แท็ก
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2549 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 171 ราย มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 156 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.6 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 3,030.83 ล้านบาทและมีการเลิกจ้างงานจำนวน 4,470 คน มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,330.95 ล้านบาทและเลิกจ้างงานจำนวน 2,983 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2548 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 195 ราย คิดเป็นร้อยละ —12.3 โดยในส่วนการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนมีนาคม 2548 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,012 คน และในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนมีนาคม 2548 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 669.67 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2549 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 23 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 15 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2549 คืออุตสาหกรรมผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ เส้นใยสังเคราะห์ มิใช่ใยแก้ว เงินทุน 1,295 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ท่อ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่าง ๆ เงินทุน 388 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมีนาคม 2549
คือ อุตสาหกรรมผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ เส้นใยสังเคราะห์ มิใช่ใยแก้ว คนงาน 1,321 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตรองเท้าหรือชิ้นส่วนรองเท้า ซึ่งมิได้ทำจากไม้ ยางอบแข็ง พลาสติก คนงาน 358 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมีนาคม 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2549 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 120 โครงการ มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ที่มีจำนวน 102 โครงการ ร้อยละ 17.6 และมีเงินลงทุน 77,200 ล้านบาท มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ที่มีเงินลงทุน 12,600 ล้านบาทร้อยละ 512.7
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมีนาคม 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนมีนาคม 2548 ที่มีจำนวน 114 โครงการ ร้อยละ 5.3 และมีเงินลงทุนมากกว่าเดือนมีนาคม 2548 ที่มีเงินลงทุน 29,100 ล้านบาท ร้อยละ 165.3
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.2549
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 115 21,200
2.โครงการต่างชาติ 100% 93 17,900
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 121 66,900
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.2549 คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติกมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 55,700 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 15,500 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2548 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 195 ราย คิดเป็นร้อยละ —12.3 โดยในส่วนการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนมีนาคม 2548 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,012 คน และในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนมีนาคม 2548 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 669.67 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2549 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 23 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 15 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2549 คืออุตสาหกรรมผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ เส้นใยสังเคราะห์ มิใช่ใยแก้ว เงินทุน 1,295 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ท่อ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่าง ๆ เงินทุน 388 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมีนาคม 2549
คือ อุตสาหกรรมผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ เส้นใยสังเคราะห์ มิใช่ใยแก้ว คนงาน 1,321 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตรองเท้าหรือชิ้นส่วนรองเท้า ซึ่งมิได้ทำจากไม้ ยางอบแข็ง พลาสติก คนงาน 358 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมีนาคม 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2549 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 120 โครงการ มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ที่มีจำนวน 102 โครงการ ร้อยละ 17.6 และมีเงินลงทุน 77,200 ล้านบาท มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ที่มีเงินลงทุน 12,600 ล้านบาทร้อยละ 512.7
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมีนาคม 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนมีนาคม 2548 ที่มีจำนวน 114 โครงการ ร้อยละ 5.3 และมีเงินลงทุนมากกว่าเดือนมีนาคม 2548 ที่มีเงินลงทุน 29,100 ล้านบาท ร้อยละ 165.3
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.2549
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 115 21,200
2.โครงการต่างชาติ 100% 93 17,900
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 121 66,900
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.2549 คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติกมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 55,700 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 15,500 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-