นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกสำนักเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ แถลงเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 ว่า จากกรณีที่หลายฝ่ายได้แสดงความเห็นเรื่องความเหมาะสมของการใช้พาสปอร์ตสีแดงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น ถ้าพิจารณาตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศ ในการอนุญาตให้ใช้พาสปอร์ตสีแดงซึ่งเป็นการให้เอกสิทธิ์พิเศษสำหรับบุคคลต่าง ๆ ที่มีอยู่ 14 ประเภท นั้น เป็นสิทธิ์ของกระทรวงการต่างประเทศ และผู้ได้รับสิทธิ์นั้น ๆ ว่าจะใช้เอกสิทธิ์ไปในทางที่เหมาะสมมากน้อยเพียงใด เพราะผู้มีเอกสิทธิ์ถือพาสปอร์ตสีแดงหลายท่านจะใช้เฉพาะการเดินทางต่างประเทศในกรณี การเดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางราชการเท่านั้น ถ้าไม่ใช่เป็นการเดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนใหญ่ก็จะใช้พาสปอร์ตของบุคคลธรรมดา การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้พาสปอร์ตสีแดงในการท่องเที่ยวในต่างประเทศนั้น เป็นสิทธิ์สามารถทำได้แต่ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ต่อเรื่องนี้เคยสอบถามอดีตรัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยมีพาสปอร์ตสีแดงก็ได้รับคำตอบว่าจะใช้เฉพาะตอนที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น
นายเทพไท กล่าวต่อว่า สำหรับท่าทีของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีต่อเรื่องนี้ ซึ่งมีการแสดงความเห็นในลักษณะสุภาพบุรุษชายชาติทหารที่ให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมต่อไป แสดงให้เห็นว่าตัวนายกฯเอง ต้องการสร้างความประนีประนอมและความสมานฉันท์มากกว่าการใช้อำนาจเด็ดขาดของตนเอง ซึ่งเป็นความแปลกใหม่ของสังคมการเมืองไทยที่นายกรัฐมนตรีมาจากการยึดอำนาจแต่มีท่าทีเป็นประชาธิปไตยสูง ตรงกันข้ามกับนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งอย่างพ.ต.ท.ทักษิณ ที่กลับทำตัวเป็นเผด็จการ ซึ่งเป็นความสับสนของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
นายเทพไท กล่าวต่อว่าสำหรับการพิจารณาคดีของตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้เริ่มกระบวนการพิจารณาไปแล้ว นั้น พรรคประชาธิปัตย์มีความเชื่อมั่นในความยุติธรรมของตุลาการทั้ง 9 ท่าน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีเกียรติประวัติที่ดีงามเป็นที่ประจักษ์ จึงมั่นใจว่า ข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมทั้งหลายที่ กกต.ชุดที่แล้วกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ คงจะได้รับความยุติธรรมจากการพิจารณาคดีของตุลาการรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน และจะไม่เคลื่อนไหวใด ๆ ในลักษณะที่กดดันกระบวนการพิจารณาคดีของตุลาการรัฐธรรมนูญ และอยากจะเรียกร้องให้พรรคไทยรักไทยและพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของตุลาการรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ได้ให้ความเคารพในดุลพินิจของตุลาการรัฐธรรมนูญด้วย สำหรับข้อกล่าวหาของสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่กล่าวหาว่า คมช.และรัฐบาลมีธงคำตอบในการยุบพรรคไทยรักไทยแล้ว นั้น ถือได้ว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ละเมิดต่ออำนาจของตุลาการรัฐธรรมนูญ และกำลังโน้มน้าวให้ประชาชนเห็นว่าตุลาการรัฐธรรมนูญทั้ง 9 ท่าน อยู่ภายใต้การบงการและชี้นำของ คมช.และรัฐบาล จึงอยากให้นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ที่ประกาศหลายครั้งว่าจะให้ความร่วมมือกับ คมช. และรัฐบาล ออกมาห้ามปรามลูกพรรคตนเองไม่ให้ทำตัวเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการพิจารณาคดียุบพรรคในครั้งนี้ด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 พ.ย. 2549--จบ--
นายเทพไท กล่าวต่อว่า สำหรับท่าทีของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีต่อเรื่องนี้ ซึ่งมีการแสดงความเห็นในลักษณะสุภาพบุรุษชายชาติทหารที่ให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมต่อไป แสดงให้เห็นว่าตัวนายกฯเอง ต้องการสร้างความประนีประนอมและความสมานฉันท์มากกว่าการใช้อำนาจเด็ดขาดของตนเอง ซึ่งเป็นความแปลกใหม่ของสังคมการเมืองไทยที่นายกรัฐมนตรีมาจากการยึดอำนาจแต่มีท่าทีเป็นประชาธิปไตยสูง ตรงกันข้ามกับนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งอย่างพ.ต.ท.ทักษิณ ที่กลับทำตัวเป็นเผด็จการ ซึ่งเป็นความสับสนของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
นายเทพไท กล่าวต่อว่าสำหรับการพิจารณาคดีของตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้เริ่มกระบวนการพิจารณาไปแล้ว นั้น พรรคประชาธิปัตย์มีความเชื่อมั่นในความยุติธรรมของตุลาการทั้ง 9 ท่าน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีเกียรติประวัติที่ดีงามเป็นที่ประจักษ์ จึงมั่นใจว่า ข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมทั้งหลายที่ กกต.ชุดที่แล้วกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ คงจะได้รับความยุติธรรมจากการพิจารณาคดีของตุลาการรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน และจะไม่เคลื่อนไหวใด ๆ ในลักษณะที่กดดันกระบวนการพิจารณาคดีของตุลาการรัฐธรรมนูญ และอยากจะเรียกร้องให้พรรคไทยรักไทยและพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของตุลาการรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ได้ให้ความเคารพในดุลพินิจของตุลาการรัฐธรรมนูญด้วย สำหรับข้อกล่าวหาของสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่กล่าวหาว่า คมช.และรัฐบาลมีธงคำตอบในการยุบพรรคไทยรักไทยแล้ว นั้น ถือได้ว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ละเมิดต่ออำนาจของตุลาการรัฐธรรมนูญ และกำลังโน้มน้าวให้ประชาชนเห็นว่าตุลาการรัฐธรรมนูญทั้ง 9 ท่าน อยู่ภายใต้การบงการและชี้นำของ คมช.และรัฐบาล จึงอยากให้นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ที่ประกาศหลายครั้งว่าจะให้ความร่วมมือกับ คมช. และรัฐบาล ออกมาห้ามปรามลูกพรรคตนเองไม่ให้ทำตัวเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการพิจารณาคดียุบพรรคในครั้งนี้ด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 พ.ย. 2549--จบ--