ประชาธิปัตย์เปิดเวทีที่หาดใหญ่ชี้แจงกรณีไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ยกตัวอย่างประเทศละตินอเมริกาประชาชนเดินขบวนขับไล่ผู้นำเพราะขาดความชอบธรรม และขายทรัพย์สมบัติชาติ ระบุการยุบสภาขัดต่อหลักการประชาธิปไตย เชื่อ ‘ทักษิณ’ ทำทุกวิถีทางให้ชนะเลือกตั้ง เพื่ออ้างคะแนนเสียงฟอกตัวเอง
เมื่อคืนที่ผ่านมาที่สนามฟุตบอลโรงเรียนเทศบาล 1 เอ็งเสียงสามัคคี ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดเวทีปราศรัยชี้แจงต่อประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ โดยมีตัวแทนพรรคสลับกันขึ้นเวทีปราศรัย มีประชาชนร่วมรับฟัง กว่า 20,000 คน
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวบนเวทีปราศรัยว่า การบริหารประเทศโดยใช้นโยบายประชานิยม และผู้บริหารรัฐบาลใช้ความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับประเทศในแถบละตินอเมริกา เช่น ประเทศอาร์เจนติน่า ที่ใช้นโยบายแบบประชานิยม รวมทั้งสนับสนุนให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คือการไฟฟ้า ประปา และระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่นๆ จนทำให้ค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณูปโภคพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากถูกควบคุมโดยต่างชาติ ก่อให้เกิดความไม่พอใจจนประชาชนต้องเดินขบวนขับไล่ และเกิดการจลาจลตามมาในภายหลัง
“ประธานาธิบดีของอาร์เจนติน่า ใช้อำนาจแทรกแซงองค์กรอิสระต่างๆ ทั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ วุฒิสมาชิก กกต. ปปช. รวมทั้งสื่อ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ เป็นประธานธิบดี 5 ปี พอปีที่ 6 มีประชาชนออกมาเดินขบวนขับไล่นับล้านคน ทหารลุกขึ้นมายื่นหนังสือให้ แล้วบอกให้ลาออกแล้วรีบลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ จะเห็นว่าทหารนั้นเข้าข้างประชาชนเสมอ นี่คือทหารของอาร์เจนติน่า แต่ของประเทศอื่นผมไม่รู้”
นายไตรรงค์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวยังได้เกิดขึ้นกับประเทศในแถบละตินอเมริกา อีกหลายประเทศ เช่น เปรู บราซิล ชิลี โดยเฉพาะที่ประเทศนิการากัว ซึ่งถูกประชาชนเดินขบวนขับไล่ และถูกทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิตในที่สุด ทั้งนี้เป็นผลมาจากความเป็นเผด็จการและการบริหารประเทศโดยขาดความโปร่งใส มีการคอร์รัปชั่นกันเป็นจำนวนมหาศาล
“ส่วนประเทศไทยเรานี้ นายกรัฐมนตรีเริ่มแทรกแซงองค์กรอิสระ ตั้งแต่กรณีที่มีการซุกหุ้นตั้งแต่ครั้งแรก จนกระทั่งครั้งล่าสุดที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับตีความคุณสมบัติของผู้แทนราษฎร มาตรา 96 ที่ระบุถึงการไม่ยุ่งเกี่ยวกับหุ้นตามที่กฎหมายกำหนด แต่ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญกลับไม่รับคำร้องของ ส.ว.ที่เข้าชื่อกันไปยื่นคำร้องตามกฎหมายทั้งๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญสามารถใช้อำนาจตามกฎหมายพิสูจน์เรื่องนี้ได้”
นายไตรรงค์ ยังกล่าวถึงการทำงานของ กกต.ด้วยว่า การทำงานของ กกต.ที่ผ่านมายังถือว่ามีความไม่เป็นกลาง เนื่องจากมีหลายครั้งที่มีการเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้งของข้าราชการบางคน แต่ กกต.กลับไม่สามารถเอาผิดหรือลงโทษข้าราชการที่เข้ามายุ่งเกี่ยวทำให้การเลือกตั้งขาดความเป็นกลางได้
“การยุบสภาครั้งที่ผ่านมา นอกเหนือจากรัฐบาลกระทำโดยขัดต่อหลักประชาธิปไตยแล้ว ยังทำให้เห็นว่า การทำงานของ กกต.เป็นไปโดยเอื้อต่อรัฐบาลพรรคไทยรักไทย เนื่องจากการประกาศให้มีการเลือกตั้งตามข้อเสนอของรัฐบาล ทำให้พรรคอื่นๆ ไม่สามารถเตรียมตัวรับการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอย่างกระชั้นชิดได้ พรรคที่พร้อมที่สุดคือพรรคของรัฐบาล แสดงให้เห็นชัดว่า กกต.มีเจตนาเอื้อต่อรัฐบาลซึ่งเป็นพวกพ้องของตัวเอง” นายไตรรงค์ กล่าว
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ เนื่องจากการยุบสภาของรัฐบาลที่นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ในครั้งนี้ เป็นไปโดยขัดต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่ตามปกติ การสิ้นสุดของสภามาจาก 2 ประเด็น คือสภาครบวาระ 4 ปี หรือรัฐบาลเกิดการขัดแย้งกับสภา รัฐธรรมนูญให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสามารถประกาศยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ แต่กรณีการยุบสภาของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นไปเพราะการกดดันของประชาชนที่ไม่พอใจการบริหารประเทศ โดยขาดคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งปรากฏชัดเจนจากการขายหุ้นชินคอร์ป ที่มีการยักย้ายถ่ายเทหุ้นอย่างสลับซับซ้อน
“เราเป็น ส.ส.ฝ่ายค้าน ได้ยื่นมติขอเปิดอภิปรายไม้วางใจนายกรัฐมนตรี บรรยายข้อมูลทั้งหมด เกี่ยวกับการบริหารประเทศ จนประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับประเด็นการซุกหุ้น แต่ฝ่ายค้านมีเสียงไม่พอเลยไปทวงถามเรื่องที่ทักษิณเคยพูดไว้ว่าหากฝ่ายค้านมีเสียงไม่พอก็จะให้ยืม ส.ส.ในพรรค แต่สุดท้ายเขาอ้างว่าไม่เคยพูด ผมเลยไปหา ส.ส.ไทยรักไทยเป็นรายบุคคล ซึ่งเขาบอกว่ายินดีจะเข้าร่วมเพื่อให้มีเสียงครบ 201 เสียงยื่นญัตติอภิปรายนายกรัฐมนตรีในประเด็นการขายหุ้น แต่มันรู้ทันเลยเบนประเด็นไปที่ให้มีการเปิดสภาอภิปรายทั่วไป โดยไม่ต้องมีการลงมติแทน”
นายสุเทพ กล่าวต่อว่า เมื่อเป็นดังนั้นแล้วพรรคฝ่ายค้านจึงจำต้องยอมรับการเปิดอภิปรายทั่วไป ซึ่งได้มีการเตรียมข้อมูล และทีมงานอภิปรายไว้เต็มอัตราศึก โดยวางให้นายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรค นำทีมอภิปรายในครั้งนี้ แต่ในที่สุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาชิงยุบสภาเสียก่อน
“ที่เขาชิงยุบสภาเสียก่อนเพราะหวังว่าจะใช้ทุกวิถีทางให้ชนะการเลือกตั้งเข้ามา แล้วจะมาอ้างในวันหลังว่า ประชาชนเลือกเขาเข้ามาอีกครั้ง เพราะเห็นว่าเขาไม่มีความผิด และให้เลิกพูดเรื่องความผิดนี้อีก เราจึงไม่สามารถยอมรับการยุบสภาและการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้” นายสุเทพ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 มี.ค. 2549--จบ--
เมื่อคืนที่ผ่านมาที่สนามฟุตบอลโรงเรียนเทศบาล 1 เอ็งเสียงสามัคคี ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดเวทีปราศรัยชี้แจงต่อประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ โดยมีตัวแทนพรรคสลับกันขึ้นเวทีปราศรัย มีประชาชนร่วมรับฟัง กว่า 20,000 คน
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวบนเวทีปราศรัยว่า การบริหารประเทศโดยใช้นโยบายประชานิยม และผู้บริหารรัฐบาลใช้ความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับประเทศในแถบละตินอเมริกา เช่น ประเทศอาร์เจนติน่า ที่ใช้นโยบายแบบประชานิยม รวมทั้งสนับสนุนให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คือการไฟฟ้า ประปา และระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่นๆ จนทำให้ค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณูปโภคพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากถูกควบคุมโดยต่างชาติ ก่อให้เกิดความไม่พอใจจนประชาชนต้องเดินขบวนขับไล่ และเกิดการจลาจลตามมาในภายหลัง
“ประธานาธิบดีของอาร์เจนติน่า ใช้อำนาจแทรกแซงองค์กรอิสระต่างๆ ทั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ วุฒิสมาชิก กกต. ปปช. รวมทั้งสื่อ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ เป็นประธานธิบดี 5 ปี พอปีที่ 6 มีประชาชนออกมาเดินขบวนขับไล่นับล้านคน ทหารลุกขึ้นมายื่นหนังสือให้ แล้วบอกให้ลาออกแล้วรีบลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ จะเห็นว่าทหารนั้นเข้าข้างประชาชนเสมอ นี่คือทหารของอาร์เจนติน่า แต่ของประเทศอื่นผมไม่รู้”
นายไตรรงค์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวยังได้เกิดขึ้นกับประเทศในแถบละตินอเมริกา อีกหลายประเทศ เช่น เปรู บราซิล ชิลี โดยเฉพาะที่ประเทศนิการากัว ซึ่งถูกประชาชนเดินขบวนขับไล่ และถูกทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิตในที่สุด ทั้งนี้เป็นผลมาจากความเป็นเผด็จการและการบริหารประเทศโดยขาดความโปร่งใส มีการคอร์รัปชั่นกันเป็นจำนวนมหาศาล
“ส่วนประเทศไทยเรานี้ นายกรัฐมนตรีเริ่มแทรกแซงองค์กรอิสระ ตั้งแต่กรณีที่มีการซุกหุ้นตั้งแต่ครั้งแรก จนกระทั่งครั้งล่าสุดที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับตีความคุณสมบัติของผู้แทนราษฎร มาตรา 96 ที่ระบุถึงการไม่ยุ่งเกี่ยวกับหุ้นตามที่กฎหมายกำหนด แต่ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญกลับไม่รับคำร้องของ ส.ว.ที่เข้าชื่อกันไปยื่นคำร้องตามกฎหมายทั้งๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญสามารถใช้อำนาจตามกฎหมายพิสูจน์เรื่องนี้ได้”
นายไตรรงค์ ยังกล่าวถึงการทำงานของ กกต.ด้วยว่า การทำงานของ กกต.ที่ผ่านมายังถือว่ามีความไม่เป็นกลาง เนื่องจากมีหลายครั้งที่มีการเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้งของข้าราชการบางคน แต่ กกต.กลับไม่สามารถเอาผิดหรือลงโทษข้าราชการที่เข้ามายุ่งเกี่ยวทำให้การเลือกตั้งขาดความเป็นกลางได้
“การยุบสภาครั้งที่ผ่านมา นอกเหนือจากรัฐบาลกระทำโดยขัดต่อหลักประชาธิปไตยแล้ว ยังทำให้เห็นว่า การทำงานของ กกต.เป็นไปโดยเอื้อต่อรัฐบาลพรรคไทยรักไทย เนื่องจากการประกาศให้มีการเลือกตั้งตามข้อเสนอของรัฐบาล ทำให้พรรคอื่นๆ ไม่สามารถเตรียมตัวรับการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอย่างกระชั้นชิดได้ พรรคที่พร้อมที่สุดคือพรรคของรัฐบาล แสดงให้เห็นชัดว่า กกต.มีเจตนาเอื้อต่อรัฐบาลซึ่งเป็นพวกพ้องของตัวเอง” นายไตรรงค์ กล่าว
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ เนื่องจากการยุบสภาของรัฐบาลที่นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ในครั้งนี้ เป็นไปโดยขัดต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่ตามปกติ การสิ้นสุดของสภามาจาก 2 ประเด็น คือสภาครบวาระ 4 ปี หรือรัฐบาลเกิดการขัดแย้งกับสภา รัฐธรรมนูญให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสามารถประกาศยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ แต่กรณีการยุบสภาของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นไปเพราะการกดดันของประชาชนที่ไม่พอใจการบริหารประเทศ โดยขาดคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งปรากฏชัดเจนจากการขายหุ้นชินคอร์ป ที่มีการยักย้ายถ่ายเทหุ้นอย่างสลับซับซ้อน
“เราเป็น ส.ส.ฝ่ายค้าน ได้ยื่นมติขอเปิดอภิปรายไม้วางใจนายกรัฐมนตรี บรรยายข้อมูลทั้งหมด เกี่ยวกับการบริหารประเทศ จนประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับประเด็นการซุกหุ้น แต่ฝ่ายค้านมีเสียงไม่พอเลยไปทวงถามเรื่องที่ทักษิณเคยพูดไว้ว่าหากฝ่ายค้านมีเสียงไม่พอก็จะให้ยืม ส.ส.ในพรรค แต่สุดท้ายเขาอ้างว่าไม่เคยพูด ผมเลยไปหา ส.ส.ไทยรักไทยเป็นรายบุคคล ซึ่งเขาบอกว่ายินดีจะเข้าร่วมเพื่อให้มีเสียงครบ 201 เสียงยื่นญัตติอภิปรายนายกรัฐมนตรีในประเด็นการขายหุ้น แต่มันรู้ทันเลยเบนประเด็นไปที่ให้มีการเปิดสภาอภิปรายทั่วไป โดยไม่ต้องมีการลงมติแทน”
นายสุเทพ กล่าวต่อว่า เมื่อเป็นดังนั้นแล้วพรรคฝ่ายค้านจึงจำต้องยอมรับการเปิดอภิปรายทั่วไป ซึ่งได้มีการเตรียมข้อมูล และทีมงานอภิปรายไว้เต็มอัตราศึก โดยวางให้นายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรค นำทีมอภิปรายในครั้งนี้ แต่ในที่สุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาชิงยุบสภาเสียก่อน
“ที่เขาชิงยุบสภาเสียก่อนเพราะหวังว่าจะใช้ทุกวิถีทางให้ชนะการเลือกตั้งเข้ามา แล้วจะมาอ้างในวันหลังว่า ประชาชนเลือกเขาเข้ามาอีกครั้ง เพราะเห็นว่าเขาไม่มีความผิด และให้เลิกพูดเรื่องความผิดนี้อีก เราจึงไม่สามารถยอมรับการยุบสภาและการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้” นายสุเทพ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 มี.ค. 2549--จบ--