ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยคุณสมบัติ นรม.คนใหม่ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท. ) เปิดเผยถึงคุณสมบัติ นรม.คนใหม่ว่า ควรเป็นผู้นำ
ที่สามารถทำให้เกิดความสามัคคีในประเทศได้อย่างจริงจัง และต้องสามารถแก้ไขปัญหาภาคใต้ให้เดินไปในแนวทางที่ทำให้ประเทศมีความสงบ
มากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ เพราะปัญหาของไทยขณะนี้เป็นปัญหาเรื่องความมั่นคงไม่ใช่ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ บุคลิกและความสามารถของผู้นำต้องเป็นที่ยอมรับและนับถือ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะช่วยทำให้ความเชื่อมั่นในประเทศ
มีความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ผู้นำประเทศยังต้องเป็นผู้ที่มีใจเป็นอิสระ และมีคุณธรรมด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
2. คณะกรรมการจัดการกองทุนฟื้นฟูฯ อนุมัติจ่ายเงินชดเชยแก่ ธ.ไทยธนาคาร 1.1 หมื่นล้านบาท ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน
และหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการประชุมของคณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ได้มีมติจ่ายเงินชดเชยภาระดอกเบี้ยและความเสียหายจากการบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้แก่ ธ.ไทยธนาคาร ถือเป็นครั้งสุดท้ายจำนวนเงิน
ประมาณ 11,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการจ่ายเพิ่มเติมจากครั้งก่อนที่มีการจ่ายให้จำนวน 80,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นจะเป็นการจ่ายเงินชดเชย
ทั้งสิ้น 94,000 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
3. หอการค้าและสภาอุตสาหกรรม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขอ ธปท.ขยายเวลาเงินกู้ซอฟต์โลน รายงานจากธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา มีตัวแทนจากหอการค้าและสภาอุตสาหกรรม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ประกอบด้วย จ.ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ได้เข้าพบผู้ว่าการ ธปท.เพื่อขอความช่วยเหลือให้ขยายระยะเวลาเกี่ยวกับมาตรการการให้ความ
ช่วยเหลือภาคธุรกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่มีอยู่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 47 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจ
ประสบปัญหาการทำธุรกิจ โดยขอให้ ธปท.ขยายระเวลามาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินวงเงินสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 1.5
(ซอฟต์โลน) แก่ผู้ประกอบการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จะหมดอายุในวันที่ 26 ก.พ.50 ออกไปอีก 3 ปี (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์,
ไทยรัฐ, บ้านเมือง)
4. สศค.เตรียมปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยปี 50 ใหม่ รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะ
โฆษกประจำ ก.คลัง เปิดเผยว่า สศค.เตรียมปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 50 ใหม่ หลังมีปัจจัยบวกจาก งปม.รายจ่ายปี 50 ที่จะมีการ
เบิกจ่ายได้ตั้งแต่เดือน ม.ค.50 เร็วกว่าที่ประมาณการไว้เดิม คือ ประมาณกลางปีหน้า ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจที่จะมีเม็ดเงินไหลเข้า
สู่ระบบเร็วขึ้น นอกจากนี้ ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจจากราคาน้ำมันก็มีแนวโน้มลดลง ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับลดลงมาอยู่ที่ 61 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรล จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ประมาณ 69 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ สศค.ประมาณการเศรษฐกิจปี 50 ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ
3.9 ส่วนปีนี้อัตราการขยายตัวน่าจะอยู่ในระดับเดิม คือร้อยละ 4.5 อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้การบริโภคภายในประเทศในเดือน ส.ค.ขยายตัวใน
อัตราที่ชะลอลง โดยรายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 9.1 ลดลงอย่างต่อเนื่อง นับจากเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขยายตัวใน
อัตราร้อยละ 18.2 ต่อมา ในเดือน มิ.ย.ขยายตัวร้อยละ 16.9 และเดือน ก.ค.ขยายตัวร้อยละ 13.9 ส่วนการลงทุนนั้นขยายตัวในอัตราที่ลดลง
สาเหตุหนึ่งเกิดจากการนำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 0.1 จากที่ขยายตัวร้อยละ 14.5 ในเดือน ก.ค. และการลงทุนในหมวดก่อสร้างก็ขยายตัว
ลดลง (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, บ้านเมือง, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลง 6,000 คน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 49
ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 ก.ย. อยู่ที่ 316,000 คนลดลงจาก
ระดับ 322,000 คนเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) หรือลดลง 6,000 คน และยังคงอยู่ในระดับที่บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานมีเสถียรภาพ
เทียบกับผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดการณ์ว่ายอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 ก.ย. จะอยู่ที่ 315,000
สำหรับค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกซึ่งสามารถบ่งชี้แนวโน้มตลาดแรงงานได้ดีกว่าอยู่ที่ 315,500 คน เช่นเดียว
กับยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานต่อเนื่อง ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 ก.ย. ลดลงประมาณ 8,000 คนอยู่ที่ 2.444 ล้านคน ลดลงมากกว่าที่
คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 2.485 ล้านคน ทั้งนี้จากผลการสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดว่าจะมีตำแหน่งงานใหม่จำนวน 123,000 ตำแหน่ง
ในเดือน ก.ย. ลดลงจาก 128,000 ตำแหน่งในเดือน ส.ค. และคาดว่าอัตราการว่างงานจะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 4.7 ไม่เปลี่ยนแปลง (รอยเตอร์)
2. จำนวนคนว่างงานในเยอรมนีในเดือน ก.ย.49 ลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 28 ก.ย.49 จำนวนคน
ว่างงานในเยอรมนีหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วลดลง 17,000 คนในเดือน ก.ย.49 ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลง 23,000 คน โดยจำนวนคน
ว่างงานทั้งสิ้นลดลงเหลือ 4.429 ล้านคน แต่อัตราการว่างงานยังคงที่อยู่ที่ร้อยละ 10.6 เท่ากับเดือน ส.ค.49 โดยกรมแรงงานรายงานว่า
จำนวนคนทำงานที่ได้รับสิทธิประโยชน์เต็มในเดือน ก.ค.49 มี 26.28 ล้านคน มากกว่าเดือนเดียวกันของปี 48 อยู่ 194,000 คน ซึ่งคาดว่าจะ
มีส่วนช่วยให้การใช้จ่ายในประเทศและเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นซึ่งในที่สุดจะส่งผลให้การจ้างงานขยายตามไปด้วย สอดคล้องกับผลสำรวจบรรยากาศ
ทางธุรกิจประจำเดือน ก.ย.49 โดย Ifo เมื่อวันที่ 26 ก.ย.49 ที่ผ่านมาซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนียังคงอยู่ใน
ระดับที่แข็งแกร่ง นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 49 จะขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 2.0 ต่อปี หลังจากขยายตัวร้อยละ
0.9 ในไตรมาสที่ 2 ปี 49 ที่ผ่านมา สูงสุดในรอบกว่า 5 ปี ในขณะที่คาดว่าการขึ้นอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ
19.0 ตั้งแต่ต้นปี 50 จะส่งผลให้เศรษฐกิจในปี 50 ชะลอตัวลงโดยบางคนคาดว่าจะขยายตัวน้อยกว่าร้อยละ 1.0 ต่อปีในขณะที่บางคนคาดว่าจะ
ขยายตัวเกือบร้อยละ 2.0 ต่อปี (รอยเตอร์)
3. คาดว่า ธ.อังกฤษจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ต.ค. แต่มีโอกาสสูงที่จะปรับขึ้นในเดือน พ.ย. รายงานจากกรุงลอนดอน
ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 28 ก.ย.49 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่คาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษ
จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ต.ค. แต่มีโอกาสสูงที่จะปรับขึ้นอีกร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 ในเดือน พ.ย. เนื่องจากคณะ
กรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางอังกฤษ อาจจะกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ที่ร้อยละ 2.0
และราคาบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษยังคงมีความมั่นคง การใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับตัวดี
ขึ้น รวมถึงรายได้และผลกำไรของบริษัทเอกชนยังเติบโตได้ดี (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตภาคบริการของอังกฤษในเดือน ก.ค.49 ลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี รายงานจากลอนดอนเมื่อ 28 ก.ย.49
The Office for National Statistics (ONS) เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคบริการของอังกฤษในเดือน ก.ค.49 ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 3 ใน 4
ของระบบเศรษฐกิจ ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน ต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปีนับตั้งแต่เดือน พ.ย.46 โดยมีสาเหตุจากการลดลงอย่างมากของ
ค่าธรรมเนียมต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ถนน ขณะที่ผลผลิตภาคบริการในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เท่ากับตัวเลขในช่วง
3 เดือนก่อนหน้าสิ้นสุดเดือน มิ.ย.49 ทั้งนี้ ONS กล่าวว่า ตัวเลขผลผลิตภาคบริการรายเดือนเป็นตัวเลขที่มีความผันผวน และยังเร็วเกินไปที่จะ
สรุปว่าภาวะเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3 ของปีจะได้รับผลกระทบอย่างไร สำหรับผลผลิตภาคบริการในช่วง 3 เดือนสิ้นสุด ก.ค.49 ที่นอกเหนือจาก
ธุรกิจบริการและธุรกิจการเงินที่มีการจดทะเบียนดำเนินธุรกิจ ลดลงร้อยละ 1.6 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.45 สาเหตุจากการลดลงของผลผลิต
ด้านการขนส่ง คลังสินค้า และการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม ยังคงมีแนวโน้มในทางที่ดี เนื่องจากตัวเลขผลผลิตต่อแรงงานในช่วงไตรมาสที่ 2
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เทียบต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบต่อไตรมาส สูงสุดนับตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 47 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 ก.ย. 49 28 ก.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.538 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3443/37.6390 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.14563 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 687.90/14.11 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,650/10,750 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.72 58.35 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 23 ก.ย. 49 25.99*/24.54** 25.99*/24.54** 27.24/24.69 ปตท.
** ปรับลด เมื่อ 27 ก.ย. 49
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยคุณสมบัติ นรม.คนใหม่ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท. ) เปิดเผยถึงคุณสมบัติ นรม.คนใหม่ว่า ควรเป็นผู้นำ
ที่สามารถทำให้เกิดความสามัคคีในประเทศได้อย่างจริงจัง และต้องสามารถแก้ไขปัญหาภาคใต้ให้เดินไปในแนวทางที่ทำให้ประเทศมีความสงบ
มากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ เพราะปัญหาของไทยขณะนี้เป็นปัญหาเรื่องความมั่นคงไม่ใช่ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ บุคลิกและความสามารถของผู้นำต้องเป็นที่ยอมรับและนับถือ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะช่วยทำให้ความเชื่อมั่นในประเทศ
มีความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ผู้นำประเทศยังต้องเป็นผู้ที่มีใจเป็นอิสระ และมีคุณธรรมด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
2. คณะกรรมการจัดการกองทุนฟื้นฟูฯ อนุมัติจ่ายเงินชดเชยแก่ ธ.ไทยธนาคาร 1.1 หมื่นล้านบาท ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน
และหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการประชุมของคณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ได้มีมติจ่ายเงินชดเชยภาระดอกเบี้ยและความเสียหายจากการบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้แก่ ธ.ไทยธนาคาร ถือเป็นครั้งสุดท้ายจำนวนเงิน
ประมาณ 11,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการจ่ายเพิ่มเติมจากครั้งก่อนที่มีการจ่ายให้จำนวน 80,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นจะเป็นการจ่ายเงินชดเชย
ทั้งสิ้น 94,000 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
3. หอการค้าและสภาอุตสาหกรรม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขอ ธปท.ขยายเวลาเงินกู้ซอฟต์โลน รายงานจากธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา มีตัวแทนจากหอการค้าและสภาอุตสาหกรรม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ประกอบด้วย จ.ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ได้เข้าพบผู้ว่าการ ธปท.เพื่อขอความช่วยเหลือให้ขยายระยะเวลาเกี่ยวกับมาตรการการให้ความ
ช่วยเหลือภาคธุรกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่มีอยู่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 47 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจ
ประสบปัญหาการทำธุรกิจ โดยขอให้ ธปท.ขยายระเวลามาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินวงเงินสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 1.5
(ซอฟต์โลน) แก่ผู้ประกอบการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จะหมดอายุในวันที่ 26 ก.พ.50 ออกไปอีก 3 ปี (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์,
ไทยรัฐ, บ้านเมือง)
4. สศค.เตรียมปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยปี 50 ใหม่ รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะ
โฆษกประจำ ก.คลัง เปิดเผยว่า สศค.เตรียมปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 50 ใหม่ หลังมีปัจจัยบวกจาก งปม.รายจ่ายปี 50 ที่จะมีการ
เบิกจ่ายได้ตั้งแต่เดือน ม.ค.50 เร็วกว่าที่ประมาณการไว้เดิม คือ ประมาณกลางปีหน้า ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจที่จะมีเม็ดเงินไหลเข้า
สู่ระบบเร็วขึ้น นอกจากนี้ ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจจากราคาน้ำมันก็มีแนวโน้มลดลง ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับลดลงมาอยู่ที่ 61 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรล จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ประมาณ 69 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ สศค.ประมาณการเศรษฐกิจปี 50 ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ
3.9 ส่วนปีนี้อัตราการขยายตัวน่าจะอยู่ในระดับเดิม คือร้อยละ 4.5 อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้การบริโภคภายในประเทศในเดือน ส.ค.ขยายตัวใน
อัตราที่ชะลอลง โดยรายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 9.1 ลดลงอย่างต่อเนื่อง นับจากเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขยายตัวใน
อัตราร้อยละ 18.2 ต่อมา ในเดือน มิ.ย.ขยายตัวร้อยละ 16.9 และเดือน ก.ค.ขยายตัวร้อยละ 13.9 ส่วนการลงทุนนั้นขยายตัวในอัตราที่ลดลง
สาเหตุหนึ่งเกิดจากการนำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 0.1 จากที่ขยายตัวร้อยละ 14.5 ในเดือน ก.ค. และการลงทุนในหมวดก่อสร้างก็ขยายตัว
ลดลง (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, บ้านเมือง, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลง 6,000 คน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 49
ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 ก.ย. อยู่ที่ 316,000 คนลดลงจาก
ระดับ 322,000 คนเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) หรือลดลง 6,000 คน และยังคงอยู่ในระดับที่บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานมีเสถียรภาพ
เทียบกับผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดการณ์ว่ายอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 ก.ย. จะอยู่ที่ 315,000
สำหรับค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกซึ่งสามารถบ่งชี้แนวโน้มตลาดแรงงานได้ดีกว่าอยู่ที่ 315,500 คน เช่นเดียว
กับยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานต่อเนื่อง ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 ก.ย. ลดลงประมาณ 8,000 คนอยู่ที่ 2.444 ล้านคน ลดลงมากกว่าที่
คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 2.485 ล้านคน ทั้งนี้จากผลการสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดว่าจะมีตำแหน่งงานใหม่จำนวน 123,000 ตำแหน่ง
ในเดือน ก.ย. ลดลงจาก 128,000 ตำแหน่งในเดือน ส.ค. และคาดว่าอัตราการว่างงานจะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 4.7 ไม่เปลี่ยนแปลง (รอยเตอร์)
2. จำนวนคนว่างงานในเยอรมนีในเดือน ก.ย.49 ลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 28 ก.ย.49 จำนวนคน
ว่างงานในเยอรมนีหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วลดลง 17,000 คนในเดือน ก.ย.49 ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลง 23,000 คน โดยจำนวนคน
ว่างงานทั้งสิ้นลดลงเหลือ 4.429 ล้านคน แต่อัตราการว่างงานยังคงที่อยู่ที่ร้อยละ 10.6 เท่ากับเดือน ส.ค.49 โดยกรมแรงงานรายงานว่า
จำนวนคนทำงานที่ได้รับสิทธิประโยชน์เต็มในเดือน ก.ค.49 มี 26.28 ล้านคน มากกว่าเดือนเดียวกันของปี 48 อยู่ 194,000 คน ซึ่งคาดว่าจะ
มีส่วนช่วยให้การใช้จ่ายในประเทศและเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นซึ่งในที่สุดจะส่งผลให้การจ้างงานขยายตามไปด้วย สอดคล้องกับผลสำรวจบรรยากาศ
ทางธุรกิจประจำเดือน ก.ย.49 โดย Ifo เมื่อวันที่ 26 ก.ย.49 ที่ผ่านมาซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนียังคงอยู่ใน
ระดับที่แข็งแกร่ง นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 49 จะขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 2.0 ต่อปี หลังจากขยายตัวร้อยละ
0.9 ในไตรมาสที่ 2 ปี 49 ที่ผ่านมา สูงสุดในรอบกว่า 5 ปี ในขณะที่คาดว่าการขึ้นอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ
19.0 ตั้งแต่ต้นปี 50 จะส่งผลให้เศรษฐกิจในปี 50 ชะลอตัวลงโดยบางคนคาดว่าจะขยายตัวน้อยกว่าร้อยละ 1.0 ต่อปีในขณะที่บางคนคาดว่าจะ
ขยายตัวเกือบร้อยละ 2.0 ต่อปี (รอยเตอร์)
3. คาดว่า ธ.อังกฤษจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ต.ค. แต่มีโอกาสสูงที่จะปรับขึ้นในเดือน พ.ย. รายงานจากกรุงลอนดอน
ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 28 ก.ย.49 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่คาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษ
จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ต.ค. แต่มีโอกาสสูงที่จะปรับขึ้นอีกร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 ในเดือน พ.ย. เนื่องจากคณะ
กรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางอังกฤษ อาจจะกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ที่ร้อยละ 2.0
และราคาบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษยังคงมีความมั่นคง การใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับตัวดี
ขึ้น รวมถึงรายได้และผลกำไรของบริษัทเอกชนยังเติบโตได้ดี (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตภาคบริการของอังกฤษในเดือน ก.ค.49 ลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี รายงานจากลอนดอนเมื่อ 28 ก.ย.49
The Office for National Statistics (ONS) เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคบริการของอังกฤษในเดือน ก.ค.49 ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 3 ใน 4
ของระบบเศรษฐกิจ ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน ต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปีนับตั้งแต่เดือน พ.ย.46 โดยมีสาเหตุจากการลดลงอย่างมากของ
ค่าธรรมเนียมต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ถนน ขณะที่ผลผลิตภาคบริการในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เท่ากับตัวเลขในช่วง
3 เดือนก่อนหน้าสิ้นสุดเดือน มิ.ย.49 ทั้งนี้ ONS กล่าวว่า ตัวเลขผลผลิตภาคบริการรายเดือนเป็นตัวเลขที่มีความผันผวน และยังเร็วเกินไปที่จะ
สรุปว่าภาวะเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3 ของปีจะได้รับผลกระทบอย่างไร สำหรับผลผลิตภาคบริการในช่วง 3 เดือนสิ้นสุด ก.ค.49 ที่นอกเหนือจาก
ธุรกิจบริการและธุรกิจการเงินที่มีการจดทะเบียนดำเนินธุรกิจ ลดลงร้อยละ 1.6 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.45 สาเหตุจากการลดลงของผลผลิต
ด้านการขนส่ง คลังสินค้า และการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม ยังคงมีแนวโน้มในทางที่ดี เนื่องจากตัวเลขผลผลิตต่อแรงงานในช่วงไตรมาสที่ 2
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เทียบต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบต่อไตรมาส สูงสุดนับตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 47 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 ก.ย. 49 28 ก.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.538 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3443/37.6390 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.14563 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 687.90/14.11 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,650/10,750 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.72 58.35 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 23 ก.ย. 49 25.99*/24.54** 25.99*/24.54** 27.24/24.69 ปตท.
** ปรับลด เมื่อ 27 ก.ย. 49
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--