กรุงเทพ--31 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2548 นายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมอาเซียน ได้บรรยายสรุปภูมิหลังและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (ASEAN Senior Officials’ Meeting) และรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers’ Retreat) ซึ่งจะมีขึ้น ณ โรงแรมShangri-La’s Mactan Island Resort เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 9-12 เมษายน 2548 ต่อ
สื่อมวลชนที่กระทรวงการต่างประเทศ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กำหนดการประชุมฯ
การประชุม ASEAN SOM จะมีขึ้นในวันที่ 10 เมษายน ขณะที่การประชุม ASEAN FM Retreat จะมีขึ้นในวันที่ 11 เมษายน 2548
2. หัวข้อการหารือที่สำคัญ
การประชุม ASEAN FM Retreat ไม่มีการกำหนดระเบียบวาระการประชุมเอาไว้ล่วงหน้า แต่ได้มีการกำหนดหัวข้อการหารือที่สำคัญ (รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอาจหยิบยกประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ขึ้นหารือเพิ่มเติมได้) ซึ่งจะมีการหารือก่อนในที่ประชุม ASEAN SOM โดยในการประชุมฯ ครั้งนี้หัวข้อการหารือที่สำคัญประกอบด้วย
2.1 การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS)
2.1.1 สืบเนื่องจากที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ณ เวียงจันทน์ ที่ประชุมได้เห็นชอบการจัดประชุม EAS ที่มาเลเซียปลายปีนี้ และได้มอบหมายให้ ASEAN FM Retreat และ SOM ศึกษาและพิจารณารูปแบบ (modalities) ของการประชุมดังกล่าว
2.1.2 ASEAN SOM เห็นว่าการประชุม EAS ควรเป็นกรอบการหารือในประเด็นที่เป็นยุทธศาสตร์ (strategic issues) และอาจมีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ โดยแยกต่างหากจากการประชุมสุดยอดอาเซียน+3
2.1.3 สำหรับประเทศที่จะเข้าร่วม EAS นั้น ไทยเห็นว่าควรจะยืดหยุ่นโดยคำนึงถึงความเป็นจริงของสถานการณ์ด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาคและควรคำนึงถึงประเทศที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาค อาทิ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
2.2 กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
2.2.1 ประเทศสมาชิกได้มีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะจัดทำกฎบัตรอาเซียนให้เป็นรูปธรรม โดยมีลักษณะที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือวิวัฒนาการของอาเซียนได้เป็นอย่างดี (living document) และรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2563 ซึ่งไทยให้การสนับสนุน โดยในด้านประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนนั้น ไทยอยากให้สามารถดำเนินการได้ภายในปี 2555
2.2.2 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เสนอความพร้อมของไทยที่จะเป็นสถานที่ลงนามกฎบัตรอาเซียนที่วังสราญรมย์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานที่ลงนามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ก่อตั้งอาเซียนเมื่อปี 2510
2.3 กองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน (ASEAN Development Fund)
ที่ประชุมฯ จะพิจารณาและให้ความเห็นชอบกับ TOR ของกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน เพื่อใช้เป็นกองทุนสำหรับการดำเนินกิจกรรมโครงการต่างๆ ของแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งได้ transform จากกองทุนอาเซียน (ASEAN Fund) ซึ่งจัดตั้งเมื่อปี 2512 เพื่อดำเนินกิจกรรม/โครงการต่างๆ ของอาเซียน โดยประเทศสมาชิกร่วมบริจาคประเทศละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
2.4 การขยายประเทศผู้เข้าร่วมของ ARF
ที่ประชุม ASEAN FM Retreat จะพิจารณาข้อเสนอแนะของ ASEAN SOM ที่จะให้ติมอร์
เลสเตเข้าเป็นประเทศผู้เข้าร่วมของ ARF ซึ่งไทยให้การสนับสนุน ในการนี้หากข้อเสนอนี้ให้ความเห็นชอบ ลาวในฐานะประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASC) จะหารือเรื่องนี้กับประเทศผู้เข้าร่วมของ ARF เพื่อ
หาฉันทามติในเรื่องนี้ก่อนการประชุม ARF ครั้งที่ 12 ในเดือนกรกฎาคม 2548 ต่อไป
2.5 ASEAN Standby Arrangements on Disaster Relief and Emergency Response
ในการประชุม ASEAN SOM ครั้งนี้ ไทยเสนอให้มีการหารือเรื่องการจัดตั้ง ASEAN Standby Arrangements on Disaster Relief and Emergency Response เพื่อเตรียมความพร้อมระหว่างประเทศสมาชิกฯ ในการให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดพิบัติภัย ซึ่งได้รับการสนับสนุนในหลักการจากประเทศสมาชิกฯ ด้วย
3. สำหรับประเด็นเรื่องกระแสคัดค้านการที่พม่าจะเป็นประธาน ASC ในปี 2549 อธิบดีกรมอาเซียนกล่าวว่าไม่มีการระบุเรื่องนี้ในหัวข้อการหารือในระหว่างการประชุม ASEAN FM Retreat ครั้งนี้ อย่างไรก็ตามดังเช่นที่ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า หากปรากฏว่ามีการหยิบยกขึ้นเรื่องพม่าขึ้นหารือในการประชุมฯ ไทยก็พร้อมที่จะหารือเรื่องนี้ในบทบาทที่สร้างสรรค์และตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2548 นายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมอาเซียน ได้บรรยายสรุปภูมิหลังและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (ASEAN Senior Officials’ Meeting) และรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers’ Retreat) ซึ่งจะมีขึ้น ณ โรงแรมShangri-La’s Mactan Island Resort เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 9-12 เมษายน 2548 ต่อ
สื่อมวลชนที่กระทรวงการต่างประเทศ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กำหนดการประชุมฯ
การประชุม ASEAN SOM จะมีขึ้นในวันที่ 10 เมษายน ขณะที่การประชุม ASEAN FM Retreat จะมีขึ้นในวันที่ 11 เมษายน 2548
2. หัวข้อการหารือที่สำคัญ
การประชุม ASEAN FM Retreat ไม่มีการกำหนดระเบียบวาระการประชุมเอาไว้ล่วงหน้า แต่ได้มีการกำหนดหัวข้อการหารือที่สำคัญ (รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอาจหยิบยกประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ขึ้นหารือเพิ่มเติมได้) ซึ่งจะมีการหารือก่อนในที่ประชุม ASEAN SOM โดยในการประชุมฯ ครั้งนี้หัวข้อการหารือที่สำคัญประกอบด้วย
2.1 การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS)
2.1.1 สืบเนื่องจากที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ณ เวียงจันทน์ ที่ประชุมได้เห็นชอบการจัดประชุม EAS ที่มาเลเซียปลายปีนี้ และได้มอบหมายให้ ASEAN FM Retreat และ SOM ศึกษาและพิจารณารูปแบบ (modalities) ของการประชุมดังกล่าว
2.1.2 ASEAN SOM เห็นว่าการประชุม EAS ควรเป็นกรอบการหารือในประเด็นที่เป็นยุทธศาสตร์ (strategic issues) และอาจมีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ โดยแยกต่างหากจากการประชุมสุดยอดอาเซียน+3
2.1.3 สำหรับประเทศที่จะเข้าร่วม EAS นั้น ไทยเห็นว่าควรจะยืดหยุ่นโดยคำนึงถึงความเป็นจริงของสถานการณ์ด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาคและควรคำนึงถึงประเทศที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาค อาทิ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
2.2 กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
2.2.1 ประเทศสมาชิกได้มีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะจัดทำกฎบัตรอาเซียนให้เป็นรูปธรรม โดยมีลักษณะที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือวิวัฒนาการของอาเซียนได้เป็นอย่างดี (living document) และรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2563 ซึ่งไทยให้การสนับสนุน โดยในด้านประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนนั้น ไทยอยากให้สามารถดำเนินการได้ภายในปี 2555
2.2.2 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เสนอความพร้อมของไทยที่จะเป็นสถานที่ลงนามกฎบัตรอาเซียนที่วังสราญรมย์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานที่ลงนามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ก่อตั้งอาเซียนเมื่อปี 2510
2.3 กองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน (ASEAN Development Fund)
ที่ประชุมฯ จะพิจารณาและให้ความเห็นชอบกับ TOR ของกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน เพื่อใช้เป็นกองทุนสำหรับการดำเนินกิจกรรมโครงการต่างๆ ของแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งได้ transform จากกองทุนอาเซียน (ASEAN Fund) ซึ่งจัดตั้งเมื่อปี 2512 เพื่อดำเนินกิจกรรม/โครงการต่างๆ ของอาเซียน โดยประเทศสมาชิกร่วมบริจาคประเทศละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
2.4 การขยายประเทศผู้เข้าร่วมของ ARF
ที่ประชุม ASEAN FM Retreat จะพิจารณาข้อเสนอแนะของ ASEAN SOM ที่จะให้ติมอร์
เลสเตเข้าเป็นประเทศผู้เข้าร่วมของ ARF ซึ่งไทยให้การสนับสนุน ในการนี้หากข้อเสนอนี้ให้ความเห็นชอบ ลาวในฐานะประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASC) จะหารือเรื่องนี้กับประเทศผู้เข้าร่วมของ ARF เพื่อ
หาฉันทามติในเรื่องนี้ก่อนการประชุม ARF ครั้งที่ 12 ในเดือนกรกฎาคม 2548 ต่อไป
2.5 ASEAN Standby Arrangements on Disaster Relief and Emergency Response
ในการประชุม ASEAN SOM ครั้งนี้ ไทยเสนอให้มีการหารือเรื่องการจัดตั้ง ASEAN Standby Arrangements on Disaster Relief and Emergency Response เพื่อเตรียมความพร้อมระหว่างประเทศสมาชิกฯ ในการให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดพิบัติภัย ซึ่งได้รับการสนับสนุนในหลักการจากประเทศสมาชิกฯ ด้วย
3. สำหรับประเด็นเรื่องกระแสคัดค้านการที่พม่าจะเป็นประธาน ASC ในปี 2549 อธิบดีกรมอาเซียนกล่าวว่าไม่มีการระบุเรื่องนี้ในหัวข้อการหารือในระหว่างการประชุม ASEAN FM Retreat ครั้งนี้ อย่างไรก็ตามดังเช่นที่ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า หากปรากฏว่ามีการหยิบยกขึ้นเรื่องพม่าขึ้นหารือในการประชุมฯ ไทยก็พร้อมที่จะหารือเรื่องนี้ในบทบาทที่สร้างสรรค์และตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-