วันนี้ (15 ก.ค.49) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงความคืบหน้าการทุจริตรถดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร หลังจากที่พรรค ปชป.และคณะได้เข้ายื่นหนังสือต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอและอัยการสูงสุดว่า ในวันจันทร์ (17 ก.ค.49) เวลา 10.30 น. คณะทำงานตรวจสอบการทุจริจจะไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อยืนหนังสือต่อรักษานายกรัฐมนตรี (พ.ตท.ทักษิณ ชินวัตร) เพื่อนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันอังคาร (18 ก.ค.49) เพื่อให้มีมติใน 3 เรื่อง 1. ขอให้ทำการยกเลิกสัญญา 3 ฉบับคือสัญญาจีทูจี (Government to Government) ระหว่างรัฐบาลไทยกับประเทศออสเตรียที่ทำในรูปสัญญาซื้อขายเอโอยูฉบับวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 2 .ยกเลิกสัญญาค้าต่างตอบแทนที่ ระหว่างกรมการค้าต่างประเทศกับบริษัทสไตเออร์ฉบับวันที่ 30 กันยายน 2547 และ 3.ก็คือยกเลิกสัญญาการซื้อขายระหว่าง กทม.กับบริษัทสไตเออร์
และขอให้มีมติสั่งการดังนี้ ขอให้สั่งการกรมบัญชีกลงสำนักงบประมาณและกรมส่งเสริมองค์กรปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยได้ระงับการสั่งจ่ายงบประมาณรายจ่ายรายปี 2549 กรณีที่ต้องจ่ายเงินให้สไตเออร์จำนวน 506 ล้านบาทซึ่งเป็นงวดแรกที่จะต้องจ่ายในการจัดซื้อรถดับเพลิงดังกล่าวเพื่อที่จะระงับไม่ให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมและประเทศชาติ
นายอลงกรณ์ เปิดเผยถึงสาเหตุที่ต้องยื่นหนังสือถึงนายกฯเป็นลายลักษณ์อักษรในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ว่า ได้เรียกร้องในประเด็นนี้หลายสัปดาห์ที่ผ่านมาแต่ว่า ครม.และนายกฯไม่ได้ใส่ใจไม่ได้สนใจที่จะยุติปัญหาที่เป็นความเสียหายและเป็นความเสียหายต่อประเทศไทยในการซื้อขายดังกล่าวจึงต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อไปยื่นและจะได้ไม่บิดพลิ้วและจะได้พิสูจน์ความจริงใจและความตรงไปตรงมาของรัฐบาลว่ามีความประสงค์ที่จะแก้ไขการทุจริตในโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงหรือไม่อย่างไร
นายอลงกรณ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นในสัปดาห์หน้าจะได้เข้าพบกับ รมต.กระทรวงพาณิชย์ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เพื่อที่จะยื่นหนังสือขอให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนสัญญาต่างตอบแทนที่ดำเนินการโดยกรมการค้าต่างประเทศและบริษัทสไตเออร์ ทั้งนี้จะได้หารือในสำนวนสอบสวนที่ระบุว่า บริษัทสไตเออร์ได้จ่ายเงินให้กับบริษัทในเครือซีพี(เจริญโภคภัณฑ์) 150 ล้านเพื่อดำเนินการตามข้อตกลงการค้าต่างตอบแทนแลกรถกับไก่แต่ดีเอสไอพบว่าเป็นเพียงข้ออ้างในการทำการค้าต่างตอบแทนเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของข้อตกลงเท่านั้น
และประการสุดท้ายคือขอให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์) ได้พิจารณาเพิ่มข้อกฎหมายในการยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เพราะในการยื่น ปปช. ครั้งแรกของดีเอสไอนั้นระบุเพียงว่าได้มีการประทำขัดต่อ พ.ร.บ.งบประมาณอันเข้าข่ายการทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 157 ว่าด้วยการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติทำให้ราชการเสียหายซึ่งตนพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมายแล้วถือว่าการดำเนินการของดีเอสไอยังไม่รอบคอบและครอบคลุมเพียงพอในการที่จะนำผู้กระทำผิดซึ่งประกอบไปด้วยนักการเมือง ข้าราชการ บริษัทนิติบุคคลทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งเอกชนเป็นเอกเพราะว่าภายใต้กฎหมายดังกล่าวที่ดีเอสไอระบุจะดำเนินการได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นซึ่งจะทำให้ปลาหลุดจากร่างแหได้
นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า จึงขอให้อธิบดีกรมฯเพิ่มเติมข้อกล่าวหาภายใต้กฎหมายอีก 2 ฉบับ คือ1.พ.ร.บ.ความผิดว่าด้วยการเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือเรียกว่า กฎหมายป้องกันการฮั้ว ซึ่งจะเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมในการสามารถเอาผิดทั้งนักการเมือง ข้าราชการ บริษัทเอกชนทั้งต่างชาติและคนไทยได้ด้วยตรงนั้นได้กำหนดว่าพนักงานสอบสวนก็คือดีเอสไอ และ ปปช.สามารถดำเนินการภายใต้กฎหมายนี้ได้และ 2.กฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งภายใต้กฎหมาย ปปช.นั้นสามารถที่จะใช้อำนาจพิเศษทางกฎหมายในการสามาถเข้าถึงเส้นทางการเงินสามารถเข้าถึงการทำธุรกิจธุรกรรมทางกรเงินและอื่นๆก็จะเป็นส่วนหนี่งที่เราสามารถจะติดตามในเรื่องของเส้นทางการจ่ายสินบนดังกล่าวในโครงการนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.ค. 2549--จบ--
และขอให้มีมติสั่งการดังนี้ ขอให้สั่งการกรมบัญชีกลงสำนักงบประมาณและกรมส่งเสริมองค์กรปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยได้ระงับการสั่งจ่ายงบประมาณรายจ่ายรายปี 2549 กรณีที่ต้องจ่ายเงินให้สไตเออร์จำนวน 506 ล้านบาทซึ่งเป็นงวดแรกที่จะต้องจ่ายในการจัดซื้อรถดับเพลิงดังกล่าวเพื่อที่จะระงับไม่ให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมและประเทศชาติ
นายอลงกรณ์ เปิดเผยถึงสาเหตุที่ต้องยื่นหนังสือถึงนายกฯเป็นลายลักษณ์อักษรในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ว่า ได้เรียกร้องในประเด็นนี้หลายสัปดาห์ที่ผ่านมาแต่ว่า ครม.และนายกฯไม่ได้ใส่ใจไม่ได้สนใจที่จะยุติปัญหาที่เป็นความเสียหายและเป็นความเสียหายต่อประเทศไทยในการซื้อขายดังกล่าวจึงต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อไปยื่นและจะได้ไม่บิดพลิ้วและจะได้พิสูจน์ความจริงใจและความตรงไปตรงมาของรัฐบาลว่ามีความประสงค์ที่จะแก้ไขการทุจริตในโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงหรือไม่อย่างไร
นายอลงกรณ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นในสัปดาห์หน้าจะได้เข้าพบกับ รมต.กระทรวงพาณิชย์ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เพื่อที่จะยื่นหนังสือขอให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนสัญญาต่างตอบแทนที่ดำเนินการโดยกรมการค้าต่างประเทศและบริษัทสไตเออร์ ทั้งนี้จะได้หารือในสำนวนสอบสวนที่ระบุว่า บริษัทสไตเออร์ได้จ่ายเงินให้กับบริษัทในเครือซีพี(เจริญโภคภัณฑ์) 150 ล้านเพื่อดำเนินการตามข้อตกลงการค้าต่างตอบแทนแลกรถกับไก่แต่ดีเอสไอพบว่าเป็นเพียงข้ออ้างในการทำการค้าต่างตอบแทนเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของข้อตกลงเท่านั้น
และประการสุดท้ายคือขอให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์) ได้พิจารณาเพิ่มข้อกฎหมายในการยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เพราะในการยื่น ปปช. ครั้งแรกของดีเอสไอนั้นระบุเพียงว่าได้มีการประทำขัดต่อ พ.ร.บ.งบประมาณอันเข้าข่ายการทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 157 ว่าด้วยการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติทำให้ราชการเสียหายซึ่งตนพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมายแล้วถือว่าการดำเนินการของดีเอสไอยังไม่รอบคอบและครอบคลุมเพียงพอในการที่จะนำผู้กระทำผิดซึ่งประกอบไปด้วยนักการเมือง ข้าราชการ บริษัทนิติบุคคลทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งเอกชนเป็นเอกเพราะว่าภายใต้กฎหมายดังกล่าวที่ดีเอสไอระบุจะดำเนินการได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นซึ่งจะทำให้ปลาหลุดจากร่างแหได้
นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า จึงขอให้อธิบดีกรมฯเพิ่มเติมข้อกล่าวหาภายใต้กฎหมายอีก 2 ฉบับ คือ1.พ.ร.บ.ความผิดว่าด้วยการเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือเรียกว่า กฎหมายป้องกันการฮั้ว ซึ่งจะเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมในการสามารถเอาผิดทั้งนักการเมือง ข้าราชการ บริษัทเอกชนทั้งต่างชาติและคนไทยได้ด้วยตรงนั้นได้กำหนดว่าพนักงานสอบสวนก็คือดีเอสไอ และ ปปช.สามารถดำเนินการภายใต้กฎหมายนี้ได้และ 2.กฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งภายใต้กฎหมาย ปปช.นั้นสามารถที่จะใช้อำนาจพิเศษทางกฎหมายในการสามาถเข้าถึงเส้นทางการเงินสามารถเข้าถึงการทำธุรกิจธุรกรรมทางกรเงินและอื่นๆก็จะเป็นส่วนหนี่งที่เราสามารถจะติดตามในเรื่องของเส้นทางการจ่ายสินบนดังกล่าวในโครงการนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.ค. 2549--จบ--