สศก. เผยเทคโนโลยีทันสมัย GIS ที่นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ด้านการเกษตร โดยใช้แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศและเครื่องจับพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลก ในการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร หรือ Area Survey
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS: Geographic Information System) เป็นเครื่องมือทันสมัยที่กำลังได้รับความนิยมจากหลายหน่วยงาน นำมาใช้จัดเก็บ รวบรวม และนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งซึ่งได้นำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้ในการสำรวจข้อมูลทางการเกษตร และให้ชื่อของการสำรวจนี้ว่า Area Survey โดยได้ดำเนินการสำรวจมาตั้งแต่ปลายปี 2548 อุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการสำรวจมี 2 ชนิดคือ แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศและเครื่องจับพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS: Global Position System) ซึ่งจุดประสงค์หลักของการสำรวจก็คือการเข้าไปตรวจสอบพื้นที่แต่ละจุด สุ่มให้ชัดเจนว่าพื้นที่แต่ละแห่งเพาะปลูกอะไร รวมทั้งทำการติดตามสัมภาษณ์เกษตรกรเพื่อเก็บข้อมูลผลผลิตต่อไป
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูล Area Survey ไปแล้ว 3 จังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ละสุรินทร์ ส่วนจังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี กำลังดำเนินการสำรวจอยู่อย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 47 หน่วยสำรวจ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอสังขะ กาบเชิง และบัวเชด พบว่า ในปี 2548 เกษตรกรได้ปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนใหญ่ปลูกแทนมันสำปะหลัง บางส่วนมีการบุกเบิกที่ภูเขาเพื่อทำการเพาะปลูก คาดว่ามีพื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้นในปี 2549 ทั้งนี้จากการสัมภาษณ์เกษตรกรหลายรายได้เตรียมพันธุ์และพื้นที่ไว้เพื่อรอการปลูกในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงนี้
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS: Geographic Information System) เป็นเครื่องมือทันสมัยที่กำลังได้รับความนิยมจากหลายหน่วยงาน นำมาใช้จัดเก็บ รวบรวม และนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งซึ่งได้นำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้ในการสำรวจข้อมูลทางการเกษตร และให้ชื่อของการสำรวจนี้ว่า Area Survey โดยได้ดำเนินการสำรวจมาตั้งแต่ปลายปี 2548 อุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการสำรวจมี 2 ชนิดคือ แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศและเครื่องจับพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS: Global Position System) ซึ่งจุดประสงค์หลักของการสำรวจก็คือการเข้าไปตรวจสอบพื้นที่แต่ละจุด สุ่มให้ชัดเจนว่าพื้นที่แต่ละแห่งเพาะปลูกอะไร รวมทั้งทำการติดตามสัมภาษณ์เกษตรกรเพื่อเก็บข้อมูลผลผลิตต่อไป
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูล Area Survey ไปแล้ว 3 จังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ละสุรินทร์ ส่วนจังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี กำลังดำเนินการสำรวจอยู่อย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 47 หน่วยสำรวจ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอสังขะ กาบเชิง และบัวเชด พบว่า ในปี 2548 เกษตรกรได้ปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนใหญ่ปลูกแทนมันสำปะหลัง บางส่วนมีการบุกเบิกที่ภูเขาเพื่อทำการเพาะปลูก คาดว่ามีพื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้นในปี 2549 ทั้งนี้จากการสัมภาษณ์เกษตรกรหลายรายได้เตรียมพันธุ์และพื้นที่ไว้เพื่อรอการปลูกในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงนี้
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-