วันนี้ (15 มิ.ย. 49) นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ แนวทางในการทำบัตรสมาชิกสำหรับพรรคการเมืองต่าง ๆ ว่า พรรคการเมืองทุกพรรคควรมีแนวทางการปฏิบัติเหมือนกัน ในการรับบุคคลเข้าเป็นสมาชิก โดยให้ผู้นั้นเป็นผู้ยื่นความจำนงสมัครเป็นสมาชิก ซึ่งจะทำให้ความซ้ำซ้อนลดน้อยลง อาจจะมีบางคนที่ไปยื่นซ้อน แต่นายชวนเห็นว่าคงเป็นส่วนน้อย หรือคนเหล่านั้นอาจจะยื่นความจำนงออกจากพรรคอื่นไปก่อน แล้วจึงไปเข้าพรรคที่ต้องการจะไปอยู่ แต่ว่าทั้งหมดไม่ใช่ความผิดของชาวบ้านที่ไปเข้าใจผิดว่าชาวบ้านไปยื่นความจำนงหลายพรรค ส่วนใหญ่พรรคการเมืองออกบัตรสมาชิกให้ซ้อนกับพรรคอื่นที่ชาวบ้านเป็นสมาชิกอยู่แล้ว
ทั้งนี้ประธานสภาที่ปรึกษาเห็นด้วยที่บัตรสมาชิกของทุกพรรคควรติดรูปของผู้ที่เป็นสมาชิกของพรรคนั้น ๆ โดยวิธีนี้จะทำให้พรรคการเมืองมีจำนวนสมาชิกไม่มากนัก และทำการสมัครเป็นสมาชิกได้ช้า ดังนั้นควรยึดวิธีที่ถูกต้องโดยยึดเอาความสมัครใจของผู้สมัครสมาชิกเป็นสำคัญ
จากการที่ กกต. มีความพยายามในการเสนอทางออกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นโดยการปรับโครงสร้างองค์กร และเชิญผู้พิพากษาศาลฎีการ่วมในการบริหารจัดการทุกระดับนั้น นายชวน หลีกภัย มีความเห็นว่า ปัญหาเรื่องการทุจริตการเลือกตั้งไม่ได้อยู่ที่เรื่องโครงสร้าง แม้จะมีส่วนมากแต่ไม่ใช่ปัญหาหลัก เพราะบทบาทเรื่องใหญ่ของ กกต. คือปัญหาเรื่องการทุจริตในการเลือกตั้ง โดยเรื่องนี้ต้องทำการศึกษารูปแบบการทุจริตการเลือกตั้งจากปี 2548 ที่ถือว่ามีการโกงเลือกตั้งที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้ง ในช่วงนั้นไม่ได้อยู่ที่ กกต. ฝ่ายเดียว จุดสำคัญเบื้องต้นอยู่ที่ฝ่ายราชการ ฝ่ายทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง และรัฐบาล หากองค์กรเหล่านั้นคุมตั้งแต่ต้นไม่ให้โกงเลือกตั้ง ภาระก็จะไม่ตกอยู่กับ กกต. แต่ถ้ามีการทุจริต มีการโกง มีวิธีการให้ประโยชน์แก่ฝ่ายการเมืองฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง กกต. จะต้องไปตรวจสอบ
นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมอีกว่า จากการเลือกตั้งในช่วงปี 2548 เห็นได้ชัดว่ากกต.ไม่ประสบความสำเร็จในดำเนินการกับผู้ทุจริตการเลือกตั้ง ยกเว้นกรณีคุณธนินทร์ ในการปราศรัย อีกทั้ง กกต. ยังมีปัญหาเรื่องมาตรฐานการทำงาน แต่ว่าตรงนี้อย่าไปเข้าใจผิดว่า ถ้า กกต. มีประสิทธิภาพแล้วจะสามารถป้องกันเรื่องการทุจริตได้หมด จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานราชการอื่นด้วย เช่น ฝ่ายปกครอง ต้องไปเป็นตัวกลางโกงเลือกตั้งเสียเอง หรือหน่วยทหาร หน่วยตำรวจจะต้องไม่ไปร่วมมือกับการทุจริตการเลือกตั้ง ก็จะทำให้การทุจริตลดน้อยลง
ทางด้านสื่อของรัฐ อาทิ วิทยุ โทรทัศน์ของหน่วยราชการ นายชวน หลีกภัยเห็นว่า ควรจะมีบทบาทที่เป็นกลาง จะต้องไม่เป็นเครื่องมือเข้าข้างฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง โดยสามารถทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์งานของรัฐได้ แต่ต้องไม่เป็นเครื่องมือในการโจมตีอีกฝ่ายหนึ่ง ในหลาย ๆ รูปแบบของการทำงานของสื่อของรัฐนั้น นายชวน กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ เคยทำเอาไว้เป็นตัวอย่างดีแล้ว ในสมัยที่เป็นรัฐบาล โดยรัฐบาลสมัยนั้นไม่เคยใช้สื่อของรัฐเป็นเครื่องมือให้กับตัวเอง แต่จะให้วางตัวอย่างเป็นกลาง
ส่วนกรณีถูกพรรคไทยรักไทย กล่าวหาให้มีการยุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายชวน หลีกภัย กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองที่อยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนกับพรรคการเมืองอื่น ๆ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ก็ต้องเป็นเช่นนั้น และตนเองติดตามมาตลอดว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ทำอะไรที่ขัดต่อกฎหมาย เพียงแต่ทราบว่ามีการละเมิดกฎหมาย และใช้วิธีการที่ย่ามใจว่าเคยทุจริตในปี 2548 ได้มาก แต่ไม่มีใครตรวจสอบได้เลย ทั้งยังประเมินว่าทุกฝ่ายเป็นพวกเดียวกับตัวเองหมด
“ทุกคนต้องเคารพกติกาของบ้านเมือง แต่ไม่ใช่เคารพเฉพาะบางกติกา และต้องเคารพตั้งแต่กติกาแรก ไม่ใช่ละเมิดกติกาเพื่อได้ประโยชน์แล้วมาบอกว่าให้เคารพกติกา ผมเรียกร้องเรื่องนี้ตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว สมัยที่เป็นผู้นำฝ่ายค้าน ว่าขอให้เราเคารพกติกา ดีใจที่วันนี้นายกฯ ออกมาพูดอย่างที่ผมพูด แต่ว่าช้าไปหน่อย” นายชวนกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 มิ.ย. 2549--จบ--
ทั้งนี้ประธานสภาที่ปรึกษาเห็นด้วยที่บัตรสมาชิกของทุกพรรคควรติดรูปของผู้ที่เป็นสมาชิกของพรรคนั้น ๆ โดยวิธีนี้จะทำให้พรรคการเมืองมีจำนวนสมาชิกไม่มากนัก และทำการสมัครเป็นสมาชิกได้ช้า ดังนั้นควรยึดวิธีที่ถูกต้องโดยยึดเอาความสมัครใจของผู้สมัครสมาชิกเป็นสำคัญ
จากการที่ กกต. มีความพยายามในการเสนอทางออกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นโดยการปรับโครงสร้างองค์กร และเชิญผู้พิพากษาศาลฎีการ่วมในการบริหารจัดการทุกระดับนั้น นายชวน หลีกภัย มีความเห็นว่า ปัญหาเรื่องการทุจริตการเลือกตั้งไม่ได้อยู่ที่เรื่องโครงสร้าง แม้จะมีส่วนมากแต่ไม่ใช่ปัญหาหลัก เพราะบทบาทเรื่องใหญ่ของ กกต. คือปัญหาเรื่องการทุจริตในการเลือกตั้ง โดยเรื่องนี้ต้องทำการศึกษารูปแบบการทุจริตการเลือกตั้งจากปี 2548 ที่ถือว่ามีการโกงเลือกตั้งที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้ง ในช่วงนั้นไม่ได้อยู่ที่ กกต. ฝ่ายเดียว จุดสำคัญเบื้องต้นอยู่ที่ฝ่ายราชการ ฝ่ายทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง และรัฐบาล หากองค์กรเหล่านั้นคุมตั้งแต่ต้นไม่ให้โกงเลือกตั้ง ภาระก็จะไม่ตกอยู่กับ กกต. แต่ถ้ามีการทุจริต มีการโกง มีวิธีการให้ประโยชน์แก่ฝ่ายการเมืองฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง กกต. จะต้องไปตรวจสอบ
นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมอีกว่า จากการเลือกตั้งในช่วงปี 2548 เห็นได้ชัดว่ากกต.ไม่ประสบความสำเร็จในดำเนินการกับผู้ทุจริตการเลือกตั้ง ยกเว้นกรณีคุณธนินทร์ ในการปราศรัย อีกทั้ง กกต. ยังมีปัญหาเรื่องมาตรฐานการทำงาน แต่ว่าตรงนี้อย่าไปเข้าใจผิดว่า ถ้า กกต. มีประสิทธิภาพแล้วจะสามารถป้องกันเรื่องการทุจริตได้หมด จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานราชการอื่นด้วย เช่น ฝ่ายปกครอง ต้องไปเป็นตัวกลางโกงเลือกตั้งเสียเอง หรือหน่วยทหาร หน่วยตำรวจจะต้องไม่ไปร่วมมือกับการทุจริตการเลือกตั้ง ก็จะทำให้การทุจริตลดน้อยลง
ทางด้านสื่อของรัฐ อาทิ วิทยุ โทรทัศน์ของหน่วยราชการ นายชวน หลีกภัยเห็นว่า ควรจะมีบทบาทที่เป็นกลาง จะต้องไม่เป็นเครื่องมือเข้าข้างฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง โดยสามารถทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์งานของรัฐได้ แต่ต้องไม่เป็นเครื่องมือในการโจมตีอีกฝ่ายหนึ่ง ในหลาย ๆ รูปแบบของการทำงานของสื่อของรัฐนั้น นายชวน กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ เคยทำเอาไว้เป็นตัวอย่างดีแล้ว ในสมัยที่เป็นรัฐบาล โดยรัฐบาลสมัยนั้นไม่เคยใช้สื่อของรัฐเป็นเครื่องมือให้กับตัวเอง แต่จะให้วางตัวอย่างเป็นกลาง
ส่วนกรณีถูกพรรคไทยรักไทย กล่าวหาให้มีการยุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายชวน หลีกภัย กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองที่อยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนกับพรรคการเมืองอื่น ๆ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ก็ต้องเป็นเช่นนั้น และตนเองติดตามมาตลอดว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ทำอะไรที่ขัดต่อกฎหมาย เพียงแต่ทราบว่ามีการละเมิดกฎหมาย และใช้วิธีการที่ย่ามใจว่าเคยทุจริตในปี 2548 ได้มาก แต่ไม่มีใครตรวจสอบได้เลย ทั้งยังประเมินว่าทุกฝ่ายเป็นพวกเดียวกับตัวเองหมด
“ทุกคนต้องเคารพกติกาของบ้านเมือง แต่ไม่ใช่เคารพเฉพาะบางกติกา และต้องเคารพตั้งแต่กติกาแรก ไม่ใช่ละเมิดกติกาเพื่อได้ประโยชน์แล้วมาบอกว่าให้เคารพกติกา ผมเรียกร้องเรื่องนี้ตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว สมัยที่เป็นผู้นำฝ่ายค้าน ว่าขอให้เราเคารพกติกา ดีใจที่วันนี้นายกฯ ออกมาพูดอย่างที่ผมพูด แต่ว่าช้าไปหน่อย” นายชวนกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 มิ.ย. 2549--จบ--