ไตรมาส 1 ปี 2549 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียค่อนข้างผันผวน กล่าวคือในเดือนมกราคมปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความกังวลในเรื่องอุปทานน้ำมันดิบ ส่วนในครึ่งแรกของเดือนกุมภาพันธ์ราคากลับลดลง เนื่องจากสต๊อกน้ำมัน gasoline ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ช่วงครึ่งหลังของเดือนต่อเนื่องถึงเดือนมีนาคม ราคาแนฟธาและราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากความกังวลเรื่องซัพพลายที่เกิดจากความไม่มั่นคงทางการเมืองของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบหลายประเทศ ส่วนราคาเอทิลีนโดยเฉลี่ยของตลาดเอเชียในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์มีการปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาแนฟธาและการปิดฉุกเฉินของเอทิลีนแครกเกอร์ในไต้หวันและเกาหลีใต้ ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ต่อเนื่องตลอดเดือนมีนาคม ราคาเอทิลีนได้ปรับตัวลดลง โดยสาเหตุมาจากได้รับแรงกดดันจากตลาดผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง คือ PE ที่ค่อนข้างทรงตัว
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ตลาดค่อนข้างทรงตัว โดยมีแรงซื้อจากจีนกลับเข้ามาในช่วงสัปดาห์ที่ 2 หลังปีใหม่ เพื่อเก็บสต๊อกก่อนวันหยุดช่วงตรุษจีน ทำให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และชะลอตัวลงในเดือนกุมภาพันธ์ต่อเนื่องถึงกลางเดือนมีนาคม ส่วนในช่วงปลายเดือนมีนาคม มีปริมาณการสั่งซื้อจากจีนเพิ่มขึ้น โดยเป็นผลมาจากสต๊อกเม็ดพลาสติกของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งภาวะตลาดในจีนค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากจีนมีการปรับโหมดการผลิต PE เกรดต่างๆ อย่างไรก็ตามราคา PP และ PE ในประเทศเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นับว่าปีนี้ค่อนข้างเงียบ สาเหตุนอกจากราคาน้ำมันและระดับราคาสินค้าที่อยู่ในขาขึ้นและความไม่แน่นอนทางการเมืองก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายลง
จีนประกาศปรับลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549
การผลิต
ไตรมาส 1 ปี 2549 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ Rayong Olefins Co. (ROC) กลับมาเดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 800,000 ตัน/ปี หลังปิดซ่อมบำรุงนาน 1 เดือน และการควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์ของ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTT Chemical Plc. ซึ่งเป็นผู้ผลิตโอเลฟินส์รายใหญ่ที่สุดของประเทศในปัจจุบัน มีกำลังการผลิตเอทิลีนรวม 1,146,000 ตัน/ปี และโพรพิลีน 377,000 ตัน/ปี เริ่มเดินเครื่องหน่วยแรกในปี 2549 และหน่วยที่สองในปี 2551
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศได้กลับมาเดินเครื่องตามปกติหลังการปิดซ่อมบำรุง โดยบริษัท Marun Petrochemical Co. ของประเทศอิหร่านเริ่มเดินเครื่องผลิตเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.1 ล้านตัน/ปี โดยในปี 2549 วางแผนส่งออกเอทิลีน 200,000 ตัน และเม็ดพลาสติก PE และ PP 150,000 ตัน ส่วนที่เหลือจะขายในประเทศ บริษัท Nippon Petrochemicals Co. (NPCC) ในญี่ปุ่นได้เริ่มเดินเครื่องหน่วยเมทาธีลิสที่มีกำลังการผลิตโพรพิลีน 150,000 ตัน/ปี Reliance Industries ของประเทศอินเดียกลับมาเดินเครื่องผลิต PP หลังปิดซ่อมบำรุง โดยกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 700,000 ตัน/ปี เป็น 770,000 ตัน/ปี
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2549 ระดับราคาไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ราคามีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนมีนาคม 2549 ของ LDPE, HDPE, และ PP อยู่ที่ระดับ 43.20, 43.06 และ 43.35 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE, HDPE และ PP มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2548 ที่ระดับราคา 43.19, 42.93 และ 43.30 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ
การนำเข้า
ไตรมาส 1 ปี 2549 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 3,318.16 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.37 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วแต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 376.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 10,118.49 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 21.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 16,518.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก
ไตรมาส 1 ปี 2549 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 6,951.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 28.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 7,502.13 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 96.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 37,416.98 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
ภาวะความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศอิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตปิโตรเคมีที่มีแผนการขยายกำลังการผลิตปิโตรเคมีมากที่สุดในปลายทศวรรษนี้และทศวรรษหน้า และการบริหารโครงการของอิหร่านยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก เมื่อเทียบกับการลงทุนในภูมิภาคอื่นๆ ประกอบกับต้นทุนการลงทุนก่อสร้างหน่วยผลิตปิโตรเคมีต่างๆ ในโลกปรับสูงขึ้นอย่างมาก ทั้งจากราคาวัสดุ และต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น อีกทั้งปัจจุบันมีโครงการลงทุนปิโตรเคมีใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ภาวะดังกล่าวทำให้กำหนดการเดินเครื่องของโครงการปิโตรเคมีสำคัญๆ ในอิหร่านและประเทศอื่นๆ ในโลก มีแนวโน้มว่าจะต้องเลื่อนกำหนดการเดินเครื่องออกไป ขณะที่ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในโลกยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงมีการคาดการณ์ว่าวงจรธุรกิจปิโตรเคมีจะเข้าสู่ภาวะตกต่ำที่สุด โดยเลื่อนระยะเวลาจากที่เคยคาดการณ์ไว้ในปี 2551 เป็นปี 2553
สำหรับประเทศไทย หากปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ และความผันผวนของราคาน้ำมันยังคงดำเนินต่อไป จะส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมปิโตรเคมีด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ตลาดค่อนข้างทรงตัว โดยมีแรงซื้อจากจีนกลับเข้ามาในช่วงสัปดาห์ที่ 2 หลังปีใหม่ เพื่อเก็บสต๊อกก่อนวันหยุดช่วงตรุษจีน ทำให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และชะลอตัวลงในเดือนกุมภาพันธ์ต่อเนื่องถึงกลางเดือนมีนาคม ส่วนในช่วงปลายเดือนมีนาคม มีปริมาณการสั่งซื้อจากจีนเพิ่มขึ้น โดยเป็นผลมาจากสต๊อกเม็ดพลาสติกของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งภาวะตลาดในจีนค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากจีนมีการปรับโหมดการผลิต PE เกรดต่างๆ อย่างไรก็ตามราคา PP และ PE ในประเทศเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นับว่าปีนี้ค่อนข้างเงียบ สาเหตุนอกจากราคาน้ำมันและระดับราคาสินค้าที่อยู่ในขาขึ้นและความไม่แน่นอนทางการเมืองก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายลง
จีนประกาศปรับลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549
การผลิต
ไตรมาส 1 ปี 2549 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ Rayong Olefins Co. (ROC) กลับมาเดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 800,000 ตัน/ปี หลังปิดซ่อมบำรุงนาน 1 เดือน และการควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์ของ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTT Chemical Plc. ซึ่งเป็นผู้ผลิตโอเลฟินส์รายใหญ่ที่สุดของประเทศในปัจจุบัน มีกำลังการผลิตเอทิลีนรวม 1,146,000 ตัน/ปี และโพรพิลีน 377,000 ตัน/ปี เริ่มเดินเครื่องหน่วยแรกในปี 2549 และหน่วยที่สองในปี 2551
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศได้กลับมาเดินเครื่องตามปกติหลังการปิดซ่อมบำรุง โดยบริษัท Marun Petrochemical Co. ของประเทศอิหร่านเริ่มเดินเครื่องผลิตเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.1 ล้านตัน/ปี โดยในปี 2549 วางแผนส่งออกเอทิลีน 200,000 ตัน และเม็ดพลาสติก PE และ PP 150,000 ตัน ส่วนที่เหลือจะขายในประเทศ บริษัท Nippon Petrochemicals Co. (NPCC) ในญี่ปุ่นได้เริ่มเดินเครื่องหน่วยเมทาธีลิสที่มีกำลังการผลิตโพรพิลีน 150,000 ตัน/ปี Reliance Industries ของประเทศอินเดียกลับมาเดินเครื่องผลิต PP หลังปิดซ่อมบำรุง โดยกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 700,000 ตัน/ปี เป็น 770,000 ตัน/ปี
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2549 ระดับราคาไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ราคามีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนมีนาคม 2549 ของ LDPE, HDPE, และ PP อยู่ที่ระดับ 43.20, 43.06 และ 43.35 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE, HDPE และ PP มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2548 ที่ระดับราคา 43.19, 42.93 และ 43.30 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ
การนำเข้า
ไตรมาส 1 ปี 2549 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 3,318.16 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.37 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วแต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 376.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 10,118.49 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 21.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 16,518.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก
ไตรมาส 1 ปี 2549 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 6,951.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 28.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 7,502.13 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 96.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 37,416.98 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
ภาวะความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศอิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตปิโตรเคมีที่มีแผนการขยายกำลังการผลิตปิโตรเคมีมากที่สุดในปลายทศวรรษนี้และทศวรรษหน้า และการบริหารโครงการของอิหร่านยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก เมื่อเทียบกับการลงทุนในภูมิภาคอื่นๆ ประกอบกับต้นทุนการลงทุนก่อสร้างหน่วยผลิตปิโตรเคมีต่างๆ ในโลกปรับสูงขึ้นอย่างมาก ทั้งจากราคาวัสดุ และต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น อีกทั้งปัจจุบันมีโครงการลงทุนปิโตรเคมีใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ภาวะดังกล่าวทำให้กำหนดการเดินเครื่องของโครงการปิโตรเคมีสำคัญๆ ในอิหร่านและประเทศอื่นๆ ในโลก มีแนวโน้มว่าจะต้องเลื่อนกำหนดการเดินเครื่องออกไป ขณะที่ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในโลกยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงมีการคาดการณ์ว่าวงจรธุรกิจปิโตรเคมีจะเข้าสู่ภาวะตกต่ำที่สุด โดยเลื่อนระยะเวลาจากที่เคยคาดการณ์ไว้ในปี 2551 เป็นปี 2553
สำหรับประเทศไทย หากปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ และความผันผวนของราคาน้ำมันยังคงดำเนินต่อไป จะส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมปิโตรเคมีด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-