กระทรวงการคลัง โดยนางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทยโดย S&P’s เมื่อวันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2549 เวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทยว่า S&P’s ได้ยกเลิกมุมมองระดับเครดิตของประเทศที่มีการเฝ้าระวังระดับเครดิตที่เป็นลบออก (CreditWatch with Negative Implications) โดยมีแนวโน้มระดับเครดิตที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) พร้อมกับยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศ (Long-term/Short-term Foreign Currency Rating) ที่ระดับ BBB+/A-2 และระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นสกุลเงินบาท (Long — term/Short-term Local Currency Rating) ที่ระดับ A/A-1 ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
S&P’s แจ้งว่า การยืนยันระดับเครดิตของประเทศไทยในครั้งนี้ แสดงถึงมุมมองของ S&P’s ที่ยังเห็นว่าสถานะของเครดิตไทยยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้ว่าจะผ่านการรัฐประหารก็ตาม การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่ไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเป็นเหตุการณ์ที่ค่อนข้างผิดปกติสำหรับประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกับประเทศไทย และส่งผลกระทบในทางลบต่อสถานะทางเครดิตของประเทศ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงทางด้านความมั่นคงและนโยบายที่เกิดขึ้นในช่วงก่อน อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยได้หมดสิ้นไปภายหลังจากการเกิดรัฐประหาร ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองได้กลับเข้าสู่ความมีเสถียรภาพอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทยยังคงมีความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับประเทศที่ได้รับการจัดอันดับในระดับเดียวกัน โดยจะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในระยะสั้นถึงระยะปานกลาง S&P’s คาดว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยใน 3 ปีข้างหน้าจะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยที่ประมาณร้อยละ 5 ต่อปี และถึงแม้ว่าจะมีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลในอีก 3 ปีข้างหน้า หนี้โดยตรงของรัฐบาลก็ยังจะคงลดลงเหลือประมาณร้อยละ 29 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2551 จากปัจจุบันที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 31 ของ GDP อย่างไรก็ตาม ดุลบัญชีเดินสะพัดอาจจะขาดดุลเล็กน้อย เนื่องจากรัฐบาลมีแผนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ แต่ทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 64 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นปี 2549 และหนี้ต่างประเทศของภาครัฐ ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำจะทำให้ประเทศไทยมีความยืดหยุ่นในการกู้เงินจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
การปรับมุมมองทางเครดิตในครั้งนี้อยู่บนพื้นฐานที่ S&P’s คาดหมายว่า ประเทศไทยจะสามารถกลับคืนเข้าสู่ระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพได้ภายในปี 2550 ซึ่งรวมถึงการที่สามารถจัดให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมาบริหารประเทศได้ โดยประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศในระยะยาว และเป็นเงื่อนไขที่สำคัญต่อการลงทุนของภาคเอกชนและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดย S&P’s อาจปรับมุมมองของระดับเครดิตที่เป็นบวก หากรัฐบาลชุดใหม่สามารถดำเนินมาตรการที่ส่งเสริมการปรับโครงสร้างเพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ในทางตรงกันข้าม หากมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในระหว่าง หรือภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น ก็อาจส่งผลกระทบต่อระดับเครดิตของไทยได้เช่นกัน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 94/2549 1 พฤศจิกายน 49--
S&P’s แจ้งว่า การยืนยันระดับเครดิตของประเทศไทยในครั้งนี้ แสดงถึงมุมมองของ S&P’s ที่ยังเห็นว่าสถานะของเครดิตไทยยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้ว่าจะผ่านการรัฐประหารก็ตาม การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่ไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเป็นเหตุการณ์ที่ค่อนข้างผิดปกติสำหรับประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกับประเทศไทย และส่งผลกระทบในทางลบต่อสถานะทางเครดิตของประเทศ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงทางด้านความมั่นคงและนโยบายที่เกิดขึ้นในช่วงก่อน อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยได้หมดสิ้นไปภายหลังจากการเกิดรัฐประหาร ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองได้กลับเข้าสู่ความมีเสถียรภาพอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทยยังคงมีความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับประเทศที่ได้รับการจัดอันดับในระดับเดียวกัน โดยจะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในระยะสั้นถึงระยะปานกลาง S&P’s คาดว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยใน 3 ปีข้างหน้าจะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยที่ประมาณร้อยละ 5 ต่อปี และถึงแม้ว่าจะมีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลในอีก 3 ปีข้างหน้า หนี้โดยตรงของรัฐบาลก็ยังจะคงลดลงเหลือประมาณร้อยละ 29 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2551 จากปัจจุบันที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 31 ของ GDP อย่างไรก็ตาม ดุลบัญชีเดินสะพัดอาจจะขาดดุลเล็กน้อย เนื่องจากรัฐบาลมีแผนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ แต่ทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 64 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นปี 2549 และหนี้ต่างประเทศของภาครัฐ ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำจะทำให้ประเทศไทยมีความยืดหยุ่นในการกู้เงินจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
การปรับมุมมองทางเครดิตในครั้งนี้อยู่บนพื้นฐานที่ S&P’s คาดหมายว่า ประเทศไทยจะสามารถกลับคืนเข้าสู่ระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพได้ภายในปี 2550 ซึ่งรวมถึงการที่สามารถจัดให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมาบริหารประเทศได้ โดยประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศในระยะยาว และเป็นเงื่อนไขที่สำคัญต่อการลงทุนของภาคเอกชนและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดย S&P’s อาจปรับมุมมองของระดับเครดิตที่เป็นบวก หากรัฐบาลชุดใหม่สามารถดำเนินมาตรการที่ส่งเสริมการปรับโครงสร้างเพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ในทางตรงกันข้าม หากมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในระหว่าง หรือภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น ก็อาจส่งผลกระทบต่อระดับเครดิตของไทยได้เช่นกัน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 94/2549 1 พฤศจิกายน 49--