นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยสถานการณ์การส่งออกข้าวในเดือนเมษายน 2548 ว่า สามารถส่งออกข้าวได้ 0.576 ล้านตันมูลค่า 180 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (6,922 ล้านบาท) ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.71 และ 3.73 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ไนจีเรีย เซเนกัล อิรัก แอฟริกาใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ แกมเบีย โตโก ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในช่วง มกราคม- เมษายน 2548 ได้ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 2.52 ล้านตัน มูลค่า 768 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(29,675 ล้านบาท) ปริมาณและมูลค่าลดลงจากระยะเดียวของปีก่อนร้อยละ 12.31และ 1.73 ตามลำดับ น้อยกว่าปริมาณผลผลิตที่ลดลงประมาณร้อยละ 20 - 30 และเป้าหมายการ ส่งออกลดลงร้อยละ 16 เป็นปริมาณ 8.5 ล้านตันในปี 2548 โดยข้าวที่ส่งออกดังกล่าวเป็นข้าวหอมมะลิไทย 0.67 ล้านตัน มูลค่า 257 ล้านเหรียญสหรัฐฯ( 10,232 ล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27 และ 34 ของปริมาณและมูลค่าการส่งออกทั้งหมดตามลำดับ โดยราคาข้าวส่งออกเฉลี่ยในปี 2548(ม.ค.- เม.ย. 48 ) อยู่ที่ระดับตันละ 313 เหรียญสหรัฐฯ สูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อนที่ระดับตันละ 271 เหรียญสหรัฐฯ หรือสูงขึ้นร้อยละ 15.5
การที่ราคาข้าวในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการรัฐบาลประกาศยกระดับราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปรังให้สูงขึ้นอีก ทำให้ตลาดมีความมั่นใจในเสถียรภาพราคาและคาดว่าราคา ข้าวจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณข้าวเข้าสู่ตลาดมีค่อนข้างน้อย ราคาข้าวส่งออกของไทยได้ปรับตัวสูงขึ้นมาเป็นลำดับ และมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะข้าวขาว ทำให้คำสั่งซื้อข้าวขาวมีเพิ่มเติมเข้ามาเข้ามากไม่มากนัก อย่างไรก็ดี จากความต้องการข้าวนึ่งของตลาดแอฟริกาซึ่งยังคงต้องพึ่งพาแหล่งข้าวนึ่งจากไทยเป็นหลัก ได้มีคำสั่งซื้อเพิ่มเติมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้การส่งออกในช่วงปลายเดือนเมษายน 2548 กระเตื้องขึ้น สำหรับในส่วนของข้าวหอมมะลิไทยความต้องการในช่วงนี้มีเพิ่มเติมเข้ามาไม่มากนัก โดยข้าวหอมมะลิไทย 100 % ชั้น 2 มีราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 424 เหรียญสหรัฐฯลดลงจากเดือนก่อนตันละ 20 เหรียญสหรัฐฯ และข้าวขาว 100 % ชั้น 2 มีราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 305 เหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตันละ 7 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิมีราคาเฉลี่ยตันละ 8,106 บาทใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่วนข้าวเปลือกเจ้าความชื้นไม่เกิน 15 % มีราคาตันละ 6,900 บาทเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตันละ 500 บาท
จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิมีรายได้สูงขึ้น จำเป็นจะต้องสร้างแบรนด์ข้าวหอมมะลิไทยเพื่อยกระดับข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้ามีคุณภาพสูง และมี ราคาแพง...ราคาแพง โดยกรมการค้าต่างประเทศจะร่วมมือกับผู้ประกอบการในจังหวัดที่ปลูกข้าวหอมมะลิไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งเกษตรกร โรงสี และกลุ่มสหกรณ์ และหน่วยราชการระดับจังหวัดสร้างสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และแบรนด์ระดับบริษัทเป็นของตนเอง โดยจะจัดผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ไปให้การอบรมแก่ผู้ประกอบการที่สนใจจนสามารถพัฒนาและสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง จัดสัมมนาข้าวหอมมะลิไทยในภาคอีสานพร้อมนี้ยังมีแผนที่จะจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์แบรนด์ข้าวหอมมะลิไทยทั้งในและต่างประเทศ โดยจัดทำวัสดุสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้าคุณภาพสูง มีราคาแพง และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีรายได้สูง โดยจะมีการประชุมร่วมกันเพื่อเปิดโครงการวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 นี้ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด และจะมีการจัดฝึกอบรมเป็นรายจังหวัดหลังจากนั้น
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
การที่ราคาข้าวในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการรัฐบาลประกาศยกระดับราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปรังให้สูงขึ้นอีก ทำให้ตลาดมีความมั่นใจในเสถียรภาพราคาและคาดว่าราคา ข้าวจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณข้าวเข้าสู่ตลาดมีค่อนข้างน้อย ราคาข้าวส่งออกของไทยได้ปรับตัวสูงขึ้นมาเป็นลำดับ และมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะข้าวขาว ทำให้คำสั่งซื้อข้าวขาวมีเพิ่มเติมเข้ามาเข้ามากไม่มากนัก อย่างไรก็ดี จากความต้องการข้าวนึ่งของตลาดแอฟริกาซึ่งยังคงต้องพึ่งพาแหล่งข้าวนึ่งจากไทยเป็นหลัก ได้มีคำสั่งซื้อเพิ่มเติมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้การส่งออกในช่วงปลายเดือนเมษายน 2548 กระเตื้องขึ้น สำหรับในส่วนของข้าวหอมมะลิไทยความต้องการในช่วงนี้มีเพิ่มเติมเข้ามาไม่มากนัก โดยข้าวหอมมะลิไทย 100 % ชั้น 2 มีราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 424 เหรียญสหรัฐฯลดลงจากเดือนก่อนตันละ 20 เหรียญสหรัฐฯ และข้าวขาว 100 % ชั้น 2 มีราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 305 เหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตันละ 7 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิมีราคาเฉลี่ยตันละ 8,106 บาทใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่วนข้าวเปลือกเจ้าความชื้นไม่เกิน 15 % มีราคาตันละ 6,900 บาทเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตันละ 500 บาท
จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิมีรายได้สูงขึ้น จำเป็นจะต้องสร้างแบรนด์ข้าวหอมมะลิไทยเพื่อยกระดับข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้ามีคุณภาพสูง และมี ราคาแพง...ราคาแพง โดยกรมการค้าต่างประเทศจะร่วมมือกับผู้ประกอบการในจังหวัดที่ปลูกข้าวหอมมะลิไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งเกษตรกร โรงสี และกลุ่มสหกรณ์ และหน่วยราชการระดับจังหวัดสร้างสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และแบรนด์ระดับบริษัทเป็นของตนเอง โดยจะจัดผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ไปให้การอบรมแก่ผู้ประกอบการที่สนใจจนสามารถพัฒนาและสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง จัดสัมมนาข้าวหอมมะลิไทยในภาคอีสานพร้อมนี้ยังมีแผนที่จะจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์แบรนด์ข้าวหอมมะลิไทยทั้งในและต่างประเทศ โดยจัดทำวัสดุสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้าคุณภาพสูง มีราคาแพง และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีรายได้สูง โดยจะมีการประชุมร่วมกันเพื่อเปิดโครงการวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 นี้ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด และจะมีการจัดฝึกอบรมเป็นรายจังหวัดหลังจากนั้น
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-