สศอ.ลุยถกอนาคตอุตฯยานยนต์อาเซียน-ญี่ปุ่น ชี้การรวมกลุ่ม ASEAN+6 จะเกิดตลาดยานยนต์ ขนาด 17.3 ล้านคันต่อปี เผยวิสัยทัศน์นี้เป็นไปได้สูง หากสมาชิกอาเซียนหนุนจะได้ประโยชน์ถ้วนหน้า
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยหลังจากเข้าร่วมการประชุม AMEICC Working Group on Automotive Industry ครั้งที่ 9 เมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่า การประชุม AMEICC หรือ AEM-METI Economic and Industrial Cooperation Committee เป็นเวทีการหารือร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์อาเซียน นอกจากนี้ยังเป็นการยกระดับความร่วมมือทางอุตสาหกรรมระหว่างญี่ปุ่นและกลุ่มอาเซียน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาความร่วมมือแก่ 4 ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (CLMV) ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม โดยในการประชุมครั้งนี้ Mr.Fujio Cho ประธานบริษัท Toyota Motor Corporation และประธาน Japan Automobile Manufacturers Association, Inc. (JAMA) ได้ร่วมประชุมด้วย
ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า การประชุม AMEICC ได้มีการอภิปรายร่วมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น ในหัวข้อเรื่อง ”Growing Economic Partnership in East Asia and the Direction of Cooperation between Japan and ASEAN Automobile Industry” ซึ่งเป็นการกล่าวถึงแนวคิดการจัดทำความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจการค้า (EPA) และเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกลุ่มอาเซียนกับประเทศที่มีศักยภาพจำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น โดยได้แสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมในประเด็น การรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคนี้ (ASEAN+6) จะก่อให้เกิดตลาดยานยนต์ที่มีขนาดใหญ่ถึง 17.3 ล้านคันต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของตลาดยานยนต์โลก
รวมทั้งได้เสนอแนวทางความร่วมมือในอุตสาหกรรมยานยนต์ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศญี่ปุ่น โดยการปรับโครงสร้างการผลิตในภูมิภาคอาเซียนและการพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งนี้ เพื่อให้อุตสาหกรรมยานยนต์ร่วมของอาเซียนและญี่ปุ่นสามารถแข่งขันได้ภายใต้กรอบการค้าเสรี
“ถือว่าการเข้าร่วมประชุม AMEICC ในครั้งนี้ได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดย สศอ.กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะตัวแทนจากประเทศไทยได้นำเสนอข้อมูลด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ที่ได้ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ไว้อย่างเป็นระบบ การรวมกลุ่ม ASEAN+ 6 จะก่อให้เกิดตลาดยานยนต์ขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในอนาคต โดยเฉพาะประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งคาดว่าช่วงปี 2549 -2550 จะมีการขยายตัวของตลาดในประเทศสูงกว่าร้อยละ 10 ต่อปี แต่ขณะเดียวกัน การรวมกลุ่ม จะส่งผลให้รถยนต์ราคาถูกจากประเทศจีนและอินเดีย เข้ามาตีตลาดอาเซียน สศอ.จึงได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ร่วมระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น ให้สามารถแข่งขันได้ในกรอบการค้าเสรีที่กำลังเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้นักลงทุนจากญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจในข้อเสนอดังกล่าว และมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันอย่างเปิดกว้าง หากสิ่งที่เสนอต่อที่ประชุมได้รับการผลักดันอย่างเป็นระบบ เชื่อแน่ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียนจะแข็งแกร่ง และเป็นตลาดหลักของโลกได้อย่างมั่นคง” ดร.อรรชกา กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยหลังจากเข้าร่วมการประชุม AMEICC Working Group on Automotive Industry ครั้งที่ 9 เมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่า การประชุม AMEICC หรือ AEM-METI Economic and Industrial Cooperation Committee เป็นเวทีการหารือร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์อาเซียน นอกจากนี้ยังเป็นการยกระดับความร่วมมือทางอุตสาหกรรมระหว่างญี่ปุ่นและกลุ่มอาเซียน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาความร่วมมือแก่ 4 ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (CLMV) ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม โดยในการประชุมครั้งนี้ Mr.Fujio Cho ประธานบริษัท Toyota Motor Corporation และประธาน Japan Automobile Manufacturers Association, Inc. (JAMA) ได้ร่วมประชุมด้วย
ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า การประชุม AMEICC ได้มีการอภิปรายร่วมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น ในหัวข้อเรื่อง ”Growing Economic Partnership in East Asia and the Direction of Cooperation between Japan and ASEAN Automobile Industry” ซึ่งเป็นการกล่าวถึงแนวคิดการจัดทำความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจการค้า (EPA) และเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกลุ่มอาเซียนกับประเทศที่มีศักยภาพจำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น โดยได้แสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมในประเด็น การรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคนี้ (ASEAN+6) จะก่อให้เกิดตลาดยานยนต์ที่มีขนาดใหญ่ถึง 17.3 ล้านคันต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของตลาดยานยนต์โลก
รวมทั้งได้เสนอแนวทางความร่วมมือในอุตสาหกรรมยานยนต์ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศญี่ปุ่น โดยการปรับโครงสร้างการผลิตในภูมิภาคอาเซียนและการพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งนี้ เพื่อให้อุตสาหกรรมยานยนต์ร่วมของอาเซียนและญี่ปุ่นสามารถแข่งขันได้ภายใต้กรอบการค้าเสรี
“ถือว่าการเข้าร่วมประชุม AMEICC ในครั้งนี้ได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดย สศอ.กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะตัวแทนจากประเทศไทยได้นำเสนอข้อมูลด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ที่ได้ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ไว้อย่างเป็นระบบ การรวมกลุ่ม ASEAN+ 6 จะก่อให้เกิดตลาดยานยนต์ขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในอนาคต โดยเฉพาะประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งคาดว่าช่วงปี 2549 -2550 จะมีการขยายตัวของตลาดในประเทศสูงกว่าร้อยละ 10 ต่อปี แต่ขณะเดียวกัน การรวมกลุ่ม จะส่งผลให้รถยนต์ราคาถูกจากประเทศจีนและอินเดีย เข้ามาตีตลาดอาเซียน สศอ.จึงได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ร่วมระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น ให้สามารถแข่งขันได้ในกรอบการค้าเสรีที่กำลังเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้นักลงทุนจากญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจในข้อเสนอดังกล่าว และมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันอย่างเปิดกว้าง หากสิ่งที่เสนอต่อที่ประชุมได้รับการผลักดันอย่างเป็นระบบ เชื่อแน่ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียนจะแข็งแกร่ง และเป็นตลาดหลักของโลกได้อย่างมั่นคง” ดร.อรรชกา กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-