คำถาม : มาตรการทางการค้าที่สำคัญของรัสเซียมีอะไรบ้าง
คำตอบ : รัสเซียถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ ด้วยจำนวนประชากรมากถึง 140 ล้านคน ประกอบกับประชากรมีกำลังซื้อสูงขึ้น เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจรัสเซียค่อนข้างมีเสถียรภาพและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวรัสเซียมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงราว 5,340 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกของไทยไปรัสเซียยังมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย เพื่อช่วยให้การส่งออกไปยังตลาดรัสเซียมีความคล่องตัวมากขึ้น ในเบื้องต้นผู้ส่งออกควรทราบถึงมาตรการทางการค้าที่สำคัญของรัสเซีย ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
มาตรการทางภาษี
* ภาษีนำเข้า (Import Tariff) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การเปิดเสรีทางการค้าขององค์การการค้าโลก(World Trade Organization : WTO) ในปี 2547 ทางการรัสเซียได้มีการแก้ไขการเก็บภาษีสินค้า ด้วยการปรับลดอัตราภาษีสินค้านำเข้ากว่า 140 รายการ ที่สำคัญ ได้แก่
- สินค้าในหมวดเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ยาสูบ เคมีภัณฑ์ และอะไหล่รถยนต์ ลดจาก 5%-20% เหลือ 5%
- พลาสติกและผลิตภัณฑ์ ลดจาก 10%-36% เหลือ 10%
- อุปกรณ์ทางการแพทย์ ลดจาก 10%-20% เหลือ 5%-15%
- ผลิตภัณฑ์เหล็ก วิทยุ โทรทัศน์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ลดจาก 10%-20% เหลือ 15%
* ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added Tax : VAT) ทางการรัสเซียเริ่มนำระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม มาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นมา โดยส่วนใหญ่เรียกเก็บในอัตราสูงถึง 18% ยกเว้น ผลิตภัณฑ์อาหารและอุปกรณ์ทางการแพทย์บางรายการจะเก็บในอัตรา 10%
* ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) โดยเรียกเก็บจากสินค้าฟุ่มเฟือยหลายรายการ อาทิ แอลกอฮอล์ บุหรี่ และอื่น ๆ ในอัตรา 20%-570%
อย่างไรก็ตาม ทางการรัสเซียอนุญาตให้เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone : SEZ) หรือคลังเก็บสินค้าบางแห่ง เป็นเขตปลอดภาษีศุลกากร ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการลงทุน อาทิ The Kaliningrad Special Economic Zone โดยนักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจแห่งนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าทุกชนิดแต่สินค้านำเข้าบางชนิดต้องอยู่ภายใต้โควตาที่กำหนด สำหรับสินค้าที่นำเข้ามาแปรสภาพในรัสเซียและก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 30% สามารถนำเข้าได้อย่างเสรี
มาตรการที่มิใช่ภาษี
* สินค้าที่ต้องขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) อาทิ โลหะผสม โทรทัศน์สีขนาด 14, 21 และ 25 นิ้วยา โลหะมีค่า หิน วัตถุระเบิด อุปกรณ์ทางการทหาร สารกัมมันตภาพรังสี และวอดกา เป็นต้น
* ฉลากสินค้า รัสเซียกำหนดให้สินค้าทุกชนิดต้องติดฉลากสินค้า โดยระบุรายละเอียดต่าง ๆ เป็นภาษารัสเซียแบ่งตามประเภทสินค้า ดังนี้
- สินค้าหมวดอาหาร ต้องระบุชื่อและประเภทสินค้า ที่อยู่ของผู้ผลิต (อาจระบุเป็นภาษาลาตินก็ได้)น้ำหนักหรือปริมาณสินค้า วัตถุดิบและส่วนประกอบเรียงลำดับตามสัดส่วนจากมากไปน้อย คุณค่าทางโภชนาการวัน เดือน ปี ที่ผลิตและหมดอายุ คำแนะนำในการใช้สินค้า (กรณีที่เป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์อาหารของเด็ก) รวมทั้งข้อบ่งใช้และผลข้างเคียง
- สินค้าที่ไม่ใช่อาหาร ต้องระบุชื่อสินค้า ชื่อและประเทศผู้ผลิต (อาจระบุเป็นภาษาลาตินก็ได้) และคำแนะนำในการใช้สินค้า
* ใบรับรองมาตรฐานสินค้า รัสเซียกำหนดให้สินค้านำเข้าหลายชนิดต้องผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าจาก The Federal Agency for Technical Regulations ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเรื่องมาตรฐานสินค้าของรัสเซีย แม้สินค้าเหล่านั้นจะผ่านการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานสากลอื่น ๆ อาทิ International Organization for Standardization (ISO) มาแล้วก็ตาม นอกจากนี้ สินค้าบางรายการยังจะต้องได้รับใบรับรองมาตรฐานสินค้าจากหน่วยงานเฉพาะด้านของรัสเซียอีกด้วย อาทิ
- ผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องได้ใบรับรองมาตรฐานสินค้าจากกระทรวงเกษตร
- ผลิตภัณฑ์ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ จะต้องได้ใบรับรองมาตรฐานสินค้าจากกระทรวงสาธารณสุข
- อุปกรณ์และบริการทางการสื่อสารโทรคมนาคม จะต้องได้ใบรับรองมาตรฐานสินค้าจาก The State Communications Committee
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2549--
-พห-
คำตอบ : รัสเซียถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ ด้วยจำนวนประชากรมากถึง 140 ล้านคน ประกอบกับประชากรมีกำลังซื้อสูงขึ้น เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจรัสเซียค่อนข้างมีเสถียรภาพและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวรัสเซียมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงราว 5,340 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกของไทยไปรัสเซียยังมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย เพื่อช่วยให้การส่งออกไปยังตลาดรัสเซียมีความคล่องตัวมากขึ้น ในเบื้องต้นผู้ส่งออกควรทราบถึงมาตรการทางการค้าที่สำคัญของรัสเซีย ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
มาตรการทางภาษี
* ภาษีนำเข้า (Import Tariff) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การเปิดเสรีทางการค้าขององค์การการค้าโลก(World Trade Organization : WTO) ในปี 2547 ทางการรัสเซียได้มีการแก้ไขการเก็บภาษีสินค้า ด้วยการปรับลดอัตราภาษีสินค้านำเข้ากว่า 140 รายการ ที่สำคัญ ได้แก่
- สินค้าในหมวดเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ยาสูบ เคมีภัณฑ์ และอะไหล่รถยนต์ ลดจาก 5%-20% เหลือ 5%
- พลาสติกและผลิตภัณฑ์ ลดจาก 10%-36% เหลือ 10%
- อุปกรณ์ทางการแพทย์ ลดจาก 10%-20% เหลือ 5%-15%
- ผลิตภัณฑ์เหล็ก วิทยุ โทรทัศน์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ลดจาก 10%-20% เหลือ 15%
* ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added Tax : VAT) ทางการรัสเซียเริ่มนำระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม มาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นมา โดยส่วนใหญ่เรียกเก็บในอัตราสูงถึง 18% ยกเว้น ผลิตภัณฑ์อาหารและอุปกรณ์ทางการแพทย์บางรายการจะเก็บในอัตรา 10%
* ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) โดยเรียกเก็บจากสินค้าฟุ่มเฟือยหลายรายการ อาทิ แอลกอฮอล์ บุหรี่ และอื่น ๆ ในอัตรา 20%-570%
อย่างไรก็ตาม ทางการรัสเซียอนุญาตให้เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone : SEZ) หรือคลังเก็บสินค้าบางแห่ง เป็นเขตปลอดภาษีศุลกากร ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการลงทุน อาทิ The Kaliningrad Special Economic Zone โดยนักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจแห่งนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าทุกชนิดแต่สินค้านำเข้าบางชนิดต้องอยู่ภายใต้โควตาที่กำหนด สำหรับสินค้าที่นำเข้ามาแปรสภาพในรัสเซียและก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 30% สามารถนำเข้าได้อย่างเสรี
มาตรการที่มิใช่ภาษี
* สินค้าที่ต้องขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) อาทิ โลหะผสม โทรทัศน์สีขนาด 14, 21 และ 25 นิ้วยา โลหะมีค่า หิน วัตถุระเบิด อุปกรณ์ทางการทหาร สารกัมมันตภาพรังสี และวอดกา เป็นต้น
* ฉลากสินค้า รัสเซียกำหนดให้สินค้าทุกชนิดต้องติดฉลากสินค้า โดยระบุรายละเอียดต่าง ๆ เป็นภาษารัสเซียแบ่งตามประเภทสินค้า ดังนี้
- สินค้าหมวดอาหาร ต้องระบุชื่อและประเภทสินค้า ที่อยู่ของผู้ผลิต (อาจระบุเป็นภาษาลาตินก็ได้)น้ำหนักหรือปริมาณสินค้า วัตถุดิบและส่วนประกอบเรียงลำดับตามสัดส่วนจากมากไปน้อย คุณค่าทางโภชนาการวัน เดือน ปี ที่ผลิตและหมดอายุ คำแนะนำในการใช้สินค้า (กรณีที่เป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์อาหารของเด็ก) รวมทั้งข้อบ่งใช้และผลข้างเคียง
- สินค้าที่ไม่ใช่อาหาร ต้องระบุชื่อสินค้า ชื่อและประเทศผู้ผลิต (อาจระบุเป็นภาษาลาตินก็ได้) และคำแนะนำในการใช้สินค้า
* ใบรับรองมาตรฐานสินค้า รัสเซียกำหนดให้สินค้านำเข้าหลายชนิดต้องผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าจาก The Federal Agency for Technical Regulations ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเรื่องมาตรฐานสินค้าของรัสเซีย แม้สินค้าเหล่านั้นจะผ่านการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานสากลอื่น ๆ อาทิ International Organization for Standardization (ISO) มาแล้วก็ตาม นอกจากนี้ สินค้าบางรายการยังจะต้องได้รับใบรับรองมาตรฐานสินค้าจากหน่วยงานเฉพาะด้านของรัสเซียอีกด้วย อาทิ
- ผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องได้ใบรับรองมาตรฐานสินค้าจากกระทรวงเกษตร
- ผลิตภัณฑ์ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ จะต้องได้ใบรับรองมาตรฐานสินค้าจากกระทรวงสาธารณสุข
- อุปกรณ์และบริการทางการสื่อสารโทรคมนาคม จะต้องได้ใบรับรองมาตรฐานสินค้าจาก The State Communications Committee
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2549--
-พห-