แท็ก
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
กระทรวงการคลัง
ทนง พิทยะ
รัฐมนตรี
nikkei
SME
นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงการเข้าร่วมสัมมนาระดับนานาชาติเรื่อง “The Future of Asia” ครั้งที่ 12 ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ NIHON KEIZAI SHIMBUN, INC. (NIKKEI) และการเข้าร่วมงาน Road Show ซึ่งจัดโดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SMEs Bank) ระหว่างวันที่ 24-29 พฤษภาคม 2549 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ดังนี้
1. การสัมมนาระดับนานาชาติเรื่อง “The Future of Asia” ครั้งที่ 12 จัดโดยหนังสือพิมพ์ NIHON KEIZAI SHIMBUN , INC. (NIKKEI) ระหว่างวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2549 และได้เชิญผู้นำและผู้ที่มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจจากนานาประเทศเข้าร่วม อาทิ นาย Abdullah Ahmad Badawi นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย นาย Lee Kuan Yew อดีตนายกรัฐมนตรี ประเทศสิงคโปร์ นาย Mahathir bin Mohamad อดีตนายกรัฐมนตรี ประเทศมาเลเซีย และนาย Taro Aso รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าวได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 800 คน นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 โดยก่อนหน้านี้ได้เข้าร่วมสัมมนาในปี 2544 และ 2548
2. สำหรับการสัมมนา The Future of Asia ในครั้งนี้ ได้เน้นประเด็น The Road to an “Asian Community” - Concepts and Prospects โดยรัฐมนตรีว่าการการกระทรวงการคลังได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์ในเรื่องสถานการณ์ปัจจุบันและภารกิจในอนาคตสำหรับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย (Current State and Tasks Ahead for Asian Economic Integration) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและภารกิจในอนาคตใน 3 หัวข้อ ได้แก่ การค้าภายในภูมิภาค (Intra-regional Trade) การส่งเสริมการรวมกลุ่มทางการเงิน (Recent efforts to enhance Financial Integration) และระบบการเงินและนโยบายอัตราการแลกเปลี่ยน (Prospects for closer monetary and exchange rate policy cooperation) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำว่าความร่วมมือทางการค้านั้นมีพัฒนาการควบคู่กันกับการพัฒนาความร่วมมือทางการเงิน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาความร่วมมือทางการเงินเป็นหัวใจสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางด้านการค้าในภูมิภาคเอเชีย ดังจะเห็นได้จากแผนความร่วมมือต่างๆ ที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียได้ดำเนินการอยู่ อาทิ Working Committee on Capital Market Development (CMD) ซึ่งเป็นแผนการรวมตัวภายใต้อาเซียน (Roadmap for Integration of ASEAN) มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative—CMI) และมาตรการริเริ่มตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative) ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในเรื่องดังกล่าวและคาดว่าจะมีการรวมกลุ่มกันมากยิ่งขึ้น ในอนาคต และสุดท้ายได้กล่าวถึงระบบการเงินและนโยบายอัตราการแลกเปลี่ยนว่า การร่วมมือทางนโยบายอัตราการแลกเปลี่ยนจะช่วยสนับสนุนการค้าและการลงทุนในภูมิภาคมากขึ้น แต่จำเป็นต้องมีการศึกษาในเรื่องดังกล่าวร่วมกันอย่างจริงจังเพื่อจะได้ร่วมมือกันในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าในระบบเศรษฐกิจของเอเชียต่อไป
3. นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคณะได้พบปะหารือกับ นาย Yasuo Fukuda, the former Chief Cabinet Secretary และนาย Sadakazu Tanikaki รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นในวันที่ 25 และ 26 พฤษภาคม 2549 ตามลำดับ การหารือดังกล่าว มีสาระสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบันและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือกับนาย Tanikaki ในเรื่องการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งได้เลื่อนกำหนดการลงนามจากเดือนเมษายน 2549 ว่า ขณะนี้ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่นายกรัฐมนตรีของทั้ง 2 ประเทศควรจะมีการลงนามในความตกลงในโอกาสแรก ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นในช่วงเดือนมิถุนายน 2549 นี้ ซึ่งการลงนาม JTEPA จะช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่นให้กับนักธุรกิจและนักลงทุน และช่วยกระตุ้นการค้าของทั้ง 2 ประเทศ ให้ดียิ่งขึ้น
4. ในส่วนของ Road Show ที่จัดโดย SMEs Bank นั้น ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะได้พบปะหารือกับนาย Shinozawa, Governor, Japan Bank for International Cooperation (JBIC) โดยการหารือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพบปะหารือในเรื่องการกู้ยืมเงื่อนไขผ่อนปรนจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อจัดหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนด้านสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SME ไทย ภายใต้โครงการ “พัฒนาขีดความสามารถทางการผลิตและบริการของ SME ไทย” และโครงการ “ประหยัดพลังงาน SME ไทย”
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 52/2549 7 มิถุนายน 49--
1. การสัมมนาระดับนานาชาติเรื่อง “The Future of Asia” ครั้งที่ 12 จัดโดยหนังสือพิมพ์ NIHON KEIZAI SHIMBUN , INC. (NIKKEI) ระหว่างวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2549 และได้เชิญผู้นำและผู้ที่มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจจากนานาประเทศเข้าร่วม อาทิ นาย Abdullah Ahmad Badawi นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย นาย Lee Kuan Yew อดีตนายกรัฐมนตรี ประเทศสิงคโปร์ นาย Mahathir bin Mohamad อดีตนายกรัฐมนตรี ประเทศมาเลเซีย และนาย Taro Aso รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าวได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 800 คน นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 โดยก่อนหน้านี้ได้เข้าร่วมสัมมนาในปี 2544 และ 2548
2. สำหรับการสัมมนา The Future of Asia ในครั้งนี้ ได้เน้นประเด็น The Road to an “Asian Community” - Concepts and Prospects โดยรัฐมนตรีว่าการการกระทรวงการคลังได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์ในเรื่องสถานการณ์ปัจจุบันและภารกิจในอนาคตสำหรับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย (Current State and Tasks Ahead for Asian Economic Integration) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและภารกิจในอนาคตใน 3 หัวข้อ ได้แก่ การค้าภายในภูมิภาค (Intra-regional Trade) การส่งเสริมการรวมกลุ่มทางการเงิน (Recent efforts to enhance Financial Integration) และระบบการเงินและนโยบายอัตราการแลกเปลี่ยน (Prospects for closer monetary and exchange rate policy cooperation) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำว่าความร่วมมือทางการค้านั้นมีพัฒนาการควบคู่กันกับการพัฒนาความร่วมมือทางการเงิน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาความร่วมมือทางการเงินเป็นหัวใจสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางด้านการค้าในภูมิภาคเอเชีย ดังจะเห็นได้จากแผนความร่วมมือต่างๆ ที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียได้ดำเนินการอยู่ อาทิ Working Committee on Capital Market Development (CMD) ซึ่งเป็นแผนการรวมตัวภายใต้อาเซียน (Roadmap for Integration of ASEAN) มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative—CMI) และมาตรการริเริ่มตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative) ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในเรื่องดังกล่าวและคาดว่าจะมีการรวมกลุ่มกันมากยิ่งขึ้น ในอนาคต และสุดท้ายได้กล่าวถึงระบบการเงินและนโยบายอัตราการแลกเปลี่ยนว่า การร่วมมือทางนโยบายอัตราการแลกเปลี่ยนจะช่วยสนับสนุนการค้าและการลงทุนในภูมิภาคมากขึ้น แต่จำเป็นต้องมีการศึกษาในเรื่องดังกล่าวร่วมกันอย่างจริงจังเพื่อจะได้ร่วมมือกันในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าในระบบเศรษฐกิจของเอเชียต่อไป
3. นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคณะได้พบปะหารือกับ นาย Yasuo Fukuda, the former Chief Cabinet Secretary และนาย Sadakazu Tanikaki รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นในวันที่ 25 และ 26 พฤษภาคม 2549 ตามลำดับ การหารือดังกล่าว มีสาระสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบันและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือกับนาย Tanikaki ในเรื่องการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งได้เลื่อนกำหนดการลงนามจากเดือนเมษายน 2549 ว่า ขณะนี้ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่นายกรัฐมนตรีของทั้ง 2 ประเทศควรจะมีการลงนามในความตกลงในโอกาสแรก ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นในช่วงเดือนมิถุนายน 2549 นี้ ซึ่งการลงนาม JTEPA จะช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่นให้กับนักธุรกิจและนักลงทุน และช่วยกระตุ้นการค้าของทั้ง 2 ประเทศ ให้ดียิ่งขึ้น
4. ในส่วนของ Road Show ที่จัดโดย SMEs Bank นั้น ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะได้พบปะหารือกับนาย Shinozawa, Governor, Japan Bank for International Cooperation (JBIC) โดยการหารือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพบปะหารือในเรื่องการกู้ยืมเงื่อนไขผ่อนปรนจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อจัดหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนด้านสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SME ไทย ภายใต้โครงการ “พัฒนาขีดความสามารถทางการผลิตและบริการของ SME ไทย” และโครงการ “ประหยัดพลังงาน SME ไทย”
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 52/2549 7 มิถุนายน 49--