กรุงเทพ--20 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2549 นายกาศิวัฒน์ ปะรักกะมานนท์ เอกอัครราชทูตไทยประจำอิสราเอลได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนทางโทรศัพท์จากกรุงเทลอาวีฟ เกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกและการให้ความช่วยเหลือคนไทยในอิสราเอล สรุปได้ดังนี้
1. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ได้ประสานกับบริษัทนายจ้างของอิสราเอล และหน่วยราชการอิสราเอลที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการอพยพแรงงานไทยชุดแรกจำนวน 74 คนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยทางตอนเหนือของประเทศอิสราเอล (ใกล้บริเวณสู้รบชายแดนอิสราเอล-เลบานอน) ไปสู่พื้นที่ปลอดภัยแล้ว โดยแรงงานไทยส่วนหนึ่งได้พักอาศัยอยู่ในที่พักที่บริษัทนายจ้างเตรียมไว้ให้ และส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่รับฝากเข้าทำงานชั่วคราวในบริเวณตอนกลางของประเทศ และในวันนี้ (19 กรกฎาคม 2549) จะมีการอพยพแรงงานไทยชุดที่สองจำนวน 50 คน ออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยด้วย
2. ปกติแรงงานไทยที่เข้ามาทำงานในอิสราเอลจะต้องทำงานกับนายจ้างที่ทำสัญญาด้วยเท่านั้น และในการหางานใหม่ต้องดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายของอิสราเอล แต่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ขอความร่วมมือให้หน่วยงานทางการของอิสราเอลที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอิสราเอล) พิจารณาผ่อนผันมาตรการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นกรณีพิเศษ และขอให้ถือว่าแรงงานไทยที่จำเป็นต้องเปลี่ยนงานใหม่ในกรณีหนีภัยสงครามครั้งนี้ สามารถทำงานใหม่ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการทำงานโดยผิดกฏหมาย ซึ่งได้รับความเข้าใจและความร่วมมือจากหน่วยงานทางการอิสราเอลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี
3. สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ส่งนายมนชัย พัชนี อัครรราชทูตที่ปรึกษา และนายนรา รัตนรุจ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) เดินทางไปเยี่ยมเยียนแรงงานไทยและประสานงานกับบริษัทจัดหางานอิสราเอลในบริเวณพื้นที่ภาคเหนือและเตรียมการอพยพให้คนงานไทยที่แสดงความประสงค์ โดยขณะนี้ มีแรงงานไทยอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยจำนวน 1,500-2,000 คน ส่วนใหญ่ยังไม่ประสงค์จะอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากต้องการรอดูสถานการณ์ก่อนต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งหากแรงงานไทยปฏิบัติตามคำแนะนำของทางการอิสราเอลและนายจ้างชาวอิสราเอล คือ หาที่กำบังที่เหมาะสม หรืออยู่ในหลุมหลบภัยเมื่อมีการโจมตี ก็จะมีความปลอดภัยพอสมควร โดยที่ชาวอิสราเอลเองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางเหนือจำนวนหนึ่งก็ยังไม่อพยพลงมาเช่นกัน
4. สถานเอกอัครราชทูตฯ มีความห่วงใยในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สู้รบระหว่างอิสราเอลและเลบานอนที่มีความรุนแรง โดยหวังให้สถานการณ์ยุติโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้ฝ่ายต่าง ๆ อาทิ สหประชาชาติ และกลุ่ม G8 พยายามที่จะให้ทั้งสองฝ่ายยุติความรุนแรง และให้กองกำลังนานาชาติเข้ามาในเขตพื้นที่เสี่ยงภัย แต่อาจจะต้องใช้เวลา เพราะการที่จะให้กองกำลังนานาชาติเข้าไปในพื้นที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องหยุดยิงเสียก่อน ซึ่งขณะนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีท่าทีที่จะหยุดยิง และต่างยื่นเงื่อนไขในการหยุดยิง ซึ่งเงื่อนไขหลายประการเป็นสิ่งที่อีกฝ่ายไม่อาจยอมรับได้
5. สำหรับคำถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับกรณีที่มีคนไทยได้รับบาดเจ็บจำนวน 1 ราย นั้น เอกอัครราชทูตฯ ได้กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่เกี่ยวกับสถานการณ์การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับเลบานอนทางตอนเหนือของประเทศอิสราเอล แต่เกิดขึ้นในเขตทางตอนใต้ของอิสราเอล ใกล้กับฉนวนกาซ่า ในระหว่างการปะทะระหว่างกองกำลังอิสราเอลกับปาเลสไตน์ โดยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 เวลา 03.00 น. นายเพย เจริญยิ่งได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยบริเวณหัวเข่าจากสะเก็ดระเบิดที่ยิงมาจากฝ่ายปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่านอกเขตของอิสราเอล มาตกบริเวณบ้านพักแรงงานไทยในเขตอิสราเอล ซึ่งมีคนไทยอาศัยอยู่ทั้งหมด 6 คน โดยมีนายเพยฯ ได้รับบาดเจ็บเพียงคนเดียว และนายจ้างได้นำไปส่งโรงพยาบาลแล้ว อาการไม่สาหัส และแพทย์ได้รักษาและอนุญาตให้เดินทางกลับที่พักแล้ว ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตกาศิวัฒน์ฯ ได้พูดคุยกับนายเพยฯ ทางโทรศัพท์แล้วด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2549 นายกาศิวัฒน์ ปะรักกะมานนท์ เอกอัครราชทูตไทยประจำอิสราเอลได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนทางโทรศัพท์จากกรุงเทลอาวีฟ เกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกและการให้ความช่วยเหลือคนไทยในอิสราเอล สรุปได้ดังนี้
1. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ได้ประสานกับบริษัทนายจ้างของอิสราเอล และหน่วยราชการอิสราเอลที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการอพยพแรงงานไทยชุดแรกจำนวน 74 คนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยทางตอนเหนือของประเทศอิสราเอล (ใกล้บริเวณสู้รบชายแดนอิสราเอล-เลบานอน) ไปสู่พื้นที่ปลอดภัยแล้ว โดยแรงงานไทยส่วนหนึ่งได้พักอาศัยอยู่ในที่พักที่บริษัทนายจ้างเตรียมไว้ให้ และส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่รับฝากเข้าทำงานชั่วคราวในบริเวณตอนกลางของประเทศ และในวันนี้ (19 กรกฎาคม 2549) จะมีการอพยพแรงงานไทยชุดที่สองจำนวน 50 คน ออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยด้วย
2. ปกติแรงงานไทยที่เข้ามาทำงานในอิสราเอลจะต้องทำงานกับนายจ้างที่ทำสัญญาด้วยเท่านั้น และในการหางานใหม่ต้องดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายของอิสราเอล แต่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ขอความร่วมมือให้หน่วยงานทางการของอิสราเอลที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอิสราเอล) พิจารณาผ่อนผันมาตรการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นกรณีพิเศษ และขอให้ถือว่าแรงงานไทยที่จำเป็นต้องเปลี่ยนงานใหม่ในกรณีหนีภัยสงครามครั้งนี้ สามารถทำงานใหม่ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการทำงานโดยผิดกฏหมาย ซึ่งได้รับความเข้าใจและความร่วมมือจากหน่วยงานทางการอิสราเอลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี
3. สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ส่งนายมนชัย พัชนี อัครรราชทูตที่ปรึกษา และนายนรา รัตนรุจ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) เดินทางไปเยี่ยมเยียนแรงงานไทยและประสานงานกับบริษัทจัดหางานอิสราเอลในบริเวณพื้นที่ภาคเหนือและเตรียมการอพยพให้คนงานไทยที่แสดงความประสงค์ โดยขณะนี้ มีแรงงานไทยอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยจำนวน 1,500-2,000 คน ส่วนใหญ่ยังไม่ประสงค์จะอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากต้องการรอดูสถานการณ์ก่อนต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งหากแรงงานไทยปฏิบัติตามคำแนะนำของทางการอิสราเอลและนายจ้างชาวอิสราเอล คือ หาที่กำบังที่เหมาะสม หรืออยู่ในหลุมหลบภัยเมื่อมีการโจมตี ก็จะมีความปลอดภัยพอสมควร โดยที่ชาวอิสราเอลเองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางเหนือจำนวนหนึ่งก็ยังไม่อพยพลงมาเช่นกัน
4. สถานเอกอัครราชทูตฯ มีความห่วงใยในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สู้รบระหว่างอิสราเอลและเลบานอนที่มีความรุนแรง โดยหวังให้สถานการณ์ยุติโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้ฝ่ายต่าง ๆ อาทิ สหประชาชาติ และกลุ่ม G8 พยายามที่จะให้ทั้งสองฝ่ายยุติความรุนแรง และให้กองกำลังนานาชาติเข้ามาในเขตพื้นที่เสี่ยงภัย แต่อาจจะต้องใช้เวลา เพราะการที่จะให้กองกำลังนานาชาติเข้าไปในพื้นที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องหยุดยิงเสียก่อน ซึ่งขณะนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีท่าทีที่จะหยุดยิง และต่างยื่นเงื่อนไขในการหยุดยิง ซึ่งเงื่อนไขหลายประการเป็นสิ่งที่อีกฝ่ายไม่อาจยอมรับได้
5. สำหรับคำถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับกรณีที่มีคนไทยได้รับบาดเจ็บจำนวน 1 ราย นั้น เอกอัครราชทูตฯ ได้กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่เกี่ยวกับสถานการณ์การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับเลบานอนทางตอนเหนือของประเทศอิสราเอล แต่เกิดขึ้นในเขตทางตอนใต้ของอิสราเอล ใกล้กับฉนวนกาซ่า ในระหว่างการปะทะระหว่างกองกำลังอิสราเอลกับปาเลสไตน์ โดยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 เวลา 03.00 น. นายเพย เจริญยิ่งได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยบริเวณหัวเข่าจากสะเก็ดระเบิดที่ยิงมาจากฝ่ายปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่านอกเขตของอิสราเอล มาตกบริเวณบ้านพักแรงงานไทยในเขตอิสราเอล ซึ่งมีคนไทยอาศัยอยู่ทั้งหมด 6 คน โดยมีนายเพยฯ ได้รับบาดเจ็บเพียงคนเดียว และนายจ้างได้นำไปส่งโรงพยาบาลแล้ว อาการไม่สาหัส และแพทย์ได้รักษาและอนุญาตให้เดินทางกลับที่พักแล้ว ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตกาศิวัฒน์ฯ ได้พูดคุยกับนายเพยฯ ทางโทรศัพท์แล้วด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-