1. สถานการณ์ปัจจุบัน
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีประมาณ 2,004,503 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 17.55 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวลง โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาท อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นตลอดจนปัจจัยทางด้านปัญหาการเมืองภายในประเทศ ล้วนทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ชะลอตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการเมกะโปรเจคส์ของภาครัฐซึ่งยังไม่เริ่มดำเนินการ โครงการก่อสร้างของภาคเอกชนที่สถานการณ์ในช่วงนี้ยังคงทรงตัวอยู่ ประกอบกับผู้ผลิตและพ่อค้าคนกลางยังคงมีปริมาณสินค้าคงคลังอยู่ ผู้ผลิตจึงลดการผลิตลงและระบายสินค้าในสต๊อกแทน และ เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 32.14 ซึ่งผลิตภัณฑ์ชนิดนี้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 29.92 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 28.40 และเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 28 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างที่ชะลอตัว รายละเอียดตามตารางที่ 1
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ประมาณ 2,811,655 เมตริกตัน โดยการใช้ในประเทศชะลอตัวลง ร้อยละ 13.90 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาว ชะลอตัวลงถึงร้อยละ 28.34 โดยเป็นผลมาจากสภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง สำหรับเหล็กทรงแบนที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ปริมาณการใช้ในประเทศชะลอตัวลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.18 เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องดังกล่าวยังมีการขยายตัวอยู่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งมีการขยายตัวของการส่งออกเพิ่มมากขึ้น
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีจำนวนประมาณ 54,487 ล้านบาท และ 2,339,989 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าชะลอตัวลง ร้อยละ 21.86 และ 23.26 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศ จึงมีผลทำให้ความต้องการเหล็กลดลง ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นและรัสเซีย โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (Slab) ลดลง ร้อยละ 66.77 เนื่องจากผู้ผลิตในกลุ่มเหล็กแผ่นรีดร้อน (ใช้เหล็กแท่งแบนเป็นวัตถุดิบ) ยังคงมีปริมาณสินค้าคงคลังอยู่ ผู้ผลิตจึงลดการผลิตลง ซึ่งมีผลทำให้ลดการนำเข้าวัตถุดิบด้วย รองลงมาคือเหล็กแท่งเล็ก(บิลเล็ต) ลดลง ร้อยละ 55.46 ซึ่งเหล็กชนิดนี้เป็นวัตถุดิบของเหล็กทรงยาวที่ใช้ในธุรกิจก่อสร้าง ที่ชะลอตัวในช่วงนี้
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ มีมูลค่า 8,784 ล้านบาท รองลงมาคือเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน มีมูลค่า 6,867 ล้านบาทและเหล็กแท่งแบน มีมูลค่า 5,430 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 166.49 ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 113.06 และ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.02
การส่งออก
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีจำนวนประมาณ 9,261 ล้านบาท และ 331,886 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกชะลอตัวลง ร้อยละ 40.17 และ 39.91 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในช่วงนี้คือ อเมริกาและฮ่องกง สำหรับผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออกชะลอตัวลงในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน (HR sheet P&O) ลดลงร้อยละ 99.94 เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 88.41 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 62.63
ผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม ท่อเหล็กมีตะเข็บ และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน โดยมีมูลค่า 1,855 1,345 และ 1,154 ล้านบาท ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแท่งแบน เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และ เหล็กเส้น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 100, 87.79 และ 84.84 ตามลำดับ รายละเอียดตามตารางที่ 3
2. สรุป
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาท อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนปัญหาทางด้านการเมืองภายในประเทศ ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ชะลอตัวลง ขณะที่ผู้ผลิตและพ่อค้าคนกลางยังคงมีปริมาณสินค้าคงคลังอยู่ จึงทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตลง โดยเหล็กทรงยาวชะลอตัวลงทั้งการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศร้อยละ 28.24 และ 28.34 ตามลำดับ สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 9.09 แต่การใช้ในประเทศที่ชะลอตัวลง เล็กน้อย ร้อยละ 1.18 เนื่องจากยังคงมีความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งมีการขยายตัวในช่วงนี้ สำหรับมูลค่าและปริมาณการนำเข้าโดยรวมชะลอตัวลงร้อยละ 21.86 และ 23.26 โดยเหล็กแท่งแบนมีมูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงมากที่สุดเนื่องจากเหล็กชนิดนี้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน ซึ่งมีการผลิตที่ลดลง รองลงมาคือเหล็กแท่งเล็ก ลดลง ร้อยละ 55.46 เนื่องจากเป็นวัตถุดิบของเหล็กทรงยาว ซึ่งภาคก่อสร้างมีการชะลอตัว สำหรับการส่งออกโดยรวมชะลอตัวลงทั้งมูลค่าและปริมาณ ร้อยละ 40.17 และ 39.91 ตามลำดับ
สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ (FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ของไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญทุกตัวมีทิศทางในการปรับตัวของราคาที่ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากเมื่อช่วงปี2547-ต้นปี 2548 ประเทศจีนซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นประเทศผู้บริโภคเหล็กที่สำคัญของโลกมีความต้องการใช้เหล็กสูงมากจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องและโครงการก่อสร้างต่างๆ ภายในประเทศ จึงมีทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกช่วงนั้น ( ปี 2547 —ต้นปี 2548) มีการปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาในปีฐานสูงตามไปด้วย โดยราคาเหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 487 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 313 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 35.77 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 539 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 25.79 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 621 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 497 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 19.89 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลงจาก 678 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 574 ลดลง ร้อยละ 15.37 เหล็กลวด ลดลงจาก 432 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 379 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 12.21 เหล็กแท่งเล็ก ลดลงจาก 355 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 327 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 9.22 เหล็กเส้น ลดลงจาก 412 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 380 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 7.84
แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กส่วนใหญ่มีราคาปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ของกลุ่มประเทศยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มมากขึ้น โดยที่ปริมาณการผลิตของผู้ผลิตในกลุ่มประเทศ CIS กลับลดลง ประกอบกับสภาพอากาศไม่ดีในช่วงฤดูหนาว ทำให้การขนส่งมีอุปสรรค นอกจากนั้นการที่ประเทศจีนมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการควบรวมกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก มีผลทำให้การผลิตในประเทศลดลง ซึ่งส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้น โดย เหล็กเส้น ราคาเพิ่มขึ้นจาก 366 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 380 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.84 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 301 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 313 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.83 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้นจาก 560 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 574 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.47 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 391 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.41 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 488 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 497 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.97 เหล็กลวดเพิ่มขึ้นจาก 373 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 379 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.70 แต่เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต กลับมีราคาที่ลดลง คือ จาก 330 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 327 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 0.82
ประเทศจีนได้วางแผนปิดโรงงานเหล็กที่ล้าสมัยและส่งเสริมให้เกิดการควบรวมกิจการ จากการเปิดเผยของสมาคมเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศจีน (CISA) พบว่า ประเทศจีนได้วางแผนที่จะนำมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงาน น้ำ รวมถึงการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ เข้ามาใช้ โดยการปิดโรงงานเหล็กที่ล้าสมัยที่สุดจำนวน ร้อยละ 30 ของโรงงานทั้งหมด ขณะเดียวกัน CISA ได้พยายามที่จะคัดค้านการเข้าถือหุ้นใหญ่ในโรงเหล็กจีนของต่างชาติ ซึ่งรวมถึงการที่ บ.Mittal ได้เจรจากับ บ.Baotou Iron and Steel (Group) Co. เรื่องการเข้าถือหุ้น ร้อยละ 49 และการเข้าถือหุ้นบริษัท Laiwu Steel Corp. Ltd. ของ Arcelor โดยเมื่อปีก่อนประเทศจีนมีการผลิตส่วนเกิน 45 ล้านตัน ซึ่งมีผลทำให้ราคาเหล็กปรับตัวลดลง ดังนั้นประเทศจีนจึงส่งเสริมให้มีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่โดยการควบรวมกิจการ โดย CISA คาดหวังว่าการขยายตัวของผลผลิตในปีนี้อยู่ที่ ร้อยละ 10 3
คณะกรรมการทางการค้า (Cabinet-level Committee on Trade and Related Matters ;CTRM) ของประเทศฟิลิปปินส์ได้อนุมัติให้เพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าเหล็ก อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวมีเงื่อนไขว่า บ.Global Steelworks International Inc. จะต้องผ่านการประเมินว่าได้มีการผลิตในเชิงพาณิชย์แล้ว โดยโรงงานจะต้องมีการผลิตของโรงงานผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแผ่นรีดเย็นอย่างต่ำ 50% ของกำลังการผลิตที่แจ้งไว้กับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือมีการผลิตถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณการนำเข้าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก่อนที่ บ.Global Steelworks จะผลิตเชิงพาณิชย์อัตราภาษีนำเข้าจะเพิ่มจาก
3% เป็น 7% เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะสามารถดำเนินกิจการอยู่ได้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมปลายน้ำเป็นห่วงคือความกังวลในเรื่องการนำเข้าเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เนื่องจากปัจจุบันบริษัทดังกล่าวยังไม่ได้ผลิตสินค้าในกลุ่มนี้
3 จากวารสารจดหมายข่าวของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ประจำเดือนมีนาคม 2549
บ. Hyundai Steel ซึ่งก่อนหน้านี้ชื่อ บ.INI Steel ได้ตั้งเป้าในการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ซื้อที่ดินและพิธีการอื่นๆ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนธ.ค.นี้ เพื่อเริ่มการก่อสร้างโรงเหล็กครบวงจรในต้นปี พ.ศ. 2550 ที่ Dangjin ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงโซล โดยในเดือนพ.ค.ปีที่แล้ว บ.INI Steel และ บ.Hyundai Hysco ได้ประกาศแผนการก่อสร้างเตาหลอมกำลังการผลิต 3.5 ล้านตัน/ปี จำนวน 2 เตาที่ Dangjin ซึ่งจะเริ่มสร้างในปี พ.ศ.2550 และได้มีการเลื่อนกำหนดการเสร็จของการก่อสร้างโรงจอดเรือ DWT ความจุ 100,000 ลำ และ 200,000 ลำ จากเดิมในปีนี้ไปเป็นเดือนธ.ค. พ.ศ.2551 โดยไม่มีสาเหตุชัดเจน และจะเริ่ม การก่อสร้างโรงเหล็กแผ่นชนิดแผ่นหนากำลังการผลิต 2 ล้านตัน/ปีของ บ.Hyundai Steel ในต้นปี พ.ศ. 2550 และคาดว่าจะแล้วสิ้นในไตรมาสสี่ของปี พ.ศ.2552
3.แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าสถานการณ์เหล็กยังคงทรงตัว ทั้งนี้มีผลมาจากปัจจัยลบทางด้านสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมีแนวโน้มการชะลอตัวของภาคอุปทาน (การลงทุนของภาคธุรกิจ) ซึ่งเป็นผลมาจากตัวแปรหลักคือราคาน้ำมัน การแข็งค่าของเงินบาท อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่ขยับตัวสูงขึ้น ซึ่งมีผลทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ทำให้ภาคธุรกิจชะลอตัวลง โดยในส่วนของเหล็กทรงยาว คาดการณ์ว่ายังคงชะลอตัวอยู่ เนื่องจากโครงการเมกะโปรเจ็คต์ของทางภาครัฐที่จะกระตุ้นให้อุตสาหกรรมก่อสร้างมีการขยายตัวขึ้น ยังคงไม่มีความคืบหน้า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางด้านการเมือง ขณะที่โครงการของภาคเอกชนยังมีสถานการณ์ที่ทรงตัวอยู่ สำหรับในส่วนของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่ามีทิศทางที่ขยายตัวขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับปริมาณสินค้าคงคลังของเหล็กแผ่นรีดร้อนที่มีอยู่ทั้งของผู้ผลิตและผู้ใช้เริ่มลดน้อยลงแล้ว จึงมีผลทำให้ในไตรมาสหน้านี้จะมีแนวโน้มการผลิตเหล็กชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้ผลิตได้มีการวางแผนการเจรจาที่จะขยายตลาดส่งออกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจมีผลทำให้แนวโน้มการส่งออกในไตรมาสหน้านี้เพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มราคาเหล็กคาดการณ์ว่าน่าจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ส่งออกเหล็กที่สำคัญของโลกได้ลดการระบายสินค้าเหล็กในสต๊อกออกมาสู่ตลาดโลก ประกอบกับรัฐบาลจีนได้มีนโยบายควบคุมปริมาณผลผลิตในประเทศโดยการส่งเสริมให้เกิดการควบรวมกิจการและไม่อนุญาตให้สร้างโรงงานใหม่ รวมถึงพยายามที่จะปิดโรงงานขนาดเล็กที่ล้าสมัยและไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนโยบายดังกล่าวน่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น ความต้องการใช้เหล็กของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจากการฟื้นฟูประเทศในพื้นที่ได้รับความเสียหายจากพายุเมื่อปีที่แล้วรวมทั้งปริมาณการผลิตเหล็กที่ลดลงของประเทศในกลุ่ม CIS ซึ่งอาจมีผลทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ แนวโน้มของการควบรวมกิจการกันของโรงงานเหล็กในระดับโลก เพื่อรักษาสมดุลระหว่างด้านอุปสงค์และอุปทานนั้น จะทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกในระยะยาวมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีประมาณ 2,004,503 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 17.55 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวลง โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาท อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นตลอดจนปัจจัยทางด้านปัญหาการเมืองภายในประเทศ ล้วนทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ชะลอตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการเมกะโปรเจคส์ของภาครัฐซึ่งยังไม่เริ่มดำเนินการ โครงการก่อสร้างของภาคเอกชนที่สถานการณ์ในช่วงนี้ยังคงทรงตัวอยู่ ประกอบกับผู้ผลิตและพ่อค้าคนกลางยังคงมีปริมาณสินค้าคงคลังอยู่ ผู้ผลิตจึงลดการผลิตลงและระบายสินค้าในสต๊อกแทน และ เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 32.14 ซึ่งผลิตภัณฑ์ชนิดนี้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 29.92 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 28.40 และเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 28 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างที่ชะลอตัว รายละเอียดตามตารางที่ 1
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ประมาณ 2,811,655 เมตริกตัน โดยการใช้ในประเทศชะลอตัวลง ร้อยละ 13.90 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาว ชะลอตัวลงถึงร้อยละ 28.34 โดยเป็นผลมาจากสภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง สำหรับเหล็กทรงแบนที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ปริมาณการใช้ในประเทศชะลอตัวลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.18 เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องดังกล่าวยังมีการขยายตัวอยู่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งมีการขยายตัวของการส่งออกเพิ่มมากขึ้น
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีจำนวนประมาณ 54,487 ล้านบาท และ 2,339,989 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าชะลอตัวลง ร้อยละ 21.86 และ 23.26 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศ จึงมีผลทำให้ความต้องการเหล็กลดลง ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นและรัสเซีย โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (Slab) ลดลง ร้อยละ 66.77 เนื่องจากผู้ผลิตในกลุ่มเหล็กแผ่นรีดร้อน (ใช้เหล็กแท่งแบนเป็นวัตถุดิบ) ยังคงมีปริมาณสินค้าคงคลังอยู่ ผู้ผลิตจึงลดการผลิตลง ซึ่งมีผลทำให้ลดการนำเข้าวัตถุดิบด้วย รองลงมาคือเหล็กแท่งเล็ก(บิลเล็ต) ลดลง ร้อยละ 55.46 ซึ่งเหล็กชนิดนี้เป็นวัตถุดิบของเหล็กทรงยาวที่ใช้ในธุรกิจก่อสร้าง ที่ชะลอตัวในช่วงนี้
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ มีมูลค่า 8,784 ล้านบาท รองลงมาคือเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน มีมูลค่า 6,867 ล้านบาทและเหล็กแท่งแบน มีมูลค่า 5,430 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 166.49 ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 113.06 และ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.02
การส่งออก
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีจำนวนประมาณ 9,261 ล้านบาท และ 331,886 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกชะลอตัวลง ร้อยละ 40.17 และ 39.91 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในช่วงนี้คือ อเมริกาและฮ่องกง สำหรับผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออกชะลอตัวลงในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน (HR sheet P&O) ลดลงร้อยละ 99.94 เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 88.41 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 62.63
ผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม ท่อเหล็กมีตะเข็บ และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน โดยมีมูลค่า 1,855 1,345 และ 1,154 ล้านบาท ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแท่งแบน เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และ เหล็กเส้น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 100, 87.79 และ 84.84 ตามลำดับ รายละเอียดตามตารางที่ 3
2. สรุป
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาท อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนปัญหาทางด้านการเมืองภายในประเทศ ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ชะลอตัวลง ขณะที่ผู้ผลิตและพ่อค้าคนกลางยังคงมีปริมาณสินค้าคงคลังอยู่ จึงทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตลง โดยเหล็กทรงยาวชะลอตัวลงทั้งการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศร้อยละ 28.24 และ 28.34 ตามลำดับ สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 9.09 แต่การใช้ในประเทศที่ชะลอตัวลง เล็กน้อย ร้อยละ 1.18 เนื่องจากยังคงมีความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งมีการขยายตัวในช่วงนี้ สำหรับมูลค่าและปริมาณการนำเข้าโดยรวมชะลอตัวลงร้อยละ 21.86 และ 23.26 โดยเหล็กแท่งแบนมีมูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงมากที่สุดเนื่องจากเหล็กชนิดนี้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน ซึ่งมีการผลิตที่ลดลง รองลงมาคือเหล็กแท่งเล็ก ลดลง ร้อยละ 55.46 เนื่องจากเป็นวัตถุดิบของเหล็กทรงยาว ซึ่งภาคก่อสร้างมีการชะลอตัว สำหรับการส่งออกโดยรวมชะลอตัวลงทั้งมูลค่าและปริมาณ ร้อยละ 40.17 และ 39.91 ตามลำดับ
สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ (FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ของไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญทุกตัวมีทิศทางในการปรับตัวของราคาที่ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากเมื่อช่วงปี2547-ต้นปี 2548 ประเทศจีนซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นประเทศผู้บริโภคเหล็กที่สำคัญของโลกมีความต้องการใช้เหล็กสูงมากจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องและโครงการก่อสร้างต่างๆ ภายในประเทศ จึงมีทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกช่วงนั้น ( ปี 2547 —ต้นปี 2548) มีการปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาในปีฐานสูงตามไปด้วย โดยราคาเหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 487 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 313 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 35.77 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 539 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 25.79 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 621 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 497 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 19.89 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลงจาก 678 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 574 ลดลง ร้อยละ 15.37 เหล็กลวด ลดลงจาก 432 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 379 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 12.21 เหล็กแท่งเล็ก ลดลงจาก 355 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 327 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 9.22 เหล็กเส้น ลดลงจาก 412 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 380 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 7.84
แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กส่วนใหญ่มีราคาปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ของกลุ่มประเทศยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มมากขึ้น โดยที่ปริมาณการผลิตของผู้ผลิตในกลุ่มประเทศ CIS กลับลดลง ประกอบกับสภาพอากาศไม่ดีในช่วงฤดูหนาว ทำให้การขนส่งมีอุปสรรค นอกจากนั้นการที่ประเทศจีนมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการควบรวมกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก มีผลทำให้การผลิตในประเทศลดลง ซึ่งส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้น โดย เหล็กเส้น ราคาเพิ่มขึ้นจาก 366 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 380 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.84 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 301 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 313 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.83 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้นจาก 560 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 574 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.47 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 391 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.41 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 488 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 497 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.97 เหล็กลวดเพิ่มขึ้นจาก 373 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 379 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.70 แต่เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต กลับมีราคาที่ลดลง คือ จาก 330 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 327 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 0.82
ประเทศจีนได้วางแผนปิดโรงงานเหล็กที่ล้าสมัยและส่งเสริมให้เกิดการควบรวมกิจการ จากการเปิดเผยของสมาคมเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศจีน (CISA) พบว่า ประเทศจีนได้วางแผนที่จะนำมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงาน น้ำ รวมถึงการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ เข้ามาใช้ โดยการปิดโรงงานเหล็กที่ล้าสมัยที่สุดจำนวน ร้อยละ 30 ของโรงงานทั้งหมด ขณะเดียวกัน CISA ได้พยายามที่จะคัดค้านการเข้าถือหุ้นใหญ่ในโรงเหล็กจีนของต่างชาติ ซึ่งรวมถึงการที่ บ.Mittal ได้เจรจากับ บ.Baotou Iron and Steel (Group) Co. เรื่องการเข้าถือหุ้น ร้อยละ 49 และการเข้าถือหุ้นบริษัท Laiwu Steel Corp. Ltd. ของ Arcelor โดยเมื่อปีก่อนประเทศจีนมีการผลิตส่วนเกิน 45 ล้านตัน ซึ่งมีผลทำให้ราคาเหล็กปรับตัวลดลง ดังนั้นประเทศจีนจึงส่งเสริมให้มีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่โดยการควบรวมกิจการ โดย CISA คาดหวังว่าการขยายตัวของผลผลิตในปีนี้อยู่ที่ ร้อยละ 10 3
คณะกรรมการทางการค้า (Cabinet-level Committee on Trade and Related Matters ;CTRM) ของประเทศฟิลิปปินส์ได้อนุมัติให้เพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าเหล็ก อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวมีเงื่อนไขว่า บ.Global Steelworks International Inc. จะต้องผ่านการประเมินว่าได้มีการผลิตในเชิงพาณิชย์แล้ว โดยโรงงานจะต้องมีการผลิตของโรงงานผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแผ่นรีดเย็นอย่างต่ำ 50% ของกำลังการผลิตที่แจ้งไว้กับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือมีการผลิตถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณการนำเข้าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก่อนที่ บ.Global Steelworks จะผลิตเชิงพาณิชย์อัตราภาษีนำเข้าจะเพิ่มจาก
3% เป็น 7% เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะสามารถดำเนินกิจการอยู่ได้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมปลายน้ำเป็นห่วงคือความกังวลในเรื่องการนำเข้าเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เนื่องจากปัจจุบันบริษัทดังกล่าวยังไม่ได้ผลิตสินค้าในกลุ่มนี้
3 จากวารสารจดหมายข่าวของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ประจำเดือนมีนาคม 2549
บ. Hyundai Steel ซึ่งก่อนหน้านี้ชื่อ บ.INI Steel ได้ตั้งเป้าในการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ซื้อที่ดินและพิธีการอื่นๆ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนธ.ค.นี้ เพื่อเริ่มการก่อสร้างโรงเหล็กครบวงจรในต้นปี พ.ศ. 2550 ที่ Dangjin ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงโซล โดยในเดือนพ.ค.ปีที่แล้ว บ.INI Steel และ บ.Hyundai Hysco ได้ประกาศแผนการก่อสร้างเตาหลอมกำลังการผลิต 3.5 ล้านตัน/ปี จำนวน 2 เตาที่ Dangjin ซึ่งจะเริ่มสร้างในปี พ.ศ.2550 และได้มีการเลื่อนกำหนดการเสร็จของการก่อสร้างโรงจอดเรือ DWT ความจุ 100,000 ลำ และ 200,000 ลำ จากเดิมในปีนี้ไปเป็นเดือนธ.ค. พ.ศ.2551 โดยไม่มีสาเหตุชัดเจน และจะเริ่ม การก่อสร้างโรงเหล็กแผ่นชนิดแผ่นหนากำลังการผลิต 2 ล้านตัน/ปีของ บ.Hyundai Steel ในต้นปี พ.ศ. 2550 และคาดว่าจะแล้วสิ้นในไตรมาสสี่ของปี พ.ศ.2552
3.แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าสถานการณ์เหล็กยังคงทรงตัว ทั้งนี้มีผลมาจากปัจจัยลบทางด้านสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมีแนวโน้มการชะลอตัวของภาคอุปทาน (การลงทุนของภาคธุรกิจ) ซึ่งเป็นผลมาจากตัวแปรหลักคือราคาน้ำมัน การแข็งค่าของเงินบาท อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่ขยับตัวสูงขึ้น ซึ่งมีผลทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ทำให้ภาคธุรกิจชะลอตัวลง โดยในส่วนของเหล็กทรงยาว คาดการณ์ว่ายังคงชะลอตัวอยู่ เนื่องจากโครงการเมกะโปรเจ็คต์ของทางภาครัฐที่จะกระตุ้นให้อุตสาหกรรมก่อสร้างมีการขยายตัวขึ้น ยังคงไม่มีความคืบหน้า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางด้านการเมือง ขณะที่โครงการของภาคเอกชนยังมีสถานการณ์ที่ทรงตัวอยู่ สำหรับในส่วนของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่ามีทิศทางที่ขยายตัวขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับปริมาณสินค้าคงคลังของเหล็กแผ่นรีดร้อนที่มีอยู่ทั้งของผู้ผลิตและผู้ใช้เริ่มลดน้อยลงแล้ว จึงมีผลทำให้ในไตรมาสหน้านี้จะมีแนวโน้มการผลิตเหล็กชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้ผลิตได้มีการวางแผนการเจรจาที่จะขยายตลาดส่งออกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจมีผลทำให้แนวโน้มการส่งออกในไตรมาสหน้านี้เพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มราคาเหล็กคาดการณ์ว่าน่าจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ส่งออกเหล็กที่สำคัญของโลกได้ลดการระบายสินค้าเหล็กในสต๊อกออกมาสู่ตลาดโลก ประกอบกับรัฐบาลจีนได้มีนโยบายควบคุมปริมาณผลผลิตในประเทศโดยการส่งเสริมให้เกิดการควบรวมกิจการและไม่อนุญาตให้สร้างโรงงานใหม่ รวมถึงพยายามที่จะปิดโรงงานขนาดเล็กที่ล้าสมัยและไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนโยบายดังกล่าวน่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น ความต้องการใช้เหล็กของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจากการฟื้นฟูประเทศในพื้นที่ได้รับความเสียหายจากพายุเมื่อปีที่แล้วรวมทั้งปริมาณการผลิตเหล็กที่ลดลงของประเทศในกลุ่ม CIS ซึ่งอาจมีผลทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ แนวโน้มของการควบรวมกิจการกันของโรงงานเหล็กในระดับโลก เพื่อรักษาสมดุลระหว่างด้านอุปสงค์และอุปทานนั้น จะทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกในระยะยาวมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-