั้งนี้ตอนที่มีการพิจารณางบประมาณปีนั้นก็ได้สังเกตว่าวิธีการลักษณะเช่นนี้เข้าข่ายการล็อคสเปค อันเป็นการกีดกันและเป็นการฮั้วงาน
จากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2546 ไม่ปรากฎว่า กรมทางหลวงได้ขออนุมัติใช้วิธีปรับปรุงชั้นทางเดิมในที่โดยวิธี Pavement in Place Recycling ซึ่งการดำเนินการวิธีดังกล่าวในปีที่ผ่านมาเป็นเพียงโครงการนำร่องเท่านั้น เนื่องจากการใช้วิธีการดังกล่าว จะมีประสิทธิภาพสำหรับพื้นที่ที่มีการจราจรแออัด และไม่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ เช่นในกรุงเทพมหานครเท่านั้น ดังนั้น การจะนำวิธีการดังกล่าวมาใช้จำเป็นต้องมีการศึกษาความเหมาะสมให้ได้ผลที่ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งเท่าที่มีการศึกษา การใช้วิธี Pavement in Place Recycling มีข้อเสียหลายประการ เช่น เสียค่าใช้จ่ายสูง คุณภาพของผิวทางเดิมไม่มีความคงทน เนื่องจากวัสดุที่นำมาใช้เป็นวัสดุที่ใช้งานแล้ว เมื่อพิจารณาในภาพรวม วิธีการดังกล่าวไม่ควรนำมาใช้ในการปรับปรุงชั้นทางเดิมในที่ หากนำมาใช้อาจเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากมิได้มีการขออนุมัติไว้ตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯ ดังนั้น หากกระทรวงคมนาคมจะอนุญาตให้ใช้วิธีปรับปรุงชั้นทางเดิมในที่โดยวิธีการ Pavement in Place Recycling โดยเหตุผลใด ๆ ก็ตามต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนทุกครั้งและห้ามมิให้ใช้เงินงบประมาณจากเงินเหลือจ่ายหรือจากการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณทุกกรณี
จากข้อสังเกตของกรรมาธิการงบประมาณฯ ข้างต้น นายยุทธพงศ์กล่าวว่า กรมทางหลวงกลับไม่สนใจ แต่มีการจัดสรรงบประมาณให้กับผู้รับเหมาโดยใช้วิธี Recycling เป็นการจัดสรรงบประมาณของกรมทางหลวงสำหรับบูรณะผิวการจราจรแบบ Recycling โดยได้จัดสรรไปตามแขวงการทางทั่วประเทศ ซึ่งผู้รับเหมาจะแบ่งโซนกัน ตัวอย่าง เช่น ภาคกลางบริษัทดอนเมืองการช่างได้งาน ภาคอีสานห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญชัยราชสีมา ภาคเหนือได้ห้างหุ้นส่วนจำกัดนำโชคก่อสร้าง และภาคใต้มีบริษัทหาดใหญ่ก่อสร้างที่จะได้งาน
นายยุทธพงศ์ยังระบุว่าวิธีนี้เป็นวิธีการอันหนึ่งในการทำมาหากินในกรมทางหลวง หลังจากจัดงบทำ Recycling แบบนี้ปีหนึ่งประมาณ 2-3 พันล้านบาท ปรากฎว่าบริษัทต่าง ๆ จะมีการแบ่งงานกันอยู่ 10 กว่าเจ้าที่มีเครื่องจักรตัวนี้ และกรมทางหลวงที่ทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต่อเนื่องมาถึงสมัยนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ทั้งนี้นายยุทธพงศ์ได้ตั้งข้อสงสัยว่าตลอดเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมาได้เคยไปขออนุมัติครม.หรือไม่ ทั้ง ๆ ที่มีข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการงบประมาณเขียนไว้ชัดเจน นอกจากนี้ยังระบุอีกว่าสิ่งที่ทำมานั้นอาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย หรือขัดต่อกฎหมายด้วย ดังนั้นตนจะนำข้อมูลนี้ไปร้องต่อประธานคณะกรรมาธิการคมนาคมของสนช. ที่ตั้งขึ้นใหม่ โดยมีพล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน เป็นประธาน และนอกจากนี้จะไปร้องให้ตรวจสอบว่าที่ทำมาทั้งหมดมีความถูกต้องเหมาะหรือไม่ นายยุทธพงศ์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ธ.ค. 2549--จบ--
จากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2546 ไม่ปรากฎว่า กรมทางหลวงได้ขออนุมัติใช้วิธีปรับปรุงชั้นทางเดิมในที่โดยวิธี Pavement in Place Recycling ซึ่งการดำเนินการวิธีดังกล่าวในปีที่ผ่านมาเป็นเพียงโครงการนำร่องเท่านั้น เนื่องจากการใช้วิธีการดังกล่าว จะมีประสิทธิภาพสำหรับพื้นที่ที่มีการจราจรแออัด และไม่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ เช่นในกรุงเทพมหานครเท่านั้น ดังนั้น การจะนำวิธีการดังกล่าวมาใช้จำเป็นต้องมีการศึกษาความเหมาะสมให้ได้ผลที่ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งเท่าที่มีการศึกษา การใช้วิธี Pavement in Place Recycling มีข้อเสียหลายประการ เช่น เสียค่าใช้จ่ายสูง คุณภาพของผิวทางเดิมไม่มีความคงทน เนื่องจากวัสดุที่นำมาใช้เป็นวัสดุที่ใช้งานแล้ว เมื่อพิจารณาในภาพรวม วิธีการดังกล่าวไม่ควรนำมาใช้ในการปรับปรุงชั้นทางเดิมในที่ หากนำมาใช้อาจเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากมิได้มีการขออนุมัติไว้ตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯ ดังนั้น หากกระทรวงคมนาคมจะอนุญาตให้ใช้วิธีปรับปรุงชั้นทางเดิมในที่โดยวิธีการ Pavement in Place Recycling โดยเหตุผลใด ๆ ก็ตามต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนทุกครั้งและห้ามมิให้ใช้เงินงบประมาณจากเงินเหลือจ่ายหรือจากการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณทุกกรณี
จากข้อสังเกตของกรรมาธิการงบประมาณฯ ข้างต้น นายยุทธพงศ์กล่าวว่า กรมทางหลวงกลับไม่สนใจ แต่มีการจัดสรรงบประมาณให้กับผู้รับเหมาโดยใช้วิธี Recycling เป็นการจัดสรรงบประมาณของกรมทางหลวงสำหรับบูรณะผิวการจราจรแบบ Recycling โดยได้จัดสรรไปตามแขวงการทางทั่วประเทศ ซึ่งผู้รับเหมาจะแบ่งโซนกัน ตัวอย่าง เช่น ภาคกลางบริษัทดอนเมืองการช่างได้งาน ภาคอีสานห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญชัยราชสีมา ภาคเหนือได้ห้างหุ้นส่วนจำกัดนำโชคก่อสร้าง และภาคใต้มีบริษัทหาดใหญ่ก่อสร้างที่จะได้งาน
นายยุทธพงศ์ยังระบุว่าวิธีนี้เป็นวิธีการอันหนึ่งในการทำมาหากินในกรมทางหลวง หลังจากจัดงบทำ Recycling แบบนี้ปีหนึ่งประมาณ 2-3 พันล้านบาท ปรากฎว่าบริษัทต่าง ๆ จะมีการแบ่งงานกันอยู่ 10 กว่าเจ้าที่มีเครื่องจักรตัวนี้ และกรมทางหลวงที่ทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต่อเนื่องมาถึงสมัยนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ทั้งนี้นายยุทธพงศ์ได้ตั้งข้อสงสัยว่าตลอดเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมาได้เคยไปขออนุมัติครม.หรือไม่ ทั้ง ๆ ที่มีข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการงบประมาณเขียนไว้ชัดเจน นอกจากนี้ยังระบุอีกว่าสิ่งที่ทำมานั้นอาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย หรือขัดต่อกฎหมายด้วย ดังนั้นตนจะนำข้อมูลนี้ไปร้องต่อประธานคณะกรรมาธิการคมนาคมของสนช. ที่ตั้งขึ้นใหม่ โดยมีพล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน เป็นประธาน และนอกจากนี้จะไปร้องให้ตรวจสอบว่าที่ทำมาทั้งหมดมีความถูกต้องเหมาะหรือไม่ นายยุทธพงศ์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ธ.ค. 2549--จบ--