กรุงเทพ--14 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 ณ กระทรวงการต่างประเทศ นายอิบรอฮีม แกมบารี (Mr. Ibrahim Gambari) รองเลขาธิการสหประชาชาติฝ่ายการเมือง ได้เข้าพบนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงผลการเยือนพม่าระหว่างวันที่ 9-12 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นการเยือนพม่าครั้งที่ 2 ของนายแกมบารีในฐานะผู้แทนของสหประชาชาติ หลังจากได้เดินทางเยือนพม่าครั้งหนึ่งแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
หลังการหารือ นายแกมบารีและรัฐมนตรีต่างประเทศนิตย์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน โดยนายแกมบารีแจ้งว่า ระหว่างการเยือนพม่า ได้พบหารือกับพล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย ประธานสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) คณะรัฐมนตรีพม่า ตัวแทนชนกลุ่มน้อยที่ได้วางอาวุธแล้วและกำลังอยู่ระหว่างเจรจากับรัฐบาลพม่า รวมทั้งได้พบกับนางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ (NLD) โดยรวมตนพอใจที่ได้หารือกับฝ่ายต่างๆ อย่างตรงไปตรงมาระหว่างการเยือนพม่าครั้งนี้ แต่สำหรับผลเป็นรูปธรรมที่จะเกิดขึ้นนั้นยังต้องรอดูกันต่อไป
ต่อคำถามเกี่ยวกับกำหนดการจัดการเลือกตั้งในพม่า นายแกมบารีกล่าวว่าตนไม่ทราบ จะต้องรอการประชุมของสมัชชาแห่งชาติของพม่าและรอขั้นตอนตามกระบวนการปรองดองแห่งชาติก่อน ส่วนเรื่องการปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี นั้น ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทางการพม่าเช่นเดียวกัน เมื่อตนได้พบนางออง ซาน ซูจีก็เห็นว่านางยังมีสุขภาพแข็งแรง แต่นางได้ขอให้ทางการพม่าอนุญาตให้นางได้พบแพทย์บ่อยขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งตนเห็นว่าก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลพม่าน่าจะอนุโลมได้เพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม อนึ่ง นางออง ซาน ซูจียังได้แจ้งตนว่า ยินดีที่ได้เห็นสหประชาชาติเข้ามามีบทบาทในพม่า
รัฐมนตรีต่างประเทศนิตย์ฯ กล่าวว่า นายแกมบารีแจ้งถึงผลการหารือกับฝ่ายพม่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยสนใจ เพราะไทยสนับสนุนกระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่า แต่ก็เห็นว่าเป็นเรื่องภายในประเทศของพม่าเอง อย่างไรก็ดี ฝ่ายไทยได้ร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศแสดงความห่วงกังวลในเรื่องนี้มาตลอด เชื่อว่าการเยือนพม่าของนายแกมบารีน่าจะก่อผลในทางบวกต่อไป
ระหว่างการหารือครั้งนี้ นายแกมบารีได้สอบถามสถานการณ์ในประเทศไทยรวมทั้งถามว่า รัฐบาลไทยจะฝากอะไรไปแจ้งเลขาธิการสหประชาชาติหรือไม่ ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศนิตย์ฯ ได้ยืนยันเจตนารมณ์ของประเทศไทยที่จะกลับคืนสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์อย่างเร็วที่สุด โดยได้ดำเนินการทุกอย่างตามกรอบเวลาและว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า ไม่มีความปรารถนาที่จะยึดกุมอำนาจไว้นานเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงเท่านั้น
ในเรื่องสถานการณ์ในภาคใต้ของไทย รัฐมนตรีต่างประเทศได้ขอให้นายแกมบารีนำความแจ้งแก่เลขาธิการสหประชาชาติว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนแนวความคิดพื้นฐานในการแก้ปัญหาภาคใต้ มุ่งเน้นความสมานฉันท์ สันติวิธี และการอำนวยความยุติธรรม และจะเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นและหารือกับฝ่ายต่างๆ โดยยึดแนวพระราชดำริว่า “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้นต่อไป เรื่องนี้โดยเนื้อแท้แล้วเป็นเรื่องภายในของไทย แต่รัฐบาลก็ได้ดำเนินการด้านต่างประเทศประกอบด้วย กล่าวคือ ได้ชี้แจงกับมิตรประเทศเช่น บรูไน มาเลเซีย ซึ่งเป็นประธานการประชุมระดับผู้นำขององค์การการประชุมอิสลาม (OIC) อยู่ขณะนี้ อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก และแม้แต่ฟิลิปปินส์ซึ่งมีปัญหาคล้ายคลึงกัน ทุกประเทศได้แสดงความเข้าใจและยินดีต่อนโยบายใหม่ของรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ นอกจากนี้ Dr. Ekhmeleddin Ihsanoglu เลขาธิการองค์การการประชุมอิสลาม ได้ออกแถลงการณ์แสดงความชื่นชมท่าทีของรัฐบาลไทยในเรื่องนี้ด้วย
นายแกมบารีแจ้งว่ายินดีที่ได้รับทราบ และรับที่จะรายงานเลขาธิการสหประชาชาติ ตลอดจนจะแจ้งให้เลขาธิการ OIC (ซึ่งรู้จักกับตน) ทราบด้วยว่าได้หารือกับไทยในเรื่องนี้แล้ว
นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศไทยได้กล่าวถึงโครงการของรัฐบาลไทยที่จะเปิดสถานเอกอัครราชทูตไทยในไนจีเรียขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งที่กรุงอาบูจา เมืองหลวงใหม่ของในจีเรีย หลังจากที่ได้ปิดสถานทูตไทยที่กรุงลากอสไป ซึ่งนายแกมบารีได้รับทราบด้วยความยินดี และได้กล่าวท้าวความถึงมิตรภาพส่วนตัวระหว่างตนและรัฐมนตรีต่างประเทศนิตย์ฯ ซึ่งมีมาตั้งแต่เมื่อนายแกมบารียังดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไนจีเรียประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก และนายนิตย์ฯ ยังดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรฯ ของไทยในนิวยอร์กเช่นเดียวกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 ณ กระทรวงการต่างประเทศ นายอิบรอฮีม แกมบารี (Mr. Ibrahim Gambari) รองเลขาธิการสหประชาชาติฝ่ายการเมือง ได้เข้าพบนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงผลการเยือนพม่าระหว่างวันที่ 9-12 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นการเยือนพม่าครั้งที่ 2 ของนายแกมบารีในฐานะผู้แทนของสหประชาชาติ หลังจากได้เดินทางเยือนพม่าครั้งหนึ่งแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
หลังการหารือ นายแกมบารีและรัฐมนตรีต่างประเทศนิตย์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน โดยนายแกมบารีแจ้งว่า ระหว่างการเยือนพม่า ได้พบหารือกับพล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย ประธานสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) คณะรัฐมนตรีพม่า ตัวแทนชนกลุ่มน้อยที่ได้วางอาวุธแล้วและกำลังอยู่ระหว่างเจรจากับรัฐบาลพม่า รวมทั้งได้พบกับนางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ (NLD) โดยรวมตนพอใจที่ได้หารือกับฝ่ายต่างๆ อย่างตรงไปตรงมาระหว่างการเยือนพม่าครั้งนี้ แต่สำหรับผลเป็นรูปธรรมที่จะเกิดขึ้นนั้นยังต้องรอดูกันต่อไป
ต่อคำถามเกี่ยวกับกำหนดการจัดการเลือกตั้งในพม่า นายแกมบารีกล่าวว่าตนไม่ทราบ จะต้องรอการประชุมของสมัชชาแห่งชาติของพม่าและรอขั้นตอนตามกระบวนการปรองดองแห่งชาติก่อน ส่วนเรื่องการปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี นั้น ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทางการพม่าเช่นเดียวกัน เมื่อตนได้พบนางออง ซาน ซูจีก็เห็นว่านางยังมีสุขภาพแข็งแรง แต่นางได้ขอให้ทางการพม่าอนุญาตให้นางได้พบแพทย์บ่อยขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งตนเห็นว่าก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลพม่าน่าจะอนุโลมได้เพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม อนึ่ง นางออง ซาน ซูจียังได้แจ้งตนว่า ยินดีที่ได้เห็นสหประชาชาติเข้ามามีบทบาทในพม่า
รัฐมนตรีต่างประเทศนิตย์ฯ กล่าวว่า นายแกมบารีแจ้งถึงผลการหารือกับฝ่ายพม่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยสนใจ เพราะไทยสนับสนุนกระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่า แต่ก็เห็นว่าเป็นเรื่องภายในประเทศของพม่าเอง อย่างไรก็ดี ฝ่ายไทยได้ร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศแสดงความห่วงกังวลในเรื่องนี้มาตลอด เชื่อว่าการเยือนพม่าของนายแกมบารีน่าจะก่อผลในทางบวกต่อไป
ระหว่างการหารือครั้งนี้ นายแกมบารีได้สอบถามสถานการณ์ในประเทศไทยรวมทั้งถามว่า รัฐบาลไทยจะฝากอะไรไปแจ้งเลขาธิการสหประชาชาติหรือไม่ ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศนิตย์ฯ ได้ยืนยันเจตนารมณ์ของประเทศไทยที่จะกลับคืนสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์อย่างเร็วที่สุด โดยได้ดำเนินการทุกอย่างตามกรอบเวลาและว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า ไม่มีความปรารถนาที่จะยึดกุมอำนาจไว้นานเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงเท่านั้น
ในเรื่องสถานการณ์ในภาคใต้ของไทย รัฐมนตรีต่างประเทศได้ขอให้นายแกมบารีนำความแจ้งแก่เลขาธิการสหประชาชาติว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนแนวความคิดพื้นฐานในการแก้ปัญหาภาคใต้ มุ่งเน้นความสมานฉันท์ สันติวิธี และการอำนวยความยุติธรรม และจะเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นและหารือกับฝ่ายต่างๆ โดยยึดแนวพระราชดำริว่า “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้นต่อไป เรื่องนี้โดยเนื้อแท้แล้วเป็นเรื่องภายในของไทย แต่รัฐบาลก็ได้ดำเนินการด้านต่างประเทศประกอบด้วย กล่าวคือ ได้ชี้แจงกับมิตรประเทศเช่น บรูไน มาเลเซีย ซึ่งเป็นประธานการประชุมระดับผู้นำขององค์การการประชุมอิสลาม (OIC) อยู่ขณะนี้ อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก และแม้แต่ฟิลิปปินส์ซึ่งมีปัญหาคล้ายคลึงกัน ทุกประเทศได้แสดงความเข้าใจและยินดีต่อนโยบายใหม่ของรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ นอกจากนี้ Dr. Ekhmeleddin Ihsanoglu เลขาธิการองค์การการประชุมอิสลาม ได้ออกแถลงการณ์แสดงความชื่นชมท่าทีของรัฐบาลไทยในเรื่องนี้ด้วย
นายแกมบารีแจ้งว่ายินดีที่ได้รับทราบ และรับที่จะรายงานเลขาธิการสหประชาชาติ ตลอดจนจะแจ้งให้เลขาธิการ OIC (ซึ่งรู้จักกับตน) ทราบด้วยว่าได้หารือกับไทยในเรื่องนี้แล้ว
นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศไทยได้กล่าวถึงโครงการของรัฐบาลไทยที่จะเปิดสถานเอกอัครราชทูตไทยในไนจีเรียขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งที่กรุงอาบูจา เมืองหลวงใหม่ของในจีเรีย หลังจากที่ได้ปิดสถานทูตไทยที่กรุงลากอสไป ซึ่งนายแกมบารีได้รับทราบด้วยความยินดี และได้กล่าวท้าวความถึงมิตรภาพส่วนตัวระหว่างตนและรัฐมนตรีต่างประเทศนิตย์ฯ ซึ่งมีมาตั้งแต่เมื่อนายแกมบารียังดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไนจีเรียประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก และนายนิตย์ฯ ยังดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรฯ ของไทยในนิวยอร์กเช่นเดียวกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-