กรุงเทพ--30 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเข้าร่วมการประชุม International Conference on New or Restored Democracies (ICNRD) ครั้งที่ 6 ที่กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2549 ภายหลังการเยือนบาห์เรน ซึ่งหัวข้อหลักของการประชุมใน ปีนี้ คือ “Capacity Building for Democracy, Peace and Social Advancement”
การประชุม ICNRD เป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และประสบการณ์ในการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน ระหว่างภาครัฐ โดยเป็นการประชุมระหว่างภาครัฐโดยการสนับสนุนของสหประชาชาติ ซึ่งมีข้อมติสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) รองรับ
สำหรับการประชุม ICNRD ครั้งที่ 6 นี้ His Highness Sheikh Hamad bin Khalifa Al-Thani เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์จะเป็นประธานในพิธีเปิดในวันที่ 29 ตุลาคม 2549 ซึ่งเชิญผู้เข้าร่วมการประชุมจากทั้งภาครัฐบาล รัฐสภาและภาคประชาสังคม จากกว่า 100 ประเทศ โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจำนวนกว่า 33 ประเทศเข้าร่วม เช่น เบลเยียม อินเดีย เกาหลีใต้ เยเมน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัลจีเรีย มองโกเลีย บังเกเรีย มาลี ฯลฯ นอกจากการกล่าวถ้อยแถลงโดยเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์แล้ว จะมีการกล่าวถ้อยแถลงโดยนาย Enkhbold Nyamaa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมองโกเลีย ในฐานะอดีตประธาน ICNRD Sheikh Hamad Bin Jassim Bin Jabr Al-Thani รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกาตาร์ในฐานะประธานการประชุม ICNRD-6 เลขาธิการสหประชาชาติ ประธานสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ (Inter-Parliamentary Union- IPU) และผู้แทนภาคประชาสังคมด้วย
สำหรับไทย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะกล่าวถ้อยแถลงในช่วงการอภิปรายทั่วไปในวันแรกของการประชุมแยกของภาครัฐ คือ วันที่ 30 ตุลาคม 2549 โดยจะเน้นความสำคัญและความท้าทายของประชาธิปไตย ยืนยันความยึดมั่นของไทยต่อหลักการประชาธิปไตย รวมทั้งการที่ไทยเป็นสังคมเปิดซึ่งการเคารพเสรีภาพและสิทธิพื้นฐานถือเป็นเสาหลักของสังคมไทยมาโดยตลอด และความสำคัญของการมองการเปลี่ยนแปลงในไทยที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ในบริบทของวิวัฒนาการของประชาธิปไตยในไทยโดยรวม พร้อมทั้งจะใช้โอกาสดังกล่าวแจ้งพัฒนาการทางการเมืองในไทยนับตั้งแต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทยเมื่อ 19 กันยายน 2549 และแผนการดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองในอนาคตของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความเชื่อมั่นของประชาคมระหว่างประเทศต่อการเมืองการปกครองของไทย นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ จะยืนยันการสนับสนุนของไทยต่อกระบวนการ ICNRD และเน้นว่าประเทศที่ร่วมในขบวนการควรสนับสนุนซึ่งกันและกันในการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งไทยพร้อมจะมีส่วนร่วมในเรื่องนี้
อนึ่ง ที่ผ่านมา ไทยให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง กับประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งภายในกรอบ UN คือ ICNRD และนอกกรอบ UN คือ Ministerial Meeting of the Community of Democracies เพื่อแสดงถึงความสำคัญที่ไทยให้กับการพัฒนาประชาธิปไตยและเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนานาประเทศ
รูปแบบการประชุมแบ่งเป็นการประชุมเต็มคณะ ซึ่งเป็นการกล่าวถ้อยแถลงของหัวหน้าคณะผู้แทนเพื่อนำเสนอรายงานประเทศในการพัฒนาประชาธิปไตย และการหารือโต๊ะกลมแบบ interactive dialogue ใน 3 เรื่อง คือ (i) Democracy as a way to eliminate fear, inequality and poverty (ii) Democracy for Peace and Security (iii) Building National and Regional Capacity for Democracy” นอกจากนี้ มีการประชุมคู่ขนานคือ การประชุมระหว่างสมาชิกรัฐสภาในหัวข้อ “Dialogue, Tolerance and Freedom of Expression as the Cornerstone of Democracy” และการประชุมของภาคประชาสังคม
ICNRD มีการประชุมมาแล้ว 5 ครั้ง ที่ฟิลิปปินส์ในปี 2531 นิการากัวในปี 2537 โรมาเนียในปี 2540 เบนิน ในปี 2543 และครั้งล่าสุดคือ ที่มองโกเลีย ระหว่างวันที่ 10-12 กันยายน 2546 (หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้แก่ ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศในขณะนั้น)
ในการประชุม ICNRD ครั้งที่ 5 มีผู้แทนจาก 119 ประเทศ จำนวนกว่า 400 คน เข้าร่วม โดยประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ส่งผู้แทนเข้าร่วมคือ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ส่วนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่เข้าร่วมการประชุมและให้การสนับสนุนที่สำคัญ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา ไซปรัส เยอรมนี ญี่ปุ่น ลักเซมเบิร์ก นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ เกาหลีใต้ ตุรกี สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป นอกจากนั้น ในการประชุมดังกล่าวมีการจัดการประชุมคู่ขนานขึ้นเป็นครั้งแรก คือการประชุมของภาคประชาสังคม (Civil Society Forum) และการประชุมระหว่างสมาชิกรัฐสภา (Parliamentarians Forum)
นอกจากการเข้าร่วมประชุมฯ ดังกล่าวแล้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ยังมีกำหนดการหารือทวิภาคีกับรัฐบาลกาตาร์และหัวหน้าคณะผู้แทนระดับรัฐมนตรีตางๆ ที่เข้าร่วมการประชุม ICNRD-6 ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเข้าร่วมการประชุม International Conference on New or Restored Democracies (ICNRD) ครั้งที่ 6 ที่กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2549 ภายหลังการเยือนบาห์เรน ซึ่งหัวข้อหลักของการประชุมใน ปีนี้ คือ “Capacity Building for Democracy, Peace and Social Advancement”
การประชุม ICNRD เป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และประสบการณ์ในการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน ระหว่างภาครัฐ โดยเป็นการประชุมระหว่างภาครัฐโดยการสนับสนุนของสหประชาชาติ ซึ่งมีข้อมติสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) รองรับ
สำหรับการประชุม ICNRD ครั้งที่ 6 นี้ His Highness Sheikh Hamad bin Khalifa Al-Thani เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์จะเป็นประธานในพิธีเปิดในวันที่ 29 ตุลาคม 2549 ซึ่งเชิญผู้เข้าร่วมการประชุมจากทั้งภาครัฐบาล รัฐสภาและภาคประชาสังคม จากกว่า 100 ประเทศ โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจำนวนกว่า 33 ประเทศเข้าร่วม เช่น เบลเยียม อินเดีย เกาหลีใต้ เยเมน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัลจีเรีย มองโกเลีย บังเกเรีย มาลี ฯลฯ นอกจากการกล่าวถ้อยแถลงโดยเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์แล้ว จะมีการกล่าวถ้อยแถลงโดยนาย Enkhbold Nyamaa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมองโกเลีย ในฐานะอดีตประธาน ICNRD Sheikh Hamad Bin Jassim Bin Jabr Al-Thani รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกาตาร์ในฐานะประธานการประชุม ICNRD-6 เลขาธิการสหประชาชาติ ประธานสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ (Inter-Parliamentary Union- IPU) และผู้แทนภาคประชาสังคมด้วย
สำหรับไทย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะกล่าวถ้อยแถลงในช่วงการอภิปรายทั่วไปในวันแรกของการประชุมแยกของภาครัฐ คือ วันที่ 30 ตุลาคม 2549 โดยจะเน้นความสำคัญและความท้าทายของประชาธิปไตย ยืนยันความยึดมั่นของไทยต่อหลักการประชาธิปไตย รวมทั้งการที่ไทยเป็นสังคมเปิดซึ่งการเคารพเสรีภาพและสิทธิพื้นฐานถือเป็นเสาหลักของสังคมไทยมาโดยตลอด และความสำคัญของการมองการเปลี่ยนแปลงในไทยที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ในบริบทของวิวัฒนาการของประชาธิปไตยในไทยโดยรวม พร้อมทั้งจะใช้โอกาสดังกล่าวแจ้งพัฒนาการทางการเมืองในไทยนับตั้งแต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทยเมื่อ 19 กันยายน 2549 และแผนการดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองในอนาคตของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความเชื่อมั่นของประชาคมระหว่างประเทศต่อการเมืองการปกครองของไทย นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ จะยืนยันการสนับสนุนของไทยต่อกระบวนการ ICNRD และเน้นว่าประเทศที่ร่วมในขบวนการควรสนับสนุนซึ่งกันและกันในการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งไทยพร้อมจะมีส่วนร่วมในเรื่องนี้
อนึ่ง ที่ผ่านมา ไทยให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง กับประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งภายในกรอบ UN คือ ICNRD และนอกกรอบ UN คือ Ministerial Meeting of the Community of Democracies เพื่อแสดงถึงความสำคัญที่ไทยให้กับการพัฒนาประชาธิปไตยและเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนานาประเทศ
รูปแบบการประชุมแบ่งเป็นการประชุมเต็มคณะ ซึ่งเป็นการกล่าวถ้อยแถลงของหัวหน้าคณะผู้แทนเพื่อนำเสนอรายงานประเทศในการพัฒนาประชาธิปไตย และการหารือโต๊ะกลมแบบ interactive dialogue ใน 3 เรื่อง คือ (i) Democracy as a way to eliminate fear, inequality and poverty (ii) Democracy for Peace and Security (iii) Building National and Regional Capacity for Democracy” นอกจากนี้ มีการประชุมคู่ขนานคือ การประชุมระหว่างสมาชิกรัฐสภาในหัวข้อ “Dialogue, Tolerance and Freedom of Expression as the Cornerstone of Democracy” และการประชุมของภาคประชาสังคม
ICNRD มีการประชุมมาแล้ว 5 ครั้ง ที่ฟิลิปปินส์ในปี 2531 นิการากัวในปี 2537 โรมาเนียในปี 2540 เบนิน ในปี 2543 และครั้งล่าสุดคือ ที่มองโกเลีย ระหว่างวันที่ 10-12 กันยายน 2546 (หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้แก่ ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศในขณะนั้น)
ในการประชุม ICNRD ครั้งที่ 5 มีผู้แทนจาก 119 ประเทศ จำนวนกว่า 400 คน เข้าร่วม โดยประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ส่งผู้แทนเข้าร่วมคือ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ส่วนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่เข้าร่วมการประชุมและให้การสนับสนุนที่สำคัญ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา ไซปรัส เยอรมนี ญี่ปุ่น ลักเซมเบิร์ก นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ เกาหลีใต้ ตุรกี สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป นอกจากนั้น ในการประชุมดังกล่าวมีการจัดการประชุมคู่ขนานขึ้นเป็นครั้งแรก คือการประชุมของภาคประชาสังคม (Civil Society Forum) และการประชุมระหว่างสมาชิกรัฐสภา (Parliamentarians Forum)
นอกจากการเข้าร่วมประชุมฯ ดังกล่าวแล้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ยังมีกำหนดการหารือทวิภาคีกับรัฐบาลกาตาร์และหัวหน้าคณะผู้แทนระดับรัฐมนตรีตางๆ ที่เข้าร่วมการประชุม ICNRD-6 ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-