ระยะช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คนไทยต่างถกเถียงถึงผลกระทบจากการทำเอฟทีเอ ทั้งเรื่อง โคนม อันเป็นผลมาจากเอฟทีเอไทย - ออสเตรเลีย ผักผลไม้ อันเป็นผลจาก เอฟทีเอไทย - จีน และคงจะต้องพูดกันต่อไปอีก เพราะรัฐบาลกำลังอยู่ระหว่างเจรจาเอฟทีเอกับสหรัฐ ญี่ปุ่น อินเดีย ฯลฯ เป็นการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ รูปแบบหนึ่ง ที่เน้นการลดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นมาตรการภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี เพื่อเปิดเสรีให้การค้าขายระหว่างประเทศสมาชิกที่เป็นคู่สัญญาสะดวกและเสรีมากขึ้น ตัวอย่างของมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เช่น มาตรการด้านสุขอนามัยของสินค้าเกษตร และมาตรฐานสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น การทำเอฟทีเอนี้ จะทำสองประเทศหรือมากกว่าเป็นระดับภูมิภาคก็ได้ ซึ่งที่รู้จักกันดีก็มี เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือนาฟตา แต่ไม่ว่าจะขนาดเท่าไร หลักการของเอฟทีเอก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน
"เอฟทีเอ" เป็นแนวคิดทางการค้าที่มีมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้วในการทำการค้าระหว่างประเทศ โดยในระหว่างที่เริ่มเจรจาการเปิดเสรีทางการค้ากันภายใต้ความตกลงแกตต์ (GATT) ที่จัดทำขึ้นตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2490 นั้น ประเทศต่างๆ ก็เล็งเห็นว่า การเจรจาพหุภาคีเพื่อเปิดเสรีที่มีประเทศมากหน้าหลายตาและหลากความต้องการเข้าร่วมนั้น จะทำได้ช้าและมีปัญหาที่ต้องคุยกันนานมากกว่าการเจรจากันในกลุ่มเล็กๆ ขณะเดียวกัน การเจรจาเปิดเสรีในกลุ่มเล็กๆ นี้ก็จะเป็นตัวช่วยเร่งให้มีการเปิดเสรีในระดับโลกได้ในลักษณะต่อยอด ดังนั้น
เมื่อการเจรจาพหุภาคีติดขัดหรือเชื่องช้าไม่ทันใจ ประเทศต่างๆ ก็เห็นประโยชน์ที่จะทำเอฟทีเอกันก่อนเพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน แนวคิดดั้งเดิมของเอฟทีเอนั้น จะเกี่ยวข้องเฉพาะการค้าสินค้า แต่ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้เศรษฐกิจและตลาดของประเทศต่างๆ เชื่อมโยงกันมากขึ้น และการเคลื่อนย้ายของสินค้า บริการ เงินทุน และบุคคล รวมทั้งข้อมูลข่าวสารข้ามพรมแดนประเทศก็ขยายตัวและรวดเร็วขึ้นด้วย จึงทำให้มีการหยิบยกแง่มุมอื่นๆ ของการค้าขึ้นหารือและกำหนดกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศมากขึ้นในกรอบองค์การการค้าโลก และขอบเขตของเอฟทีเอก็ขยายตามไปด้วย ดังนั้น เอฟทีเอ จึงครอบคลุมไปถึงเรื่องการค้าบริการ การลงทุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
การจัดซื้อโดยภาครัฐ และความร่วมมือในสาขาต่างๆ
ด้านกฎหมาย เอฟทีเอ เป็นแนวคิดที่เป็นที่ยอมรับกัน และกฎเกณฑ์ของการค้าพหุภาคีภายใต้แกตต์และกฎของ WTO หรือองค์การการค้าโลกที่ตั้งขึ้นแทนที่เมื่อปี พ.ศ.2538 ก็เปิดช่องให้ประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิก WTO จัดทำเอฟทีเอ ระหว่างกันได้ด้วย โดยถือเป็นข้อยกเว้นต่อหลักการของระบบการค้าพหุภาคี ที่เน้นการให้ประโยชน์แก่สมาชิกทั้งหมดอย่างเท่าเทียมกัน
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับเอฟทีเอที่ว่านี้ ปรากฏอยู่ในข้อ 24 ของความตกลงแกตต์ ว่าด้วยการลดภาษีการค้าปี ค.ศ.1994 (พ.ศ.2537) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการค้าสินค้า โดยข้อ 24 ระบุไว้ว่า ความตกลงแกตต์ไม่ขัดขวางการที่ประเทศสมาชิกจะจัดตั้งเอฟทีเอ แต่เอฟทีเอจะต้องนำไปสู่การยกเลิกภาษีในการดำเนินการค้าระหว่างสมาชิกเอฟทีเอเกือบทั้งหมด ข้อตกลงจัดตั้ง เอฟทีเอก็จะต้องนำไปสู่การเปิดเสรีในระยะเวลาที่สมเหตุสมผล และเมื่อจัดตั้งเอฟทีเอแล้วอัตราภาษีหรือมาตรการต่างๆ ที่ สมาชิกเอฟทีเอใช้กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก จะต้องไม่สูงหรือมากไปกว่าที่เคยมีก่อนการจัดตั้งด้วย ส่วนในด้านการค้าบริการ ความตกลงแกตส์ (GATS) ว่าด้วยการค้าบริการ ข้อ 5 ก็ได้ระบุไว้เช่นเดียวกันว่า ไม่ขัดขวางการที่ประเทศสมาชิกจะทำความตกลงเพื่อเปิดเสรีการค้าบริการระหว่างกันเอง แต่มีการตั้งข้อแม้ไว้ว่า ความตกลงนี้จะต้องไม่กลายเป็นการเพิ่มอุปสรรคต่อการค้าบริการในสาขาต่างๆ ให้มากกว่าก่อนการทำเอฟทีเอ ต้องครอบคลุมสาขาการค้าบริการเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นมูลค่าการค้ามากพอสมควร และวิธีการให้บริการในหมวดต่างๆ เป็นส่วนใหญ่
ตามกฎของ WTO แบ่งเป็น 4 หมวดคือ
1) ผู้ให้บริการและผู้รับบริการอยู่กันคนละประเทศ
2) ผู้รับบริการไปรับบริการในประเทศของผู้ให้บริการ
3) ผู้ให้บริการมาตั้งบริษัทในประเทศของผู้รับบริการ
4) ผู้ให้บริการไปให้บริการในประเทศของผู้รับ
แม้ว่าเอฟทีเอ จะมุ่งการเปิดเสรี แต่ก็ใช่ว่าประเทศคู่สัญญาจะต้องเปิดเสรีทุกเรื่องหรือในทันที กฎเกณฑ์ของ WTO ไม่ได้บังคับเอาไว้ และแม้แต่ WTO ยังไม่ได้หยิบทุกเรื่องขึ้นโต๊ะเจรจา ประเทศคู่สัญญาเอฟทีเอ จะเปิด บางส่วนและปิดบางส่วนได้ และตกลงที่จะเปิดเร็วเปิดช้าได้ รวมทั้งสามารถหยิบเรื่องที่ WTO ยังไม่ได้ตกลงหรือคุยกันขึ้นมา คุยได้ แต่ในหลักการเอฟทีเอก็ควรต้องมุ่งให้เปิดเสรีกันให้มากกว่าที่ตกลงกันไว้
รัฐบาลไทยได้ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เรียบร้อยแล้วกับหลายประเทศ ซึ่งมีผลลัพธ์ ข้อดี ข้อเสีย ความได้เปรียบเสียเปรียบที่แตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวรัฐบาล ยังมองว่าภายใต้ระบบการค้าเช่นนี้ ประเทศไทยจะได้มากกว่าเสีย สำหรับ เอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ นั้น ถือเป็นการเจรจาเอฟทีเอ ที่สำคัญที่สุดอันหนึ่ง เพราะสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศใหญ่ และตลาดการค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 1 ของไทย จึงเป็นการเจรจาที่ถูกจับตามองจากคนทุกระดับ เพราะหาก ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขเหมาะสม และเป็นธรรม เชื่อว่าจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางการค้า การลงทุน ให้กับประเทศไทยเพิ่มขึ้น และช่วยเพิ่มการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศให้สูงขึ้น แต่หากการเจรจาครั้งนี้ ประเทศไทยพลาดพลั้ง ตรงกันข้ามอาจจะสร้างความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง เอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ เริ่มเจรจาครั้งแรกวันที่ 28 มิ.ย.47 ที่ รัฐฮาวาย สหรัฐฯ และเจรจาต่อเนื่อง มาแล้วจนถึงครั้งที่ 6 ที่เชียงใหม่ โดยเนื้อหาแบ่งเป็น 23 เรื่อง ได้แก่
1. การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม
2. การเปิดตลาดสินค้าเกษตร
3. การเปิดตลาดสินค้าสิ่งทอ
4. มาตรการสุขอนามัยพืชและสัตว์
5. การเปิดเสรีภาคบริการ
6. การเปิดเสรีภาคการเงิน
7. แรงงาน
8. ทรัพย์สินทางปัญญา
9. โทรคมนาคม เป็นต้น
ผลสรุปการเจรจาครั้งที่ 6 ในประเด็นการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม สหรัฐฯเสนอลดภาษีเป็นศูนย์ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้เป็นมูลค่ากว่า 12,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 74% ของสินค้าที่นำเข้า ส่งผลให้สินค้าไทย 8,100 รายการ เข้าตลาดสหรัฐฯโดยไม่มีภาษีนำเข้า สินค้าได้ประโยชน์ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ทำจากไม้และยาง เครื่องแก้วและเซรามิก ผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มอาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม ขณะที่ไทยเสนอยกเลิกภาษีสินค้าให้สหรัฐฯ 5,000 ล้านเหรียญฯ หรือ 71% โดยสินค้าอ่อนไหวมาก เช่น เนื้อสัตว์ นม และผลิตภัณฑ์ ข้าวโพด มันฝรั่ง ชา กาแฟ หัวหอม ขอยืดเวลาลดภาษีไป 10 ปี หรือสินค้ามีโควตานำเข้าขอมีมาตรการปกป้อง
ส่วนการเปิดเสรีภาคบริการ ครอบคลุมการค้าบริการ การลงทุน การเปิดเสรีภาคการเงิน โทรคมนาคม และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ไทยย้ำให้สหรัฐฯยืดหยุ่นในเรื่องการยอมรับคุณสมบัติของผู้ให้บริการระหว่างกัน และข้อเสนอด้านมาตรการปกป้อง ส่วนการเจรจาหัวข้อบริการทางการเงิน ไทยผลักดันให้ใช้มาตรการเพื่อการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน และเศรษฐกิจมหภาค เพื่อป้องกันผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจไทยจากการเปิดเสรี รวมถึงขอเวลา 20 ปี ในการเปิดเสรี ขณะที่ภาคประกันภัยนั้น สหรัฐฯขอตั้งบริษัทประกันภัยที่มีชาวสหรัฐฯถือหุ้น 100% ขอตั้งสาขาย่อยได้โดยเสรี จำหน่ายประกันภัยผ่านตัวแทนโดยไม่ต้อง ตั้งบริษัท ส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยนั้น ไทยยังไม่พร้อม และขอเวลาปรับตัว 15 ปี
ด้านทรัพย์สินทางปัญญานั้น ในเรื่องสิทธิบัตรยา สหรัฐฯขอให้ไทยขยายความคุ้มครองการขึ้นทะเบียนยา 5 ปี รวมกับระยะเวลาการให้ความคุ้มครองสิทธิ์อีก 20 ปี เป็น 25 ปี ขณะที่ไทยยืนยันขอให้สามารถผลิตยากรณีฉุกเฉิน หรือกรณีเกิดโรคระบาดได้ นอกจากนี้ ยังได้ผลักดันให้สหรัฐฯขออนุญาตล่วงหน้าก่อนที่จะนำเอาทรัพยากรของไทยไปใช้ เพื่อป้องกันการจารกรรมทางชีวภาพ และการแบ่งปันผลประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ไทยได้ออกแถลงการณ์แสดงความผิดหวังต่อ ข้อเสนอทรัพย์สินทางปัญญาที่สหรัฐฯยื่นมาให้กับไทยมาก
ประโยชน์ที่ได้รับจาก เอฟทีเอ
จากการศึกษาของหลายๆ สำนัก ทั้งสถาบันวิจัยเพื่อการ พัฒนาประเทศไทย (TDRI) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หรือนักวิชาการจากสถาบันต่างๆ พบว่า การลดภาษีศุลกากรเป็น 0% ในทุกสาขาสินค้าบริการ ทำให้จีดีพีของไทยเพิ่มขึ้น 1.85% หรือประมาณ 100,000 ล้านบาท จากมูลค่าจีดีพีในปัจจุบันที่ 5.5 ล้านล้านบาท ส่วนสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 0.05% ทำให้รายได้ครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น 1.98% ส่วนสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 0.05% นอกจากนี้ ยังทำให้สินค้าไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯมากขึ้น ทั้งสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม ที่สำคัญยังมีการเจรจาเพื่อลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งลด/เลิกการอุดหนุนการผลิต และส่งออก มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (AD/CVD) ที่แต่ละปีสหรัฐฯใช้มาตรการกับสินค้านำเข้าจากประเทศต่างๆ มากเป็น อันดับ 1 ของโลก ผลจากการส่งออกไปสหรัฐฯมากขึ้น จะทำให้ไทยได้ดุลการค้าสหรัฐฯเพิ่มขึ้น จากปัจจุบัน 300,000 ล้านบาท มูลค่าการค้าระหว่างกัน 900,000 ล้านบาท สำหรับ สินค้าอุตสาหกรรมที่ไทยจะได้ประโยชน์ในด้านการส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องหนัง สิ่งทอ แต่สหรัฐฯก็ส่งออกมาไทยเพิ่มขึ้นเช่นกัน ขณะที่สินค้าเกษตรที่ไทยจะได้ประโยชน์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร น้ำตาล แต่ข้าวและผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ จะส่งออกลดลง ส่วนสหรัฐฯจะส่งออกสินค้าเกษตรมาไทยเพิ่มขึ้น แต่สัดส่วนการเพิ่มขึ้นน้อยกว่าไทย ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร น้ำตาล และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้ ประเทศไทยคงจะถอยหนี หรือหลีกเลี่ยงระบบการค้าเสรีไม่ได้ เพราะทุกฝ่ายคงเห็นร่วมกันแล้วว่าในยุคการค้าเสรี หากไทยยังมัวแต่ปิดประเทศ ในที่สุดคงถูกประเทศอื่นๆ ที่ดำเนินนโยบายเปิดตลาดอย่างชัดเจนกว่าแย่งตลาดการค้าไปจนหมด เพียงแค่จะรักษาตลาดเดิมก็ยังไม่ได้ ดูอย่างประเทศคอมมิวนิสต์ทั้งหลาย ทั้งจีน เวียดนาม ที่ปิดประเทศอยู่หลายสิบปี สุดท้ายก็ต้องกระโจนเข้าสู่โลกการค้าเสรี...อย่างเลี่ยงไม่ได้.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
"เอฟทีเอ" เป็นแนวคิดทางการค้าที่มีมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้วในการทำการค้าระหว่างประเทศ โดยในระหว่างที่เริ่มเจรจาการเปิดเสรีทางการค้ากันภายใต้ความตกลงแกตต์ (GATT) ที่จัดทำขึ้นตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2490 นั้น ประเทศต่างๆ ก็เล็งเห็นว่า การเจรจาพหุภาคีเพื่อเปิดเสรีที่มีประเทศมากหน้าหลายตาและหลากความต้องการเข้าร่วมนั้น จะทำได้ช้าและมีปัญหาที่ต้องคุยกันนานมากกว่าการเจรจากันในกลุ่มเล็กๆ ขณะเดียวกัน การเจรจาเปิดเสรีในกลุ่มเล็กๆ นี้ก็จะเป็นตัวช่วยเร่งให้มีการเปิดเสรีในระดับโลกได้ในลักษณะต่อยอด ดังนั้น
เมื่อการเจรจาพหุภาคีติดขัดหรือเชื่องช้าไม่ทันใจ ประเทศต่างๆ ก็เห็นประโยชน์ที่จะทำเอฟทีเอกันก่อนเพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน แนวคิดดั้งเดิมของเอฟทีเอนั้น จะเกี่ยวข้องเฉพาะการค้าสินค้า แต่ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้เศรษฐกิจและตลาดของประเทศต่างๆ เชื่อมโยงกันมากขึ้น และการเคลื่อนย้ายของสินค้า บริการ เงินทุน และบุคคล รวมทั้งข้อมูลข่าวสารข้ามพรมแดนประเทศก็ขยายตัวและรวดเร็วขึ้นด้วย จึงทำให้มีการหยิบยกแง่มุมอื่นๆ ของการค้าขึ้นหารือและกำหนดกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศมากขึ้นในกรอบองค์การการค้าโลก และขอบเขตของเอฟทีเอก็ขยายตามไปด้วย ดังนั้น เอฟทีเอ จึงครอบคลุมไปถึงเรื่องการค้าบริการ การลงทุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
การจัดซื้อโดยภาครัฐ และความร่วมมือในสาขาต่างๆ
ด้านกฎหมาย เอฟทีเอ เป็นแนวคิดที่เป็นที่ยอมรับกัน และกฎเกณฑ์ของการค้าพหุภาคีภายใต้แกตต์และกฎของ WTO หรือองค์การการค้าโลกที่ตั้งขึ้นแทนที่เมื่อปี พ.ศ.2538 ก็เปิดช่องให้ประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิก WTO จัดทำเอฟทีเอ ระหว่างกันได้ด้วย โดยถือเป็นข้อยกเว้นต่อหลักการของระบบการค้าพหุภาคี ที่เน้นการให้ประโยชน์แก่สมาชิกทั้งหมดอย่างเท่าเทียมกัน
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับเอฟทีเอที่ว่านี้ ปรากฏอยู่ในข้อ 24 ของความตกลงแกตต์ ว่าด้วยการลดภาษีการค้าปี ค.ศ.1994 (พ.ศ.2537) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการค้าสินค้า โดยข้อ 24 ระบุไว้ว่า ความตกลงแกตต์ไม่ขัดขวางการที่ประเทศสมาชิกจะจัดตั้งเอฟทีเอ แต่เอฟทีเอจะต้องนำไปสู่การยกเลิกภาษีในการดำเนินการค้าระหว่างสมาชิกเอฟทีเอเกือบทั้งหมด ข้อตกลงจัดตั้ง เอฟทีเอก็จะต้องนำไปสู่การเปิดเสรีในระยะเวลาที่สมเหตุสมผล และเมื่อจัดตั้งเอฟทีเอแล้วอัตราภาษีหรือมาตรการต่างๆ ที่ สมาชิกเอฟทีเอใช้กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก จะต้องไม่สูงหรือมากไปกว่าที่เคยมีก่อนการจัดตั้งด้วย ส่วนในด้านการค้าบริการ ความตกลงแกตส์ (GATS) ว่าด้วยการค้าบริการ ข้อ 5 ก็ได้ระบุไว้เช่นเดียวกันว่า ไม่ขัดขวางการที่ประเทศสมาชิกจะทำความตกลงเพื่อเปิดเสรีการค้าบริการระหว่างกันเอง แต่มีการตั้งข้อแม้ไว้ว่า ความตกลงนี้จะต้องไม่กลายเป็นการเพิ่มอุปสรรคต่อการค้าบริการในสาขาต่างๆ ให้มากกว่าก่อนการทำเอฟทีเอ ต้องครอบคลุมสาขาการค้าบริการเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นมูลค่าการค้ามากพอสมควร และวิธีการให้บริการในหมวดต่างๆ เป็นส่วนใหญ่
ตามกฎของ WTO แบ่งเป็น 4 หมวดคือ
1) ผู้ให้บริการและผู้รับบริการอยู่กันคนละประเทศ
2) ผู้รับบริการไปรับบริการในประเทศของผู้ให้บริการ
3) ผู้ให้บริการมาตั้งบริษัทในประเทศของผู้รับบริการ
4) ผู้ให้บริการไปให้บริการในประเทศของผู้รับ
แม้ว่าเอฟทีเอ จะมุ่งการเปิดเสรี แต่ก็ใช่ว่าประเทศคู่สัญญาจะต้องเปิดเสรีทุกเรื่องหรือในทันที กฎเกณฑ์ของ WTO ไม่ได้บังคับเอาไว้ และแม้แต่ WTO ยังไม่ได้หยิบทุกเรื่องขึ้นโต๊ะเจรจา ประเทศคู่สัญญาเอฟทีเอ จะเปิด บางส่วนและปิดบางส่วนได้ และตกลงที่จะเปิดเร็วเปิดช้าได้ รวมทั้งสามารถหยิบเรื่องที่ WTO ยังไม่ได้ตกลงหรือคุยกันขึ้นมา คุยได้ แต่ในหลักการเอฟทีเอก็ควรต้องมุ่งให้เปิดเสรีกันให้มากกว่าที่ตกลงกันไว้
รัฐบาลไทยได้ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เรียบร้อยแล้วกับหลายประเทศ ซึ่งมีผลลัพธ์ ข้อดี ข้อเสีย ความได้เปรียบเสียเปรียบที่แตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวรัฐบาล ยังมองว่าภายใต้ระบบการค้าเช่นนี้ ประเทศไทยจะได้มากกว่าเสีย สำหรับ เอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ นั้น ถือเป็นการเจรจาเอฟทีเอ ที่สำคัญที่สุดอันหนึ่ง เพราะสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศใหญ่ และตลาดการค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 1 ของไทย จึงเป็นการเจรจาที่ถูกจับตามองจากคนทุกระดับ เพราะหาก ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขเหมาะสม และเป็นธรรม เชื่อว่าจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางการค้า การลงทุน ให้กับประเทศไทยเพิ่มขึ้น และช่วยเพิ่มการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศให้สูงขึ้น แต่หากการเจรจาครั้งนี้ ประเทศไทยพลาดพลั้ง ตรงกันข้ามอาจจะสร้างความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง เอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ เริ่มเจรจาครั้งแรกวันที่ 28 มิ.ย.47 ที่ รัฐฮาวาย สหรัฐฯ และเจรจาต่อเนื่อง มาแล้วจนถึงครั้งที่ 6 ที่เชียงใหม่ โดยเนื้อหาแบ่งเป็น 23 เรื่อง ได้แก่
1. การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม
2. การเปิดตลาดสินค้าเกษตร
3. การเปิดตลาดสินค้าสิ่งทอ
4. มาตรการสุขอนามัยพืชและสัตว์
5. การเปิดเสรีภาคบริการ
6. การเปิดเสรีภาคการเงิน
7. แรงงาน
8. ทรัพย์สินทางปัญญา
9. โทรคมนาคม เป็นต้น
ผลสรุปการเจรจาครั้งที่ 6 ในประเด็นการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม สหรัฐฯเสนอลดภาษีเป็นศูนย์ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้เป็นมูลค่ากว่า 12,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 74% ของสินค้าที่นำเข้า ส่งผลให้สินค้าไทย 8,100 รายการ เข้าตลาดสหรัฐฯโดยไม่มีภาษีนำเข้า สินค้าได้ประโยชน์ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ทำจากไม้และยาง เครื่องแก้วและเซรามิก ผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มอาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม ขณะที่ไทยเสนอยกเลิกภาษีสินค้าให้สหรัฐฯ 5,000 ล้านเหรียญฯ หรือ 71% โดยสินค้าอ่อนไหวมาก เช่น เนื้อสัตว์ นม และผลิตภัณฑ์ ข้าวโพด มันฝรั่ง ชา กาแฟ หัวหอม ขอยืดเวลาลดภาษีไป 10 ปี หรือสินค้ามีโควตานำเข้าขอมีมาตรการปกป้อง
ส่วนการเปิดเสรีภาคบริการ ครอบคลุมการค้าบริการ การลงทุน การเปิดเสรีภาคการเงิน โทรคมนาคม และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ไทยย้ำให้สหรัฐฯยืดหยุ่นในเรื่องการยอมรับคุณสมบัติของผู้ให้บริการระหว่างกัน และข้อเสนอด้านมาตรการปกป้อง ส่วนการเจรจาหัวข้อบริการทางการเงิน ไทยผลักดันให้ใช้มาตรการเพื่อการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน และเศรษฐกิจมหภาค เพื่อป้องกันผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจไทยจากการเปิดเสรี รวมถึงขอเวลา 20 ปี ในการเปิดเสรี ขณะที่ภาคประกันภัยนั้น สหรัฐฯขอตั้งบริษัทประกันภัยที่มีชาวสหรัฐฯถือหุ้น 100% ขอตั้งสาขาย่อยได้โดยเสรี จำหน่ายประกันภัยผ่านตัวแทนโดยไม่ต้อง ตั้งบริษัท ส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยนั้น ไทยยังไม่พร้อม และขอเวลาปรับตัว 15 ปี
ด้านทรัพย์สินทางปัญญานั้น ในเรื่องสิทธิบัตรยา สหรัฐฯขอให้ไทยขยายความคุ้มครองการขึ้นทะเบียนยา 5 ปี รวมกับระยะเวลาการให้ความคุ้มครองสิทธิ์อีก 20 ปี เป็น 25 ปี ขณะที่ไทยยืนยันขอให้สามารถผลิตยากรณีฉุกเฉิน หรือกรณีเกิดโรคระบาดได้ นอกจากนี้ ยังได้ผลักดันให้สหรัฐฯขออนุญาตล่วงหน้าก่อนที่จะนำเอาทรัพยากรของไทยไปใช้ เพื่อป้องกันการจารกรรมทางชีวภาพ และการแบ่งปันผลประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ไทยได้ออกแถลงการณ์แสดงความผิดหวังต่อ ข้อเสนอทรัพย์สินทางปัญญาที่สหรัฐฯยื่นมาให้กับไทยมาก
ประโยชน์ที่ได้รับจาก เอฟทีเอ
จากการศึกษาของหลายๆ สำนัก ทั้งสถาบันวิจัยเพื่อการ พัฒนาประเทศไทย (TDRI) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หรือนักวิชาการจากสถาบันต่างๆ พบว่า การลดภาษีศุลกากรเป็น 0% ในทุกสาขาสินค้าบริการ ทำให้จีดีพีของไทยเพิ่มขึ้น 1.85% หรือประมาณ 100,000 ล้านบาท จากมูลค่าจีดีพีในปัจจุบันที่ 5.5 ล้านล้านบาท ส่วนสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 0.05% ทำให้รายได้ครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น 1.98% ส่วนสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 0.05% นอกจากนี้ ยังทำให้สินค้าไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯมากขึ้น ทั้งสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม ที่สำคัญยังมีการเจรจาเพื่อลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งลด/เลิกการอุดหนุนการผลิต และส่งออก มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (AD/CVD) ที่แต่ละปีสหรัฐฯใช้มาตรการกับสินค้านำเข้าจากประเทศต่างๆ มากเป็น อันดับ 1 ของโลก ผลจากการส่งออกไปสหรัฐฯมากขึ้น จะทำให้ไทยได้ดุลการค้าสหรัฐฯเพิ่มขึ้น จากปัจจุบัน 300,000 ล้านบาท มูลค่าการค้าระหว่างกัน 900,000 ล้านบาท สำหรับ สินค้าอุตสาหกรรมที่ไทยจะได้ประโยชน์ในด้านการส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องหนัง สิ่งทอ แต่สหรัฐฯก็ส่งออกมาไทยเพิ่มขึ้นเช่นกัน ขณะที่สินค้าเกษตรที่ไทยจะได้ประโยชน์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร น้ำตาล แต่ข้าวและผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ จะส่งออกลดลง ส่วนสหรัฐฯจะส่งออกสินค้าเกษตรมาไทยเพิ่มขึ้น แต่สัดส่วนการเพิ่มขึ้นน้อยกว่าไทย ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร น้ำตาล และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้ ประเทศไทยคงจะถอยหนี หรือหลีกเลี่ยงระบบการค้าเสรีไม่ได้ เพราะทุกฝ่ายคงเห็นร่วมกันแล้วว่าในยุคการค้าเสรี หากไทยยังมัวแต่ปิดประเทศ ในที่สุดคงถูกประเทศอื่นๆ ที่ดำเนินนโยบายเปิดตลาดอย่างชัดเจนกว่าแย่งตลาดการค้าไปจนหมด เพียงแค่จะรักษาตลาดเดิมก็ยังไม่ได้ ดูอย่างประเทศคอมมิวนิสต์ทั้งหลาย ทั้งจีน เวียดนาม ที่ปิดประเทศอยู่หลายสิบปี สุดท้ายก็ต้องกระโจนเข้าสู่โลกการค้าเสรี...อย่างเลี่ยงไม่ได้.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-