1. ภาวะทั่วไป
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตไหมไทยและผลิตภัณฑ์ไหมไทยที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะแรงงานในชนบท ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของไทย เป็นเอกลักษณ์ไทยที่ได้รับการกล่าวขวัญมานานแล้วในด้านความงดงามของสีสัน และลวดลาย รวมถึงฝีมือการทอผ้าของคนไทยที่ได้รับการถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบันซึ่งผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมของไทยนั้น ต่างได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ ไหมไทยเป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีขั้นตอนการผลิตที่ใช้แรงงานคนไทยเป็นหลัก ซึ่งเหมาะสมกับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีแรงงานเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ อุตสาหกรรมการผลิตไหมไทยสามารถสร้างงานให้กับชาวบ้าน และเป็นการเพิ่มรายได้ให้แรงงานในชนบทด้วย โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมูลค่าไม่ต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาทต่อปี
ในปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาของชาวบ้านมากขึ้น หันมาบริโภคสินค้าไทย นิยมแต่งกายด้วยผ้าไทย ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าทอมือ โดยเฉพาะผ้าไหมไทยซึ่งเป็นผ้าทอพื้นเมืองที่ทอขึ้นมาจากเส้นไหมอันเป็นเส้นใยจากธรรมชาติ มีเทคนิคการทอลวดลายที่มีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นต่าง ๆ มีเสน่ห์ในตัวเอง เป็นการสร้างสีสันให้กับงานฝีมือของไทย เลือกซื้อหาได้ง่ายไม่น้อยกว่า ผ้าทอและผลิตภัณฑ์ผ้าทออื่นๆ แหล่งผลิตสำคัญของผ้าไหมอยู่ที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายไปทุกภาคของประเทศ ผ้าไหมไทยมีความโดดเด่น เพราะมีเนื้อผ้าเป็นมันวาวเป็นประกาย มีเอกลักษณ์ของตัวเองที่ไม่เหมือนกับผ้าไหมจากประเทศอื่น ๆ ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่เป็นที่นิยมในตลาด ได้แก่ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เน็คไท เสื้อผ้า ผ้าผืนแต่งบ้าน ปลอกหมอน พรม กระเป๋า รองเท้า กล่องใส่ของบุไหม เป็นต้น
2. ภาวะการตลาด
2.1 ตลาดภายในประเทศ
ตลาดภายในประเทศการจำหน่ายส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าคนกลางไปรับถึงแหล่งที่ผลิตผ้าทอบางกลุ่มต้องจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า ขึ้นอยู่กับข้อตกลงซื้อขาย แหล่งผลิตบางแห่งมีการจัดวางสินค้าหน้าร้านเพื่อดึงดูดสายตา และเป็นจุดสนใจแก่ผู้พบเห็น การตลาดภายในประเทศจึงมี 2 ลักษณะคือ ตลาดขายปลีกและตลาดขายส่ง โดยแหล่งจำหน่ายสำคัญในประเทศในลักษณะขายปลีกคือ แหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัดสวนจตุจักร สวนลุมไนท์พลาซ่า ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ตลาดสำเพ็ง โบ้เบ้ ประตูน้ำ ขณะที่แหล่งตลาดขายส่งที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งผลิตสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางบางจังหวัด เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ลพบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว และกรุงเทพฯ รวมถึงตลาดนัดสวนจตุจักรและสวนลุมไนท์พลาซ่า
2.2 ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ตลาด คือตลาดหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ตลาดใหม่ ได้แก่ ออสเตรเลีย ยุโรปตะวันออก และเอเซีย
จากการได้วิเคราะห์ภาพรวมของการส่งออก เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มตลาดพบว่า ภาพรวมของการส่งออกสินค้าผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของไทยอยู่ในภาวะทรงตัว จากสถิติตัวเลขมูลค่าการส่งออกเปรียบเทียบราย 3 ปี ที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน มีเพิ่มขึ้นและลดลงบ้างเล็กน้อย โดยปี 2546 มูลค่าการส่งออกประมาณ 781.31 ล้านบาท ปี 2547 มูลค่า 896.76 ล้านบาท และในปี 2548 มูลค่า 975.94 ล้านบาท คาดว่าในช่วงปี 2549 และช่วงเวลาที่เหลือ มีแนวโน้มจะขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะประเทศคู่แข่งสำคัญของไทยโดยเฉพาะจีนที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกไหมรายใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ลดการส่งออกเส้นไหมลงประกอบกับผู้บริโภคในตลาดโลกหันมานิยมไหมและผลิตภัณฑ์ไหมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดหลักคือ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้สินค้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ ผ้าทอด้วยไหม รองลงมาคือ ด้ายไหมจากเศษไหม เศษไหม ด้ายไหม ไหมดิบ รังไหม โดยผ้าไหมสามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าได้อีกหลายประเภทด้วยกัน สำหรับสินค้าที่มีโอกาสในการขยายตัวดีในอนาคตคือ ผ้าไหมทอด้วยมือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าคลุมผม และเน็คไท เป็นต้น
สาเหตุหนึ่งที่ผู้บริโภคในตลาดส่งออกที่สำคัญนิยมผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยมากขึ้น เนื่องจากผ้าไหมของไทยมีการผลิตทั้งแบบที่เป็นงานฝีมือทอด้วยมือ และแบบที่ทอด้วยเครื่องจักร แบบผ้าไหมที่ทอด้วยมือ จะเป็นผ้าค่อนข้างหนา แต่มีความละเอียดอ่อนสวยงาม ประณีต โดยเฉพาะผ้าไหมไทยที่ใช้เส้นพุ่งที่สาวด้วยมือจะมีลักษณะเป็นปุ่มปม มีความแวววาวในตัวเอง มีลวดลายและสีสันสวยงามเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของผ้าไหมไทยที่แตกต่างจากผ้าไหมของประเทศอื่น ประเทศไทยจึงสามารถครองตลาดต่างประเทศสำหรับผ้าประเภทนี้ได้ และจากการวิเคราะห์รสนิยมของตลาดหลัก พบว่า
- ประเทศญี่ปุ่น เป็นตลาดที่นิยมใช้และนำเข้าผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ผ้าไหมรายใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก และเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของไทย ชาวญี่ปุ่นจะนิยมผ้าไหมที่มีเนื้อนุ่ม ถ้าเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปต้องเป็นแบบเรียบง่าย สามารถใช้ได้ทุกโอกาสและราคาไม่สูงจนเกินไป
- ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดที่นำเข้าผ้าไหมจากประเทศไทยเป็นอันดับสอง รองจากญี่ปุ่น สินค้าที่นิยมสั่งจะเป็นผ้าไหมและเสื้อผ้าสำเร็จรูป
- ประเทศสหภาพยุโรป เป็นตลาดใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ที่นิยมใช้ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจากไทย มากเป็นอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วยตลาดสำคัญ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน สเปน และเนเธอร์แลนด์ สินค้าที่นิยมสั่งซื้อได้แก่ ผ้าไหม เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ผ้าไหม
นอกจากตลาดส่งออกหลักที่สำคัญดังกล่าว ยังมีตลาดอื่นๆอีก เช่น เกาหลีใต้ สิงค์โปร์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง จีน และไต้หวัน ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพเพียงพอ ฐานะเศรษฐกิจดี และถือว่าเป็นลูกค้าประจำที่ประเทศไทยมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าการส่งออกไหมและผลิตภัณฑ์ไหมไปยังตลาด ดังกล่าว จะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3. ปัญหา ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
แม้ปัจจุบันสินค้าผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหม จะมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศเพิ่มขึ้นตามลำดับ ในเรื่องของการสร้างรายได้ให้ชาวชนบท และการแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานสู่เมืองใหญ่ แต่สินค้าประเภทนี้ยังต้องเผชิญปัญหาต่าง ๆ เช่น
3.1 ปัญหาในด้านต้นทุนการผลิต ซึ่งได้แก่ วัตถุดิบประเภทเส้นไหมขาดแคลน มีไม่พอเพียงกับความต้องการนำมาใช้ในการผลิต จึงต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ จากข้อมูลของผู้นำเข้าเส้นไหมรายใหญ่ของประเทศที่ได้นำระบบการประกอบธุรกิจส่งออกและนำเข้าเส้นไหมมาใช้ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า การที่รัฐบาลได้พยายามช่วยเหลือโรงสาวไหมมานานกว่า 30 ปี แต่กลับไม่มีอะไรดีขึ้น ผู้นำเข้าเส้นไหมได้สั่งเส้นไหมจากจีน ตั้งแต่ปี 2538 จนในปัจจุบันได้มีการสั่งเส้นไหมลดลง เหตุผลที่สั่งน้อยไม่ใช่ว่าตลาดผ้าไหมจำหน่ายไม่ดีหรือเส้นไหมภายในประเทศผลิตมากขึ้น หรือผู้ผลิตเลิกอาชีพการทอผ้า เหตุผลที่สำคัญคือ
- เส้นไหมหนีภาษีเข้ามาแทนที่ (ซึ่งความต้องการใช้เส้นไหมภายในประเทศยังมีความต้องการเพิ่ม 800 — 900 ตัน/ปี)
- ผู้นำเข้าเส้นไหมถูกต้องตามกฎหมายไม่กล้าปล่อยบัญชีลูกค้า
ปัญหาไหมลักลอบจาดเวียดนามที่เข้ามาแย่งตลาดกับเส้นไหมไทย และรัฐบาลก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาไหมลักลอบให้หมดไปได้ เพราะการลักลอบจะทำในลักษณะกองทัพมด กำลังเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่ปราบปรามลักลอบมีไม่เพียงพอ ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือ โรงสาวไหมจะต้องช่วยตัวเอง ต้องลดต้นทุนการผลิต และลดราคาในการจำหน่ายลง เพื่อแข่งขันด้านราคากับเส้นไหมที่หนีภาษีได้ซึ่งจะทำให้ผู้ทอผ้า หันมาซื้อเส้นไหมภายในประเทศ ก็จะทำให้อยู่ได้ทั้งสองฝ่าย คือผู้จำหน่ายเส้นไหมและผู้ทอผ้า
3.2 ปัญหาคู่แข่งขันในตลาดส่งออก กำลังมีการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันกับผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทย ซึ่งในปัจจุบันคู่แข่งขันที่สำคัญได้แก่อินเดีย พบว่าอินเดียเป็นประเทศที่น่ากลัวประเทศหนึ่ง เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกันกับไทย มีการย้อมและทอด้วยมือแบบเดียวกัน ลักษณะคล้ายไหมไทย อินเดียผลิตผ้าไหมใช้ภายในประเทศ 85 % ส่งออก 15 % มีความต้องการใช้เส้นไหมประมาณ 14,000 ตันต่อปี แต่สามารถผลิตได้เพียง 9,000 ตัน นำเข้าประมาณ 5,000 ตัน เมื่อ 10 ปีที่แล้วที่ผ่านมาส่งออกมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท มียอดการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี ยอดส่งออกขณะนี้มากกว่า 10,000 ล้านบาท และเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลก มีความคล่องตัวในการนำเข้าเส้นไหมมาเพื่อใช้ในการผลิต มีนโยบายการค้าเสรี ผู้นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า และได้รับเงินอุดหนุนการส่งออก มีกำลังการผลิตสูง และสินค้าราคาถูกกว่าของไทย ประมาณ 30-40 %
จากปัญหาและข้อคิดดังกล่าว จึงได้เสนอมุมมองการพัฒนาอุตสาหกรรมไหมไทยหลัก ๆ ดังนี้
1. ประเทศไทยมีวัตถุดิบคุณภาพดีพอใช้ในระดับหนึ่งแต่ราคาผ้าสูงเกินไป การบังคับซื้อโดยระบบสัดส่วนต้องยกเลิกหรือหากจำเป็นต้องคงไว้ จะต้องเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุด ต้องให้โอกาสเกษตรกรซึ่งปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และสาวเส้นเข้ามาทอในระบบสัดส่วนด้วย ส่วนภาษีนำเข้าหากรัฐต้องเก็บภาษีเส้นไหมขอให้เก็บน้อยที่สุด เพื่อให้ต้นทุนวัตถุดิบมีราคาที่เหมาะสมและแข่งขันได้
2. พัฒนาด้านบุคลากร โดยเน้นที่ผ้าไหมทอมือ ซึ่งจะเป็นมรดกสืบทอดไปอีกยาวนาน รัฐควรที่จะบรรจุหลักสูตรการผลิตผ้าไหมในโรงเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมจนถึงมหาวิทยาลัย
3. พัฒนาด้านบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มผลผลิต และลดการสูญเสียทั้งระบบ
4. พัฒนาด้านเทคโนโลยี ใช้วิธีการสมัยใหม่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพพันธ์หม่อน พันธ์ไหม การสาวไหม การตีเกลียวและการทอผ้า
5. พัฒนารูปแบบสินค้าและการตลาด โดยเน้นที่แฟชั่น และผลิตสินค้าให้เหมาะสมกับรสนิยมของลูกค้า มีการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สินค้าผ้าไหมอย่างต่อเนื่อง
เหตุที่ประเทศไทยเสียเปรียบอินเดียในตลาดผ้าไหมในยุโรป เพราะด้านการตลาดและราคาสินค้าแพงกว่า นอกจากนั้นอินเดียยังมีการผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดอีกด้วย ดังนั้น การพัฒนาระบบการผลิตผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของประเทศ เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรภาครัฐ และเอกชนจะต้องเร่งพัฒนาหารูปแบบ เพื่อผลักดันให้มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมไหมไทยในการแข่งขันกับตลาดโลก ซึ่งสมาคมไหมไทยได้เสนอแนวทางการส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมว่าควรมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิ-ภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตไหมทั้งระบบโดยให้มี
- การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีแผนใหม่ในการผลิตไหม
- การเพิ่มผลผลิตหม่อนต่อหน่วยพื้นที่
- การปรับปรุงผลผลิตและคุณภาพเส้นไหม
- การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคเอกชนโดยเฉพาะโรงสาวไหม
4. กลยุทธ์การสร้างโอกาสของไหมไทยในตลาดโลก
จากปัญหาข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้นแล้วในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ ในการส่งเสริมพัฒนาการผลิตและการตลาดไหมไทยนั้น กรมส่งเสริมการส่งออกได้จัดจ้างคณะผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท Mitor Textile Consultaney Service ประเทศอิตาลี เป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาผ้าผืนไทยสู่ตลาดโลก ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้นำเสนอแนวทางยุทธ์ศาสตร์ไหมไทยในตลาดโลก จากมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการสิ่งทอของโลก โดยได้วิเคราะห์โอกาสของไหมไทยในตลาดโลกพร้อมทั้งกลยุทธ์ทางการตลาดของไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน ดังนี้
4.1 ลักษณะตลาดของไหม
ได้แบ่งลักษณะตลาดของไหมออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ตลาดแบบอุตสาหกรรม
2. ตลาดแบบหัตศิลป์
4.2 การเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันสำหรับสินค้าแบบอุตสาหกรรม คือ
1. ลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุด
2. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
3. มีการพัฒนาเทคโนโลยี
4. มีการสื่อสารกับผู้บริโภคและรู้ถึงขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ
5. มีการทำงานด้านการตลาดที่ไม่ทิ้งของเดิม
6. ต้องวิเคราะห์ตนเอง ศึกษาจุดอ่อน / จุดแข็ง มองตลาดว่าทำได้หรือไม่
แต่ถ้าเป็นสินค้าประเภท หัตถกรรม คือ ต้องสร้างความแตกต่างเป็นหนึ่งไม่เหมือนใคร ลูกค้าจะไม่ได้พิจารณาแต่เรื่องราคาเท่านั้น การสร้างความแตกต่าง จะช่วยให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าได้ ผลิตภัณฑ์ไหมไทยควรเน้นคุณภาพ รูปแบบ ดีไซด์ ทำสินค้าแฟชั่นให้มากขึ้น โดยให้มีเนื้อหา มีการวิจัยและพัฒนาสินค้าสร้างแนวคิด และเพิ่มศักยภาพของสินค้าซึ่งผู้ผลิตไหมสามารถทำได้ เนื่องจากมีกระบวนการผลิตที่ครบวงจร
4.3 การสร้างความแตกต่าง
1. เส้นใยมีการทำตีเกลียวเส้นไหม
2. มี design ของผ้า
3. การย้อมไหมให้สวยงาม ใช้สีและเส้นด้ายที่มีคุณภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีการย้อมให้มีคุณภาพสูง ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้ ลดต้นทุน มีความรวดเร็วในการผลิต มีความยืดหยุ่น
4. การสร้างเส้นไหมเหลืองของไทยให้มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เมื่อนำไปทอเป็นผ้าผืนควรจะมีลักษณะผ้าไหมที่มีเส้นปมเยอะมี Textured ผ้าไหมที่มีความลื่นและเงามัน ผ้าไหมที่มีเส้นเรียบหรือใช้เทคโนโลยีให้เกิดความยับมาก ๆ
จะเห็นได้ว่าแบรนด์ดัง ๆ ของโลกจะนำผ้าไหมไปใช้ เนื่องจากต้องการสร้างความแตกต่างๆจากสินค้าที่เป็น mass และการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดแฟชั่น ยังต้องคำนึงถึงสี น้ำหนัก รูปลักษณะและสัมผัสอีกด้วย นอกจากนี้คณะผู้เชี่ยวชาญยังได้วิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่นสำหรับ Spring / Summer 2007 ในแนวอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ดังนี้
แนวอุตสาหกรรม
- สี pastel ใช้กับ tafta design ลาย สี เส้น ให้เกิดความโดดเด่น ผ้าที่ทอแบบแน่นมากๆ ผสมผสานเส้นด้ายตีเกลียว และผสมดิ้นโลหะแทรกเข้าไปเพื่อสร้างเอกลักษณ์
- การย้อมเส้น มี design เล็กๆ ที่เกิดในตัวเส้น ซึ่งผู้ผลิตของไทยมีการทำอยู่บ้างแล้ว
- ผ้าที่มีความทิ้งตัว มีน้ำหนักผ้า ต้องการให้มีความเป็นผู้หญิงมากขึ้น
- ผ้าผสม Lycra
- สัมผัสที่จัดให้มี volume
- ความโปร่งใส บาง twist แบบใหม่ ๆ ให้ทับซ้อนกันมาก ๆ บิดเกลียวให้ต่างไปจากของเดิม มีสัมผัสด้าน ๆบ้างเล็กน้อย
- แสงต้องใช้ใยธรรมชาติ สะท้อนแสง เล่น reflect บนตัวผ้า ด้ายผสม wool cashmere ลินินบาง ๆ ทอคู่กับเส้นไหม
- Design และพิมพ์ลาย เรียบง่าย ทะเล summer สีและลายที่สะท้อนให้เห็นความเป็น summer ลายเล็ก ๆ ละเอียด ดอกไม้เล็ก ๆ โบราณ สีน้ำ ลายเส้นวาด
- สี pastel มาแรง เนื่องจากมีความด้าน มีปูน poster มาเคลือบผ้าไว้
- สีที่ขัดแย้ง โทนสีเย็นหรือสีกลาง ๆ ธรรมชาติหรือโทนสีเย็นผสมผสานสีแรง ๆ
- สีแร่ธาตุ โลหะ ดินที่เพิ่งไถเสร็จใหม่ ๆ ดินเหนียว ผสมผสานกับแสงสีอ่อน
แนวหัตถกรรม
- ผู้บริโภคต้องการให้ตัวเองแตกต่าง งานหัตถกรรมต้องสื่อให้เป็นผ้าแฟชั่น ผ้าพันคอต้องทำให้สีเป็นแฟชั่น ไม่ทำงานซ้ำ ๆ ต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เอกลักษณ์ คือ เป็นงานที่ไม่ซ้ำ มีความเป็นหนึ่ง (unique)
- เส้นใยหนาขึ้น มีสี 2-3 สีใช้เล่นสีในการผลิต
- แบบมีปมกับไหมป่า นำมาสร้างลายได้น่าสนใจ
- ถ่ายทอดชีวิต วัฒนธรรม สื่อสารกับผู้ซื้อให้ได้ มีการวาดลวดลายด้วยมือ
5. รูปแบบสินค้าจากไหมในตลาด
ผลิตภัณฑ์เดิม
ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เน็คไท เสื้อผ้า ผ้าผืน ปลอกหมอน พรม กระเป๋า รองเท้า กล่องใส่ของ
ผลิตภัณฑ์ใหม่
น้ำหอม ครีมประทินผิวที่สกัดจากเส้นไหม เฟอร์นิเจอร์ที่นำผ้าไหมมาอัดระหว่างแผ่นไฟเบอร์กลาส แล้วดัดงอเป็นเก้าอี้หรือเป็นพื้นโต๊ะ ซึ่งจะมีลวดลายตามผ้าไหม สเปรย์ที่ใช้ฉีดที่ขา จะเป็นลวดลายติดผิว ดูเหมือนใส่ถุงน่อง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ตัดเย็บจากผ้าไหมนิตติ้งหรือไหมยืดที่ใช้เทคโนโลยีการทอแบบใหม่ ชุดชั้นในเคลือบผ้าไหม และเคลือบกลิ่นในระดับนาโนเทคโนโลยี ที่นอนเด็กอ่อนและผ้าห่มที่มีการนำเส้นใยไหมมาปนและนำมายัดแทนเส้นใยสังเคราะห์
6. บทสรุป
ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย นับเป็นสินค้าที่น่าสนใจประเภทหนึ่ง ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ควรหันมาสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการผลิตที่ควรทำการศึกษาวิจัย การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่นำมาซึ่งการผลิตเส้นไหมที่มีคุณภาพ ด้านต้นทุนที่ไม่สูงจนเกินไป รวมถึงช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจต่อความเคลื่อนไหวของตลาดลูกค้าอย่างใกล้ชิด เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งควรเน้นการพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าเป็นสำคัญด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามลดต้นทุนการผลิตลง ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดระดับต่างๆ และถึงแม้ว่าการผลิตผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหม จะยังมีปัญหาในหลายด้าน แต่อุตสาหกรรมผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ยังมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไป เนื่องจากไทยมีความสามารถในการผลิตลักษณะที่ครบวงจรอีกทั้งความต้องการผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ ผ้าไหม มีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งในตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวที่นิยมซื้อไปฝากเพื่อนฝูง ญาติมิตรในบ้านเมืองตนเอง และกลุ่มผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้นอกเหนือจากจะมีรายได้ของการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในรูปเงินตราต่างประเทศแล้ว ยังส่งผลให้แรงงานในชนบทซึ่งมีจำนวนมากมีโอกาสในการหารายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย จึงเป็นสินค้าที่น่าสนใจประเภทหนึ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนควรหันมาสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ตลอดจนเพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมไหม และผลิตภัณฑ์ไหมไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต
สอบถามข้อมูลได้ที่ distribute@dip.go.th
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตไหมไทยและผลิตภัณฑ์ไหมไทยที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะแรงงานในชนบท ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของไทย เป็นเอกลักษณ์ไทยที่ได้รับการกล่าวขวัญมานานแล้วในด้านความงดงามของสีสัน และลวดลาย รวมถึงฝีมือการทอผ้าของคนไทยที่ได้รับการถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบันซึ่งผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมของไทยนั้น ต่างได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ ไหมไทยเป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีขั้นตอนการผลิตที่ใช้แรงงานคนไทยเป็นหลัก ซึ่งเหมาะสมกับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีแรงงานเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ อุตสาหกรรมการผลิตไหมไทยสามารถสร้างงานให้กับชาวบ้าน และเป็นการเพิ่มรายได้ให้แรงงานในชนบทด้วย โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมูลค่าไม่ต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาทต่อปี
ในปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาของชาวบ้านมากขึ้น หันมาบริโภคสินค้าไทย นิยมแต่งกายด้วยผ้าไทย ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าทอมือ โดยเฉพาะผ้าไหมไทยซึ่งเป็นผ้าทอพื้นเมืองที่ทอขึ้นมาจากเส้นไหมอันเป็นเส้นใยจากธรรมชาติ มีเทคนิคการทอลวดลายที่มีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นต่าง ๆ มีเสน่ห์ในตัวเอง เป็นการสร้างสีสันให้กับงานฝีมือของไทย เลือกซื้อหาได้ง่ายไม่น้อยกว่า ผ้าทอและผลิตภัณฑ์ผ้าทออื่นๆ แหล่งผลิตสำคัญของผ้าไหมอยู่ที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายไปทุกภาคของประเทศ ผ้าไหมไทยมีความโดดเด่น เพราะมีเนื้อผ้าเป็นมันวาวเป็นประกาย มีเอกลักษณ์ของตัวเองที่ไม่เหมือนกับผ้าไหมจากประเทศอื่น ๆ ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่เป็นที่นิยมในตลาด ได้แก่ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เน็คไท เสื้อผ้า ผ้าผืนแต่งบ้าน ปลอกหมอน พรม กระเป๋า รองเท้า กล่องใส่ของบุไหม เป็นต้น
2. ภาวะการตลาด
2.1 ตลาดภายในประเทศ
ตลาดภายในประเทศการจำหน่ายส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าคนกลางไปรับถึงแหล่งที่ผลิตผ้าทอบางกลุ่มต้องจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า ขึ้นอยู่กับข้อตกลงซื้อขาย แหล่งผลิตบางแห่งมีการจัดวางสินค้าหน้าร้านเพื่อดึงดูดสายตา และเป็นจุดสนใจแก่ผู้พบเห็น การตลาดภายในประเทศจึงมี 2 ลักษณะคือ ตลาดขายปลีกและตลาดขายส่ง โดยแหล่งจำหน่ายสำคัญในประเทศในลักษณะขายปลีกคือ แหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัดสวนจตุจักร สวนลุมไนท์พลาซ่า ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ตลาดสำเพ็ง โบ้เบ้ ประตูน้ำ ขณะที่แหล่งตลาดขายส่งที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งผลิตสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางบางจังหวัด เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ลพบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว และกรุงเทพฯ รวมถึงตลาดนัดสวนจตุจักรและสวนลุมไนท์พลาซ่า
2.2 ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ตลาด คือตลาดหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ตลาดใหม่ ได้แก่ ออสเตรเลีย ยุโรปตะวันออก และเอเซีย
จากการได้วิเคราะห์ภาพรวมของการส่งออก เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มตลาดพบว่า ภาพรวมของการส่งออกสินค้าผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของไทยอยู่ในภาวะทรงตัว จากสถิติตัวเลขมูลค่าการส่งออกเปรียบเทียบราย 3 ปี ที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน มีเพิ่มขึ้นและลดลงบ้างเล็กน้อย โดยปี 2546 มูลค่าการส่งออกประมาณ 781.31 ล้านบาท ปี 2547 มูลค่า 896.76 ล้านบาท และในปี 2548 มูลค่า 975.94 ล้านบาท คาดว่าในช่วงปี 2549 และช่วงเวลาที่เหลือ มีแนวโน้มจะขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะประเทศคู่แข่งสำคัญของไทยโดยเฉพาะจีนที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกไหมรายใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ลดการส่งออกเส้นไหมลงประกอบกับผู้บริโภคในตลาดโลกหันมานิยมไหมและผลิตภัณฑ์ไหมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดหลักคือ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้สินค้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ ผ้าทอด้วยไหม รองลงมาคือ ด้ายไหมจากเศษไหม เศษไหม ด้ายไหม ไหมดิบ รังไหม โดยผ้าไหมสามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าได้อีกหลายประเภทด้วยกัน สำหรับสินค้าที่มีโอกาสในการขยายตัวดีในอนาคตคือ ผ้าไหมทอด้วยมือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าคลุมผม และเน็คไท เป็นต้น
สาเหตุหนึ่งที่ผู้บริโภคในตลาดส่งออกที่สำคัญนิยมผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยมากขึ้น เนื่องจากผ้าไหมของไทยมีการผลิตทั้งแบบที่เป็นงานฝีมือทอด้วยมือ และแบบที่ทอด้วยเครื่องจักร แบบผ้าไหมที่ทอด้วยมือ จะเป็นผ้าค่อนข้างหนา แต่มีความละเอียดอ่อนสวยงาม ประณีต โดยเฉพาะผ้าไหมไทยที่ใช้เส้นพุ่งที่สาวด้วยมือจะมีลักษณะเป็นปุ่มปม มีความแวววาวในตัวเอง มีลวดลายและสีสันสวยงามเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของผ้าไหมไทยที่แตกต่างจากผ้าไหมของประเทศอื่น ประเทศไทยจึงสามารถครองตลาดต่างประเทศสำหรับผ้าประเภทนี้ได้ และจากการวิเคราะห์รสนิยมของตลาดหลัก พบว่า
- ประเทศญี่ปุ่น เป็นตลาดที่นิยมใช้และนำเข้าผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ผ้าไหมรายใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก และเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของไทย ชาวญี่ปุ่นจะนิยมผ้าไหมที่มีเนื้อนุ่ม ถ้าเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปต้องเป็นแบบเรียบง่าย สามารถใช้ได้ทุกโอกาสและราคาไม่สูงจนเกินไป
- ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดที่นำเข้าผ้าไหมจากประเทศไทยเป็นอันดับสอง รองจากญี่ปุ่น สินค้าที่นิยมสั่งจะเป็นผ้าไหมและเสื้อผ้าสำเร็จรูป
- ประเทศสหภาพยุโรป เป็นตลาดใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ที่นิยมใช้ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจากไทย มากเป็นอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วยตลาดสำคัญ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน สเปน และเนเธอร์แลนด์ สินค้าที่นิยมสั่งซื้อได้แก่ ผ้าไหม เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ผ้าไหม
นอกจากตลาดส่งออกหลักที่สำคัญดังกล่าว ยังมีตลาดอื่นๆอีก เช่น เกาหลีใต้ สิงค์โปร์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง จีน และไต้หวัน ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพเพียงพอ ฐานะเศรษฐกิจดี และถือว่าเป็นลูกค้าประจำที่ประเทศไทยมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าการส่งออกไหมและผลิตภัณฑ์ไหมไปยังตลาด ดังกล่าว จะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3. ปัญหา ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
แม้ปัจจุบันสินค้าผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหม จะมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศเพิ่มขึ้นตามลำดับ ในเรื่องของการสร้างรายได้ให้ชาวชนบท และการแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานสู่เมืองใหญ่ แต่สินค้าประเภทนี้ยังต้องเผชิญปัญหาต่าง ๆ เช่น
3.1 ปัญหาในด้านต้นทุนการผลิต ซึ่งได้แก่ วัตถุดิบประเภทเส้นไหมขาดแคลน มีไม่พอเพียงกับความต้องการนำมาใช้ในการผลิต จึงต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ จากข้อมูลของผู้นำเข้าเส้นไหมรายใหญ่ของประเทศที่ได้นำระบบการประกอบธุรกิจส่งออกและนำเข้าเส้นไหมมาใช้ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า การที่รัฐบาลได้พยายามช่วยเหลือโรงสาวไหมมานานกว่า 30 ปี แต่กลับไม่มีอะไรดีขึ้น ผู้นำเข้าเส้นไหมได้สั่งเส้นไหมจากจีน ตั้งแต่ปี 2538 จนในปัจจุบันได้มีการสั่งเส้นไหมลดลง เหตุผลที่สั่งน้อยไม่ใช่ว่าตลาดผ้าไหมจำหน่ายไม่ดีหรือเส้นไหมภายในประเทศผลิตมากขึ้น หรือผู้ผลิตเลิกอาชีพการทอผ้า เหตุผลที่สำคัญคือ
- เส้นไหมหนีภาษีเข้ามาแทนที่ (ซึ่งความต้องการใช้เส้นไหมภายในประเทศยังมีความต้องการเพิ่ม 800 — 900 ตัน/ปี)
- ผู้นำเข้าเส้นไหมถูกต้องตามกฎหมายไม่กล้าปล่อยบัญชีลูกค้า
ปัญหาไหมลักลอบจาดเวียดนามที่เข้ามาแย่งตลาดกับเส้นไหมไทย และรัฐบาลก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาไหมลักลอบให้หมดไปได้ เพราะการลักลอบจะทำในลักษณะกองทัพมด กำลังเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่ปราบปรามลักลอบมีไม่เพียงพอ ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือ โรงสาวไหมจะต้องช่วยตัวเอง ต้องลดต้นทุนการผลิต และลดราคาในการจำหน่ายลง เพื่อแข่งขันด้านราคากับเส้นไหมที่หนีภาษีได้ซึ่งจะทำให้ผู้ทอผ้า หันมาซื้อเส้นไหมภายในประเทศ ก็จะทำให้อยู่ได้ทั้งสองฝ่าย คือผู้จำหน่ายเส้นไหมและผู้ทอผ้า
3.2 ปัญหาคู่แข่งขันในตลาดส่งออก กำลังมีการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันกับผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทย ซึ่งในปัจจุบันคู่แข่งขันที่สำคัญได้แก่อินเดีย พบว่าอินเดียเป็นประเทศที่น่ากลัวประเทศหนึ่ง เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกันกับไทย มีการย้อมและทอด้วยมือแบบเดียวกัน ลักษณะคล้ายไหมไทย อินเดียผลิตผ้าไหมใช้ภายในประเทศ 85 % ส่งออก 15 % มีความต้องการใช้เส้นไหมประมาณ 14,000 ตันต่อปี แต่สามารถผลิตได้เพียง 9,000 ตัน นำเข้าประมาณ 5,000 ตัน เมื่อ 10 ปีที่แล้วที่ผ่านมาส่งออกมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท มียอดการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี ยอดส่งออกขณะนี้มากกว่า 10,000 ล้านบาท และเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลก มีความคล่องตัวในการนำเข้าเส้นไหมมาเพื่อใช้ในการผลิต มีนโยบายการค้าเสรี ผู้นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า และได้รับเงินอุดหนุนการส่งออก มีกำลังการผลิตสูง และสินค้าราคาถูกกว่าของไทย ประมาณ 30-40 %
จากปัญหาและข้อคิดดังกล่าว จึงได้เสนอมุมมองการพัฒนาอุตสาหกรรมไหมไทยหลัก ๆ ดังนี้
1. ประเทศไทยมีวัตถุดิบคุณภาพดีพอใช้ในระดับหนึ่งแต่ราคาผ้าสูงเกินไป การบังคับซื้อโดยระบบสัดส่วนต้องยกเลิกหรือหากจำเป็นต้องคงไว้ จะต้องเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุด ต้องให้โอกาสเกษตรกรซึ่งปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และสาวเส้นเข้ามาทอในระบบสัดส่วนด้วย ส่วนภาษีนำเข้าหากรัฐต้องเก็บภาษีเส้นไหมขอให้เก็บน้อยที่สุด เพื่อให้ต้นทุนวัตถุดิบมีราคาที่เหมาะสมและแข่งขันได้
2. พัฒนาด้านบุคลากร โดยเน้นที่ผ้าไหมทอมือ ซึ่งจะเป็นมรดกสืบทอดไปอีกยาวนาน รัฐควรที่จะบรรจุหลักสูตรการผลิตผ้าไหมในโรงเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมจนถึงมหาวิทยาลัย
3. พัฒนาด้านบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มผลผลิต และลดการสูญเสียทั้งระบบ
4. พัฒนาด้านเทคโนโลยี ใช้วิธีการสมัยใหม่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพพันธ์หม่อน พันธ์ไหม การสาวไหม การตีเกลียวและการทอผ้า
5. พัฒนารูปแบบสินค้าและการตลาด โดยเน้นที่แฟชั่น และผลิตสินค้าให้เหมาะสมกับรสนิยมของลูกค้า มีการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สินค้าผ้าไหมอย่างต่อเนื่อง
เหตุที่ประเทศไทยเสียเปรียบอินเดียในตลาดผ้าไหมในยุโรป เพราะด้านการตลาดและราคาสินค้าแพงกว่า นอกจากนั้นอินเดียยังมีการผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดอีกด้วย ดังนั้น การพัฒนาระบบการผลิตผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของประเทศ เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรภาครัฐ และเอกชนจะต้องเร่งพัฒนาหารูปแบบ เพื่อผลักดันให้มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมไหมไทยในการแข่งขันกับตลาดโลก ซึ่งสมาคมไหมไทยได้เสนอแนวทางการส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมว่าควรมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิ-ภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตไหมทั้งระบบโดยให้มี
- การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีแผนใหม่ในการผลิตไหม
- การเพิ่มผลผลิตหม่อนต่อหน่วยพื้นที่
- การปรับปรุงผลผลิตและคุณภาพเส้นไหม
- การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคเอกชนโดยเฉพาะโรงสาวไหม
4. กลยุทธ์การสร้างโอกาสของไหมไทยในตลาดโลก
จากปัญหาข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้นแล้วในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ ในการส่งเสริมพัฒนาการผลิตและการตลาดไหมไทยนั้น กรมส่งเสริมการส่งออกได้จัดจ้างคณะผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท Mitor Textile Consultaney Service ประเทศอิตาลี เป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาผ้าผืนไทยสู่ตลาดโลก ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้นำเสนอแนวทางยุทธ์ศาสตร์ไหมไทยในตลาดโลก จากมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการสิ่งทอของโลก โดยได้วิเคราะห์โอกาสของไหมไทยในตลาดโลกพร้อมทั้งกลยุทธ์ทางการตลาดของไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน ดังนี้
4.1 ลักษณะตลาดของไหม
ได้แบ่งลักษณะตลาดของไหมออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ตลาดแบบอุตสาหกรรม
2. ตลาดแบบหัตศิลป์
4.2 การเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันสำหรับสินค้าแบบอุตสาหกรรม คือ
1. ลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุด
2. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
3. มีการพัฒนาเทคโนโลยี
4. มีการสื่อสารกับผู้บริโภคและรู้ถึงขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ
5. มีการทำงานด้านการตลาดที่ไม่ทิ้งของเดิม
6. ต้องวิเคราะห์ตนเอง ศึกษาจุดอ่อน / จุดแข็ง มองตลาดว่าทำได้หรือไม่
แต่ถ้าเป็นสินค้าประเภท หัตถกรรม คือ ต้องสร้างความแตกต่างเป็นหนึ่งไม่เหมือนใคร ลูกค้าจะไม่ได้พิจารณาแต่เรื่องราคาเท่านั้น การสร้างความแตกต่าง จะช่วยให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าได้ ผลิตภัณฑ์ไหมไทยควรเน้นคุณภาพ รูปแบบ ดีไซด์ ทำสินค้าแฟชั่นให้มากขึ้น โดยให้มีเนื้อหา มีการวิจัยและพัฒนาสินค้าสร้างแนวคิด และเพิ่มศักยภาพของสินค้าซึ่งผู้ผลิตไหมสามารถทำได้ เนื่องจากมีกระบวนการผลิตที่ครบวงจร
4.3 การสร้างความแตกต่าง
1. เส้นใยมีการทำตีเกลียวเส้นไหม
2. มี design ของผ้า
3. การย้อมไหมให้สวยงาม ใช้สีและเส้นด้ายที่มีคุณภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีการย้อมให้มีคุณภาพสูง ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้ ลดต้นทุน มีความรวดเร็วในการผลิต มีความยืดหยุ่น
4. การสร้างเส้นไหมเหลืองของไทยให้มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เมื่อนำไปทอเป็นผ้าผืนควรจะมีลักษณะผ้าไหมที่มีเส้นปมเยอะมี Textured ผ้าไหมที่มีความลื่นและเงามัน ผ้าไหมที่มีเส้นเรียบหรือใช้เทคโนโลยีให้เกิดความยับมาก ๆ
จะเห็นได้ว่าแบรนด์ดัง ๆ ของโลกจะนำผ้าไหมไปใช้ เนื่องจากต้องการสร้างความแตกต่างๆจากสินค้าที่เป็น mass และการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดแฟชั่น ยังต้องคำนึงถึงสี น้ำหนัก รูปลักษณะและสัมผัสอีกด้วย นอกจากนี้คณะผู้เชี่ยวชาญยังได้วิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่นสำหรับ Spring / Summer 2007 ในแนวอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ดังนี้
แนวอุตสาหกรรม
- สี pastel ใช้กับ tafta design ลาย สี เส้น ให้เกิดความโดดเด่น ผ้าที่ทอแบบแน่นมากๆ ผสมผสานเส้นด้ายตีเกลียว และผสมดิ้นโลหะแทรกเข้าไปเพื่อสร้างเอกลักษณ์
- การย้อมเส้น มี design เล็กๆ ที่เกิดในตัวเส้น ซึ่งผู้ผลิตของไทยมีการทำอยู่บ้างแล้ว
- ผ้าที่มีความทิ้งตัว มีน้ำหนักผ้า ต้องการให้มีความเป็นผู้หญิงมากขึ้น
- ผ้าผสม Lycra
- สัมผัสที่จัดให้มี volume
- ความโปร่งใส บาง twist แบบใหม่ ๆ ให้ทับซ้อนกันมาก ๆ บิดเกลียวให้ต่างไปจากของเดิม มีสัมผัสด้าน ๆบ้างเล็กน้อย
- แสงต้องใช้ใยธรรมชาติ สะท้อนแสง เล่น reflect บนตัวผ้า ด้ายผสม wool cashmere ลินินบาง ๆ ทอคู่กับเส้นไหม
- Design และพิมพ์ลาย เรียบง่าย ทะเล summer สีและลายที่สะท้อนให้เห็นความเป็น summer ลายเล็ก ๆ ละเอียด ดอกไม้เล็ก ๆ โบราณ สีน้ำ ลายเส้นวาด
- สี pastel มาแรง เนื่องจากมีความด้าน มีปูน poster มาเคลือบผ้าไว้
- สีที่ขัดแย้ง โทนสีเย็นหรือสีกลาง ๆ ธรรมชาติหรือโทนสีเย็นผสมผสานสีแรง ๆ
- สีแร่ธาตุ โลหะ ดินที่เพิ่งไถเสร็จใหม่ ๆ ดินเหนียว ผสมผสานกับแสงสีอ่อน
แนวหัตถกรรม
- ผู้บริโภคต้องการให้ตัวเองแตกต่าง งานหัตถกรรมต้องสื่อให้เป็นผ้าแฟชั่น ผ้าพันคอต้องทำให้สีเป็นแฟชั่น ไม่ทำงานซ้ำ ๆ ต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เอกลักษณ์ คือ เป็นงานที่ไม่ซ้ำ มีความเป็นหนึ่ง (unique)
- เส้นใยหนาขึ้น มีสี 2-3 สีใช้เล่นสีในการผลิต
- แบบมีปมกับไหมป่า นำมาสร้างลายได้น่าสนใจ
- ถ่ายทอดชีวิต วัฒนธรรม สื่อสารกับผู้ซื้อให้ได้ มีการวาดลวดลายด้วยมือ
5. รูปแบบสินค้าจากไหมในตลาด
ผลิตภัณฑ์เดิม
ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เน็คไท เสื้อผ้า ผ้าผืน ปลอกหมอน พรม กระเป๋า รองเท้า กล่องใส่ของ
ผลิตภัณฑ์ใหม่
น้ำหอม ครีมประทินผิวที่สกัดจากเส้นไหม เฟอร์นิเจอร์ที่นำผ้าไหมมาอัดระหว่างแผ่นไฟเบอร์กลาส แล้วดัดงอเป็นเก้าอี้หรือเป็นพื้นโต๊ะ ซึ่งจะมีลวดลายตามผ้าไหม สเปรย์ที่ใช้ฉีดที่ขา จะเป็นลวดลายติดผิว ดูเหมือนใส่ถุงน่อง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ตัดเย็บจากผ้าไหมนิตติ้งหรือไหมยืดที่ใช้เทคโนโลยีการทอแบบใหม่ ชุดชั้นในเคลือบผ้าไหม และเคลือบกลิ่นในระดับนาโนเทคโนโลยี ที่นอนเด็กอ่อนและผ้าห่มที่มีการนำเส้นใยไหมมาปนและนำมายัดแทนเส้นใยสังเคราะห์
6. บทสรุป
ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย นับเป็นสินค้าที่น่าสนใจประเภทหนึ่ง ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ควรหันมาสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการผลิตที่ควรทำการศึกษาวิจัย การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่นำมาซึ่งการผลิตเส้นไหมที่มีคุณภาพ ด้านต้นทุนที่ไม่สูงจนเกินไป รวมถึงช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจต่อความเคลื่อนไหวของตลาดลูกค้าอย่างใกล้ชิด เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งควรเน้นการพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าเป็นสำคัญด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามลดต้นทุนการผลิตลง ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดระดับต่างๆ และถึงแม้ว่าการผลิตผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหม จะยังมีปัญหาในหลายด้าน แต่อุตสาหกรรมผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ยังมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไป เนื่องจากไทยมีความสามารถในการผลิตลักษณะที่ครบวงจรอีกทั้งความต้องการผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ ผ้าไหม มีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งในตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวที่นิยมซื้อไปฝากเพื่อนฝูง ญาติมิตรในบ้านเมืองตนเอง และกลุ่มผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้นอกเหนือจากจะมีรายได้ของการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในรูปเงินตราต่างประเทศแล้ว ยังส่งผลให้แรงงานในชนบทซึ่งมีจำนวนมากมีโอกาสในการหารายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย จึงเป็นสินค้าที่น่าสนใจประเภทหนึ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนควรหันมาสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ตลอดจนเพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมไหม และผลิตภัณฑ์ไหมไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต
สอบถามข้อมูลได้ที่ distribute@dip.go.th
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-