คำถาม : อยากทราบว่าธุรกิจใดของไทยที่มีศักยภาพการลงทุนในบังกลาเทศ
คำตอบ : ตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา รัฐบาลบังกลาเทศมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องโดยได้ให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แก่นักลงทุนต่างชาติ อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตั้งแต่ 5-10 ปี (ขึ้นกับพื้นที่ที่เข้าไปลงทุน) รวมทั้งอนุญาตให้เป็นเจ้าของกิจการได้ 100% สำหรับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเกือบทุกประเภท ส่งผลให้มีนักลงทุนต่างชาติรวมถึงนักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในบังกลาเทศเพิ่มขึ้นมาก ทั้งนี้ บังกลาเทศได้เชื้อเชิญนักลงทุนไทยให้เข้าไปร่วมลงทุนกับบังกลาเทศในหลายโครงการ อาทิ การออกแบบและรับเหมาก่อสร้างโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โรงพยาบาล อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมยานยนต์อุตสาหกรรมเครื่องหนัง อุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้นักธุรกิจไทยสามารถใช้บังกลาเทศเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นตลาดขนาดใหญ่อย่างอินเดียได้อีกด้วย
สำหรับธุรกิจที่นักลงทุนไทยน่าจะมีศักยภาพในบังกลาเทศ ได้แก่
ธุรกิจสปาและผลิตภัณฑ์เสริมความงาม
ปัจจุบันการดูแลสุขภาพและเสริมความงามแบบตะวันออกกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในบังกลาเทศ ทั้งจากชาวบังกลาเทศที่มีรายได้สูงซึ่งเป็นลูกค้าระดับบนและระดับกลาง รวมถึงชาวต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูงที่ทำงานอยู่ในบังกลาเทศ โดยเฉพาะการนวดสปาและนวดแผนไทย ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว กำลังเป็นที่ต้องการในบังกลาเทศโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น กรุงธากา (เมืองหลวงของบังกลาเทศ) และเมืองจิตตะกอง (เมืองธุรกิจสำคัญ) ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปลงทุนด้านสุขภาพและความงามเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคในบังกลาเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยควรระมัดระวังในการรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจสปาและผลิตภัณฑ์เสริมความงามของคนไทยเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคและสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงในตลาดแห่งนี้
การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ประมง และอาหาร
- อุตสาหกรรมน้ำตาล บังกลาเทศมีปริมาณผลผลิตอ้อยจำนวนมากในแต่ละปี แต่ยังขาดแคลนเทคโนโลยีและเงินลงทุนในการแปรรูปเป็นน้ำตาล จึงเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยจะเข้าไปลงทุนด้านการแปรรูปอ้อยเป็นน้ำตาลในบังกลาเทศ นอกจากนี้ ยังอาจขยายการลงทุนเพื่อผลิตเอทานอลจากอ้อยเพื่อใช้ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาสูงในปัจจุบันได้อีกด้วย
- การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ จากมูลสัตว์และซากพืช เพื่อจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ราว 63% ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม จึงมีความต้องการใช้ปุ๋ยจำนวนมาก
- อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงกุ้ง บังกลาเทศมีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ในบังกลาเทศยังคงเลี้ยงกุ้งแบบพึ่งพาธรรมชาติค่อนข้างมาก ทั้งนี้ รัฐบาลบังกลาเทศไม่อนุญาตให้เรือประมงต่างชาติเข้าไปจับสัตว์น้ำในบังกลาเทศ ยกเว้นเป็นการร่วมทุนกับเอกชนบังกลาเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลบังกลาเทศส่งเสริมให้มีการลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งและแปรรูปกุ้ง อาทิ กุ้งแช่เย็น แช่แข็ง กุ้งกระป๋อง กุ้งตากแห้ง และกุ้งเค็ม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีความชำนาญ
อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์
ชาวบังกลาเทศส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจนและมีคุณภาพชีวิตต่ำ ดังนั้น รัฐบาลบังกลาเทศจึงต้องเร่งพัฒนาด้านระบบสาธารณสุขในประเทศ อาทิ การสร้างสถานพยาบาลและจัดหาเวชภัณฑ์ให้เพียงพอกับความต้องการทำให้ความต้องการสินค้าเวชภัณฑ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ปัจจุบันอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ของบังกลาเทศขยายตัวเฉลี่ยราว 9% ต่อปี โดยมีบริษัทเวชภัณฑ์ชั้นนำจากต่างประเทศ อาทิ GlaxoSmithKline ของสหราชอาณาจักร, Aventis ของฝรั่งเศส และ Novartis and Roche ของสวิตเซอร์แลนด์ เข้าไปลงทุนในบังกลาเทศ ส่วนชาวบังกลาเทศที่มีกำลังซื้อสูง มักนิยมเดินทางไปรักษาตัวในต่างประเทศรวมถึงไทย ทำให้โรงพยาบาลและอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์เป็นธุรกิจที่ไทยน่าจะมีศักยภาพในการเข้าไปลงทุนในบังกลาเทศ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2549--
-พห-
คำตอบ : ตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา รัฐบาลบังกลาเทศมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องโดยได้ให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แก่นักลงทุนต่างชาติ อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตั้งแต่ 5-10 ปี (ขึ้นกับพื้นที่ที่เข้าไปลงทุน) รวมทั้งอนุญาตให้เป็นเจ้าของกิจการได้ 100% สำหรับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเกือบทุกประเภท ส่งผลให้มีนักลงทุนต่างชาติรวมถึงนักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในบังกลาเทศเพิ่มขึ้นมาก ทั้งนี้ บังกลาเทศได้เชื้อเชิญนักลงทุนไทยให้เข้าไปร่วมลงทุนกับบังกลาเทศในหลายโครงการ อาทิ การออกแบบและรับเหมาก่อสร้างโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โรงพยาบาล อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมยานยนต์อุตสาหกรรมเครื่องหนัง อุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้นักธุรกิจไทยสามารถใช้บังกลาเทศเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นตลาดขนาดใหญ่อย่างอินเดียได้อีกด้วย
สำหรับธุรกิจที่นักลงทุนไทยน่าจะมีศักยภาพในบังกลาเทศ ได้แก่
ธุรกิจสปาและผลิตภัณฑ์เสริมความงาม
ปัจจุบันการดูแลสุขภาพและเสริมความงามแบบตะวันออกกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในบังกลาเทศ ทั้งจากชาวบังกลาเทศที่มีรายได้สูงซึ่งเป็นลูกค้าระดับบนและระดับกลาง รวมถึงชาวต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูงที่ทำงานอยู่ในบังกลาเทศ โดยเฉพาะการนวดสปาและนวดแผนไทย ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว กำลังเป็นที่ต้องการในบังกลาเทศโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น กรุงธากา (เมืองหลวงของบังกลาเทศ) และเมืองจิตตะกอง (เมืองธุรกิจสำคัญ) ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปลงทุนด้านสุขภาพและความงามเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคในบังกลาเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยควรระมัดระวังในการรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจสปาและผลิตภัณฑ์เสริมความงามของคนไทยเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคและสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงในตลาดแห่งนี้
การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ประมง และอาหาร
- อุตสาหกรรมน้ำตาล บังกลาเทศมีปริมาณผลผลิตอ้อยจำนวนมากในแต่ละปี แต่ยังขาดแคลนเทคโนโลยีและเงินลงทุนในการแปรรูปเป็นน้ำตาล จึงเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยจะเข้าไปลงทุนด้านการแปรรูปอ้อยเป็นน้ำตาลในบังกลาเทศ นอกจากนี้ ยังอาจขยายการลงทุนเพื่อผลิตเอทานอลจากอ้อยเพื่อใช้ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาสูงในปัจจุบันได้อีกด้วย
- การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ จากมูลสัตว์และซากพืช เพื่อจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ราว 63% ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม จึงมีความต้องการใช้ปุ๋ยจำนวนมาก
- อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงกุ้ง บังกลาเทศมีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ในบังกลาเทศยังคงเลี้ยงกุ้งแบบพึ่งพาธรรมชาติค่อนข้างมาก ทั้งนี้ รัฐบาลบังกลาเทศไม่อนุญาตให้เรือประมงต่างชาติเข้าไปจับสัตว์น้ำในบังกลาเทศ ยกเว้นเป็นการร่วมทุนกับเอกชนบังกลาเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลบังกลาเทศส่งเสริมให้มีการลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งและแปรรูปกุ้ง อาทิ กุ้งแช่เย็น แช่แข็ง กุ้งกระป๋อง กุ้งตากแห้ง และกุ้งเค็ม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีความชำนาญ
อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์
ชาวบังกลาเทศส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจนและมีคุณภาพชีวิตต่ำ ดังนั้น รัฐบาลบังกลาเทศจึงต้องเร่งพัฒนาด้านระบบสาธารณสุขในประเทศ อาทิ การสร้างสถานพยาบาลและจัดหาเวชภัณฑ์ให้เพียงพอกับความต้องการทำให้ความต้องการสินค้าเวชภัณฑ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ปัจจุบันอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ของบังกลาเทศขยายตัวเฉลี่ยราว 9% ต่อปี โดยมีบริษัทเวชภัณฑ์ชั้นนำจากต่างประเทศ อาทิ GlaxoSmithKline ของสหราชอาณาจักร, Aventis ของฝรั่งเศส และ Novartis and Roche ของสวิตเซอร์แลนด์ เข้าไปลงทุนในบังกลาเทศ ส่วนชาวบังกลาเทศที่มีกำลังซื้อสูง มักนิยมเดินทางไปรักษาตัวในต่างประเทศรวมถึงไทย ทำให้โรงพยาบาลและอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์เป็นธุรกิจที่ไทยน่าจะมีศักยภาพในการเข้าไปลงทุนในบังกลาเทศ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2549--
-พห-