- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนกันยายน 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนตุลาคม 2548 มีค่า 71.07 ลดลงจากเดือนกันยายน 2548 (71.21) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (69.77)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนกันยายน 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอม สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนตุลาคม 2548 ของโรงงานขนาดเล็กมีค่า 36.3 โรงงานขนาดกลางมีค่า 54.1 และโรงงานขนาดใหญ่มีค่า 63.4
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2548
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2548 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 483 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนกันยายน 2548 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 568 รายหรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -15.0 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 21,542.93 ล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงานรวม 16,154คน ลดลงจากเดือนกันยายน 2548 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 38,215.12 ล้านบาทและจำนวนการจ้างงาน 18,091 คน ร้อยละ -43.6 และ -10.7 ตามลำดับ
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนตุลาคม 2547 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 425 รายหรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 13.6 และในส่วนของจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2547 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 10,704.24 ล้านบาทร้อยละ 101.3 แต่มีการจ้างงานลดลงจากเดือนตุลาคม 2547 ซึ่งมีจำนวนการจ้างงาน 30,104 คน ร้อยละ -46.3
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนตุลาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 50 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป จำนวน 32 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมทำน้ำตาลทรายดิบ หรือน้ำตาลทรายขาว 6,222 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำชิ้นส่วนพิเศษสำหรับรถยนต์หรือรถพ่วง มีเงินทุน 2,281 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนตุลาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมโรงงานห้องเย็น คนงาน 2,020 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำน้ำตาลทรายดิบ หรือน้ำตาลทรายขาว คนงาน 1,575 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2548 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 390 ราย มากกว่าเดือนกันยายน 2548 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 193 ราย คิดเป็นร้อยละ 102 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 4,812.51 ล้านบาทและมีการเลิกจ้างงานจำนวน 7,115 คน มากกว่าเดือนกันยายน 2548 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,536.18 ล้านบาทและเลิกจ้างงานจำนวน 4,894 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนมากกว่าเดือนตุลาคม 2547 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 278 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.3 โดยในส่วนเงินทุนและการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนตุลาคม 2547 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,410.04 ล้านบาทและเลิกจ้างงานจำนวน 5,704 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนตุลาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิปซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 32 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 26 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2548 คืออุตสาหกรรมบรรจุสินค้าทั่วไป เงินทุน 1,045 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ทอ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่างๆ เงินทุน 760 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนตุลาคม 2548
คือ อุตสาหกรรมการผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 710 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเลื่อย ไส ซอย เซาะร่อง หรือแปรรูปไม้ด้วยวิธีคล้ายคลึงกัน คนงาน 417 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนตุลาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2548 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 115 โครงการ มากกว่าเดือนกันยายน 2548 ที่มีจำนวน 108 โครงการ ร้อยละ 6.48 และมีเงินลงทุน 58,400 ล้านบาท มากกว่าเดือนกันยายน 2548 ที่มีเงินลงทุน 33,600 ล้านบาทร้อยละ 73.81
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนตุลาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนตุลาคม 2547 ที่มีจำนวน 97 โครงการ ร้อยละ 18.56 และมีเงินลงทุนมากกว่าเดือนตุลาคม 2547 ที่มีเงินลงทุน 18,600 ล้านบาท ร้อยละ 213.98
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค.2548
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 339 214,800
2.โครงการต่างชาติ 100% 333 97,100
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 333 174,400
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค.2548 คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 126,600 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐานมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 104,100 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนตุลาคม 2548 มีค่า 71.07 ลดลงจากเดือนกันยายน 2548 (71.21) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (69.77)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนกันยายน 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอม สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนตุลาคม 2548 ของโรงงานขนาดเล็กมีค่า 36.3 โรงงานขนาดกลางมีค่า 54.1 และโรงงานขนาดใหญ่มีค่า 63.4
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2548
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2548 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 483 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนกันยายน 2548 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 568 รายหรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -15.0 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 21,542.93 ล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงานรวม 16,154คน ลดลงจากเดือนกันยายน 2548 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 38,215.12 ล้านบาทและจำนวนการจ้างงาน 18,091 คน ร้อยละ -43.6 และ -10.7 ตามลำดับ
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนตุลาคม 2547 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 425 รายหรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 13.6 และในส่วนของจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2547 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 10,704.24 ล้านบาทร้อยละ 101.3 แต่มีการจ้างงานลดลงจากเดือนตุลาคม 2547 ซึ่งมีจำนวนการจ้างงาน 30,104 คน ร้อยละ -46.3
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนตุลาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 50 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป จำนวน 32 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมทำน้ำตาลทรายดิบ หรือน้ำตาลทรายขาว 6,222 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำชิ้นส่วนพิเศษสำหรับรถยนต์หรือรถพ่วง มีเงินทุน 2,281 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนตุลาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมโรงงานห้องเย็น คนงาน 2,020 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำน้ำตาลทรายดิบ หรือน้ำตาลทรายขาว คนงาน 1,575 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2548 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 390 ราย มากกว่าเดือนกันยายน 2548 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 193 ราย คิดเป็นร้อยละ 102 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 4,812.51 ล้านบาทและมีการเลิกจ้างงานจำนวน 7,115 คน มากกว่าเดือนกันยายน 2548 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,536.18 ล้านบาทและเลิกจ้างงานจำนวน 4,894 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนมากกว่าเดือนตุลาคม 2547 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 278 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.3 โดยในส่วนเงินทุนและการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนตุลาคม 2547 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,410.04 ล้านบาทและเลิกจ้างงานจำนวน 5,704 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนตุลาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิปซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 32 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 26 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2548 คืออุตสาหกรรมบรรจุสินค้าทั่วไป เงินทุน 1,045 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ทอ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่างๆ เงินทุน 760 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนตุลาคม 2548
คือ อุตสาหกรรมการผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 710 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเลื่อย ไส ซอย เซาะร่อง หรือแปรรูปไม้ด้วยวิธีคล้ายคลึงกัน คนงาน 417 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนตุลาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2548 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 115 โครงการ มากกว่าเดือนกันยายน 2548 ที่มีจำนวน 108 โครงการ ร้อยละ 6.48 และมีเงินลงทุน 58,400 ล้านบาท มากกว่าเดือนกันยายน 2548 ที่มีเงินลงทุน 33,600 ล้านบาทร้อยละ 73.81
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนตุลาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนตุลาคม 2547 ที่มีจำนวน 97 โครงการ ร้อยละ 18.56 และมีเงินลงทุนมากกว่าเดือนตุลาคม 2547 ที่มีเงินลงทุน 18,600 ล้านบาท ร้อยละ 213.98
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค.2548
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 339 214,800
2.โครงการต่างชาติ 100% 333 97,100
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 333 174,400
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค.2548 คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 126,600 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐานมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 104,100 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-