นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงที่ที่ทำการพรรควันนี้ (2 กค.2549) ว่า ตามที่คณะทำงานตรวจสอบการทุจริตได้รับร้องเรียนจาก ตู้ป.ณ. 222 ว่ามีความไม่โปร่งใสส่อทุจริตการประมูลสัมปทานจ้างบริษัทรถเข็นกระเป๋าของสนามบินสุวรรณภูมิและได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบพิรุธเพิ่มเติม กล่าวคือ จากการที่บริษัทท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ได้เปิดประมูลให้บริษัทเอกชนยื่นซองประกวดราคาประมูลงานบริการรถเข็นกระเป๋าของสนามบินสุวรรณภูมิมูลค่า 534 ล้านบาท อายุสัมปทาน 7 ปี ซึ่งยื่นซองเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2549 ที่ผ่านมา โดยมีบริษัทที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติและเทคนิคเพียงรายเดียวคือ บริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (แท็กส์) โดยบริษัทอื่นได้รับแจ้งจาก ทอท. ว่าไม่ผ่านการพิจารณาทำให้บริษัทแท็กส์ได้รับการเปิดซองราคาและชนะการประมูล โดยบริษัทแท็กส์ซื้อรถจากโรงงานที่ไม่เคยทำรถเข็นกระเป๋าสนามบินนานาชาติมาก่อน ซึ่งต่างกับบริษัทที่ร่วมประมูลที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติของ ทอท. ทั้งที่เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ในการผลิตรถเข็นกระเป๋าให้กับสนามบินทั่วโลกหลายแห่ง ส่อว่าเป็นการประมูลที่ไม่โปร่งใสและมีการแก้ไขสเป็ครถเข็นกระเป๋าเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัที่เข้าประมูลเพียงรายเดียว
นายอลงกรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้คณะทำงานฯ ยังตรวจสอบข้อมูลล่าสุดพบว่า บริษัท ทอท. ถือหุ้นในบริษัทแท็กส์ 28% และกรรมการของบริษัท ทอท. จำนวน 3 คน เป็นกรรมการของบริษัทแท็กส์ได้แก่ 1. เรืออากาศเอก หม่อมหลวง ย่อม งอนรถ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของ ทอท. 2. เรืออากาศพินิจ สาหร่ายทอง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง 3. นายสมชัย สวัสดีผล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ล่าสุด ณ วันที่ 31 พ.ค. 2549 ระบุว่า บุคคลที่กล่าวมานี้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทแท็กส์ แสดงให้เห็นชัดว่า การประมูลในครั้งนี้ผิดปกติมีพิรุธเอื้อประโยชน์ระหว่างกันและไม่มีการแข่งขันประมูลอย่างเป็นธรรม และเปิดกว้างเพราะ ทอท. และแท็กส์ มีความสัมพันธ์กันในเชิงทุนและการบริหารระหว่างกัน
“ผมขอเรียกร้องให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และ นายชัยเกษม นิติสิริ รองอัยการสูงสุดที่เป็นบอร์ดของ ทอท. ตรวจสอบกรณีดังกล่าวเป็นพิเศษและขอให้นายศรีสุข จันทรางศุ ประธานบอร์ดทบทวนการประมูลเพื่อสร้างความถูกต้องมิฉะนั้นประเทศไทยจะขายหน้าไปทั่วโลกต้องตระหนักว่า สุวรรณภูมิไม่ใช่สนามบินท้องถิ่นจะใช้สินค้าหรือบริการก็ต้องเข้ามาตรฐานสากลไม่ใช่ของโชห่วงอะไรก็ได้” นายอลงกรณ์กล่าว
การร้องเรียนเกิดขึ้นเมื่อบริษัทท่าอากาศยานไทยเปิดประมูลสัมปทานงานบริการรถเข็นกระเป๋า จำนวน 9,034 คัน พร้อมแรงงาน 250 คน เป็นเวลา 7 ปี หลังจากนั้นได้ออกประกาศขายแบบพร้อมรายละเอียดคุณลักษณะพิเศษ (TOR) ซึ่งในรายละเอียดของการจัดซื้อ โดยผู้ประกอบการต้องส่งตัวอย่างรถเข็นจำนวน 11 คัน มีขนาดใหญ่ 1 คัน ขนาดกลาง 5 คัน ขนาดเล็ก 5 คัน หลังจากผู้ประกอบการได้ซื้อแบบและจัดซื้อรถตัวอย่าง 11 คัน เงินประกันจำนวน 26,747,700 บาท พร้อมซองเสนอราคาและซองคุณสมบัติของรถเข็นและคุณภาพของโรงงานที่ผลิต แต่ก่อนส่งตัวอย่างรถ ซองเสนอราคา เงินประกัน 1 วัน ทางบริษัทการท่าอากาศยานได้แจ้งว่าขอเลื่อนการประมูลไว้ก่อน และได้แจ้งให้ผู้ประกอบการทราบว่าขอยกเลิกการประมูล ซึ่งไม่ได้แจ้งเหตุผล แต่หลังจากนั้นอีกประมาณ 13 วัน ได้แจ้งว่าจะมีการประมูลใหม่ โดยมีการแก้ไขเอกสารโดยเฉพาะ การแก้ไขสเป็คของรถเข็นกระเป๋าขนาดกลางใหม่ ให้ มีคุณสมบัติในการบรรทุกกระเป๋าสามารถขึ้น — ลงบันไดเลื่อนเป็นขั้น ๆ ได้และยังมีการตัดข้อความเก่าที่ว่า โรงงานที่ผลิตรถเข็นต้องเป็นโรงงานที่เคยผลิตและส่งออกไปใช้ยังสนามบินนานาชาติ ซึ่งเป็นการแก้ไขสเป็คเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการบางรายเท่านั้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ก.ค. 2549--จบ--
นายอลงกรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้คณะทำงานฯ ยังตรวจสอบข้อมูลล่าสุดพบว่า บริษัท ทอท. ถือหุ้นในบริษัทแท็กส์ 28% และกรรมการของบริษัท ทอท. จำนวน 3 คน เป็นกรรมการของบริษัทแท็กส์ได้แก่ 1. เรืออากาศเอก หม่อมหลวง ย่อม งอนรถ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของ ทอท. 2. เรืออากาศพินิจ สาหร่ายทอง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง 3. นายสมชัย สวัสดีผล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ล่าสุด ณ วันที่ 31 พ.ค. 2549 ระบุว่า บุคคลที่กล่าวมานี้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทแท็กส์ แสดงให้เห็นชัดว่า การประมูลในครั้งนี้ผิดปกติมีพิรุธเอื้อประโยชน์ระหว่างกันและไม่มีการแข่งขันประมูลอย่างเป็นธรรม และเปิดกว้างเพราะ ทอท. และแท็กส์ มีความสัมพันธ์กันในเชิงทุนและการบริหารระหว่างกัน
“ผมขอเรียกร้องให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และ นายชัยเกษม นิติสิริ รองอัยการสูงสุดที่เป็นบอร์ดของ ทอท. ตรวจสอบกรณีดังกล่าวเป็นพิเศษและขอให้นายศรีสุข จันทรางศุ ประธานบอร์ดทบทวนการประมูลเพื่อสร้างความถูกต้องมิฉะนั้นประเทศไทยจะขายหน้าไปทั่วโลกต้องตระหนักว่า สุวรรณภูมิไม่ใช่สนามบินท้องถิ่นจะใช้สินค้าหรือบริการก็ต้องเข้ามาตรฐานสากลไม่ใช่ของโชห่วงอะไรก็ได้” นายอลงกรณ์กล่าว
การร้องเรียนเกิดขึ้นเมื่อบริษัทท่าอากาศยานไทยเปิดประมูลสัมปทานงานบริการรถเข็นกระเป๋า จำนวน 9,034 คัน พร้อมแรงงาน 250 คน เป็นเวลา 7 ปี หลังจากนั้นได้ออกประกาศขายแบบพร้อมรายละเอียดคุณลักษณะพิเศษ (TOR) ซึ่งในรายละเอียดของการจัดซื้อ โดยผู้ประกอบการต้องส่งตัวอย่างรถเข็นจำนวน 11 คัน มีขนาดใหญ่ 1 คัน ขนาดกลาง 5 คัน ขนาดเล็ก 5 คัน หลังจากผู้ประกอบการได้ซื้อแบบและจัดซื้อรถตัวอย่าง 11 คัน เงินประกันจำนวน 26,747,700 บาท พร้อมซองเสนอราคาและซองคุณสมบัติของรถเข็นและคุณภาพของโรงงานที่ผลิต แต่ก่อนส่งตัวอย่างรถ ซองเสนอราคา เงินประกัน 1 วัน ทางบริษัทการท่าอากาศยานได้แจ้งว่าขอเลื่อนการประมูลไว้ก่อน และได้แจ้งให้ผู้ประกอบการทราบว่าขอยกเลิกการประมูล ซึ่งไม่ได้แจ้งเหตุผล แต่หลังจากนั้นอีกประมาณ 13 วัน ได้แจ้งว่าจะมีการประมูลใหม่ โดยมีการแก้ไขเอกสารโดยเฉพาะ การแก้ไขสเป็คของรถเข็นกระเป๋าขนาดกลางใหม่ ให้ มีคุณสมบัติในการบรรทุกกระเป๋าสามารถขึ้น — ลงบันไดเลื่อนเป็นขั้น ๆ ได้และยังมีการตัดข้อความเก่าที่ว่า โรงงานที่ผลิตรถเข็นต้องเป็นโรงงานที่เคยผลิตและส่งออกไปใช้ยังสนามบินนานาชาติ ซึ่งเป็นการแก้ไขสเป็คเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการบางรายเท่านั้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ก.ค. 2549--จบ--