กรุงเทพ--11 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เป็นที่ทราบกันดีในบรรดานักนิยมบริโภคทั่วไปว่า อาหารญี่ปุ่นนั้นมีความเอร็ดอร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการ แถมยังมีการจัดรูปแบบอาหาร และการเสิรฟ์ได้สวยงามน่ารับประทาน จึงทำให้อาหารญี่ปุ่นติดอันดับอาหารยอดนิยมของชาวโลกในอันดับต้นๆ ดังนั้น การเจาะตลาดด้านอาหารในญี่ปุ่นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ก็ไม่เกินความสามารถของทีมประเทศไทยในญี่ปุ่น ทั้งในกรุงโตเกียวและนครโอซากา ซึ่งได้พยายามส่งเสริมและเผยแพร่อาหารไทยให้เป็นที่รู้จักในญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเทศกาลอาหารไทยในกรุงโตเกียวเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวญี่ปุ่นในกรุงโตเกียวเป็นอย่างดี และกลายเป็นเทศกาลประจำท้องถิ่นของกรุงโตเกียวไปแล้ว โดยในแต่ละปีมีผู้เข้าชมงานและอุดหนุนอาหารไทยในงานนี้เป็นจำนวนนับแสนๆ คน
มาดูการส่งเสริมอาหารไทยในนครโอซากากันบ้าง ทีมประเทศไทยในนครโอซากา ซึ่งมีกงสุลใหญ่ สุพจน์ อิศรางกูรฯ เป็นหัวหน้าทีม ก็ขยันขันแข็งและไฟแรงไม่เบา เร่งทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์งาน Thai Festival และโครงการครัวไทยสู่ครัวญี่ปุ่น แต่เนิ่นๆ โดยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2549 ทีมประเทศไทยในนครโอซากาได้เชิญผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นสายบันเทิงและอาหาร จากนิตยสารสำคัญในเขตคันไซ ประกอบด้วย บรรณาธิการบริหาร และรองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Yomiyuri รวมทั้งผู้สื่อข่าวจำนวน 15 คน ไปร่วมรับประทานอาหารเย็นที่บ้านพักกงสุลใหญ่สุพจน์ฯ เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเตรียมการทำงานร่วมกันต่อไป
การจัดงานและเทศกาลไทยในต่างประเทศนั้น การประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้คนจำนวนมากเข้าเยี่ยมชมงาน ถือว่ามีความสำคัญพอๆ กับการจัดกิจกรรมและการแสดงด้านวัฒนธรรมไทยเลยทีเดียว เพราะต่อให้กิจกรรมและการแสดงดีแค่ไหน แต่ไม่มีคนเข้าเยี่ยมชมงานหรือมีน้อยมาก งานนั้นก็จะกร่อยและถือว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ผู้เขียนจึงเห็นด้วยกับการวางแผนประชาสัมพันธ์งานเทศกาลอาหารไทยและโครงการครัวไทยสู่ครัวญี่ปุ่น ซึ่งจะจัดขึ้นใน 3 จังหวัด คือ ที่เมืองเฮียวโง ณ โกเบฮาเบอร์แลนด์เซ็นเตอร์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2549 ที่เมืองนารา ณ สวนสาธารณะเมืองนารา ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2549 และที่นครโอซากา ณ สวนสาธารณะเทนโนจิ ระหว่างวันที่ 16-18 กันยายน 2549 โดยงานเทศกาลไทยที่โกเบและนารานั้นไม่คิดค่าออกร้าน แต่สำหรับที่โอซากาคิดค่าออกร้าน 50,000 เยน/คูหา/วัน
นอกจากการวางแผนประชาสัมพันธ์งานดังกล่าวแล้ว ในวันที่ 10 สิงหาคม 2549 ทีมประเทศไทยฯ จะจัดการสัมมนาด้านการลงทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ได้รับทราบข้อดีของอาหารไทย และเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการประสานงานด้านเศรษฐกิจระหว่างภาครัฐ และเพื่อกระชับความสัมพันธ์การแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างภาคประชาชนไทยกับญี่ปุ่น
สำหรับคนญี่ปุ่นที่รักและสนใจการทำอาหารไทยนั้น สามารถเข้ารับการอบรมหลักสูตรการทำอาหารไทยและงานเลี้ยงอาหารไทยได้ใน 2 ช่วง คือวันที่ 31 สิงหาคม 2549 ระหว่างเวลา 18.00-21.00 น. ณ โรงแรมนิวโอตานิ โอซากาและวันที่ 1-2 กันยายน 2549 เวลา 11.00-14.00 น. โดยมีอาจารย์ศรีสมร คงพันธุ์ วิทยากรสอนการประกอบอาหารไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก จะสอนการทำต้มยำกุ้ง ส้มตำ และแกงเขียวหวาน โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการอบรม แต่จำกัดผู้เข้ารับการอบรม 50 คนต่อหลักสูตรเท่านั้น
ส่วนงานเลี้ยงในวันที่ 2 กันยายน 2549 เวลา 19.00-21.00 น. ณ โรงแรมนิวโอตานิโอซากานั้น ผู้สนใจจะเข้าร่วม ต้องเสียค่าเข้าร่วมงาน 2,500 เยน /คน โดยสามารถสอบถามรายละเอียดและสมัครเข้าร่วมได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา หมดเขตการรับสมัครเข้าอบรมหลักสูตรการทำอาหารและงานเลี้ยงภายในวันที่ 22 กันยายน 2549
การจัดเทศกาลอาหารไทย งานครัวไทยสู่ครัวญี่ปุ่น การจัดหลักสูตรการทำอาหารไทย และงานเลี้ยงอาหารไทยดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นการดำเนินการเชิงรุกตามนโยบายครัวไทยสู่โลกของรัฐบาล เพื่อขยายร้านอาหารไทยในต่างประเทศให้ได้ถึง 20,000 ร้าน ในปี 2551 ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าหากภาครัฐและเอกชนของไทยรวมพลังกันทำงานในเชิงรุกอย่างเช่นทีมประเทศไทยในญี่ปุ่นแล้ว น่าจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างแน่นอน
แต่หากมีการเสริมพลังเข้ากับคนท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ เช่นเดียวกับการเตรียมประกาศจัดตั้งชมรมคนรักอาหารไทยในเขตคันไซ ก็จะช่วยให้การขยายตลาดด้านอาหารไทยในต่างประเทศประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะการที่ตัวตั้งตัวตีในการจัดตั้งชมรมนี้ไม่ใช่เจ้าหน้าที่หรือคนไทย แต่เป็นชาวญี่ปุ่นซึ่งนิยมชมชอบในรสชาดของอาหารไทย ย่อมจะมีส่วนกระตุ้นความสนใจของชาวญี่ปุ่นโดยทั่วไปได้ดีกว่า ส่วนจะได้ผลตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ ต้องรอดูการประกาศเปิดตัวชมรมฯ ในระหว่างการจัดงาน Thai Foods Party 2006 ในเร็วๆ นี้
นอกจากการเชิญชวนให้ชาวญี่ปุ่นร่วมเป็นสมาชิกในชมรมคนรักอาหารไทยแล้ว ทีมประเทศไทยฯ ยังมีพันธมิตรเป็นสื่อมวลชนชาวญี่ปุ่นทั้งสายบันเทิงและสายอาหารในเขตคันไซ รวมทั้ง The Japan Food Journal นิตยสารด้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในเขตคันไซ ซึ่งได้ตีพิมพ์ประชาสัมพันธ์การจัดเทศกาลไทยและครัวไทยสู่ครัวญี่ปุ่นในทั้ง 3 เมืองของญี่ปุ่น รวมทั้งการเปิดสอนหลักสูตรการทำอาหารไทยอย่างแพร่หลายอีกด้วย
และยังมีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆ ในเขตคันไซได้ให้ความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์การจัดงานเทศกาลอาหารไทยโดยทยอยตีพิมพ์ข่าวและคำสัมภาษณ์ของกงสุลใหญ่สุพจน์ฯ เกี่ยวกับข้าวไทยและข้าวญี่ปุ่นโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ทั้งนี้ กงสุลใหญ่สุพจน์ฯ ได้เชิญชวนให้คนญี่ปุ่นบริโภคข้าวหอมมะลิไทยมากขึ้น เช่นเดียวกับที่คนไทยนิยมรับประทานซุชิที่ทำด้วยข้าวญี่ปุ่น และว่าปัจจุบันข้าวหอมมะลิค่อยๆ เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในหมู่ชาวญี่ปุ่น เนื่องจากมีรสชาดและคุณภาพดีได้รับความนิยมในหมู่ชาวยุโรป อเมริกา และเอเชีย แต่ทั้งข้าวไทยและข้าวญี่ปุ่นนั้นต่างก็ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วยกันทั้งนั้น จึงเปรียบเสมือนของดำรงอยู่คู่กัน และหวังว่าชาวญี่ปุ่นจะนำข้าวหอมมะลิไทยไปปรับปรุงให้เข้ากับอาหารญี่ปุ่นมากขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เป็นที่ทราบกันดีในบรรดานักนิยมบริโภคทั่วไปว่า อาหารญี่ปุ่นนั้นมีความเอร็ดอร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการ แถมยังมีการจัดรูปแบบอาหาร และการเสิรฟ์ได้สวยงามน่ารับประทาน จึงทำให้อาหารญี่ปุ่นติดอันดับอาหารยอดนิยมของชาวโลกในอันดับต้นๆ ดังนั้น การเจาะตลาดด้านอาหารในญี่ปุ่นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ก็ไม่เกินความสามารถของทีมประเทศไทยในญี่ปุ่น ทั้งในกรุงโตเกียวและนครโอซากา ซึ่งได้พยายามส่งเสริมและเผยแพร่อาหารไทยให้เป็นที่รู้จักในญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเทศกาลอาหารไทยในกรุงโตเกียวเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวญี่ปุ่นในกรุงโตเกียวเป็นอย่างดี และกลายเป็นเทศกาลประจำท้องถิ่นของกรุงโตเกียวไปแล้ว โดยในแต่ละปีมีผู้เข้าชมงานและอุดหนุนอาหารไทยในงานนี้เป็นจำนวนนับแสนๆ คน
มาดูการส่งเสริมอาหารไทยในนครโอซากากันบ้าง ทีมประเทศไทยในนครโอซากา ซึ่งมีกงสุลใหญ่ สุพจน์ อิศรางกูรฯ เป็นหัวหน้าทีม ก็ขยันขันแข็งและไฟแรงไม่เบา เร่งทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์งาน Thai Festival และโครงการครัวไทยสู่ครัวญี่ปุ่น แต่เนิ่นๆ โดยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2549 ทีมประเทศไทยในนครโอซากาได้เชิญผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นสายบันเทิงและอาหาร จากนิตยสารสำคัญในเขตคันไซ ประกอบด้วย บรรณาธิการบริหาร และรองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Yomiyuri รวมทั้งผู้สื่อข่าวจำนวน 15 คน ไปร่วมรับประทานอาหารเย็นที่บ้านพักกงสุลใหญ่สุพจน์ฯ เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเตรียมการทำงานร่วมกันต่อไป
การจัดงานและเทศกาลไทยในต่างประเทศนั้น การประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้คนจำนวนมากเข้าเยี่ยมชมงาน ถือว่ามีความสำคัญพอๆ กับการจัดกิจกรรมและการแสดงด้านวัฒนธรรมไทยเลยทีเดียว เพราะต่อให้กิจกรรมและการแสดงดีแค่ไหน แต่ไม่มีคนเข้าเยี่ยมชมงานหรือมีน้อยมาก งานนั้นก็จะกร่อยและถือว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ผู้เขียนจึงเห็นด้วยกับการวางแผนประชาสัมพันธ์งานเทศกาลอาหารไทยและโครงการครัวไทยสู่ครัวญี่ปุ่น ซึ่งจะจัดขึ้นใน 3 จังหวัด คือ ที่เมืองเฮียวโง ณ โกเบฮาเบอร์แลนด์เซ็นเตอร์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2549 ที่เมืองนารา ณ สวนสาธารณะเมืองนารา ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2549 และที่นครโอซากา ณ สวนสาธารณะเทนโนจิ ระหว่างวันที่ 16-18 กันยายน 2549 โดยงานเทศกาลไทยที่โกเบและนารานั้นไม่คิดค่าออกร้าน แต่สำหรับที่โอซากาคิดค่าออกร้าน 50,000 เยน/คูหา/วัน
นอกจากการวางแผนประชาสัมพันธ์งานดังกล่าวแล้ว ในวันที่ 10 สิงหาคม 2549 ทีมประเทศไทยฯ จะจัดการสัมมนาด้านการลงทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ได้รับทราบข้อดีของอาหารไทย และเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการประสานงานด้านเศรษฐกิจระหว่างภาครัฐ และเพื่อกระชับความสัมพันธ์การแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างภาคประชาชนไทยกับญี่ปุ่น
สำหรับคนญี่ปุ่นที่รักและสนใจการทำอาหารไทยนั้น สามารถเข้ารับการอบรมหลักสูตรการทำอาหารไทยและงานเลี้ยงอาหารไทยได้ใน 2 ช่วง คือวันที่ 31 สิงหาคม 2549 ระหว่างเวลา 18.00-21.00 น. ณ โรงแรมนิวโอตานิ โอซากาและวันที่ 1-2 กันยายน 2549 เวลา 11.00-14.00 น. โดยมีอาจารย์ศรีสมร คงพันธุ์ วิทยากรสอนการประกอบอาหารไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก จะสอนการทำต้มยำกุ้ง ส้มตำ และแกงเขียวหวาน โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการอบรม แต่จำกัดผู้เข้ารับการอบรม 50 คนต่อหลักสูตรเท่านั้น
ส่วนงานเลี้ยงในวันที่ 2 กันยายน 2549 เวลา 19.00-21.00 น. ณ โรงแรมนิวโอตานิโอซากานั้น ผู้สนใจจะเข้าร่วม ต้องเสียค่าเข้าร่วมงาน 2,500 เยน /คน โดยสามารถสอบถามรายละเอียดและสมัครเข้าร่วมได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา หมดเขตการรับสมัครเข้าอบรมหลักสูตรการทำอาหารและงานเลี้ยงภายในวันที่ 22 กันยายน 2549
การจัดเทศกาลอาหารไทย งานครัวไทยสู่ครัวญี่ปุ่น การจัดหลักสูตรการทำอาหารไทย และงานเลี้ยงอาหารไทยดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นการดำเนินการเชิงรุกตามนโยบายครัวไทยสู่โลกของรัฐบาล เพื่อขยายร้านอาหารไทยในต่างประเทศให้ได้ถึง 20,000 ร้าน ในปี 2551 ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าหากภาครัฐและเอกชนของไทยรวมพลังกันทำงานในเชิงรุกอย่างเช่นทีมประเทศไทยในญี่ปุ่นแล้ว น่าจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างแน่นอน
แต่หากมีการเสริมพลังเข้ากับคนท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ เช่นเดียวกับการเตรียมประกาศจัดตั้งชมรมคนรักอาหารไทยในเขตคันไซ ก็จะช่วยให้การขยายตลาดด้านอาหารไทยในต่างประเทศประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะการที่ตัวตั้งตัวตีในการจัดตั้งชมรมนี้ไม่ใช่เจ้าหน้าที่หรือคนไทย แต่เป็นชาวญี่ปุ่นซึ่งนิยมชมชอบในรสชาดของอาหารไทย ย่อมจะมีส่วนกระตุ้นความสนใจของชาวญี่ปุ่นโดยทั่วไปได้ดีกว่า ส่วนจะได้ผลตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ ต้องรอดูการประกาศเปิดตัวชมรมฯ ในระหว่างการจัดงาน Thai Foods Party 2006 ในเร็วๆ นี้
นอกจากการเชิญชวนให้ชาวญี่ปุ่นร่วมเป็นสมาชิกในชมรมคนรักอาหารไทยแล้ว ทีมประเทศไทยฯ ยังมีพันธมิตรเป็นสื่อมวลชนชาวญี่ปุ่นทั้งสายบันเทิงและสายอาหารในเขตคันไซ รวมทั้ง The Japan Food Journal นิตยสารด้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในเขตคันไซ ซึ่งได้ตีพิมพ์ประชาสัมพันธ์การจัดเทศกาลไทยและครัวไทยสู่ครัวญี่ปุ่นในทั้ง 3 เมืองของญี่ปุ่น รวมทั้งการเปิดสอนหลักสูตรการทำอาหารไทยอย่างแพร่หลายอีกด้วย
และยังมีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆ ในเขตคันไซได้ให้ความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์การจัดงานเทศกาลอาหารไทยโดยทยอยตีพิมพ์ข่าวและคำสัมภาษณ์ของกงสุลใหญ่สุพจน์ฯ เกี่ยวกับข้าวไทยและข้าวญี่ปุ่นโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ทั้งนี้ กงสุลใหญ่สุพจน์ฯ ได้เชิญชวนให้คนญี่ปุ่นบริโภคข้าวหอมมะลิไทยมากขึ้น เช่นเดียวกับที่คนไทยนิยมรับประทานซุชิที่ทำด้วยข้าวญี่ปุ่น และว่าปัจจุบันข้าวหอมมะลิค่อยๆ เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในหมู่ชาวญี่ปุ่น เนื่องจากมีรสชาดและคุณภาพดีได้รับความนิยมในหมู่ชาวยุโรป อเมริกา และเอเชีย แต่ทั้งข้าวไทยและข้าวญี่ปุ่นนั้นต่างก็ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วยกันทั้งนั้น จึงเปรียบเสมือนของดำรงอยู่คู่กัน และหวังว่าชาวญี่ปุ่นจะนำข้าวหอมมะลิไทยไปปรับปรุงให้เข้ากับอาหารญี่ปุ่นมากขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-