นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่าง ประเทศ (คต.) โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าได้สุ่มเก็บตัวอย่างจากโรงสีที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐานตามโครงการความร่วมมือกับจังหวัดในแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิมาตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานเป็น ระยะ ๆ ส่งตรวจวิเคราะห์มาตรฐานคุณภาพข้าวทางพันธุกรรม (DNA) อีกครั้ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศ
กรมการค้าต่างประเทศ ได้ดำเนินนโยบายเชิงรุกในการจัดทำโครงการสร้างตราข้าวหอมมะลิไทย เพื่อผลักดันและยกระดับข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้าชั้นเลิศ (Premuim) โดยร่วมมือกับจังหวัด ที่เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด คัดเลือกและรับรองโรงสีที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด และให้จังหวัดนั้น ๆ สร้างตราข้าวหอมมะลิของจังหวัดขึ้น โดยบ่งชี้ถึงคุณค่าที่มีความแตกต่างแต่ละจังหวัดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งในขณะนี้มีโรงสีที่ผ่านการรับรองจากจังหวัดแล้วรวม 54 ราย แยกเป็นจังหวัด สุรินทร์ 18โรง บุรีรัมย์ 14 โรง ยโสธร 8 โรง ร้อยเอ็ด 7 โรง อำนาจเจริญ 6 โรง และอุบลราชธานี 1 โรง
นายราเชนทร์ฯ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด ทำการตรวจสอบคุณภาพเป็นระยะ ๆ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์มาตรฐานคุณภาพข้าวทาง DNA หลังจากโรงสีนั้น ๆ ได้รับการรับรองจากจังหวัดแล้ว ปรากฎว่า ผลการวิเคราะห์ข้าวหอมมะลิจากทุกโรงสีมีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามมาตรฐานส่งออก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากโรงสีที่เข้าร่วมโครงการที่เห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นประโยชน์ สามารถสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยแก่ผู้ซื้อ และเห็นด้วยกับมาตรการเข้มงวดกับการปลอมปนข้าวหอมมะลิ มีผลทำให้ได้รับการติดต่อสั่งซื้อโดยตรงจากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น ห้างสยามพารากอน และห้างในเครือ เดอะมอลล์กรุ๊ป ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและในจังหวัดมีการรวมตัวของโรงสีที่มุ่งมั่นจะผลิตข้าวหอมมะลิไทยที่มีคุณภาพ และสนใจจะพัฒนาตนเองเป็นผู้ส่งออกในอนาคต รวมทั้งโรงสีมีความสนใจเข้าร่วม Road Show กับกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อให้มีโอกาสได้พบกับผู้ซื้อโดยตรง อันจะส่งผลดีต่อการขยายตลาดข้าวหอมมะลิไทยทั้งตลาดภายในและตลาดโลกอีกทางหนึ่ง
ในปี 2548 ไทยส่งข้าวหอมมะลิออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ปริมาณ 2.268 ล้านตันคิดเป็นมูลค่า 34,622 ล้านบาท และในปี 2549 (ม.ค. — 15 ส.ค.) ส่งออกข้าวหอมมะลิไปต่างประเทศแล้ว ในปริมาณ 1.51 ล้านตัน มูลค่า 22,505 ล้านบาท
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
กรมการค้าต่างประเทศ ได้ดำเนินนโยบายเชิงรุกในการจัดทำโครงการสร้างตราข้าวหอมมะลิไทย เพื่อผลักดันและยกระดับข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้าชั้นเลิศ (Premuim) โดยร่วมมือกับจังหวัด ที่เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด คัดเลือกและรับรองโรงสีที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด และให้จังหวัดนั้น ๆ สร้างตราข้าวหอมมะลิของจังหวัดขึ้น โดยบ่งชี้ถึงคุณค่าที่มีความแตกต่างแต่ละจังหวัดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งในขณะนี้มีโรงสีที่ผ่านการรับรองจากจังหวัดแล้วรวม 54 ราย แยกเป็นจังหวัด สุรินทร์ 18โรง บุรีรัมย์ 14 โรง ยโสธร 8 โรง ร้อยเอ็ด 7 โรง อำนาจเจริญ 6 โรง และอุบลราชธานี 1 โรง
นายราเชนทร์ฯ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด ทำการตรวจสอบคุณภาพเป็นระยะ ๆ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์มาตรฐานคุณภาพข้าวทาง DNA หลังจากโรงสีนั้น ๆ ได้รับการรับรองจากจังหวัดแล้ว ปรากฎว่า ผลการวิเคราะห์ข้าวหอมมะลิจากทุกโรงสีมีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามมาตรฐานส่งออก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากโรงสีที่เข้าร่วมโครงการที่เห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นประโยชน์ สามารถสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยแก่ผู้ซื้อ และเห็นด้วยกับมาตรการเข้มงวดกับการปลอมปนข้าวหอมมะลิ มีผลทำให้ได้รับการติดต่อสั่งซื้อโดยตรงจากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น ห้างสยามพารากอน และห้างในเครือ เดอะมอลล์กรุ๊ป ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและในจังหวัดมีการรวมตัวของโรงสีที่มุ่งมั่นจะผลิตข้าวหอมมะลิไทยที่มีคุณภาพ และสนใจจะพัฒนาตนเองเป็นผู้ส่งออกในอนาคต รวมทั้งโรงสีมีความสนใจเข้าร่วม Road Show กับกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อให้มีโอกาสได้พบกับผู้ซื้อโดยตรง อันจะส่งผลดีต่อการขยายตลาดข้าวหอมมะลิไทยทั้งตลาดภายในและตลาดโลกอีกทางหนึ่ง
ในปี 2548 ไทยส่งข้าวหอมมะลิออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ปริมาณ 2.268 ล้านตันคิดเป็นมูลค่า 34,622 ล้านบาท และในปี 2549 (ม.ค. — 15 ส.ค.) ส่งออกข้าวหอมมะลิไปต่างประเทศแล้ว ในปริมาณ 1.51 ล้านตัน มูลค่า 22,505 ล้านบาท
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-