ในไตรมาสแรกของปี 2549 แม้ว่ามีปัจจัยด้านลบจากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับ การใช้จ่ายในประเทศและการใช้จ่ายของภาครัฐลดลง ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ต้องมีการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของปี 2549 โดยเมื่อ 28 เมษายน 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับตัวเลขจากที่เคยประเมินไว้เมื่อเดือนมกราคม 2549 ร้อยละ 4.75-5.75 เป็น ร้อยละ 4.25-5.25 อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมแล้ว เศรษฐกิจของประเทศยังคงขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ ประกอบกับ มีปัจจัยบวกมาสนับสนุน โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม เป็นช่วงฤดูการจำหน่าย ซึ่งในปีนี้มีการจัดงาน Bangkok International Motor Show ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม — 2 เมษายน 2549 ส่งผลดีต่อตลาดยานยนต์ในประเทศ โดยในงานนี้มียอดจองรถยนต์ใหม่รวมประมาณ 15,000 คัน เพิ่มขึ้นจากยอดจองในงานเดียวกันของปี 2548 ประมาณ 1,000 คัน นอกจากนี้ ตลาดส่งออกยานยนต์ก็ยังขยายตัวดีตามอุปสงค์จากต่างประเทศ จึงส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศขยายตัว
อุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2549 มีจำนวน 304,418 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 2.38 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.43 และ 9.28 แต่ผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 3.88 ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 141,925 คัน หรือร้อยละ 46.62 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 21.82 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(รวมรถยนต์ประเภท PPV) ร้อยละ 78.14
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ 169,984 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 14.45 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 20.68, 6.59 และ 7.76 ตามลำดับ ซึ่งในไตรมาสแรกปี 2549 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ร้อยละ 71.94 รองลงมาเป็นรถยนต์นั่ง ร้อยละ 26.28 แต่หากจัดรถยนต์ประเภท PPV อยู่ในกลุ่มรถยนต์นั่ง(ตามลักษณะการใช้งาน) แล้ว ปรากฎว่า ส่วนแบ่งตลาดของรถยนต์นั่งจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30.72 ส่วนแบ่งตลาดของรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เป็นร้อยละ 67.53
เมื่อพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2549 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.80 และ 2.10 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.12, 23.60 และ 9.35 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.20 และ 8.46 แต่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 6.24
การส่งออกรถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 138,702 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 7.54 โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 61,979.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.77 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 มีการส่งออกรถยนต์ (CBU) เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.50 โดยคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.66 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่งจากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ได้แก่ อินโดนีเชีย ซาอุดีอาระเบีย และออสเตรเลีย โดยมีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 8.38, 41742.42 และ 32.81 ตามลำดับ ทั้งนี้ ตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวสูงมาก คือ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย โอมาน คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร มีการขยายตัวร้อยละ 29.65 และ 51.88 และมีตลาดส่งออกที่น่าสนใจ คือ อิตาลี เยอรมนี และ ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 180.36, 160.71 และ 127.35 ตามลำดับ ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย และซาอุดีอาระเบีย โดยตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวสูง คือ ซาอุดีอาระเบีย ขยายตัวประมาณร้อยละ 509.19
การนำเข้ารถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งคิดเป็นมูลค่า 3,229.2 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 19.69 และมีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 1,949.4 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 13.38 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 17.68 และ 34.94 ตามลำดับ ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งของไทยที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ได้แก่ ฟิลิปปินส์ แหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สำหรับข้อมูลจากกรมศุลกากร ซึ่งได้รายงานผลการนำเข้ารถยนต์นั่ง ที่ผ่านพิธีการศุลกากร ณ สำนักงานศุลกากรแหลมฉบัง, สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ, สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ, สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ ปรากฏว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งรวมจำนวน 2,840 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ซึ่งมีการนำเข้ารถยนต์นั่ง 9,189 คัน ร้อยละ 69.09 โดยแบ่งการนำเข้ารถยนต์นั่งในไตรมาสแรกของปี 2549 เป็น รถยนต์ของค่ายญี่ปุ่น 1,749 คัน รถยนต์ของค่ายเกาหลี 589 คัน รถยนต์ของค่ายยุโรป 487 คัน และรถยนต์ของค่ายสหรัฐอเมริกา 15 คัน
อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมยังคงขยายตัว แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบในทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อรถยนต์บ้าง แต่ก็เป็นไปในลักษณะการเลือกซื้อรถยนต์ในแต่ละประเภทมากกว่า ซึ่งตลาดรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ยังคงขยายตัว เนื่องจากสามารถใช้งานได้เอนกประสงค์ และเป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ประกอบกับ ได้มีการเปิดตัวรถยนต์รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รุ่นใหม่ของค่ายฟอร์ด มาสด้า ส่งผลให้ภาวะการแข่งขันในตลาดของรถยนต์ประเภทนี้รุนแรงมากขึ้น ในส่วนของรถยนต์นั่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์นั่งขนาดเล็กมีการขยายตัวทั้งด้านการผลิตและการจำหน่าย เพราะเป็นรถที่มีขนาดที่ประหยัดทั้งด้านราคาและพลังงาน เหมาะสมกับสถานการณ์ราคาน้ำมันในขณะนี้ นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูการจำหน่ายมีการจัดงาน Bangkok International Motor Show ปริมาณการผลิตและจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นมากจากสองเดือนแรกของปี เนื่องจากมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด โดยในปีนี้มีการนำรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดหลากหลายรุ่นมากกว่าปีที่ผ่านมา พร้อมข้อเสนอพิเศษที่กระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ด้านการส่งออกรถยนต์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การส่งออกรถยนต์นั่งมีลู่ทางที่สดใสในตลาดประเทศแถบตะวันออกกลาง และยังมีแนวโน้มที่ดีในตลาดออสเตรเลีย และประเทศในอาเซียน ส่วนรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน สามารถเพิ่มการส่งออกไปยังออสเตรเลีย ประเทศในแถบยุโรป และประเทศแถบตะวันออกกลาง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการส่งออกรถยนต์ปิกอัพ 1ตัน จากฐานการผลิตในประเทศไทยเป็นสำคัญ
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สองของปี 2549 คาดว่า จะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2549 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เป็นปัจจัยลบที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและอำนาจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่มีความต้องการรถยนต์เกิดชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ อย่างไรก็ตาม ภาวะการแข่งขันทางการตลาดของผู้ผลิตจำหน่ายรถยนต์แต่ละรายเป็นปัจจัยบวกที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ ประกอบกับ ตลาดส่งออกรถยนต์ของไทยที่สำคัญยังมีแนวโน้มขยายตัว ดังนั้น ปัจจัยด้านลบดังกล่าวข้างต้น คาดว่าไม่มีผลมากพอที่จะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์หดตัวลง
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 มีจำนวน 596,503 คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 4.03 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 573,411 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 23,092 คัน ลดลงร้อยละ 3.97 และ 5.42 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 573,108 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.20 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 566,849 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 6,259 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.06 และ 16.82 (ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวประกอบด้วย รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 368,800 คัน รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต 39,832 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์ 158,217 คัน) ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปี 2549 รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึงร้อยละ 98.91
เมื่อพิจารณาไตรมาสแรกของปี 2549 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 0.11 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.37 แต่การผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 10.70 ในส่วนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.65 โดยเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.48 และ 25.61 ตามลำดับ ซึ่งในส่วนของการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวนี้ รถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นสูงมาก โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์ขยายตัวถึงประมาณร้อยละ 232 ทั้งนี้ เนื่องจากรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์ให้ความสะดวกในการขับขี่สูงด้วยเกียร์อัตโนมัติ ประกอบกับมีรูปลักษณ์หรูหราทันสมัย
ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีปริมาณการส่งออกรถ จักรยานยนต์ (CBU&CKD) จำนวน 403,686 คัน เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.60 โดยคิดเป็นมูลค่า 6,546.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.26 เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2549 กับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.96 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.57 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย โดยมีการขยายตัวร้อยละ 31.11 และ 110.20 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 531.4 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 10.97 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.14 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2549 มีปริมาณการผลิตที่ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปริมาณการจำหน่ายในประเทศขยายตัว เนื่องจากเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรทั่วประเทศ ทำให้มีกำลังซื้อมากขึ้น ประกอบกับ ผู้ผลิตจำหน่ายได้นำรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง และยังได้มีการขยายจุดการจำหน่ายไปเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ตลอดจน การส่งเสริมการตลาดในรูปแบบใหม่ๆ เช่น การจัดแข่งขันประกวดตกแต่งรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่กระตุ้นความต้องการซื้อของผู้บริโภค ในส่วนตลาดส่งออกยังมีแนวโน้มที่ดี ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ของไทยได้มีการพัฒนารูปแบบตัวรถ ปรับปรุงอุปกรณ์ประกอบรถจักรยานยนต์ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้สามารถขับขี่ใช้งานได้สะดวกสบาย และเป็นไปตามรสนิยมในการขับขี่ของกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบรถจักรยานยนต์ประเภทต่างๆ ตลอดจนการส่งเสริมการตลาดในรูปแบบต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศมากขึ้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่สองของปี 2549 คาดว่า จะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2549 เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการใช้จ่าย ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคในประเทศชะลอการตัดสินใจซื้อ อย่างไรก็ตาม ด้านการส่งออกจะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากรถจักรยานยนต์ของไทยเป็นที่นิยมและได้รับความเชื่อมั่นด้านคุณภาพจากลูกค้า ประกอบกับ ตลาดส่งออกของไทยที่สำคัญได้เข้าสู่ฤดูร้อนซึ่งเป็นสภาวะอากาศที่เหมาะกับการใช้รถจักรยานยนต์ในการเดินทาง
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2549 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
เป็นการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) มูลค่า 21,389.74 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์มูลค่า 2,111.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.70 และ 27.45 ตามลำดับ แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มูลค่า 1,066.75 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.08 ในส่วนการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 2,872.37 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.54 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มูลค่า 142.80 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.37
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.29, 41.25 และ 23.16 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.36 และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.14 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น , มาเลเซีย, สหรัฐอเมริกา และแอฟริกาใต้ โดยมีการขยายตัวร้อยละ 29.49, 45.18, 5.12 และ 49.08 ตามลำดับ ส่วนประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย , ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา โดยตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวสูง คือ ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.76 และ 251.69 ตามลำดับ
ด้านการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2549 มีมูลค่า 30,250.1 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 6.06 ในส่วนการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน มีมูลค่า 1,685.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 7.74 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ลดลงร้อยละ 1.03 ส่วนการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.10 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ของไทยที่สำคัญในไตรมาสแรกของปี 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น และแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยานที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น , อินโดนีเซีย และจีน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
อุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2549 มีจำนวน 304,418 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 2.38 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.43 และ 9.28 แต่ผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 3.88 ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 141,925 คัน หรือร้อยละ 46.62 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 21.82 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(รวมรถยนต์ประเภท PPV) ร้อยละ 78.14
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ 169,984 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 14.45 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 20.68, 6.59 และ 7.76 ตามลำดับ ซึ่งในไตรมาสแรกปี 2549 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ร้อยละ 71.94 รองลงมาเป็นรถยนต์นั่ง ร้อยละ 26.28 แต่หากจัดรถยนต์ประเภท PPV อยู่ในกลุ่มรถยนต์นั่ง(ตามลักษณะการใช้งาน) แล้ว ปรากฎว่า ส่วนแบ่งตลาดของรถยนต์นั่งจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30.72 ส่วนแบ่งตลาดของรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เป็นร้อยละ 67.53
เมื่อพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2549 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.80 และ 2.10 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.12, 23.60 และ 9.35 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.20 และ 8.46 แต่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 6.24
การส่งออกรถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 138,702 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 7.54 โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 61,979.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.77 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 มีการส่งออกรถยนต์ (CBU) เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.50 โดยคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.66 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่งจากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ได้แก่ อินโดนีเชีย ซาอุดีอาระเบีย และออสเตรเลีย โดยมีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 8.38, 41742.42 และ 32.81 ตามลำดับ ทั้งนี้ ตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวสูงมาก คือ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย โอมาน คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร มีการขยายตัวร้อยละ 29.65 และ 51.88 และมีตลาดส่งออกที่น่าสนใจ คือ อิตาลี เยอรมนี และ ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 180.36, 160.71 และ 127.35 ตามลำดับ ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย และซาอุดีอาระเบีย โดยตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวสูง คือ ซาอุดีอาระเบีย ขยายตัวประมาณร้อยละ 509.19
การนำเข้ารถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งคิดเป็นมูลค่า 3,229.2 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 19.69 และมีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 1,949.4 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 13.38 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 17.68 และ 34.94 ตามลำดับ ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งของไทยที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ได้แก่ ฟิลิปปินส์ แหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สำหรับข้อมูลจากกรมศุลกากร ซึ่งได้รายงานผลการนำเข้ารถยนต์นั่ง ที่ผ่านพิธีการศุลกากร ณ สำนักงานศุลกากรแหลมฉบัง, สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ, สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ, สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ ปรากฏว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งรวมจำนวน 2,840 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ซึ่งมีการนำเข้ารถยนต์นั่ง 9,189 คัน ร้อยละ 69.09 โดยแบ่งการนำเข้ารถยนต์นั่งในไตรมาสแรกของปี 2549 เป็น รถยนต์ของค่ายญี่ปุ่น 1,749 คัน รถยนต์ของค่ายเกาหลี 589 คัน รถยนต์ของค่ายยุโรป 487 คัน และรถยนต์ของค่ายสหรัฐอเมริกา 15 คัน
อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมยังคงขยายตัว แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบในทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อรถยนต์บ้าง แต่ก็เป็นไปในลักษณะการเลือกซื้อรถยนต์ในแต่ละประเภทมากกว่า ซึ่งตลาดรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ยังคงขยายตัว เนื่องจากสามารถใช้งานได้เอนกประสงค์ และเป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ประกอบกับ ได้มีการเปิดตัวรถยนต์รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รุ่นใหม่ของค่ายฟอร์ด มาสด้า ส่งผลให้ภาวะการแข่งขันในตลาดของรถยนต์ประเภทนี้รุนแรงมากขึ้น ในส่วนของรถยนต์นั่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์นั่งขนาดเล็กมีการขยายตัวทั้งด้านการผลิตและการจำหน่าย เพราะเป็นรถที่มีขนาดที่ประหยัดทั้งด้านราคาและพลังงาน เหมาะสมกับสถานการณ์ราคาน้ำมันในขณะนี้ นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูการจำหน่ายมีการจัดงาน Bangkok International Motor Show ปริมาณการผลิตและจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นมากจากสองเดือนแรกของปี เนื่องจากมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด โดยในปีนี้มีการนำรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดหลากหลายรุ่นมากกว่าปีที่ผ่านมา พร้อมข้อเสนอพิเศษที่กระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ด้านการส่งออกรถยนต์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การส่งออกรถยนต์นั่งมีลู่ทางที่สดใสในตลาดประเทศแถบตะวันออกกลาง และยังมีแนวโน้มที่ดีในตลาดออสเตรเลีย และประเทศในอาเซียน ส่วนรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน สามารถเพิ่มการส่งออกไปยังออสเตรเลีย ประเทศในแถบยุโรป และประเทศแถบตะวันออกกลาง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการส่งออกรถยนต์ปิกอัพ 1ตัน จากฐานการผลิตในประเทศไทยเป็นสำคัญ
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สองของปี 2549 คาดว่า จะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2549 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เป็นปัจจัยลบที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและอำนาจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่มีความต้องการรถยนต์เกิดชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ อย่างไรก็ตาม ภาวะการแข่งขันทางการตลาดของผู้ผลิตจำหน่ายรถยนต์แต่ละรายเป็นปัจจัยบวกที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ ประกอบกับ ตลาดส่งออกรถยนต์ของไทยที่สำคัญยังมีแนวโน้มขยายตัว ดังนั้น ปัจจัยด้านลบดังกล่าวข้างต้น คาดว่าไม่มีผลมากพอที่จะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์หดตัวลง
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 มีจำนวน 596,503 คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 4.03 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 573,411 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 23,092 คัน ลดลงร้อยละ 3.97 และ 5.42 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 573,108 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.20 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 566,849 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 6,259 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.06 และ 16.82 (ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวประกอบด้วย รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 368,800 คัน รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต 39,832 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์ 158,217 คัน) ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปี 2549 รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึงร้อยละ 98.91
เมื่อพิจารณาไตรมาสแรกของปี 2549 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 0.11 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.37 แต่การผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 10.70 ในส่วนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.65 โดยเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.48 และ 25.61 ตามลำดับ ซึ่งในส่วนของการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวนี้ รถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นสูงมาก โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์ขยายตัวถึงประมาณร้อยละ 232 ทั้งนี้ เนื่องจากรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์ให้ความสะดวกในการขับขี่สูงด้วยเกียร์อัตโนมัติ ประกอบกับมีรูปลักษณ์หรูหราทันสมัย
ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีปริมาณการส่งออกรถ จักรยานยนต์ (CBU&CKD) จำนวน 403,686 คัน เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.60 โดยคิดเป็นมูลค่า 6,546.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.26 เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2549 กับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.96 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.57 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย โดยมีการขยายตัวร้อยละ 31.11 และ 110.20 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 531.4 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 10.97 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.14 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2549 มีปริมาณการผลิตที่ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปริมาณการจำหน่ายในประเทศขยายตัว เนื่องจากเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรทั่วประเทศ ทำให้มีกำลังซื้อมากขึ้น ประกอบกับ ผู้ผลิตจำหน่ายได้นำรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง และยังได้มีการขยายจุดการจำหน่ายไปเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ตลอดจน การส่งเสริมการตลาดในรูปแบบใหม่ๆ เช่น การจัดแข่งขันประกวดตกแต่งรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่กระตุ้นความต้องการซื้อของผู้บริโภค ในส่วนตลาดส่งออกยังมีแนวโน้มที่ดี ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ของไทยได้มีการพัฒนารูปแบบตัวรถ ปรับปรุงอุปกรณ์ประกอบรถจักรยานยนต์ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้สามารถขับขี่ใช้งานได้สะดวกสบาย และเป็นไปตามรสนิยมในการขับขี่ของกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบรถจักรยานยนต์ประเภทต่างๆ ตลอดจนการส่งเสริมการตลาดในรูปแบบต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศมากขึ้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่สองของปี 2549 คาดว่า จะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2549 เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการใช้จ่าย ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคในประเทศชะลอการตัดสินใจซื้อ อย่างไรก็ตาม ด้านการส่งออกจะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากรถจักรยานยนต์ของไทยเป็นที่นิยมและได้รับความเชื่อมั่นด้านคุณภาพจากลูกค้า ประกอบกับ ตลาดส่งออกของไทยที่สำคัญได้เข้าสู่ฤดูร้อนซึ่งเป็นสภาวะอากาศที่เหมาะกับการใช้รถจักรยานยนต์ในการเดินทาง
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2549 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
เป็นการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) มูลค่า 21,389.74 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์มูลค่า 2,111.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.70 และ 27.45 ตามลำดับ แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มูลค่า 1,066.75 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.08 ในส่วนการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 2,872.37 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.54 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มูลค่า 142.80 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.37
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.29, 41.25 และ 23.16 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.36 และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.14 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น , มาเลเซีย, สหรัฐอเมริกา และแอฟริกาใต้ โดยมีการขยายตัวร้อยละ 29.49, 45.18, 5.12 และ 49.08 ตามลำดับ ส่วนประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย , ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา โดยตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวสูง คือ ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.76 และ 251.69 ตามลำดับ
ด้านการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2549 มีมูลค่า 30,250.1 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 6.06 ในส่วนการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน มีมูลค่า 1,685.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 7.74 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ลดลงร้อยละ 1.03 ส่วนการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.10 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ของไทยที่สำคัญในไตรมาสแรกของปี 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น และแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยานที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น , อินโดนีเซีย และจีน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-