กรุงเทพ--2 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
นาย Alpha Oumar Konare ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพแอฟริกา (Chairperson of the Commission of the Africa Union) จะเดินทางเยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ระหว่าง
วันที่ 5-6 มิถุนายน 2549 และมีกำหนดจะพบหารือกับ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 5 มิถุนายน 2549 เวลา 15.00 น. ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล และในวันเดียวกัน เวลา 18.00 น.
ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนรัฐบาล จะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นาย Alpha Oumar Konare ณ โรงแรม Oriental
ไทยให้ความสำคัญกับภูมิภาคแอฟริกา ในฐานะที่เป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ โดยมีประชากรรวมถึงประมาณ 800 ล้านคน เป็นแหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ อาทิ น้ำมัน อัญมณี แร่ธาตุ ทรัพยากรประมง ฯลฯ ตลอดจนเป็นพันธมิตรที่สำคัญของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยประกาศ
ให้ปี 2548 (2005) เป็นปีแอฟริกา คือให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการกระชับความสัมพันธ์กับแอฟริกาในลักษณะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา โดยเพิ่มพูนความสัมพันธ์กับประเทศที่เป็นมิตรเก่าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และสร้างเสริมความสัมพันธ์กับบางประเทศที่ยังห่างเหิน ด้วยรากฐานของความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในภูมิภาคแอฟริกาหลายประเทศที่มีมานานแล้ว ประกอบกับการดำเนินนโยบายมองตะวันตก (Look West) ตั้งแต่ปี 2540 (1997) โดยการดำเนินนโยบายดังกล่าวยังต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ที่ผ่านมา ไทยขยายความร่วมมือกับภูมิภาคแอฟริกาในหลายด้าน มูลค่าการค้าระหว่างไทยและ แอฟริกาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2548 (2005) มีมูลค่า 4.4 พันล้าน USD เพิ่มขึ้นจาก 2.2 พันล้าน USD ในปี 2541 (1998) โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย คือ ข้าว เสื้อผ้าสำเร็จรูป อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก นอกจากนี้ ไทยยังนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตจากหลายประเทศในภูมิภาคแอฟริกา อาทิ อัญมณี จาก มาดากัสการ์ แทนซาเนีย เคนยา / เพชร จาก บอตสวานา / น้ำมันดิบ จาก แอลจีเรีย กาบอง / ฝ้าย จาก มาลี / ฟอสเฟต จาก โมร็อกโก / ทรัพยากรประมง จาก โมซัมบิก / สินแร่โลหะ เหล็ก จาก แอฟริกาใต้
นอกเหนือจากความร่วมมือด้านเศรษฐกิจแล้ว ไทยยังส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับภูมิภาค แอฟริกา โดยไทยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ในสาขาที่ไทยเชี่ยวชาญ และเป็นที่ต้องการของแอฟริกา อาทิ การเกษตร และสาธารณสุข โดยเฉพาะการป้องกันและรักษาโรคเอดส์ นอกจากนี้ ไทยยังเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเกษตรทฤษฎีใหม่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่ชื่นชมและสนใจของภูมิภาคแอฟริกา เนื่องจากสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในแอฟริกาได้อย่างเหมาะสม
การเยือนไทยของนาย Alpha Oumar Konare ระหว่างวันที่ 5-6 มิถุนายน ศกนี้ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับภูมิภาคแอฟริกา และเป็นครั้งแรกที่ผู้แทนระดับสูงสุดของสหภาพแอฟริกาเยือนไทย สะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์และความร่วมมือให้ใกล้ชิดแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
สหภาพแอฟริกาประกอบด้วยสมาชิก 52 ประเทศจากทวีปแอฟริกา ถือเป็นองค์การระดับภูมิภาคที่สำคัญที่สุดของแอฟริกา ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อกรกฎาคม 2545 โดยแปรสภาพมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organisation of African Unity-OAU)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นาย Alpha Oumar Konare ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพแอฟริกา (Chairperson of the Commission of the Africa Union) จะเดินทางเยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ระหว่าง
วันที่ 5-6 มิถุนายน 2549 และมีกำหนดจะพบหารือกับ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 5 มิถุนายน 2549 เวลา 15.00 น. ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล และในวันเดียวกัน เวลา 18.00 น.
ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนรัฐบาล จะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นาย Alpha Oumar Konare ณ โรงแรม Oriental
ไทยให้ความสำคัญกับภูมิภาคแอฟริกา ในฐานะที่เป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ โดยมีประชากรรวมถึงประมาณ 800 ล้านคน เป็นแหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ อาทิ น้ำมัน อัญมณี แร่ธาตุ ทรัพยากรประมง ฯลฯ ตลอดจนเป็นพันธมิตรที่สำคัญของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยประกาศ
ให้ปี 2548 (2005) เป็นปีแอฟริกา คือให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการกระชับความสัมพันธ์กับแอฟริกาในลักษณะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา โดยเพิ่มพูนความสัมพันธ์กับประเทศที่เป็นมิตรเก่าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และสร้างเสริมความสัมพันธ์กับบางประเทศที่ยังห่างเหิน ด้วยรากฐานของความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในภูมิภาคแอฟริกาหลายประเทศที่มีมานานแล้ว ประกอบกับการดำเนินนโยบายมองตะวันตก (Look West) ตั้งแต่ปี 2540 (1997) โดยการดำเนินนโยบายดังกล่าวยังต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ที่ผ่านมา ไทยขยายความร่วมมือกับภูมิภาคแอฟริกาในหลายด้าน มูลค่าการค้าระหว่างไทยและ แอฟริกาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2548 (2005) มีมูลค่า 4.4 พันล้าน USD เพิ่มขึ้นจาก 2.2 พันล้าน USD ในปี 2541 (1998) โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย คือ ข้าว เสื้อผ้าสำเร็จรูป อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก นอกจากนี้ ไทยยังนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตจากหลายประเทศในภูมิภาคแอฟริกา อาทิ อัญมณี จาก มาดากัสการ์ แทนซาเนีย เคนยา / เพชร จาก บอตสวานา / น้ำมันดิบ จาก แอลจีเรีย กาบอง / ฝ้าย จาก มาลี / ฟอสเฟต จาก โมร็อกโก / ทรัพยากรประมง จาก โมซัมบิก / สินแร่โลหะ เหล็ก จาก แอฟริกาใต้
นอกเหนือจากความร่วมมือด้านเศรษฐกิจแล้ว ไทยยังส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับภูมิภาค แอฟริกา โดยไทยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ในสาขาที่ไทยเชี่ยวชาญ และเป็นที่ต้องการของแอฟริกา อาทิ การเกษตร และสาธารณสุข โดยเฉพาะการป้องกันและรักษาโรคเอดส์ นอกจากนี้ ไทยยังเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเกษตรทฤษฎีใหม่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่ชื่นชมและสนใจของภูมิภาคแอฟริกา เนื่องจากสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในแอฟริกาได้อย่างเหมาะสม
การเยือนไทยของนาย Alpha Oumar Konare ระหว่างวันที่ 5-6 มิถุนายน ศกนี้ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับภูมิภาคแอฟริกา และเป็นครั้งแรกที่ผู้แทนระดับสูงสุดของสหภาพแอฟริกาเยือนไทย สะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์และความร่วมมือให้ใกล้ชิดแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
สหภาพแอฟริกาประกอบด้วยสมาชิก 52 ประเทศจากทวีปแอฟริกา ถือเป็นองค์การระดับภูมิภาคที่สำคัญที่สุดของแอฟริกา ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อกรกฎาคม 2545 โดยแปรสภาพมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organisation of African Unity-OAU)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-