นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่า ระหว่างเดือนเมษายน ถึง มิถุนายน จะเป็นฤดูกาลของผลไม้เขตร้อน ผลไม้หลายชนิดจะประดังกันออกสู่ตลาดในช่วงเวลาสั้นๆ รัฐบาลต้องใช้เงินปีละหลายร้อยล้านบาท เพื่อเข้าไปช่วยยกระดับราคาให้เกษตรกรขายได้คุ้มกับการลงทุน โดยเฉพาะในเงาะ ทุเรียน และมังคุด ของภาคตะวันออก ซึ่งเป็นผลไม้ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย ทั้งในฐานะราชาของผลไม้ (King of fruit) และราชินีของผลไม้ (Queen of fruit)
เพื่อให้ชื่อเสียงของผลไม้ไทยยังคงดำรงอยู่ และเป็นการแก้ปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำในระยะยาว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรรับผิดชอบในการปรับโครงสร้างผลไม้ภาคตะวันออกเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ตั้งแต่การผลิตจนถึงผู้บริโภค มีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการเพิ่มช่องทางการตลาดให้ขยายตัวทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงินงบประมาณจำนวน 220 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างห้องเย็นเก็บผลไม้เพื่อรักษาคุณภาพ ห้องแช่แข็งระบบ IQF สำหรับทำผลไม้แช่แข็ง โรง Vacuum Fried ทุเรียนแปรรูปให้ได้คุณภาพที่ตลาดต้องการ โรง Fresh Chilled และ Packing House ส่งออกผลไม้ รวมทั้งโรงอบไอน้ำมังคุดเพื่อการส่งออกตามมาตรฐาน
สำหรับสถานการณ์ปี 2549 ของเงาะ ทุเรียน และมังคุด ภาคตะวันออกที่จะออกสู่ตลาดในช่วงนี้ คาดว่าจะลดลงจากปี 2548 โดยเงาะ จะลดลงจาก 328,600 ตัน เป็น 243,600 ตัน หรือ หรือลดลงร้อยละ 25 เพราะเกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกยางพารา ทุเรียน ผลผลิตจะลดลง จาก 363,300 ตัน ในปี 2548 เป็น 357,000 ตัน หรือลดลงร้อยละ 2 สำหรับมังคุด ผลผลิตจะลดลงมาก จาก 86,100 ตัน ในปี 2548 เป็น 41,200 ตัน หรือลดลงร้อยละ 52 เพราะสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งแห้งแล้งและฝนตกหนักทำให้มีปัญหาการติดดอกและออกผล
ถึงแม้ผลผลิตผลไม้ทั้ง 3 ชนิดจะลดลง และราคาน่าจะมีแนวโน้มดีกว่าปีที่ผ่านมา แต่คาดว่าปัญหาคุณภาพผลผลิต เช่น มังคุดที่เป็นเนื้อแก้วยางไหล ที่เกิดจากช่วงฝนตกชุก และเงาะที่จะออกกระจุกตัวช่วงเดือนมิถุนายน อาจจะทำให้ราคาตกได้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในฐานะผู้รับผิดชอบแผนปรับโครงสร้างผลไม้ภาคตะวันออก ได้ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งการผลิตและการตลาดอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว กอรปกับการเร่งเดินหน้าแผนปรับโครงสร้างฯ ในปี 2549 จึงเชื่อว่าเกษตรกรจะขายเงาะ ทุเรียน และมังคุด ได้ในราคาสูงขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
เพื่อให้ชื่อเสียงของผลไม้ไทยยังคงดำรงอยู่ และเป็นการแก้ปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำในระยะยาว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรรับผิดชอบในการปรับโครงสร้างผลไม้ภาคตะวันออกเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ตั้งแต่การผลิตจนถึงผู้บริโภค มีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการเพิ่มช่องทางการตลาดให้ขยายตัวทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงินงบประมาณจำนวน 220 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างห้องเย็นเก็บผลไม้เพื่อรักษาคุณภาพ ห้องแช่แข็งระบบ IQF สำหรับทำผลไม้แช่แข็ง โรง Vacuum Fried ทุเรียนแปรรูปให้ได้คุณภาพที่ตลาดต้องการ โรง Fresh Chilled และ Packing House ส่งออกผลไม้ รวมทั้งโรงอบไอน้ำมังคุดเพื่อการส่งออกตามมาตรฐาน
สำหรับสถานการณ์ปี 2549 ของเงาะ ทุเรียน และมังคุด ภาคตะวันออกที่จะออกสู่ตลาดในช่วงนี้ คาดว่าจะลดลงจากปี 2548 โดยเงาะ จะลดลงจาก 328,600 ตัน เป็น 243,600 ตัน หรือ หรือลดลงร้อยละ 25 เพราะเกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกยางพารา ทุเรียน ผลผลิตจะลดลง จาก 363,300 ตัน ในปี 2548 เป็น 357,000 ตัน หรือลดลงร้อยละ 2 สำหรับมังคุด ผลผลิตจะลดลงมาก จาก 86,100 ตัน ในปี 2548 เป็น 41,200 ตัน หรือลดลงร้อยละ 52 เพราะสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งแห้งแล้งและฝนตกหนักทำให้มีปัญหาการติดดอกและออกผล
ถึงแม้ผลผลิตผลไม้ทั้ง 3 ชนิดจะลดลง และราคาน่าจะมีแนวโน้มดีกว่าปีที่ผ่านมา แต่คาดว่าปัญหาคุณภาพผลผลิต เช่น มังคุดที่เป็นเนื้อแก้วยางไหล ที่เกิดจากช่วงฝนตกชุก และเงาะที่จะออกกระจุกตัวช่วงเดือนมิถุนายน อาจจะทำให้ราคาตกได้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในฐานะผู้รับผิดชอบแผนปรับโครงสร้างผลไม้ภาคตะวันออก ได้ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งการผลิตและการตลาดอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว กอรปกับการเร่งเดินหน้าแผนปรับโครงสร้างฯ ในปี 2549 จึงเชื่อว่าเกษตรกรจะขายเงาะ ทุเรียน และมังคุด ได้ในราคาสูงขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-