(ต่อ1) สรุปผลงานเด่นในรอบปี 2548 และแผนงานการเจรจาของปี 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 5, 2006 15:45 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

          นอกจากนี้ สหภาพยุโรปตกลงที่จะให้การชดเชยผลกระทบจากการรวมโควตาข้าวของประเทศสมาชิกใหม่เข้ากับโควตาของสหภาพฯ โดย
กำหนดจะเพิ่มปริมาณโควตาสำหรับข้าวขาว (พิกัด 100630) ให้ไทย อีก 1,200 ตัน ที่อัตราภาษีภายในโควตาร้อยละ 0
ข้อตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายได้มีการแลกเปลี่ยนความตกลงในรูปของสาสน์ แลกเปลี่ยน ซึ่งขณะนี้ สหภาพยุโรปอยู่
ระหว่างการดำเนินการภายในเพื่อให้มีผลบังคับใช้ทางกฏหมาย โดยสหภาพยุโรปจะพยายามให้ความตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ภายใน 1 มกราคม
2549 หรืออย่างช้า ที่สุด 1 กรกฎาคม 2549
สรุปข่าวเด่นอาเซียนในรอบปี 2548
ในระหว่างปี 2548 ที่ผ่านมา การดำเนินงานในกรอบอาเซียนมีความคืบหน้าและเห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งการดำเนินงานภายในของ
อาเซียนเพื่อเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน และการเจรจากับประเทศคู่เจรจาต่างๆ เพื่อขยายโอกาส
ทางการค้าและการลงทุนของไทยไปสู่ภูมิภาค โดยสรุปการดำเนินงานที่สำคัญได้ ดังนี้
? งานอาเซียน/ทวิภาคี/การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้าน
1. การเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน หลังจากที่ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบการเร่งรัดการรวมกลุ่มใน 11 สาขา
สำคัญ เพื่อนำร่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งไทยรับผิดชอบในสาขาการท่องเที่ยวและการบิน ได้มีการดำเนินมาตรการสำคัญหลาย
ประการเพื่อให้การดำเนินงานเห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ได้แก่
- การจัดทำแผนงานเพื่อเร่งรัด (fast track) การรวมกลุ่มในสาขาการท่องเที่ยวและการบิน ให้เร็วยิ่งขึ้น โดยให้ดำเนินการใน
ลักษณะ Agenda-base ให้
เห็นผลเป็นรูปธรรมก่อน ปีค.ศ. 2010 โดยยึดหลัก Economy of Speed เพื่อให้การดำเนินงานทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
เช่น การใช้หลักการ 2+X กล่าวคือ สองประเทศใดที่มีความพร้อมให้เริ่มดำเนินการกันไปก่อน และประเทศที่เหลือเข้ามาร่วมได้ในภายหลัง เช่น การ
จัดทำความตกลงด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศที่ไทยได้เริ่มดำเนินการไปแล้วกับสิงคโปร์ บรูไน และกัมพูชา
- การเห็นชอบเป้าหมายการเปิดเสรีภาคบริการของอาเซียน โดยสาขาบริการสำคัญ 3 สาขาสำคัญ (Priority Service
Sectors) ได้แก่ บริการด้านสุขภาพ
(การรักษาพยาบาล การดูแลพักฟื้น) บริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม)
ธุรกิจท่องเที่ยว (โรงแรม ที่พัก ภัตตาคาร การจัดเลี้ยง ตัวแทนท่องเที่ยว ธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์) ให้เปิดเสรีภายในปีค.ศ. 2010 สำหรับ
สาขาบริการอื่นๆ (Non-Priority Services Sector) ครอบคลุมบริการทุกสาขานอกเหนือจาก priority sectors กำหนดเป้าหมายการเปิด
เสรีภายในปีค.ศ. 2015
- การอำนวยความสะดวกทางการค้าและบริการของอาเซียน ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 12-14
ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามความตกลงด้านเศรษฐกิจ 3 ฉบับ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวกทางการค้าของอา
เซียน ดังนี้
1) ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว เพื่อให้ยื่น
เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออก ณ จุดเดียว และสามารถตรวจปล่อยสินค้าได้เพียงครั้งเดียว ทั้งนี้ ไทยและฟิลิปปินส์จะเป็น 2
ประเทศแรกที่เริ่มโครงการนำร่องในช่วงต้นปี 2549
2) ความตกลงว่าด้วยการปรับประสานระบบการควบคุม/ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน
เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะเป็นกลไกในการสร้างการยอมรับร่วมสำหรับบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ควบคุมในขอบข่ายมาตรฐานบังคับของ
ประเทศอาเซียนและช่วยลดอุปสรรคด้านกฎระเบียบทางเทคนิคด้านการค้าในภูมิภาค
3) ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิศวกรรมของอาเซียน มีเป้าหมายเพื่อเปิดโอกาสให้วิศวกรที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด
สามารถจดทะเบียนเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Engineer) ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการขอใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศอาเซียนอื่นได้
2. การหารือทวิภาคีไทย-สิงคโปร์ (STEER ครั้งที่ 2)
ไทยและสิงคโปร์ มีเวทีหารือทวิภาคีเรียกว่า Singapore —Thailand Enhanced Economic Relationship
หรือ STEER สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งแรกเมื่อปี 2546 การประชุมเวทีนี้ จะเป็นลักษณะคู่ขนาน ระหว่างภาครัฐกับรัฐ และเอกชนกับ
เอกชน ของทั้งสองฝ่าย
ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2548 โดยการประชุม ในลักษณะคู่ขนาน
ภาคราชการเน้นการผลักดันการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอาเซียน ตามแนวทาง 2+X ภาคเอกชนเน้นการจับคู่ทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนไทยพบกับเครือ
ข่ายทางธุรกิจสิงคโปร์ ที่เรียกว่า Business Matching and Networking ผลสำเร็จคือได้มีการลงนามใน MOU ความร่วมมือสาขาต่าง ๆ
จำนวน 10 ฉบับ และได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายการค้า การลงทุนระหว่างกันมูลค่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในปี 2553
(2010) และจะร่วมกันเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนมาเที่ยวในอาเซียนจำนวน 1 ล้านคนใน 3 ปีข้างหน้า
3. การให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ มีโครงการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (CLMV) มาตั้งแต่ปี
2542 จนถึงปัจจุบัน โดยในระยะแรก ได้ให้ความช่วยเหลือ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม ระยะที่ 2 ตั้งแต่ปี 2547
พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการฯ สามารถผลักดันให้ประเทศสมาชิกใหม่มีบริหารจัดการ ที่เอื้อต่อการเปิดเสรีภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียนมากขึ้น
และได้ ยกเว้นการให้ความช่วยเหลือเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามได้เริ่มปฏิบัติการตามแนวทางของสมาชิกเดิมได้แล้ว
ลักษณะการให้ความช่วยเหลือเน้นด้านวิชาการ เพื่อให้สมาชิกใหม่อาเซียนสามารถปรับวิธีปฏิบัติการทางการค้าเข้าสู่
ระบบสากลมากขึ้น โดยเฉพาะการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจต่อการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ภายใต้กรอบอาเซียน การตรวจสอบการใช้
สิทธิฯ ดังกล่าว พร้อมแนะนำเทคนิคการใช้แบบฟอร์ม D เพื่อการส่งออก-นำเข้า และส่งเสริมให้ CLMV ใช้สิทธิพิเศษทางภาษีจากไทยและใช้แบบ
ฟอร์ม AISP ในขณะเดียวกัน จัดให้มีการ Matching ทางธุรกิจของสองฝ่าย ที่จังหวัดชายแดนคู่กับประเทศคู่ค้า เช่น จังหวัดมุกดาหารกับสะ
หวันนะเขต จันทบุรีกับเกาะกง และพื้นที่ใกล้เคียง ระนองกับเกาะสอง เป็นต้น โดยเชิญผู้แทนทั้งภาคราชการ และเอกชนของ CLMV มาเข้าร่วม
สัมมนา เพื่อร่วมตอบคำถามปัญหาการค้า เอกชนทั้งสองฝ่ายได้รู้จัก เริ่มทำธุรกิจในระบบการค้าอาเซียน
ผลตอบรับไม่ได้ทันที บางรายสามารถเริ่มต้นได้ในระบบ บางรายสามารถเพิ่มช่องทางการค้าได้ทั้งสองระบบ คือนอก
ระบบ กับในระบบอาเซียน มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งเท่ากับมีการค้าในระบบอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2549 ก็จะจัด
เช่นเดิมที่จังหวัดคู่ชายแดน จะเน้นสาระด้านการรวมกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน และจัดทำ Matching ทางธุรกิจของสองฝ่าย ไปพร้อม ๆ กัน
? ความสัมพันธ์ของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา
1. การเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ในช่วงปี 2548 อาเซียนได้เริ่มเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี
อย่างเป็นทางการกับประเทศคู่เจรจาที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขต
การค้าเสรีกับสหภาพ ยุโรป โดยการจัดตั้ง Joint Vision Group เพื่อดำเนินการดังกล่าว สำหรับความคืบหน้าการเจรจาที่สำคัญมี ดังนี้
1) อาเซียน-จีน ได้เริ่มดำเนินการเปิดเสรีการค้าสินค้าทั่วไปแล้วตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 และอยู่
ระหว่างการเจรจาด้านการค้าบริการและการลงทุน ซึ่งคาดว่าจะสามารถ สรุปผลได้ในไม่ช้า โดยมีผลงานการเจรจาที่ประสบผลสำเร็จในรอบปี
2548 ดังนี้
- อาเซียนและจีนได้เริ่มลดอัตราภาษีตามความตกลงการค้าสินค้า (Trade in Good
Agreement) ตามที่ได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่ปลายปี 2547 โดยไทยเริ่มลดอัตราภาษีตั้งแต่วันที่ 20กรกฎาคม 2548 ซึ่งเป็นการเริ่มลดภาษีแบบขั้นบันได
คืออัตราภาษีจะค่อยๆลดลงจนเหลือร้อยละ 0 ในอีก 5 ปีคือปี 2553 (2010) การลดอัตราภาษีครั้งนี้ เป็นการลดภาษีสินค้าส่วนใหญ่ครอบคลุมสินค้า
ประมาณ 5,000 รายการ ต่อจากการลดอัตราภาษีส่วนแรก (Early Harvest) ในสินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่ได้เริ่มลดอัตราภาษีไปแล้วเมื่อปี 2547
- ทั้งนี้ ได้ตกลงสินค้ากลุ่มแรกที่จะใช้กฎเฉพาะว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (1st package of
product specific rules of origin) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสินค้าที่ไม่สามารถสะสมวัตถุดิบภายในเกินร้อยละ 40 รวมทั้งหมด 473 รายการ
ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มบางรายการ ปลากระป๋อง (แซลมอนและปลาแฮริ่ง) ผ้าขนสัตว์ เครื่องหนัง ส่วนประกอบรองเท้า เป็นต้น
- นอกจากนี้ จากการที่นายกรัฐมนตรีของไทยได้มีโอกาสหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีจีน ใน
ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2548 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะให้รัฐมนตรี
พาณิชย์ของทั้งสองประเทศหารือเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำ Bilateral CEPA (Closer Economic Partnership Agreement) ใน
แนวทางเดียวกับที่จีนจะทำกับสิงคโปร์ต่อไป
2) อาเซียน-ญี่ปุ่น ได้เริ่มหารือเรื่องกรอบการเจรจาในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะเรื่องแนวทางการลดภาษี
(Tariff Concession) และกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Regional ROO) เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงผลประโยชน์ที่เหมาะสมระหว่างกรอบทวิภาคี
ที่ญี่ปุ่นกำลังเจรจากับอาเซียนแต่ละประเทศ (Bilateral EPA) และกรอบภูมิภาค (ASEAN-Japan CEP)
3) อาเซียน-เกาหลี ผู้นำอาเซียนและเกาหลีได้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ระหว่างอาเซียน-เกาหลี ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 11 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน โดยไทยจะ
เจรจากับเกาหลีต่อไปในกรอบความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า เพื่อให้ได้ข้อสรุปและมีผลบังคับใช้ตามกำหนดเวลาเดิม คือ ภายในกลางปี 2549
นอกจากนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนยังได้เห็นชอบการจัดทำ Strategic Roadmap สำหรับ FTAs ระหว่างอาเซียนกับแต่
ละประเทศคู่เจรจาต่างๆ โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และรัสเซีย เพื่อให้เห็นภาพรวมและเป้าประสงค์ที่อาเซียนต้องการจากประเทศคู่เจรจาเหล่า
นั้น ซึ่งจะช่วยสร้างภาพลักษณ์และดึงดูดการลงทุนต่างชาติเข้ามายังอาเซียนได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยให้จัดตั้ง Task Force ขึ้นมาเพื่อดำเนินการใน
เรื่องนี้ต่อไป
2. การจัดประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) ผู้นำอาเซียน ประเทศบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี)
ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ได้เข้าร่วมการประชุม East Asia Summit เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2548 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งจัดเป็นการ
ประชุมครั้งแรกที่ผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้ร่วมหารือแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์และแนวทางการดำเนินงานในกรอบภูมิภาคที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งและ
เป็นหนึ่งเดียวกันของภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยคาดหวังให้อาเซียนเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการดำเนินงาน ทั้งนี้ ประเด็นที่ผู้นำให้ความสำคัญใน
การประชุมครั้งนี้ ได้แก่ ความร่วมมือด้านพลังงาน และการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ในภูมิภาค เช่น การระบาดของไข้หวัดนก การก่อการร้าย และ
ภัยธรรมชาติ
แผนการเจรจาภายใต้กรอบอาเซียนในปี 2549
งานอาเซียน
1. การเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนโดยเฉพาะสาขานำร่อง 11 สาขาสำคัญ
1.1 จัดทำแผนงานเพื่อเร่งรัดการรวมกลุ่มในสาขาการท่องเที่ยวและการบินเพิ่มเติมจาก Roadmap ที่มีอยู่เดิม เพื่อให้การรวมกลุ่มใน
2 สาขานี้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ตามมติของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งผู้นำอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบแล้วในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 12-14 ธันวาคม 2548
1.2 เข้าร่วมการเจรจาเพื่อเสนอแนะมาตรการและแผนงานที่จะเป็นประโยชน์สำหรับ การรวมกลุ่มในสาขาอื่นๆ และการ
ประชุม Consultative Meeting on the
Priority Sectors (COPs) โดยประสานท่าทีกับหน่วยงานหลักในสาขาที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน
1.3 จัดสัมมนา/เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้มากขึ้น เพื่อให้สาธารณชนรับ
ทราบและใช้ประโยชน์
โอกาสและสามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม
2. ความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-สิงคโปร์ (STEER)
สืบเนื่องจาการที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 2nd STEER เมื่อวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2548 มีแผนงานที่จะ
ต้องดำเนินการต่อไป ดังนี้
2.1 จัดตั้ง Taskforce เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานในสาขาสำคัญ ได้แก่ ด้านสินค้าอาหารและเกษตร โลจิ
สติกส์ และการลงทุนร่วมระหว่างไทยกับสิงคโปร์ในประเทศที่สาม
2.2 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในเพื่อดำเนินการตาม Roadmap ระหว่างไทยและสิงคโปร์ในด้านต่างๆ ได้แก่
การท่องเที่ยว อาหารและเกษตร โลจิสติกส์และการขนส่ง การศึกษา และSMEs
งานอาเซียน-จีน
1. ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะผลักดันการเจรจาการค้าบริการและการลงทุนให้สรุปผลได้ภายในปีนี้ โดยในการเจรจาการค้าบริการ อา
เซียนและจีนคาดว่าสรุปข้อบทความตกลงด้านการค้าบริการให้ได้โดยเร็ว เนื่องจากยังมีท่าทีที่แตกต่างกันอยู่เพียงบางประเด็น ทั้งนี้ จะเริ่มเจรจาเพื่อ
เปิดตลาดบริการกลุ่มแรก(First package of commitments) ควบคู่กันไปด้วย โดยคาดว่าจะสรุปผลความตกลงฯได้ก่อนการประชุม AEM
retreat ประมาณเดือนเมษายนปี 2549
2. การเจรจาด้านการลงทุน ซึ่งอาเซียนและจีนยังมีความแตกต่างกันอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งสองฝ่ายตกลงจะหารือโดยมีความยืดหยุ่นต่อกัน
มากขึ้นเพื่อให้สามารถสรุปผลได้ตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้
3. ในส่วนของการเจรจากฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า อาเซียนและจีนจะผลักดันกฎสินค้าเฉพาะในกลุ่มที่สอง (Second package
of PSRs) ให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะส่วนสินค้าที่ยังตกลงกัน ไม่ได้ เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่เหลือ อัญมณีและเครื่องประดับ
พลาสติก ปลากระป๋อง (เช่น ทูน่า ซาร์ดีน) เป็นต้น
งานอาเซียน-เกาหลี
1. คณะเจรจาการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี (Trade Negotiating Committee) จะเจรจาจัดทำรายการสินค้าอ่อนไหว
(Sensitive List) และสินค้าที่ไม่รวมการลด/ยกเลิกภาษี (Exclusion List) ซึ่งจะเป็นภาคผนวกในความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า
2. คณะทำงานกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Working Group on Rules of Origin) จะเจรจาเพื่อหาข้อยุติในประเด็นกฎแหล่ง
กำเนิดของสินค้าที่ยังตกลงกันไม่ได้ กฎแหล่งกำเนิดสำหรับสินค้าจากเขตอุตสาหกรรมเกซอง และกฎเฉพาะ (Product Specific Rules)
3. เริ่มการเจรจาเปิดเสรีการค้าและการลงทุน โดยมีกำหนดเสร็จสิ้นภายในปี 2549
ทั้งนี้ การเจรจารายการสินค้าและกฎแหล่งกำเนิดมีกำหนดให้เสร็จสิ้นก่อนที่ความตกลง จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม
2549 และไทยยังต้องเจรจากับเกาหลี เพื่อขอชดเชยผลประโยชน์ให้กับไทยเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่เกาหลีไม่นำข้าวมารวมไว้ในรายการลด/ยกเลิก
ภาษี
ASEAN Hub
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็น ASEAN Hub Leader ซึ่งจะใช้นโยบาย ASEAN นำหน้า หรือที่เรียกว่า ASEAN First
Policy เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community: AEC
ในปี 2549 การทำงานจะเน้นการหารือสองฝ่าย หรือหารือทวิภาคีกับอาเซียน เพื่อใช้แนวทาง 2+X สำหรับสาขาที่ไทยมีความพร้อมใน
การเปิดเสรี เช่นสาขาการบิน และการท่องเที่ยว ซึ่งได้เริ่มไปแล้วกับสิงคโปร์ บรูไน และกัมพูชา จะขยายไปในอาเซียนทั้งหมด ปีนี้จะหารือกับ
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว และพม่า
นอกจากนี้ มีแผนจะขยายการเจรจาสาขาอื่นๆ ที่ไทยมีความพร้อมอีก เช่นสาขาเกษตรและอาหาร ประเทศที่จะเริ่มเจรจาก่อน คือ
เวียดนาม และขยายไปประเทศอื่น ๆ เช่น พม่า เพราะทั้งสองประเทศเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ เช่นเดียวกับไทย จะขยายไปนอกอาเซียน เช่น
อินเดีย และปากีสถาน โดยอาจเริ่มจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลการผลิต การค้า ข้าว
แนวทางดังกล่าว จะช่วยสร้างเครือข่าย และความร่วมมือทางธุรกิจ ในภูมิภาค ที่ไทยจะสามารถเชื่อมโยง เครื่อข่ายทางการค้า การบริ
การ การลงทุน ซึ่งตามแผนงาน เราจะส่งเสริมให้มีการจัดตั้งDistribution Center บนเส้นทาง East west Corridor ที่เชื่อมต่อระหว่าง
ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเชื่อมต่อกับ ลาว ด้านสะหวันนะเขต ออกทะเลด้านเวียดนาม
ASEAN Hub จะเป็นแกนนำ ดังนี้
1. นำทีมนักธุรกิจไปเจรจา เพื่อขยายการลงทุนในประเทศ CLMV จะร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่นสร้าง Outlet สินค้าไทยโดยเฉพาะสินค้า
อุปโภค บริโภคในประเทศดังกล่าว
2. สำรวจวัตถุดิบเพื่อขยายการลงทุน เช่นสินค้าประมง เมืองมะริด ไม้ยางพาราที่เมืองเมาะละแม่งในพม่า ไม้ที่เมืองสุวรรณเวสี ใน
อินโดนีเซีย สินค้าเกษตรที่เมืองสะหวันนะเขต จำปาสัก ในลาว พระตะบอง และกัมปงจามในกัมพูชา เป็นต้น
3. สำรวจสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของไทย ในเมืองเชียงขวาง เมืองหัวพัน ของลาว เมืองเสียมราฐ กับ
ศรีสะเกษ เมืองมะริดกับเมืองทะวายของพม่า
ผลการประชุมระดมสมอง Asean hub
ศักยภาพและโอกาสของอาเซียน
อาเซียนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มประเทศ คือ อาเซียน 5 และอาเซียนใหม่ หรือกลุ่ม CLMV ซึ่งมีระดับของการพัฒนาทางเศรษฐกิจแตก
ต่างกัน ไทยควรมองอาเซียนเป็น Strategic Partner เพื่อกระชับความสำคัญทางเศรษฐกิจและพัฒนาอาเซียนไปสู่ Aec ในปี 2010 โดย
ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากกลุ่ม CLMV ด้าน Sourcing ตลาด การลงทุน แรงงานราคาต่ำ พลังงาน การค้าชายแดน และเส้นทาง
Eastwest Corridor เพื่อเข้าสู่ตลาดจีนและอินเดียต่อไป ในขณะที่กลุ่มอาเซียน 5 เป็นตลาดที่มีอำนาจซื้อสูงและเป็นพันธมิตรร่วมลงทุน รวม
ทั้งสมารถขยายธุรกิจบริการ เช่น สปาและร้านอาหาร
เป้าหมายปี 2549 — 2553
เป้าหมายการค้าและการลงทุนคือ เพิ่มขึ้นปีละ 20% หรือมีมูลค่าเป็น 2 เท่า ภายในปี 2553 เป้าหมายการส่งออกปี 2549
กลุ่ม Clmv เป็น 28 % และอาเซียน 5 เป็น 16.4 % สินค้าและบริการเป้าหมายคือ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเกษตรและอาหาร อาหาร
ฮาลาล และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การลงทุนเป้าหมายในอุตสาหกรรมสินค้าแปรรูป อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน ธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวและ
เป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนภัตตาคาร อาหารไทย และธุรกิจบริการอื่น ๆ อาทิ สุขภาพและความงาม ในอาเซียนเป็น 2 เท่า คือ จาก 265
แห่ง เป็น 500 แห่ง ภายในปี 2553
ภัยคุกคามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ในขณะเดียวกัน ไทยควรใช้เวทีระดับอาเซียนเพื่อลดอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะสินค้าราคาถูกและเรียนแบบจากจีน สินค้าไทยถูก
ปลอมปน การเข้ามาลงทุนของจีน กฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุน ความเสียเปรียบด้านภาษา และมาตรการที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้
การขยายทางการค้าและการลงทุนของไทยเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ทั้งนี้ภายในไทยเองอุปสรรคการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นปัญหาสำคัญ ซึ่ง
รัฐบาลควรให้การช่วยเหลือ
แผนงานสำคัญปี 2549
ยุทธศาสตร์ในปี 2549 เป็นการวางแผนในระยะสั้น ทั้งนี้การดำเนินการตามแผนงานบางโครงการสามารถดำเนินการต่อเนื่องไปเป็น
ระยะปานกลาง (2 — 3 ปี) และระยะยาว (5 ปี) ได้ โดยมีกรอบกิจกรรมสำคัญตามลำดับคือ 1. เจรจาเพื่อลดอุปสรรคทางการค้า 2. จัด
ประชุมและนำนักธุรกิจไปเจรจา 3. รัฐเป็นผู้นำการเข้าไปลงทุนโดยเฉพาะ CLMV และ 4. ร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่นสร้าง Outlet สินค้าไทย ทั้งนี้
ใช้เครือข่ายคนไทยที่อยู่ต่างประเทศให้เป็นประโยชน์
แผนงานที่สำคัญ ปี 2549 คือ
1. การสร้างเครือข่ายและขยายความร่วมมือทางธุรกิจ
- โครงการสำรวจวัตถุดิบ โดยมีการนำนักธุรกิจที่สนใจไปศึกษาลู่ทางการลงทุน เช่น สินค้าประมง ที่เมืองมะริด
(พม่า) ไม้ยางพารา ที่เมืองเมาะละแม่ง (พม่า) ไม้ที่เมืองสุวรรณเวสี (อินโดนีเซีย) สินค้าเกษตรที่เมืองสะหวันนะเขตและจำปาสัก (ลาว) เมือง
พระตะบองและเมืองกัมปงจาม (กัมพูชา)
- โครงการสำรวจและเชื่อมโยงการท่องเที่ยว โดยจัดนักธุรกิจไปศึกษาโอกาสและการลงทุน เช่น เมืองเชียงขวาง
เมืองหัวพัน (ลาว) เส้นทางเชื่อมโยงระหว่างเมืองเสียมราฐ (กัมพูชา) กับศรีสะเกษ เมืองมะริดกับเมืองทวาย (พม่า)
2 .การขยายตลาดสินค้าไทย
- โดยเน้นสินค้าอุปโภคบริโภคในเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ในอาเซียน
3 .การสร้างความไว้วางใจและให้ความช่วยเหลือกลุ่มอาเซียนใหม่
- โดยดำเนินการต่อเนื่องตามโครงการเดิมที่มีการให้ความช่วยเหลืออยู่แล้ว
- ช่วยเหลือเพื่อจัดตั้ง Distribution Center ที่สะหวันเขต (ลาว) บนเส้นทาง Eastwest Corridor
สามารถเข้าตลาดเวียดนามและจีนต่อไป และเมืองมัณทะเลย์ (พม่า) ตามเส้นทาง EastWest corridor สามารถเข้าตลาดอินเดียและจีนต่อไป
- ช่วยเหลือและร่วมลงทุนในการสร้างถนนเชื่อมต่อจากเมืองมัณทะเลย์ (พม่า)ไปยังอินเดีย เพื่อสร้างความสมบูรณ์
ของ Eastwest corridor และไทยสามารถเจาะตลาดอินเดีย
4. การเพิ่มสมรรถนะการทำงานของสำนักงานการค้าในต่างประเทศ
- จัดตั้ง Honorary Trade Advisor ที่บรูไน หรือ Mini Office ที่เมืองเซบู (ฟิลิปปินส์) หรือตามเส้นทาง
Eastwest Corridor ในเวียดนาม หรือ Mobile Unit ที่อินโดนีเซีย ตามแต่ความเหมาะสมของแต่ละประเทศ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ