สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
สหรัฐคุมเข้มนำเข้าปลามีชีวิตหวั่นติดไวรัสเอสวีซีวี
โรคสปริงไวรีเมียในปลาคาร์พและปลาทอง เป็นหนึ่งในรายชื่อโรคระบาดชนิดรุนแรงที่จะต้องรายงานองค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศหรือ OIE ภายใน 24 ชั่วโมง จากนั้น OIE จะปรากาศให้ประเทศสมาชิกทราบและระงับการนำเข้าปลาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคดังกล่าวเป็นการชั่วคราวจนกว่าการแก้ปัญหาจะแล้วเสร็จ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก
ดร.จรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง แถลงว่า โรคสปริงไวรีเมียเกิดจากเชื้อไวรัสเอสวีซีวี ดังนั้น กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาจึงได้ออกกฎหมายควบคุมการนำเข้าปลามีชีวิตชนิดที่ยอมรับการติดเชื้อไวรัสเอสวีซีวีรวมทั้งคัพภะและเซลล์เชื้อพันธุ์ของปลา โดยระบุว่าปลาในกลุ่มตระกูลคาร์พและปลาทองที่จะนำเข้าสหรัฐอเมริกา ต้องมีเอกสาร Health Certificate ที่รับรองว่ามาจากฟาร์มที่มีระบบเฝ้าระวังไวรัสเอสวีซีวีตามมาตรฐานของ OIE ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป
อาการของปลาที่ป่วยเป็นโรคสปริงไวรีเมียจะรวมกลุ่มกันอยู่บริเวณก้นบ่อหรือบริเวณที่น้ำไหลเอื่อย ว่ายน้ำช้าลงและไร้ทิศทาง ปลามีอาการท้องบวม ตาโปน เหงือกซีด มีจุดเลือดออกตามลำตัว และตายในที่สุด การแพร่ของเชื้อไวรัสนั้นสามารถแพร่ทางสิ่งขับถ่ายหรือแผลตามผิวหนังและเมือกของปลาที่เป็นโรค เชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสามารถติดต่อถึงปลาตัวอื่นได้โดยตรง หรือติดต่อโดยผ่านพาหะของโรค เช่น นกที่มากินปลาหรือ ปลิง เห็บที่เกาะตัวปลา
ในอดีตพบโรคนี้ในประเทศแถบยุโรปเท่านั้น ภายหลังพบในประเทศจีนด้วย ล่าสุดพบในสหรัฐอเมริกา โดยปกติโรคนี้จะเกิดในพื้นที่อุณหภูมิต่ำ ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงจึงไม่เคยมีรายงานว่าพบโรคดังกล่าว แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะนักวิทยาศาสตร์เคยทดลองฉีดไวรัสเอสวีซีวีให้ปลาคาร์พที่อยู่ในอุณหภูมิสูง 17 — 26 องศาเซลเซียส ปรากฏว่าปลาตายภายใน 13 วัน
อธิบดีกรมประมงกล่าวในตอนท้ายว่า การป้องกันโรคทำได้โดยรักษาสุขอนามัยบ่อเลี้ยงปลา และปลาที่เข้ามาใหม่ต้องกักกันเพื่อรอดูอาการอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ดังนั้น ประชาชนที่นิยมเลี้ยงปลาคาร์พหรือปลาทองหากพบปลาผิดปกติโดยมีอาการดังกล่าวข้างต้น ขอให้แจ้งหน่วยงานกรมประมงในจังหวัดของท่านเพื่อจะได้ปรึกษาหารือวินิจฉัยโรคต่อไป สำหรับผู้ประกอบการส่งออกปลามีชีวิตไปสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะปลาในกลุ่มตระกูลปลาคาร์พและปลาทองจะต้องเป็นฟาร์มที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงตามระเบียบกรมประมงที่ว่าด้วยการขึ้นสถานที่เพาะเลี้ยงและรวบรวมสัตว์น้ำสำหรับการส่งออกเพื่อการเพาะเลี้ยง พ.ศ. 2547 และผ่านการตรวจเฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำตามมาตรฐาน OIE
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.95 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 53.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง(51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 133.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.85 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง(60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 114.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.87 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง(60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.49 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.72 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.30 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60%(ระหว่างวันที่ 30 ต.ค.—3 พ.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 43 ประจำวันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2549--
-พห-
การผลิต
สหรัฐคุมเข้มนำเข้าปลามีชีวิตหวั่นติดไวรัสเอสวีซีวี
โรคสปริงไวรีเมียในปลาคาร์พและปลาทอง เป็นหนึ่งในรายชื่อโรคระบาดชนิดรุนแรงที่จะต้องรายงานองค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศหรือ OIE ภายใน 24 ชั่วโมง จากนั้น OIE จะปรากาศให้ประเทศสมาชิกทราบและระงับการนำเข้าปลาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคดังกล่าวเป็นการชั่วคราวจนกว่าการแก้ปัญหาจะแล้วเสร็จ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก
ดร.จรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง แถลงว่า โรคสปริงไวรีเมียเกิดจากเชื้อไวรัสเอสวีซีวี ดังนั้น กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาจึงได้ออกกฎหมายควบคุมการนำเข้าปลามีชีวิตชนิดที่ยอมรับการติดเชื้อไวรัสเอสวีซีวีรวมทั้งคัพภะและเซลล์เชื้อพันธุ์ของปลา โดยระบุว่าปลาในกลุ่มตระกูลคาร์พและปลาทองที่จะนำเข้าสหรัฐอเมริกา ต้องมีเอกสาร Health Certificate ที่รับรองว่ามาจากฟาร์มที่มีระบบเฝ้าระวังไวรัสเอสวีซีวีตามมาตรฐานของ OIE ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป
อาการของปลาที่ป่วยเป็นโรคสปริงไวรีเมียจะรวมกลุ่มกันอยู่บริเวณก้นบ่อหรือบริเวณที่น้ำไหลเอื่อย ว่ายน้ำช้าลงและไร้ทิศทาง ปลามีอาการท้องบวม ตาโปน เหงือกซีด มีจุดเลือดออกตามลำตัว และตายในที่สุด การแพร่ของเชื้อไวรัสนั้นสามารถแพร่ทางสิ่งขับถ่ายหรือแผลตามผิวหนังและเมือกของปลาที่เป็นโรค เชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสามารถติดต่อถึงปลาตัวอื่นได้โดยตรง หรือติดต่อโดยผ่านพาหะของโรค เช่น นกที่มากินปลาหรือ ปลิง เห็บที่เกาะตัวปลา
ในอดีตพบโรคนี้ในประเทศแถบยุโรปเท่านั้น ภายหลังพบในประเทศจีนด้วย ล่าสุดพบในสหรัฐอเมริกา โดยปกติโรคนี้จะเกิดในพื้นที่อุณหภูมิต่ำ ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงจึงไม่เคยมีรายงานว่าพบโรคดังกล่าว แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะนักวิทยาศาสตร์เคยทดลองฉีดไวรัสเอสวีซีวีให้ปลาคาร์พที่อยู่ในอุณหภูมิสูง 17 — 26 องศาเซลเซียส ปรากฏว่าปลาตายภายใน 13 วัน
อธิบดีกรมประมงกล่าวในตอนท้ายว่า การป้องกันโรคทำได้โดยรักษาสุขอนามัยบ่อเลี้ยงปลา และปลาที่เข้ามาใหม่ต้องกักกันเพื่อรอดูอาการอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ดังนั้น ประชาชนที่นิยมเลี้ยงปลาคาร์พหรือปลาทองหากพบปลาผิดปกติโดยมีอาการดังกล่าวข้างต้น ขอให้แจ้งหน่วยงานกรมประมงในจังหวัดของท่านเพื่อจะได้ปรึกษาหารือวินิจฉัยโรคต่อไป สำหรับผู้ประกอบการส่งออกปลามีชีวิตไปสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะปลาในกลุ่มตระกูลปลาคาร์พและปลาทองจะต้องเป็นฟาร์มที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงตามระเบียบกรมประมงที่ว่าด้วยการขึ้นสถานที่เพาะเลี้ยงและรวบรวมสัตว์น้ำสำหรับการส่งออกเพื่อการเพาะเลี้ยง พ.ศ. 2547 และผ่านการตรวจเฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำตามมาตรฐาน OIE
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.95 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 53.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง(51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 133.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.85 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง(60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 114.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.87 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง(60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.49 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.72 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.30 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60%(ระหว่างวันที่ 30 ต.ค.—3 พ.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 43 ประจำวันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2549--
-พห-