เมื่อราคาขายปลีกน้ำมันปิโตรเลียมขยับตัวขึ้นราคาต่อเนื่อง...ด้วยปัจจัยการตลาด ที่ซับซ้อน การรณรงค์ให้ใช้น้ำมันจากวัตถุดิบที่มีอยู่ ภายในประเทศจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
ทุกๆวันจันทร์...ตั้งแต่เจ็ดโมงเช้า รถยนต์หลายคันมารอจ่อคิวมาซื้อน้ำมันไบโอดีเซลจากปั๊มหัวจ่ายหน้าบริเวณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
“เมื่อก่อนก็เติมน้ำมันดีเซล...ช่วงที่ลิตรละ 24 บาท ได้ยินว่า น้ำมันไบโอดีเซลที่นี่ลิตรละ 19 บาท...ถูกกว่า 5 บาท...ก็ลองเติมดู”
จรินทร์ ทองกลิ่น พนักงานขับรถ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอก
รถของจรินทร์เป็นรถรุ่นเก่า ได้ข้อมูลว่า เติมไบโอดีเซลได้เลยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง ยิ่งเห็นรถรุ่นใหม่เติมไบโอดีเซลแล้วไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องคิดมาก
จรินทร์ บอกว่า คนที่เติมไบโอดีเซลส่วนใหญ่ก็รู้จักกันดี เท่าที่พูดคุยกัน...ต่างก็บอกว่า เห็นคนอื่นใช้แล้วไม่มีปัญหาอะไร ก็เลยลองใช้บ้าง
คันชิต ศิริกิต ขับรถประจำทางสายควนลัง-สวนสาธารณะ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วิ่งรถไป-กลับระยะทางประมาณ 14 กม. ใช้น้ำมันวันละกว่า 30 ลิตรกว่า มีเหตุผลเดียวกัน
“เติมไบโอดีเซล...ถูกกว่าน้ำมันธรรมดาเยอะ”
คันชิตคุยว่า ตั้งแต่ใช้ไบโอดีเซล ลดต้นทุนได้เยอะ รถของคันชิตเติมไบโอดีเซลได้เลย...ไม่ต้องปรับเครื่อง
ถึงวันนี้ คันชิตใช้ไบโอดีเซลมานานกว่า 1 เดือน มั่นใจว่า...ไบโอดีเซลดี นอกจากประหยัดแล้ว รถที่ใช้ไบโอดีเซลก็ยังวิ่งได้ไม่มีปัญหา
ค่าโดยสารตลอดสายคนละ 8 บาท แต่ราคาน้ำมันขึ้นเรื่อยๆ ใช้ไบโอดีเซลก็ลดต้นทุน
รถโดยสารในวินคันชิต หลายคันที่ใช้ไบโอดีเซล มีทั้งรถใหม่ รถเก่า บอกเป็นเสียงเดียวกัน...เติมไบโอดีเซล ลดต้นทุนได้วันละเกือบสองร้อย
รศ.ดร.ชาคริต ทองอุไร หนึ่งในทีมวิจัยของโครงการการผลิตเมธิล-เอสเตอร์จากน้ำมันพืชและการทดสอบการใช้น้ำมันปาล์มและเมธิลเอสเตอร์ ในเครื่องยนต์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอกว่า
โครงการไบโอดีเซล...เริ่มมาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้ไบโอดีเซลกับรถไฟที่วิ่งระหว่างหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก
ช่วงแปดเดือนแรก...ใช้ไบโอดีเซลผสมกับน้ำมันดีเซล สัดส่วน 50...50 พอพบว่า รถไฟก็วิ่งได้ ไม่มีปัญหาอะไร จึงขยับมาใช้น้ำมันไบโอดีเซล 100% โดยไม่ต้องปรับแต่งเครื่องยนต์
ผลจากการใช้งานจริงกับรถไฟ สามารถใช้ไบโอดีเซลทดแทนน้ำมันดีเซลได้ 100%
รศ.ดร.ชาคริต บอกว่า ช่วงเวลานั้น เรายังร่วมมือกับเอกชนบริษัทชุมพร อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด เป็นผู้ส่งวัตถุดิบ ได้แก่ ไขปาล์มสเตริ่ง ในราคาที่ค่อนข้างถูก กิโลกรัมละ 8 บาท นำมาใช้ผลิตไบโอดีเซล มีต้นทุน ลิตรละประมาณ 5 บาท
รวมต้นทุนการผลิตทั้งหมด...เราขายไบโอดีเซลให้การรถไฟฯ ลิตรละ 12-13 บาท
ไบโอดีเซลส่วนที่เหลือ ก็ทดลองใช้กับการรถของมหาวิทยาลัย กระทั่งครบ 1 ปี...วัตถุดิบแพงขึ้น ก็หยุดผลิตไบโอดีเซลชั่วคราว
ไม่นาน...ก็เซ็นสัญญาร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ในการทำไบโอดีเซลให้ภาคอุตสาหกรรม
ได้วัตถุดิบแหล่งใหม่ เป็นน้ำมันพืชใช้แล้วในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โรงงานอาหารทะเล โรงงานอาหารแช่แข็งสำเร็จรูป และเราก็ได้น้ำมันบริจาคจากด่านศุลกากร อ.สิงหนคร เป็นน้ำมันปาล์มหนีภาษี ที่จับกุมได้ ทำให้โครงการผลิตไบโอดีเซลมาจนถึงวันนี้
โครงการต้องผลิตไบโอดีเซลจำนวนมาก ก็เลยสร้างชุดผลิตไบโอดีเซลเชิงอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขยายไปสู่การให้เอกชนเข้ามาร่วมใช้งานด้วย
นอกจากนี้ ยังเปิดให้บริการด้านความรู้เรื่องไบโอดีเซลกับผู้สนใจทั่วไป ปรากฏว่า เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมหลายรายติดต่อมาขอใช้น้ำมันไบโอดีเซล เอาไปใช้กับรถโฟล์กลิฟต์...รถยกของ
ผลจากการใช้ไบโอดีเซลในเครื่องยนต์รถยกของ พบว่า ไอเสียที่ออกมาจากเครื่องยนต์ที่เติมไบโอดีเซลมีเขม่าต่ำกว่าใช้น้ำมันดีเซลปกติ
หมายความว่า...ไบโอดีเซลเกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่า ไอเสียไม่มีกลิ่นเหม็น
รศ.ดร.ชาคริต มองว่า เมื่อราคาน้ำมันดีเซลขยับตัวสูงขึ้น จึงมีคนให้ความสนใจมาเติมไบโอดีเซลจำนวนมาก ทำให้โครงการผลิตไม่ทัน สต๊อกน้ำมันพืชก็ลดลงอย่างรวดเร็ว และอาจหมดสต๊อกภายในไม่กี่เดือนนี้
โครงการจึงต้องวางแผนกำหนดการขายไบโอดีเซล เพื่อให้ทดลองโครงการ ได้ต่อไป โดยกำหนดปริมาณการขายสัปดาห์ละ 1,000-1,500 ลิตร เปิดขาย เฉพาะวันจันทร์-พุธ-ศุกร์...เฉลี่ยวันละ 400 ลิตร
“เราเปิดขายไบโอดีเซลตั้งแต่แปดโมงเช้า แต่มีรถมารอตั้งแต่ เจ็ดโมง รถหนึ่งคันจะเติมประมาณ 30-40 ลิตร เติมได้ 15 คัน...ไม่เกินชั่วโมงก็หมดแล้ว”
การสนับสนุนไบโอดีเซลให้เกิด ถ้าเริ่มจากการเอาราคาเข้าสู้กับน้ำมันปกติ จะเห็นได้ว่า มีคนยอมมาเข้าคิวเติมน้ำมัน เพราะลดต้นทุนมากพอสมควร
ถามว่า...นับต่อจากนี้ ชะตากรรมไบโอดีเซลจะเป็นอย่างไร?
หนึ่งในทีมวิจัยไบโอดีเซล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตอบว่า การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลในบ้านเรายังมีปัญหาหลายอย่าง คล้ายกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์... วัตถุดิบในการผลิตไม่เพียงพอ และราคายังสูง
หากรัฐมีมาตรการส่งเสริม...ไม่มีการเก็บภาษีเชื้อเพลิง หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม เชื่อว่า...เมืองไทยสามารถผลิตไบโอดีเซลขายได้
“ราคาน้ำมันปาล์มดิบลิตรละ 17.50 บาท ผลิตเป็นไบโอดีเซล น่าจะขายได้ลิตรละ 23 บาท....ต้นทุนที่เคยคิดกันลิตรละ 5-7 บาท
ราคาสูงอาจจะสูงเกินไป นั่นก็เพราะว่า ยังไม่ได้คิดตัวกลีเซอรอลซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมัน”
ฉะนั้น ต้องมองว่า...กลีเซอรอลที่ได้จากการผลิตไบโอดีเซลจะเอาไปทำอะไร
น้ำมันปาล์มทุกๆ 1,000 กิโลกรัมที่นำไปผลิตไบโอดีเซล จะได้กลีเซอรอล 100 กิโลกรัม เฉลี่ยแล้วจะได้กลีเซอรอล 1 ใน 10 ของน้ำมันปาล์มที่ทำไบโอดีเซล
ในช่วงเริ่มต้น...ถ้ามีการจัดการดีๆ เอากลีเซอรอลไปกลั่นบริสุทธิ์ ผสมในสบู่หรือเครื่องสำอาง ก็ยิ่งจะช่วยให้ลดต้นทุน พอที่จะแข่งกับน้ำมันดีเซลได้
เมื่อมีมาตรการต่างๆมาช่วย...ภาษีเชื้อเพลิงจะเอาอย่างไร มาตรการที่บอกว่าให้ผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล 5% หรือ 10% ในปี 2555 จะ เป็นจริงหรือไม่
เอกชนก็จะมั่นใจ...ไบโอดีเซลมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์
กระทั่งมาตรฐานเชื้อเพลิงไบโอดีเซลที่ร่างมา...บางข้อยังไม่สอดคล้องกับภาวการณ์ของ ประเทศไทย ข้อที่เห็นได้ชัด...ค่าที่เป็นจุดขุ่น จุดไหลเทของน้ำมันกำหนดไว้ อยู่ที่ 10 องศาเซลเซียส
ไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มมีค่านี้ประมาณ 14 องศาเซลเซียสมีผลทำให้น้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตจากปาล์มน้ำมันไม่ผ่านเกณฑ์ หรือถ้าผ่านก็ ต้องเติมสารเติมแต่งเพื่อที่จะลดจุดขุ่น...จุดไหลเทให้ต่ำกว่า
สำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน อาจมองในแง่ปกป้องผู้บริโภค คือ ถ้าไบโอดีเซลเป็นของแข็งที่อุณหภูมิสูงจะไปอุดตันที่จุดกรองของเครื่องยนต์ ก็เป็นประเด็นสำคัญที่เป็นอุปสรรค
แต่การกำหนดมาตรฐานต่างๆเหล่านี้ ก็ยังไม่สอดคล้องเท่าไหร่...เพราะส่วนใหญ่เอามาตรฐานจากต่างประเทศมาใช้
เหล่านี้...แสดงให้เห็นว่า เรายังไม่รู้ว่าจุดที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร เมืองไทยมีปาล์มน้ำมันมาก แต่ถ้าใช้ปาล์มอย่างเดียวแล้วไม่เติมสารเติมแต่ง... ไม่ผ่านเกณฑ์แน่นอน
หากรัฐจะสนับสนุนให้เกิดการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล สิ่งแรกที่ต้องทำ...ต้องทำมาตรการเหล่านี้ให้ชัดเจน.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ทุกๆวันจันทร์...ตั้งแต่เจ็ดโมงเช้า รถยนต์หลายคันมารอจ่อคิวมาซื้อน้ำมันไบโอดีเซลจากปั๊มหัวจ่ายหน้าบริเวณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
“เมื่อก่อนก็เติมน้ำมันดีเซล...ช่วงที่ลิตรละ 24 บาท ได้ยินว่า น้ำมันไบโอดีเซลที่นี่ลิตรละ 19 บาท...ถูกกว่า 5 บาท...ก็ลองเติมดู”
จรินทร์ ทองกลิ่น พนักงานขับรถ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอก
รถของจรินทร์เป็นรถรุ่นเก่า ได้ข้อมูลว่า เติมไบโอดีเซลได้เลยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง ยิ่งเห็นรถรุ่นใหม่เติมไบโอดีเซลแล้วไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องคิดมาก
จรินทร์ บอกว่า คนที่เติมไบโอดีเซลส่วนใหญ่ก็รู้จักกันดี เท่าที่พูดคุยกัน...ต่างก็บอกว่า เห็นคนอื่นใช้แล้วไม่มีปัญหาอะไร ก็เลยลองใช้บ้าง
คันชิต ศิริกิต ขับรถประจำทางสายควนลัง-สวนสาธารณะ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วิ่งรถไป-กลับระยะทางประมาณ 14 กม. ใช้น้ำมันวันละกว่า 30 ลิตรกว่า มีเหตุผลเดียวกัน
“เติมไบโอดีเซล...ถูกกว่าน้ำมันธรรมดาเยอะ”
คันชิตคุยว่า ตั้งแต่ใช้ไบโอดีเซล ลดต้นทุนได้เยอะ รถของคันชิตเติมไบโอดีเซลได้เลย...ไม่ต้องปรับเครื่อง
ถึงวันนี้ คันชิตใช้ไบโอดีเซลมานานกว่า 1 เดือน มั่นใจว่า...ไบโอดีเซลดี นอกจากประหยัดแล้ว รถที่ใช้ไบโอดีเซลก็ยังวิ่งได้ไม่มีปัญหา
ค่าโดยสารตลอดสายคนละ 8 บาท แต่ราคาน้ำมันขึ้นเรื่อยๆ ใช้ไบโอดีเซลก็ลดต้นทุน
รถโดยสารในวินคันชิต หลายคันที่ใช้ไบโอดีเซล มีทั้งรถใหม่ รถเก่า บอกเป็นเสียงเดียวกัน...เติมไบโอดีเซล ลดต้นทุนได้วันละเกือบสองร้อย
รศ.ดร.ชาคริต ทองอุไร หนึ่งในทีมวิจัยของโครงการการผลิตเมธิล-เอสเตอร์จากน้ำมันพืชและการทดสอบการใช้น้ำมันปาล์มและเมธิลเอสเตอร์ ในเครื่องยนต์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอกว่า
โครงการไบโอดีเซล...เริ่มมาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้ไบโอดีเซลกับรถไฟที่วิ่งระหว่างหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก
ช่วงแปดเดือนแรก...ใช้ไบโอดีเซลผสมกับน้ำมันดีเซล สัดส่วน 50...50 พอพบว่า รถไฟก็วิ่งได้ ไม่มีปัญหาอะไร จึงขยับมาใช้น้ำมันไบโอดีเซล 100% โดยไม่ต้องปรับแต่งเครื่องยนต์
ผลจากการใช้งานจริงกับรถไฟ สามารถใช้ไบโอดีเซลทดแทนน้ำมันดีเซลได้ 100%
รศ.ดร.ชาคริต บอกว่า ช่วงเวลานั้น เรายังร่วมมือกับเอกชนบริษัทชุมพร อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด เป็นผู้ส่งวัตถุดิบ ได้แก่ ไขปาล์มสเตริ่ง ในราคาที่ค่อนข้างถูก กิโลกรัมละ 8 บาท นำมาใช้ผลิตไบโอดีเซล มีต้นทุน ลิตรละประมาณ 5 บาท
รวมต้นทุนการผลิตทั้งหมด...เราขายไบโอดีเซลให้การรถไฟฯ ลิตรละ 12-13 บาท
ไบโอดีเซลส่วนที่เหลือ ก็ทดลองใช้กับการรถของมหาวิทยาลัย กระทั่งครบ 1 ปี...วัตถุดิบแพงขึ้น ก็หยุดผลิตไบโอดีเซลชั่วคราว
ไม่นาน...ก็เซ็นสัญญาร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ในการทำไบโอดีเซลให้ภาคอุตสาหกรรม
ได้วัตถุดิบแหล่งใหม่ เป็นน้ำมันพืชใช้แล้วในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โรงงานอาหารทะเล โรงงานอาหารแช่แข็งสำเร็จรูป และเราก็ได้น้ำมันบริจาคจากด่านศุลกากร อ.สิงหนคร เป็นน้ำมันปาล์มหนีภาษี ที่จับกุมได้ ทำให้โครงการผลิตไบโอดีเซลมาจนถึงวันนี้
โครงการต้องผลิตไบโอดีเซลจำนวนมาก ก็เลยสร้างชุดผลิตไบโอดีเซลเชิงอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขยายไปสู่การให้เอกชนเข้ามาร่วมใช้งานด้วย
นอกจากนี้ ยังเปิดให้บริการด้านความรู้เรื่องไบโอดีเซลกับผู้สนใจทั่วไป ปรากฏว่า เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมหลายรายติดต่อมาขอใช้น้ำมันไบโอดีเซล เอาไปใช้กับรถโฟล์กลิฟต์...รถยกของ
ผลจากการใช้ไบโอดีเซลในเครื่องยนต์รถยกของ พบว่า ไอเสียที่ออกมาจากเครื่องยนต์ที่เติมไบโอดีเซลมีเขม่าต่ำกว่าใช้น้ำมันดีเซลปกติ
หมายความว่า...ไบโอดีเซลเกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่า ไอเสียไม่มีกลิ่นเหม็น
รศ.ดร.ชาคริต มองว่า เมื่อราคาน้ำมันดีเซลขยับตัวสูงขึ้น จึงมีคนให้ความสนใจมาเติมไบโอดีเซลจำนวนมาก ทำให้โครงการผลิตไม่ทัน สต๊อกน้ำมันพืชก็ลดลงอย่างรวดเร็ว และอาจหมดสต๊อกภายในไม่กี่เดือนนี้
โครงการจึงต้องวางแผนกำหนดการขายไบโอดีเซล เพื่อให้ทดลองโครงการ ได้ต่อไป โดยกำหนดปริมาณการขายสัปดาห์ละ 1,000-1,500 ลิตร เปิดขาย เฉพาะวันจันทร์-พุธ-ศุกร์...เฉลี่ยวันละ 400 ลิตร
“เราเปิดขายไบโอดีเซลตั้งแต่แปดโมงเช้า แต่มีรถมารอตั้งแต่ เจ็ดโมง รถหนึ่งคันจะเติมประมาณ 30-40 ลิตร เติมได้ 15 คัน...ไม่เกินชั่วโมงก็หมดแล้ว”
การสนับสนุนไบโอดีเซลให้เกิด ถ้าเริ่มจากการเอาราคาเข้าสู้กับน้ำมันปกติ จะเห็นได้ว่า มีคนยอมมาเข้าคิวเติมน้ำมัน เพราะลดต้นทุนมากพอสมควร
ถามว่า...นับต่อจากนี้ ชะตากรรมไบโอดีเซลจะเป็นอย่างไร?
หนึ่งในทีมวิจัยไบโอดีเซล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตอบว่า การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลในบ้านเรายังมีปัญหาหลายอย่าง คล้ายกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์... วัตถุดิบในการผลิตไม่เพียงพอ และราคายังสูง
หากรัฐมีมาตรการส่งเสริม...ไม่มีการเก็บภาษีเชื้อเพลิง หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม เชื่อว่า...เมืองไทยสามารถผลิตไบโอดีเซลขายได้
“ราคาน้ำมันปาล์มดิบลิตรละ 17.50 บาท ผลิตเป็นไบโอดีเซล น่าจะขายได้ลิตรละ 23 บาท....ต้นทุนที่เคยคิดกันลิตรละ 5-7 บาท
ราคาสูงอาจจะสูงเกินไป นั่นก็เพราะว่า ยังไม่ได้คิดตัวกลีเซอรอลซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมัน”
ฉะนั้น ต้องมองว่า...กลีเซอรอลที่ได้จากการผลิตไบโอดีเซลจะเอาไปทำอะไร
น้ำมันปาล์มทุกๆ 1,000 กิโลกรัมที่นำไปผลิตไบโอดีเซล จะได้กลีเซอรอล 100 กิโลกรัม เฉลี่ยแล้วจะได้กลีเซอรอล 1 ใน 10 ของน้ำมันปาล์มที่ทำไบโอดีเซล
ในช่วงเริ่มต้น...ถ้ามีการจัดการดีๆ เอากลีเซอรอลไปกลั่นบริสุทธิ์ ผสมในสบู่หรือเครื่องสำอาง ก็ยิ่งจะช่วยให้ลดต้นทุน พอที่จะแข่งกับน้ำมันดีเซลได้
เมื่อมีมาตรการต่างๆมาช่วย...ภาษีเชื้อเพลิงจะเอาอย่างไร มาตรการที่บอกว่าให้ผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล 5% หรือ 10% ในปี 2555 จะ เป็นจริงหรือไม่
เอกชนก็จะมั่นใจ...ไบโอดีเซลมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์
กระทั่งมาตรฐานเชื้อเพลิงไบโอดีเซลที่ร่างมา...บางข้อยังไม่สอดคล้องกับภาวการณ์ของ ประเทศไทย ข้อที่เห็นได้ชัด...ค่าที่เป็นจุดขุ่น จุดไหลเทของน้ำมันกำหนดไว้ อยู่ที่ 10 องศาเซลเซียส
ไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มมีค่านี้ประมาณ 14 องศาเซลเซียสมีผลทำให้น้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตจากปาล์มน้ำมันไม่ผ่านเกณฑ์ หรือถ้าผ่านก็ ต้องเติมสารเติมแต่งเพื่อที่จะลดจุดขุ่น...จุดไหลเทให้ต่ำกว่า
สำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน อาจมองในแง่ปกป้องผู้บริโภค คือ ถ้าไบโอดีเซลเป็นของแข็งที่อุณหภูมิสูงจะไปอุดตันที่จุดกรองของเครื่องยนต์ ก็เป็นประเด็นสำคัญที่เป็นอุปสรรค
แต่การกำหนดมาตรฐานต่างๆเหล่านี้ ก็ยังไม่สอดคล้องเท่าไหร่...เพราะส่วนใหญ่เอามาตรฐานจากต่างประเทศมาใช้
เหล่านี้...แสดงให้เห็นว่า เรายังไม่รู้ว่าจุดที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร เมืองไทยมีปาล์มน้ำมันมาก แต่ถ้าใช้ปาล์มอย่างเดียวแล้วไม่เติมสารเติมแต่ง... ไม่ผ่านเกณฑ์แน่นอน
หากรัฐจะสนับสนุนให้เกิดการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล สิ่งแรกที่ต้องทำ...ต้องทำมาตรการเหล่านี้ให้ชัดเจน.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-