ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เร่งสร้างกลยุทธ์ส่งเสริมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทดแทนเช็คและเงินสด นางสว่างจิตต์ จัยวัฒน์
รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาระบบชำระเงินประจำปี 48 เรื่อง
กลยุทธ์ส่งเสริมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทดแทนเช็คและเงินสดว่า กลยุทธ์ดังกล่าว เป็นเป้าหมายสำคัญที่จะช่วยพัฒนา
ระบบชำระเงินในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเงินสดและเช็คมีบทบาทสำคัญในฐานะสื่อกลางของ
การโอนเงินและการชำระเงินในประเทศในระดับที่สูงมาก ดังนั้น ธปท.จึงได้ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ทำการวิจัยโครงการวางแผนกลยุทธ์การใช้สื่อการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ทดแทนการใช้
เงินสดและเช็ค เพื่อนำมาวางแผนและผลักดันให้มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น ด้าน ผอส.ฝ่ายระบบการชำระ
เงิน เปิดเผยว่า ภายในต้นปี 49 ธพ.จะประกาศขึ้นค่าธรรมเนียมการใช้เช็ค จากปัจจุบันอยู่ที่ 5 บาทต่อฉบับ เพื่อ
ลดการใช้เช็คให้น้อยลง ขณะเดียวกันก็จะมีการลดค่าธรรมเนียมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ในส่วนของบัตรเอทีเอ็มจะมี
การลดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินระหว่างธนาคารอีกเล็กน้อยจากปัจจุบันที่ ธพ.คิดค่าธรรมเนียมการโอนต่อ
รายการ 35 บาท นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาระบบใหม่ที่เรียกว่า ITMX ในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.49 ซึ่งเป็นการ
พัฒนาจากระบบ ATM POOL เดิม เช่น การโอนเงินเดือน ซึ่งปัจจุบันต้องมีการเปิดบัญชีของธนาคารที่จะโอนเข้า
เป็นสามารถเปิดบัญชีกับธนาคารใดก็ได้ สำหรับก้าวต่อไปของการพัฒนาระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการโอนเงินข้าม
ประเทศ จะมีการใช้บัตรเอทีเอ็มโอนเงินข้ามประเทศระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน (Asian Pay) โดยใน
ระยะแรกจะดำเนินการ 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย สำหรับประเทศแรกที่ไทยจะ
เริ่มทดลองในต้นปีหน้าคือ มาเลเซีย (โลกวันนี้, ไทยโพสต์)
2. ผลการสำรวจการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 เพิ่มขึ้น 10.9% จากปีก่อน
ประธานคณะจัดทำการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจพฤติกรรม
การใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 จำนวน 1,300 คนทั่วประเทศ ซึ่งมีรายได้ตั้งแต่ 5,000 บาท
ขึ้นไป พบว่าจะมีการนำเงินเดือนและเงินออมออกมาใช้จ่าย ซึ่งจะทำให้มีเงินหมุนเวียนประมาณ 66,184.87 ล.
บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10.9% ทั้งนี้ ประชาชนที่อายุ 20-29 ปี จะมียอดใช้จ่ายเงินมากกว่าวัยอื่นๆ รองลงมาคือ
อายุ 30-39 ปี 40-49 ปี และ 50-59 ปี ขณะที่อายุ 64 ปีขึ้นไปจะใช้จ่ายต่ำสุด สำหรับพฤติกรรมการใช้จ่ายพบ
ว่า จะมีการใช้จ่ายเพื่อตนเอง 50.1% ส่วนอีก 49.9% ใช้จ่ายเพื่อคนอื่น นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า
ประชาชนในกรุงเทพฯ จะมีการใช้จ่ายในช่วงปีใหม่เพิ่มขึ้น 39.1% ขณะที่ประชาชนในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น 8.8%
แสดงให้เห็นว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวนั้น ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนกรุงเทพฯ มากกว่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่า
ภาพรวมการใช้จ่ายเงินจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แต่ผู้บริโภคยังมีความวิตกกังวลในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจ
(โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
3. เวิลด์แบงก์ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 48 จะขยายตัว 4.2% ผู้อำนวยการธนาคารโลก
(เวิลด์แบงก์) สำนักงานกรุงเทพฯ กล่าวว่า ในปี 48 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 4.2% แม้ว่าจะมีปัญหาต่างๆ รุมเร้า
ทั้งจากราคาน้ำมัน ไข้หวัดนก และสึนามิ และคาดว่าในปี 49 จะเริ่มขยายตัวดีขึ้นที่ 5% เนื่องจากเศรษฐกิจจีนยังคง
ขยายตัวดีและส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวตามไปด้วย นอกจากนี้ เห็นว่าขณะนี้ไทยมีศักยภาพในการลงทุนมาก
หากมีการเร่งสร้างบรรยากาศการลงทุน โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎระเบียบเงื่อนไขต่างๆ รวมทั้งภาษี และการ
พัฒนาฝีมือแรงงาน น่าจะผลักดันให้เกิดการลงทุนมากขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
4. บีโอไอกำหนดเป้าหมายการขอรับการส่งเสริมการลงทุนปี 49 ไม่ต่ำกว่า 7.5 แสน ล.บาท
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ในปี 49 บีโอไอให้ความสำคัญกับการ
ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่เป็นลักษณะการสร้างมูลค่าเพิ่มทางความรู้ สำหรับประเภทกิจการ
เป้าหมายที่บีโอไอจะให้ความสำคัญประกอบด้วย 1) กิจการที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเกษตรแปรรูป 2) กิจการที่
ต่อยอดจากอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งล่าสุดบีโอไอปรับสิทธิประโยชน์ใหม่และ ก.คลังปรับลดภาษีอากร
ให้แล้ว ซึ่งจะมีส่วนดึงดูดการลงทุนในปี 49 อย่างมาก 3) กิจการที่ต่อยอดจากอุตสาหกรรมยานยนต์ 4) กิจการที่
ต่อยอดจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และ 5) กิจการประเภทการบริการ โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้มีการขอรับ
การส่งเสริมการลงทุนไม่ต่ำกว่า 7.5 แสน ล.บาท (ข่าวสด)
5. คาดว่าธุรกิจเอสเอ็มอีในปี 49 จะขยายตัวไม่ถึง 10% ตามเป้าหมาย ผอ.สำนักงานส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ภาพรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็ม
อี) ในปี 48 อยู่ในภาวะที่ชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องรอให้การสนับสนุนจากภาครัฐ
เกิดผลสัมฤทธิ์ก่อน นอกจากนี้เอสเอ็มอียังประสบปัญหาด้านการเงินที่ยังคงเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพี
แอล) ทำให้ไม่สามารถกู้เพื่อขยายธุรกิจ ซึ่งสถาบันการเงินมักจะเร่งแก้ปัญหาเอ็นพีแอลกับผู้ประกอบการรายใหญ่
เป็นหลัก นอกจากนี้ ผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ เช่น ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย ทำให้คาดว่า ในปี 49 อัตราการ
เติบโตของเอสเอ็มอีจะไม่ถึง 10% ตามที่กำหนดเป้าหมายไว้ (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ทุนสำรองระหว่างประเทศของโลกในไตรมาสที่ 3 อยู่ในระดับสูงสุดถึง 4 ล้าน ล้าน ดอลลาร์
สรอ. รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 48 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่าทุน
สำรองทางการของโลกในไตรมาสที่ 3 ปีนี้อยู่ในระดับสูงสุดถึง 4.041 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อน 95 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และอยู่ในระดับสูงสุดเป็นครั้งแรก และเมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว ทุนสำรองระหว่างประเทศดังกล่าวเพิ่มขึ้น 599 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 17 จากไตรมาสที่ 3 ปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าจากที่เคยทำสถิติสูงสุดที่ระดับ 1.881 ล้าน
ล้าน ดอลลาร์ สรอ. เมื่อไตรมาสที่ 3 ปี 43 ทั้งนี้ IMF กล่าวว่าการปรับข้อมูลเงินทุนสำรองให้ทันสมัยบ่อยขึ้น
เป็นความพยายามเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการ และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวของระบบการเงิน
ระหว่างประเทศ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจสรอ. ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวน้อยกว่าไตรมาสก่อน แต่ยังคงดีที่สุดนับตั้งแต่
ไตรมาสแรก ปี 47 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 48 รัฐบาลสรอ. คาดว่า ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้
เศรษฐกิจขยายตัวน้อยกว่าไตรมาสก่อนเล็กน้อย เนื่องจากสินค้ามีราคาสูงขึ้น และผู้บริโภคเริ่มลดการใช้จ่ายลง ทั้ง
นี้คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จะขยายตัวร้อย
ละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ต่ำกว่าร้อยละ 4.3 ที่ ก.พาณิชย์คาดไว้เมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนหนึ่งเนื่องจากยอด
การขายรถใหม่ลดลง และการลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยน้อยกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตามการขยายตัว
ของ GDPในไตรมาสที่ 3 ก็ยังคงดีที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 47 ที่ GDP ขยายตัวร้อยละ 4.3 อย่างไรก็ตาม
ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังคงแข็งแกร่ง นักวิเคราะห์หลายคนให้ความเห็นว่า GDP ในไตรมาสที่ 4 ยังจะคงขยาย
ตัวในระดับนี้(รอยเตอร์)
3. ผลสำรวจการค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.48
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 21 ธ.ค.48 ดัชนีชี้วัดการค้าปลีกของอังกฤษจากผลสำรวจโดยสภาหอการค้าของอังกฤษ
เพิ่มขึ้นมา 35 คะแนนมาอยู่ที่ระดับ 0 ในเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.48 และสูงกว่าที่ผู้ค้า
ปลีกและนักวิเคราะห์คาดไว้ แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะอยู่ระดับต่ำเมื่อเทียบกับในอดีต แต่ก็เป็นสัญญาณว่าการใช้จ่าย
ของผู้บริโภคกำลังฟื้นตัวหลังจากยอดค้าปลีกลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้เป็นผลจาก
การแข่งขันกันลดราคาสินค้าของร้านค้าในช่วงใกล้เทศกาลคริสต์มาส โดยสินค้าที่มียอดขายเพิ่มขึ้นมากคือของชำ
รองเท้าและเสื้อผ้าซึ่งเป็นผลจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าปีก่อน อย่างไรก็ดีผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่ยังคงคาดว่ายอดค้า
ปลีกในเดือนหน้าจะลดลง โดยดัชนีชี้วัดความคาดหวังอยู่ที่ระดับ — 9 ซึ่งยังคงเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.48 (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 22 ธ.ค.48
ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้น 16.6 จากเดือนก่อน
สูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่ายอดส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 และยอดนำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 จาก
เดือนก่อน โดยเป็นผลจากยอดส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เช่นเซมิคอนดัคเตอร์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9
และ 17.6 ตามลำดับ ยอดส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าในเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 มี
จำนวน 600.6 พันล้านเยนหรือประมาณ 5.12 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน แม้
ว่าจะต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 แต่นักวิเคราะห์มีความเห็นว่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นทั้งการส่งออก
และนำเข้าแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัว โดยตัวเลขการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าความต้องการ
ในประเทศกำลังฟื้นตัว ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีชี้วัดอุตสาหกรรมภาคบริการที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือน ต.ค.48 มา
อยู่ที่ระดับ 107.8 สูงสุดนับตั้งแต่ปี 41 โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวหลังปรับตัวเลขด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้วในอัตรา
ร้อยละ 0.2 ในช่วงเดือน ก.ค.- ก.ย.48 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ธ.ค. 48 21 ธ.ค.48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.936 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7326/41.0377 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.06484 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 698.43/ 16.15 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,600/9,700 9,500/9,600 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.76 51.79 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 15 ธ.ค. 48 25.64*/23.09* 25.64*/23.09* 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เร่งสร้างกลยุทธ์ส่งเสริมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทดแทนเช็คและเงินสด นางสว่างจิตต์ จัยวัฒน์
รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาระบบชำระเงินประจำปี 48 เรื่อง
กลยุทธ์ส่งเสริมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทดแทนเช็คและเงินสดว่า กลยุทธ์ดังกล่าว เป็นเป้าหมายสำคัญที่จะช่วยพัฒนา
ระบบชำระเงินในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเงินสดและเช็คมีบทบาทสำคัญในฐานะสื่อกลางของ
การโอนเงินและการชำระเงินในประเทศในระดับที่สูงมาก ดังนั้น ธปท.จึงได้ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ทำการวิจัยโครงการวางแผนกลยุทธ์การใช้สื่อการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ทดแทนการใช้
เงินสดและเช็ค เพื่อนำมาวางแผนและผลักดันให้มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น ด้าน ผอส.ฝ่ายระบบการชำระ
เงิน เปิดเผยว่า ภายในต้นปี 49 ธพ.จะประกาศขึ้นค่าธรรมเนียมการใช้เช็ค จากปัจจุบันอยู่ที่ 5 บาทต่อฉบับ เพื่อ
ลดการใช้เช็คให้น้อยลง ขณะเดียวกันก็จะมีการลดค่าธรรมเนียมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ในส่วนของบัตรเอทีเอ็มจะมี
การลดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินระหว่างธนาคารอีกเล็กน้อยจากปัจจุบันที่ ธพ.คิดค่าธรรมเนียมการโอนต่อ
รายการ 35 บาท นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาระบบใหม่ที่เรียกว่า ITMX ในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.49 ซึ่งเป็นการ
พัฒนาจากระบบ ATM POOL เดิม เช่น การโอนเงินเดือน ซึ่งปัจจุบันต้องมีการเปิดบัญชีของธนาคารที่จะโอนเข้า
เป็นสามารถเปิดบัญชีกับธนาคารใดก็ได้ สำหรับก้าวต่อไปของการพัฒนาระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการโอนเงินข้าม
ประเทศ จะมีการใช้บัตรเอทีเอ็มโอนเงินข้ามประเทศระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน (Asian Pay) โดยใน
ระยะแรกจะดำเนินการ 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย สำหรับประเทศแรกที่ไทยจะ
เริ่มทดลองในต้นปีหน้าคือ มาเลเซีย (โลกวันนี้, ไทยโพสต์)
2. ผลการสำรวจการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 เพิ่มขึ้น 10.9% จากปีก่อน
ประธานคณะจัดทำการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจพฤติกรรม
การใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 จำนวน 1,300 คนทั่วประเทศ ซึ่งมีรายได้ตั้งแต่ 5,000 บาท
ขึ้นไป พบว่าจะมีการนำเงินเดือนและเงินออมออกมาใช้จ่าย ซึ่งจะทำให้มีเงินหมุนเวียนประมาณ 66,184.87 ล.
บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10.9% ทั้งนี้ ประชาชนที่อายุ 20-29 ปี จะมียอดใช้จ่ายเงินมากกว่าวัยอื่นๆ รองลงมาคือ
อายุ 30-39 ปี 40-49 ปี และ 50-59 ปี ขณะที่อายุ 64 ปีขึ้นไปจะใช้จ่ายต่ำสุด สำหรับพฤติกรรมการใช้จ่ายพบ
ว่า จะมีการใช้จ่ายเพื่อตนเอง 50.1% ส่วนอีก 49.9% ใช้จ่ายเพื่อคนอื่น นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า
ประชาชนในกรุงเทพฯ จะมีการใช้จ่ายในช่วงปีใหม่เพิ่มขึ้น 39.1% ขณะที่ประชาชนในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น 8.8%
แสดงให้เห็นว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวนั้น ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนกรุงเทพฯ มากกว่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่า
ภาพรวมการใช้จ่ายเงินจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แต่ผู้บริโภคยังมีความวิตกกังวลในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจ
(โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
3. เวิลด์แบงก์ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 48 จะขยายตัว 4.2% ผู้อำนวยการธนาคารโลก
(เวิลด์แบงก์) สำนักงานกรุงเทพฯ กล่าวว่า ในปี 48 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 4.2% แม้ว่าจะมีปัญหาต่างๆ รุมเร้า
ทั้งจากราคาน้ำมัน ไข้หวัดนก และสึนามิ และคาดว่าในปี 49 จะเริ่มขยายตัวดีขึ้นที่ 5% เนื่องจากเศรษฐกิจจีนยังคง
ขยายตัวดีและส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวตามไปด้วย นอกจากนี้ เห็นว่าขณะนี้ไทยมีศักยภาพในการลงทุนมาก
หากมีการเร่งสร้างบรรยากาศการลงทุน โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎระเบียบเงื่อนไขต่างๆ รวมทั้งภาษี และการ
พัฒนาฝีมือแรงงาน น่าจะผลักดันให้เกิดการลงทุนมากขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
4. บีโอไอกำหนดเป้าหมายการขอรับการส่งเสริมการลงทุนปี 49 ไม่ต่ำกว่า 7.5 แสน ล.บาท
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ในปี 49 บีโอไอให้ความสำคัญกับการ
ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่เป็นลักษณะการสร้างมูลค่าเพิ่มทางความรู้ สำหรับประเภทกิจการ
เป้าหมายที่บีโอไอจะให้ความสำคัญประกอบด้วย 1) กิจการที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเกษตรแปรรูป 2) กิจการที่
ต่อยอดจากอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งล่าสุดบีโอไอปรับสิทธิประโยชน์ใหม่และ ก.คลังปรับลดภาษีอากร
ให้แล้ว ซึ่งจะมีส่วนดึงดูดการลงทุนในปี 49 อย่างมาก 3) กิจการที่ต่อยอดจากอุตสาหกรรมยานยนต์ 4) กิจการที่
ต่อยอดจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และ 5) กิจการประเภทการบริการ โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้มีการขอรับ
การส่งเสริมการลงทุนไม่ต่ำกว่า 7.5 แสน ล.บาท (ข่าวสด)
5. คาดว่าธุรกิจเอสเอ็มอีในปี 49 จะขยายตัวไม่ถึง 10% ตามเป้าหมาย ผอ.สำนักงานส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ภาพรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็ม
อี) ในปี 48 อยู่ในภาวะที่ชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องรอให้การสนับสนุนจากภาครัฐ
เกิดผลสัมฤทธิ์ก่อน นอกจากนี้เอสเอ็มอียังประสบปัญหาด้านการเงินที่ยังคงเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพี
แอล) ทำให้ไม่สามารถกู้เพื่อขยายธุรกิจ ซึ่งสถาบันการเงินมักจะเร่งแก้ปัญหาเอ็นพีแอลกับผู้ประกอบการรายใหญ่
เป็นหลัก นอกจากนี้ ผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ เช่น ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย ทำให้คาดว่า ในปี 49 อัตราการ
เติบโตของเอสเอ็มอีจะไม่ถึง 10% ตามที่กำหนดเป้าหมายไว้ (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ทุนสำรองระหว่างประเทศของโลกในไตรมาสที่ 3 อยู่ในระดับสูงสุดถึง 4 ล้าน ล้าน ดอลลาร์
สรอ. รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 48 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่าทุน
สำรองทางการของโลกในไตรมาสที่ 3 ปีนี้อยู่ในระดับสูงสุดถึง 4.041 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อน 95 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และอยู่ในระดับสูงสุดเป็นครั้งแรก และเมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว ทุนสำรองระหว่างประเทศดังกล่าวเพิ่มขึ้น 599 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 17 จากไตรมาสที่ 3 ปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าจากที่เคยทำสถิติสูงสุดที่ระดับ 1.881 ล้าน
ล้าน ดอลลาร์ สรอ. เมื่อไตรมาสที่ 3 ปี 43 ทั้งนี้ IMF กล่าวว่าการปรับข้อมูลเงินทุนสำรองให้ทันสมัยบ่อยขึ้น
เป็นความพยายามเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการ และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวของระบบการเงิน
ระหว่างประเทศ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจสรอ. ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวน้อยกว่าไตรมาสก่อน แต่ยังคงดีที่สุดนับตั้งแต่
ไตรมาสแรก ปี 47 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 48 รัฐบาลสรอ. คาดว่า ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้
เศรษฐกิจขยายตัวน้อยกว่าไตรมาสก่อนเล็กน้อย เนื่องจากสินค้ามีราคาสูงขึ้น และผู้บริโภคเริ่มลดการใช้จ่ายลง ทั้ง
นี้คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จะขยายตัวร้อย
ละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ต่ำกว่าร้อยละ 4.3 ที่ ก.พาณิชย์คาดไว้เมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนหนึ่งเนื่องจากยอด
การขายรถใหม่ลดลง และการลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยน้อยกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตามการขยายตัว
ของ GDPในไตรมาสที่ 3 ก็ยังคงดีที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 47 ที่ GDP ขยายตัวร้อยละ 4.3 อย่างไรก็ตาม
ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังคงแข็งแกร่ง นักวิเคราะห์หลายคนให้ความเห็นว่า GDP ในไตรมาสที่ 4 ยังจะคงขยาย
ตัวในระดับนี้(รอยเตอร์)
3. ผลสำรวจการค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.48
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 21 ธ.ค.48 ดัชนีชี้วัดการค้าปลีกของอังกฤษจากผลสำรวจโดยสภาหอการค้าของอังกฤษ
เพิ่มขึ้นมา 35 คะแนนมาอยู่ที่ระดับ 0 ในเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.48 และสูงกว่าที่ผู้ค้า
ปลีกและนักวิเคราะห์คาดไว้ แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะอยู่ระดับต่ำเมื่อเทียบกับในอดีต แต่ก็เป็นสัญญาณว่าการใช้จ่าย
ของผู้บริโภคกำลังฟื้นตัวหลังจากยอดค้าปลีกลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้เป็นผลจาก
การแข่งขันกันลดราคาสินค้าของร้านค้าในช่วงใกล้เทศกาลคริสต์มาส โดยสินค้าที่มียอดขายเพิ่มขึ้นมากคือของชำ
รองเท้าและเสื้อผ้าซึ่งเป็นผลจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าปีก่อน อย่างไรก็ดีผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่ยังคงคาดว่ายอดค้า
ปลีกในเดือนหน้าจะลดลง โดยดัชนีชี้วัดความคาดหวังอยู่ที่ระดับ — 9 ซึ่งยังคงเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.48 (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 22 ธ.ค.48
ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้น 16.6 จากเดือนก่อน
สูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่ายอดส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 และยอดนำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 จาก
เดือนก่อน โดยเป็นผลจากยอดส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เช่นเซมิคอนดัคเตอร์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9
และ 17.6 ตามลำดับ ยอดส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าในเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 มี
จำนวน 600.6 พันล้านเยนหรือประมาณ 5.12 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน แม้
ว่าจะต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 แต่นักวิเคราะห์มีความเห็นว่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นทั้งการส่งออก
และนำเข้าแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัว โดยตัวเลขการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าความต้องการ
ในประเทศกำลังฟื้นตัว ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีชี้วัดอุตสาหกรรมภาคบริการที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือน ต.ค.48 มา
อยู่ที่ระดับ 107.8 สูงสุดนับตั้งแต่ปี 41 โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวหลังปรับตัวเลขด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้วในอัตรา
ร้อยละ 0.2 ในช่วงเดือน ก.ค.- ก.ย.48 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ธ.ค. 48 21 ธ.ค.48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.936 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7326/41.0377 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.06484 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 698.43/ 16.15 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,600/9,700 9,500/9,600 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.76 51.79 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 15 ธ.ค. 48 25.64*/23.09* 25.64*/23.09* 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--