วันนี้ (28 มิ.ย. 49) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในการเสวนาโต๊ะกลมหัวข้อ “74 ปีประชาธิปไตย จะไปทางไหน ? ” ณ ห้องประชุมชั้น 2 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่า 74 ประชาธิปไตยมีปัญหาใหญ่ข้อเดียวคือ ไม่เป็นประชาธิปไตย โดยได้แบ่งปัญหาเป็น 3 ยุค ประกอบด้วยยุคแรกปัญหาในอดีต ยุคที่สองปัญหาหลังยุคการเมือง และยุค 3 ยุคปัจจุบัน กล่าวคือในยุคแรกปัญหาในอดีตมีรัฐประหาร 14 ครั้ง, ฉีกรัฐธรรมนนูญ 16 ครั้ง, เกิดเหตุการณ์นองเลือดอย่างน้อย 3 ครั้ง, เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, เหตุการณ์ 16 ตุลาคม 2519 และเหตุการณ์ 17 - 18 พฤษภาคม 2535 เหล่านี้คือภาพรวมที่เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นยุคเผด็จการทหาร พลเรีอนมีโอกาสเข้าไปบริหารเป็นระยะเวลาสั้นมากและไม่เป็นประชาธิปไตยจริงๆ กระทั่งนำสู่การปฏิรูปการเมืองรอบแรก
ปัญหาใหญ่ของการปฏิรูปการเมืองรอบแรกคือการเป็นยุคที่มีรัฐธรรมนูญปัจจุบันที่เป็นผลพวงของการปฏิรูปการเมืองคือ รัฐธรรมนูญ ปี 2540 นายจุรินทร์มีความเห็นว่ามีปัญหาเกิดขึ้น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเกิดขึ้นจากตัวรัฐธรรมนูญเองที่มีช่องว่างช่องโหว่บางประการ ส่วนที่ 2 คือปัญหาของการใช้รัฐธรรมนูญ เพราะมีการบิดเบือนรัฐธรรมนูญแล้วอาศัยช่องว่างของรัฐธรรมนูญไปใช้ในทิศทางที่เป็นประโยชน์ในทางการเมืองที่เป็นประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ซึ่งข้อนี้เป็นปัญหาใหญ่ในการปฏิรูปการเมืองรอบที่แล้ว หลังจากนั้นจึงได้ผลผลิตของการปฏิรูปการเมืองรอบแรกคือระบอบทักษิณ กล่าวคือมีการเปลี่ยนจากเผด็จการทหารมาเป็นเผด็จการพลเรือน อันส่งปัญหาในทางการเมือง เศรษฐกิจ การคอรัปชั่น การใช้อำนาจ การเข้าไปแทรกแซงองค์กรทั้งหมดของคนๆเดียวกลุ่มเดียว
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันเป็นการจับมือกันของ 3 ฝ่าย ประกอบด้วยฝ่ายรัฐบาลนายกฯ ทักษิณ ฝ่ายคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และวุฒิสมาชิกเสียงข้างมาก ที่กำลังร่วมกันท้าทายอำนาจศาลซึ่งทำงานภายใต้พระปรมาภิไธย โดยศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ดังนั้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้จึงเป็นปัญหาที่ค้างคาอยู่และเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่เป็นที่มาในการจัดอภิปรายในวันนี้ ที่มีหัวข้อ “74 ประชาธิปไตยไทย จะไปทางไหน”
นายจุรินทร์ ตอบคำถามที่ 2 ว่ามี 2 ทางคือทางสร้างปัญหาและทางแก้ปัญหา ในทางสร้างปัญหาคือ อยู่ต่อไปอย่างนี้ แล้วปัญหาก็ยังคงอยู่ต่อไป อันจะเห็นได้ชัดเจนจากเศรษฐกิจจะประสบปัญหาอย่างแน่นอน โดยปัญหาเศรษฐกิจนั้นจะเกิดขึ้นจาก 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นผลจากการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่สร้างปัญหาไว้บวกกับปัญหาซ้ำเติมกับสถานการณ์ในปัจจุบันทั้งสองส่วนนี้ที่จะทำให้ภาคเศรษฐกิจเกิดปัญหาทั้งปัญหาหนี้สิน ปัญหาดุลเงินสด ปัญหาของแพง ปัญหาเรื่องภาษี ปัญหาเรื่องการลงทุน เป็นต้น ประการที่สองคือ ปัญหาการเผชิญหน้าทางการเมืองจะย้อนกลับมาอีก
นายจุรินทร์ กล่าวว่า จากระยะเวลาเดือนครึ่งเดือนที่ผ่านมาเป็นช่วงระยะเวลาพักรบทางการเมืองและเป็นช่วงเวลาที่เป็นมงคลของพี่น้องประชาชนแต่ปัญหาการเผชิญหน้ากำลังจะเกิดขึ้นอีก โดยในการเผชิญหน้าครั้งนี้อาจเกรงว่าจะมีการสร้างโล่มนุษย์ขึ้นเพื่อใช้ในการปกป้องอำนาจของตัวเองและนำไปสู่การนองเลือด ปัญหาประการที่ 3 การเลือกตั้งจะเดินหน้าไม่ได้เพราะปัญหาใหญ่อันหนึ่งอยู่ที่ กกต. ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ที่ผ่านมามีปัญหาไม่เป็นกลางตัดสินว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ไม่เป็นกลาง ทำให้อนุมานได้ว่า กกต.ขาดคุณสมบัติและไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้โดยปริยายแม้จะไม่มีคำพิพากษาโดยตรงเพราะเมื่อขาดความเป็นกลางและไม่มีความสุจริตเป็นที่ประจักษ์ก็มีคุณสมบัติเป็น กกต.ต่อไปไม่ได้เพราะฉะนั้นถ้า กกต.ยังอยู่ก็จะมีคำถามต่อมาว่าจะกำกับดูแลการเลือกตั้งต่อไปได้หรือไม่ในเมื่อขาดคุณสมบัตตั้งแต่ศาลตัดสินว่าจัดการเลือกตั้งขัดต่อรับธรรมนูญและไม่เป็นกลางทั้งเรื่องหันคูหาด้วย และจะมีปัญหาตามมาคือพระราชกฤษฎีกาที่จะกำหนดวันเลือกตั้งต่อไปในอนาคต หาก กกต.ชุดนี้ยังอยู่โดยเฉพาะพระราชกฤษฎีกาปัจจุบันที่คณะรัฐมนตรีมีมติไปแล้วคือจัดการเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคม ตรงนี้จะมีปัญหาตามมาอีก ในเรื่องการกำหนดวัน กกต.ชุดนี้มีส่วนร่วม เมื่อ กกต.ที่ขาดคุณสมบัติมีส่วนร่วมแล้วก็จะทำให้ที่มาของการออกพระราชกฤษฏีกานี้ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่
โดยทั้งหมดนี้นายจุรินทร์ ชี้ให้เห็นว่าปัญหาประการที่ 3 ถ้าเป็นอยู่อย่างนี้การเลือกตั้งจะเดินหน้าต่อไปไม่ได้หรือหากเดินได้ก็จะมีปัญหาตามมาอีก ประการที่ 4 คือหากสถานการณ์ยังเป็นอย่างนี้ต่อไป รัฐบาลนายกฯ ทักษิณจะรักษาการต่อไปไม่รู้จบ คือไม่รู้กำหนดเวลาสิ้นสุด ดังนั้นปรากฏการณ์ของการใช้อำนาจเกิดฐานะของการใช้อำนาจของรัฐบาลรักษาการอาจจะเกิดขึ้นและจะเป็นเครื่องหมายคำถามตามมาแล้วถกเถียงกันไม่รู้จบในทางการเมือง
ส่วนทางเลือกทางที่สองทางเลือกในการแก้ปัญหาเพื่อให้ประชาธิปไตยเดินหน้าต่อไปได้นั้น ประการที่ 1 ทุกฝ่ายต้องน้อมรับพระราชดำรัสขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปปฏิบัติจริงๆ ประการที่ 2 ต้องปฏิรูปการเมืองรอบ 2โดยต้องปฏิรูปการเมืองทั้ง 2 ส่วน ต้องปฏิรูปทั้งรัฐธรรมนูญ แก้รัฐธรรมนูญในจุดที่ยังเป็นช่องโหว่จากการปฏิบัติในระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะปัญหาที่มีการบิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแล้วเกิดเป็นช่องว่างอย่างไร และต้องปฏิรูปจริยธรรมทางการเมือง
แม้ว่าจะเป็นเรื่องรูปธรรมแต่นายจุรินทร์เห็นว่าเป็นเป้าหมายที่ต้องทำ โดยการปฏิรูปการเมืองรอบสองจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการปลดล็อค 4 ตัวเป็นอย่างน้อย ล็อคตัวที่หนึ่งเพื่อให้การเลือกตั้งเดินหน้าไปได้และเป็นที่ยอมรับคือตัวนายกฯ ทักษิณ ล็อคตัวที่สอง กกต. ต้องลาออกเพราะเห็นชัดเจนว่าขาดความชอบธรรมแล้ว ขาดความน่าเชื่อถือที่จะให้มากำกับดูแลการเลือกตั้งครั้งใหม่ ล็อคตัวที่ 3 คือ สื่อของรัฐ อันเป็นล็อคตัวใหญ่ที่ต้องปลด โดยการปลดแอกสื่อของรัฐ ให้เป็นสื่อของรัฐ ไม่ใช่เป็นสื่อส่วนตัวของรัฐบาลที่เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อในทางการเมืองให้กับกลุ่มคนฝ่ายเดียวโอกาสที่ประชาชนจะได้รับข้อมูลครบถ้วนทุกฝ่ายเพื่อการตัดสินใจในทางการเมืองที่ครบถ้วนร้อยเปอร์เซนต์จึงเป็นไปได้ยากยิ่งข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่ไม่ตรงกับข้อมูลที่รัฐบาลต้องการให้ทราบ ล็อคตัวที่ 4 คือกรณียุบพรรคการเมือง โดยนายจุรินทร์เห็นว่า หากพรรคการเมืองทำผิดกฏหมายพรรคการเมืองก็ถูกยุบได้ตามกฏหมายแต่การดำเนินกระบวนการขั้นตอนของการยุบพรรคการเมืองนั้นต้องสุจริตเที่ยงธรรมต้องไมใช่สองมาตรฐาน ดังนั้นจึงเป็นที่มาที่จะต้องถือหลักอีกอันหนึ่งว่าคำวินิจฉัยใดๆก็ตามจะต้องสามารถอธิบายต่อสังคมได้ชัดเจนโดยปราศจากข้อสงสัย นายจุรินทร์กล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 มิ.ย. 2549--จบ--
ปัญหาใหญ่ของการปฏิรูปการเมืองรอบแรกคือการเป็นยุคที่มีรัฐธรรมนูญปัจจุบันที่เป็นผลพวงของการปฏิรูปการเมืองคือ รัฐธรรมนูญ ปี 2540 นายจุรินทร์มีความเห็นว่ามีปัญหาเกิดขึ้น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเกิดขึ้นจากตัวรัฐธรรมนูญเองที่มีช่องว่างช่องโหว่บางประการ ส่วนที่ 2 คือปัญหาของการใช้รัฐธรรมนูญ เพราะมีการบิดเบือนรัฐธรรมนูญแล้วอาศัยช่องว่างของรัฐธรรมนูญไปใช้ในทิศทางที่เป็นประโยชน์ในทางการเมืองที่เป็นประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ซึ่งข้อนี้เป็นปัญหาใหญ่ในการปฏิรูปการเมืองรอบที่แล้ว หลังจากนั้นจึงได้ผลผลิตของการปฏิรูปการเมืองรอบแรกคือระบอบทักษิณ กล่าวคือมีการเปลี่ยนจากเผด็จการทหารมาเป็นเผด็จการพลเรือน อันส่งปัญหาในทางการเมือง เศรษฐกิจ การคอรัปชั่น การใช้อำนาจ การเข้าไปแทรกแซงองค์กรทั้งหมดของคนๆเดียวกลุ่มเดียว
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันเป็นการจับมือกันของ 3 ฝ่าย ประกอบด้วยฝ่ายรัฐบาลนายกฯ ทักษิณ ฝ่ายคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และวุฒิสมาชิกเสียงข้างมาก ที่กำลังร่วมกันท้าทายอำนาจศาลซึ่งทำงานภายใต้พระปรมาภิไธย โดยศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ดังนั้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้จึงเป็นปัญหาที่ค้างคาอยู่และเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่เป็นที่มาในการจัดอภิปรายในวันนี้ ที่มีหัวข้อ “74 ประชาธิปไตยไทย จะไปทางไหน”
นายจุรินทร์ ตอบคำถามที่ 2 ว่ามี 2 ทางคือทางสร้างปัญหาและทางแก้ปัญหา ในทางสร้างปัญหาคือ อยู่ต่อไปอย่างนี้ แล้วปัญหาก็ยังคงอยู่ต่อไป อันจะเห็นได้ชัดเจนจากเศรษฐกิจจะประสบปัญหาอย่างแน่นอน โดยปัญหาเศรษฐกิจนั้นจะเกิดขึ้นจาก 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นผลจากการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่สร้างปัญหาไว้บวกกับปัญหาซ้ำเติมกับสถานการณ์ในปัจจุบันทั้งสองส่วนนี้ที่จะทำให้ภาคเศรษฐกิจเกิดปัญหาทั้งปัญหาหนี้สิน ปัญหาดุลเงินสด ปัญหาของแพง ปัญหาเรื่องภาษี ปัญหาเรื่องการลงทุน เป็นต้น ประการที่สองคือ ปัญหาการเผชิญหน้าทางการเมืองจะย้อนกลับมาอีก
นายจุรินทร์ กล่าวว่า จากระยะเวลาเดือนครึ่งเดือนที่ผ่านมาเป็นช่วงระยะเวลาพักรบทางการเมืองและเป็นช่วงเวลาที่เป็นมงคลของพี่น้องประชาชนแต่ปัญหาการเผชิญหน้ากำลังจะเกิดขึ้นอีก โดยในการเผชิญหน้าครั้งนี้อาจเกรงว่าจะมีการสร้างโล่มนุษย์ขึ้นเพื่อใช้ในการปกป้องอำนาจของตัวเองและนำไปสู่การนองเลือด ปัญหาประการที่ 3 การเลือกตั้งจะเดินหน้าไม่ได้เพราะปัญหาใหญ่อันหนึ่งอยู่ที่ กกต. ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ที่ผ่านมามีปัญหาไม่เป็นกลางตัดสินว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ไม่เป็นกลาง ทำให้อนุมานได้ว่า กกต.ขาดคุณสมบัติและไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้โดยปริยายแม้จะไม่มีคำพิพากษาโดยตรงเพราะเมื่อขาดความเป็นกลางและไม่มีความสุจริตเป็นที่ประจักษ์ก็มีคุณสมบัติเป็น กกต.ต่อไปไม่ได้เพราะฉะนั้นถ้า กกต.ยังอยู่ก็จะมีคำถามต่อมาว่าจะกำกับดูแลการเลือกตั้งต่อไปได้หรือไม่ในเมื่อขาดคุณสมบัตตั้งแต่ศาลตัดสินว่าจัดการเลือกตั้งขัดต่อรับธรรมนูญและไม่เป็นกลางทั้งเรื่องหันคูหาด้วย และจะมีปัญหาตามมาคือพระราชกฤษฎีกาที่จะกำหนดวันเลือกตั้งต่อไปในอนาคต หาก กกต.ชุดนี้ยังอยู่โดยเฉพาะพระราชกฤษฎีกาปัจจุบันที่คณะรัฐมนตรีมีมติไปแล้วคือจัดการเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคม ตรงนี้จะมีปัญหาตามมาอีก ในเรื่องการกำหนดวัน กกต.ชุดนี้มีส่วนร่วม เมื่อ กกต.ที่ขาดคุณสมบัติมีส่วนร่วมแล้วก็จะทำให้ที่มาของการออกพระราชกฤษฏีกานี้ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่
โดยทั้งหมดนี้นายจุรินทร์ ชี้ให้เห็นว่าปัญหาประการที่ 3 ถ้าเป็นอยู่อย่างนี้การเลือกตั้งจะเดินหน้าต่อไปไม่ได้หรือหากเดินได้ก็จะมีปัญหาตามมาอีก ประการที่ 4 คือหากสถานการณ์ยังเป็นอย่างนี้ต่อไป รัฐบาลนายกฯ ทักษิณจะรักษาการต่อไปไม่รู้จบ คือไม่รู้กำหนดเวลาสิ้นสุด ดังนั้นปรากฏการณ์ของการใช้อำนาจเกิดฐานะของการใช้อำนาจของรัฐบาลรักษาการอาจจะเกิดขึ้นและจะเป็นเครื่องหมายคำถามตามมาแล้วถกเถียงกันไม่รู้จบในทางการเมือง
ส่วนทางเลือกทางที่สองทางเลือกในการแก้ปัญหาเพื่อให้ประชาธิปไตยเดินหน้าต่อไปได้นั้น ประการที่ 1 ทุกฝ่ายต้องน้อมรับพระราชดำรัสขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปปฏิบัติจริงๆ ประการที่ 2 ต้องปฏิรูปการเมืองรอบ 2โดยต้องปฏิรูปการเมืองทั้ง 2 ส่วน ต้องปฏิรูปทั้งรัฐธรรมนูญ แก้รัฐธรรมนูญในจุดที่ยังเป็นช่องโหว่จากการปฏิบัติในระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะปัญหาที่มีการบิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแล้วเกิดเป็นช่องว่างอย่างไร และต้องปฏิรูปจริยธรรมทางการเมือง
แม้ว่าจะเป็นเรื่องรูปธรรมแต่นายจุรินทร์เห็นว่าเป็นเป้าหมายที่ต้องทำ โดยการปฏิรูปการเมืองรอบสองจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการปลดล็อค 4 ตัวเป็นอย่างน้อย ล็อคตัวที่หนึ่งเพื่อให้การเลือกตั้งเดินหน้าไปได้และเป็นที่ยอมรับคือตัวนายกฯ ทักษิณ ล็อคตัวที่สอง กกต. ต้องลาออกเพราะเห็นชัดเจนว่าขาดความชอบธรรมแล้ว ขาดความน่าเชื่อถือที่จะให้มากำกับดูแลการเลือกตั้งครั้งใหม่ ล็อคตัวที่ 3 คือ สื่อของรัฐ อันเป็นล็อคตัวใหญ่ที่ต้องปลด โดยการปลดแอกสื่อของรัฐ ให้เป็นสื่อของรัฐ ไม่ใช่เป็นสื่อส่วนตัวของรัฐบาลที่เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อในทางการเมืองให้กับกลุ่มคนฝ่ายเดียวโอกาสที่ประชาชนจะได้รับข้อมูลครบถ้วนทุกฝ่ายเพื่อการตัดสินใจในทางการเมืองที่ครบถ้วนร้อยเปอร์เซนต์จึงเป็นไปได้ยากยิ่งข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่ไม่ตรงกับข้อมูลที่รัฐบาลต้องการให้ทราบ ล็อคตัวที่ 4 คือกรณียุบพรรคการเมือง โดยนายจุรินทร์เห็นว่า หากพรรคการเมืองทำผิดกฏหมายพรรคการเมืองก็ถูกยุบได้ตามกฏหมายแต่การดำเนินกระบวนการขั้นตอนของการยุบพรรคการเมืองนั้นต้องสุจริตเที่ยงธรรมต้องไมใช่สองมาตรฐาน ดังนั้นจึงเป็นที่มาที่จะต้องถือหลักอีกอันหนึ่งว่าคำวินิจฉัยใดๆก็ตามจะต้องสามารถอธิบายต่อสังคมได้ชัดเจนโดยปราศจากข้อสงสัย นายจุรินทร์กล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 มิ.ย. 2549--จบ--