คำถาม : อยากทราบข้อควรรู้ก่อนส่งออกสินค้าอาหารไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
คำตอบ : สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates : UAE) มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคตะวันออกกลาง และยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ชาว UAE ส่วนใหญ่มีฐานะดีและกำลังซื้อสูงโดยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงถึงกว่า 28,600 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ในตะวันออกกลาง รองจากกาตาร์ดังนั้น UAE จึงเป็นตลาดการค้าที่มีศักยภาพและเป็นที่สนใจของผู้ส่งออกทั้งหลาย โดยเฉพาะสินค้าอาหาร เนื่องจากปัจจุบัน UAE ยังผลิตอาหารได้ไม่หลากหลายและไม่เพียงพอ ทำให้จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
สำหรับข้อควรทราบเบื้องต้นก่อนส่งออกสินค้าอาหารไป UAE มีดังนี้
แนวโน้มตลาด ปัจจุบันชาว UAE ให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพมากขึ้น ทำให้อาหารเพื่อสุขภาพและอาหารเกษตรอินทรีย์ (Organic Food) ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงใน UAE ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ชาว UAE บางส่วนหันมาบริโภคเนื้อไก่และ "เนื้อขาว (White Meat)" อื่น ๆ เช่น ปลาชนิดต่าง ๆ และอาหารทะเลแทนการบริโภค "เนื้อแดง (Red Meat)" อาทิ เนื้อวัว อีกทั้งนิยมบริโภคพืชผักที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน (Hydrophonic) ซึ่งปลอดสารพิษอีกด้วย
กฎระเบียบ/ภาษีนำเข้า UAE เก็บภาษีนำเข้าสินค้าอาหารต่ำมากราว 0%-5% โดยสินค้าอาหารส่วนใหญ่ อาทิ ข้าว และอาหารสด จะได้รับการยกเว้นภาษี เนื่องจาก UAE ยังผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศอย่างไรก็ตาม UAE จำกัดการนำเข้าสินค้าอาหารบางประเภท อาทิ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ โดยต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานด้านอาหารของ UAE ก่อน ทั้งนี้ สินค้าอาหารที่จะส่งออกไปยัง UAE ควรมีตราสัญลักษณ์รับรองผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล ซึ่งแสดงถึงมาตรฐานการผลิตที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม เนื่องจากเป็นจุดขายสำคัญของสินค้าในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ฉลากสินค้าควรระบุรายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าอย่างชัดเจน และควรมีภาษาอังกฤษกำกับควบคู่กับภาษาอารบิกด้วย
ช่องทางการจำหน่าย สินค้าอาหารที่ UAE นำเข้ามาส่วนใหญ่ราว 70%-75% จะส่งออกต่อ (Re-export)ไปยังประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง แอฟริกา และประเทศในกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) โดยมีรัฐดูไบเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า ส่วนที่เหลือจะนำเข้ามาเพื่อบริโภคภายในประเทศ โดยผู้นำเข้าใน UAE จะจำหน่ายต่อไปยังร้านค้าส่งและซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ สำหรับสินค้าอาหารที่ UAE นำเข้าจากไทยมาก ได้แก่ ข้าว ปลาทูน่ากระป๋อง ผักและผลไม้สด/กระป๋อง น้ำตาล นอกจากนี้ คาดว่า UAE มีแนวโน้มจะนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องปรุงรส
เครื่องแกงสำเร็จรูป และวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหารไทย รวมถึงขนมขบเคี้ยว เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันร้านอาหารไทยและร้านที่มีเมนูอาหารไทยได้รับความนิยมจากชาว UAE มากขึ้น
งานแสดงสินค้าอาหาร Gulf Food ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ทาง UAE จะจัดงานแสดงสินค้าอาหาร ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกได้พบปะและเจรจาธุรกิจกับตัวแทนจำหน่ายและผู้นำเข้าสินค้าของ UAE และประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมทั้ง CIS ฯลฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกต่อที่สำคัญของ UAE อีกด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2549--
-พห-
คำตอบ : สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates : UAE) มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคตะวันออกกลาง และยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ชาว UAE ส่วนใหญ่มีฐานะดีและกำลังซื้อสูงโดยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงถึงกว่า 28,600 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ในตะวันออกกลาง รองจากกาตาร์ดังนั้น UAE จึงเป็นตลาดการค้าที่มีศักยภาพและเป็นที่สนใจของผู้ส่งออกทั้งหลาย โดยเฉพาะสินค้าอาหาร เนื่องจากปัจจุบัน UAE ยังผลิตอาหารได้ไม่หลากหลายและไม่เพียงพอ ทำให้จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
สำหรับข้อควรทราบเบื้องต้นก่อนส่งออกสินค้าอาหารไป UAE มีดังนี้
แนวโน้มตลาด ปัจจุบันชาว UAE ให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพมากขึ้น ทำให้อาหารเพื่อสุขภาพและอาหารเกษตรอินทรีย์ (Organic Food) ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงใน UAE ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ชาว UAE บางส่วนหันมาบริโภคเนื้อไก่และ "เนื้อขาว (White Meat)" อื่น ๆ เช่น ปลาชนิดต่าง ๆ และอาหารทะเลแทนการบริโภค "เนื้อแดง (Red Meat)" อาทิ เนื้อวัว อีกทั้งนิยมบริโภคพืชผักที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน (Hydrophonic) ซึ่งปลอดสารพิษอีกด้วย
กฎระเบียบ/ภาษีนำเข้า UAE เก็บภาษีนำเข้าสินค้าอาหารต่ำมากราว 0%-5% โดยสินค้าอาหารส่วนใหญ่ อาทิ ข้าว และอาหารสด จะได้รับการยกเว้นภาษี เนื่องจาก UAE ยังผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศอย่างไรก็ตาม UAE จำกัดการนำเข้าสินค้าอาหารบางประเภท อาทิ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ โดยต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานด้านอาหารของ UAE ก่อน ทั้งนี้ สินค้าอาหารที่จะส่งออกไปยัง UAE ควรมีตราสัญลักษณ์รับรองผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล ซึ่งแสดงถึงมาตรฐานการผลิตที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม เนื่องจากเป็นจุดขายสำคัญของสินค้าในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ฉลากสินค้าควรระบุรายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าอย่างชัดเจน และควรมีภาษาอังกฤษกำกับควบคู่กับภาษาอารบิกด้วย
ช่องทางการจำหน่าย สินค้าอาหารที่ UAE นำเข้ามาส่วนใหญ่ราว 70%-75% จะส่งออกต่อ (Re-export)ไปยังประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง แอฟริกา และประเทศในกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) โดยมีรัฐดูไบเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า ส่วนที่เหลือจะนำเข้ามาเพื่อบริโภคภายในประเทศ โดยผู้นำเข้าใน UAE จะจำหน่ายต่อไปยังร้านค้าส่งและซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ สำหรับสินค้าอาหารที่ UAE นำเข้าจากไทยมาก ได้แก่ ข้าว ปลาทูน่ากระป๋อง ผักและผลไม้สด/กระป๋อง น้ำตาล นอกจากนี้ คาดว่า UAE มีแนวโน้มจะนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องปรุงรส
เครื่องแกงสำเร็จรูป และวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหารไทย รวมถึงขนมขบเคี้ยว เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันร้านอาหารไทยและร้านที่มีเมนูอาหารไทยได้รับความนิยมจากชาว UAE มากขึ้น
งานแสดงสินค้าอาหาร Gulf Food ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ทาง UAE จะจัดงานแสดงสินค้าอาหาร ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกได้พบปะและเจรจาธุรกิจกับตัวแทนจำหน่ายและผู้นำเข้าสินค้าของ UAE และประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมทั้ง CIS ฯลฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกต่อที่สำคัญของ UAE อีกด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2549--
-พห-